เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 11660 คิดเห็นยังไงกับประเพณี''สงกรานต์''ในปัจจุบัน
VittruvienMan
อสุรผัด
*
ตอบ: 3

นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ


 เมื่อ 17 เม.ย. 06, 18:10

 ดูเหมือนประเพณีสงกรานต์ในปัจจุบันจะต่างไปจากอดีตมาก เช่น การเล่นที่เปลี่ยนมาเป็น'ปืนฉีดน้ำ'และการ'สาด' แทน'ขันเล็กๆ'และการ'ปะพรม' การปะแป้งกันพอสวยงาม ก็กลายมาเป็น การละเลงจนหัวหูขาวไปหมด
  นอกจากนี้วัฒนธรรมทางด้านจิตใจของคนต่อวันสงกรานต์ก็ยังเปลี่ยนไปมากด้วยเช่นกัน พอพูดถึง'วันสงกรานต์' ก็ต้องนึกถึงมีการแบกถัง,โอ่งน้ำขึ้นรถกระบะไปสาดกัน ออกไปเล่นน้ำปะแป้งกันซึ่งเห็นเป็นประจำทุกเทศกาลนี้ นึกถึงเงินที่สะพัดจากการค้าขาย ท่องเที่ยว กำไรมากมายที่พ่อค้าแม่ขายจะได้ในช่วงเทศกาลนี้ แต่ก็ยังมีประเพณีที่สวยงาม มีคุณค่าทางจิตใจ เช่น การไปทำบุญตักบาตรเข้าวัดก่อเจดีย์ทราย ประเพณีประจำจังหวัด เช่น วันไหลชลบุรี
  ประเพณีที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นยังไงกันแน่ สงกรานต์ปัจจุบันนี้ใช่แล้วหรือ? ขอเชิญร่วมกันแสดงความคิดเห็นคับ
บันทึกการเข้า
~|ตุ๊กตา|~
มัจฉานุ
**
ตอบ: 60


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 เม.ย. 06, 19:32

 การทำบุญตักบาตร
 เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการทำบุญ การทำบังสุกุลอัฐิของบรรพบุรุษ
เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้  พร้อมปล่อยนกปล่อยปลา

การสรงน้ำพระพุทธรูป
ด้วยการนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา  และประพรมน้ำอบที่พระองค์
พระพุทธรูป พร้อมขอพร

การสรงน้ำพระสงฆ์
เป็นการรดน้ำพระด้วยการรดลงไปที่มือของท่าน

การก่อพระเจดีย์ทราย
ถือเป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่ง โดยคนไทยสมัยโบราณจะขนทราย
เข้าวัดเพื่อเป็นการทำนุบำรุงวัด สำหรับไว้สร้างโบสถ์ วิหาร

การรดน้ำดำหัวผู้ให้
เป็นการให้ความสำคัญกับญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ด้วยการมอบ
เสื้อผ้าหรือผ้าขาวม้า(ตามประเพณี) และรดน้ำที่มือท่าน จากนั้นท่าน
จะให้พรกับลูกหลาน

การเล่นสาดน้ำ
ถือเป็นสัญลักษณ์ของวันสงกรานต์ไปโดยปริยาย การเล่นอย่างมี
วัฒนธรรม เล่นอย่างงดงาม ก็คือการใช้น้ำหอมสะอาดผสมกับน้ำ
อบที่มีกลิ่นหอม สาดกันพอให้ชุ่มฉ่ำหายร้อน ประแป้งกันพอยอก
เป็นการเล่นที่ไม่รุนแรง และไม่เป็นอันตรายกับผู้อื่น


..........................จากหนังสือ add free magazine (ของ se-ed)
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 เม.ย. 06, 20:36

 ปัจจุบันมันเลือนไปมาก อย่างของทางเหนือก็เหมือนกันครับผม เมื่อนึกถึงสงกรานต์ หรือปี๋ใหม่เมือง ทุกคนจะมุ่งไปแต่ที่ "สงครามน้ำ" ที่น้ำคือ หรือคูเมืองเชียงใหม่

แต่ผมขอเอาข้อความจากเอกสารที่แจกในงาน "สืบสานล้านนา ประเพณีปีใหม่เมือง" ที่ทาง โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญา ร่วมกับ สคล. ททท. ร่วมกันจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 - 9 เมษายน ที่ผ่านมา ว่า

"วันสังขานต์ล่อง คือวันมหาสงกรานต์ คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สงกรานติ” ซึ่งออกเสียงแบบล้านนาว่า “สัง-ขาน” จึงมีผู้อ่านออกเสียงว่า วันสังขานต์ล่อง วันนี้คือวันที่พระอาทิตย์โคจรไปสู่ราศีมีน จะย่างเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันแรกของกิจกรรมปีใหม่ ตามความเชื่อของคนล้านนานั้น กล่าวกันว่า ในตอนเช้ามืดของวันนี้มีปู่สังขานต์ หรือย่าสังขานต์ จะล่องแพไปตามลำน้ำ ปู่หรือย่าสังขานต์นี้จะมารับเอาสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม เช่น เคราะห์ อุบาทว์ทั้งหลายนำไปทิ้ง จึงต้องมีการยิงปืน จุดประทัด ไล่สังขานต์และถือกันว่า ปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังขานต์แล้วนั้นจะมีความขลังความศักดิ์สิทธิ์มาก วันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่จะมีการปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ซักเสื้อผ้าอาบน้ำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ ทัดดอกไม้ที่เป็นพญาดอก ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ ดอกกาสะลองเป็นพญาดอก ควรทัดดอกกาสะลองเป็นต้น การดำหัวหรือสระผมในวันสังขานต์ล่อง ปี ๒๕๔๙ ควรหันหน้าไปทางทิศตะวันออก วันนี้ช่วงบ่ายจะมีการนำพระพุทธรูปสำคัญ ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์ พระเสตังคมณี และพระเจ้าฝนแสนห่า เป็นต้น ออกมาแห่ไปตามถนน ให้ชาวบ้านได้นำน้ำอบน้ำหอม อันผสมด้วยขมิ้น ส้มป่อย เกสรดอกไม้สรงน้ำพระพุทธรูปองค์สำคัญของชาวบ้านชาวเมือง
วันสังขานต์ล่องนี้ ตามประเพณีล้านนาโบราณ กษัตริย์แห่งล้านนาจะต้องทำพิธีสรงน้ำ ตามทิศที่โหรหลวงคำนวณไว้ และจะลงไปทำพิธีลอยเคราะห์ในแม่น้ำแม่ปิง ในพิธีนั้นกษัตริย์จะเสด็จไปตามสะพานที่ทอดจากฝั่งลงไปร้านที่อยู่กลางแม่น้ำ แล้วทำพิธีสะเดาะเคราะห์ หรือลอยเคราะห์ โดยมีเครื่องสักการะและน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่ในสลุงคำ สลุงเงิน (ขันทองและขันเงิน) เตรียมไว้ก่อน เมื่อกษัตริย์ หรือเจ้าเมืองเสด็จลงร้านหรือประรำพิธีแล้ว ก็จะทรงทำพิธีสะเดาะเคราะห์หรือลอยเคราะห์ให้ไกลไปตามน้ำในวันสังขานต์ล่องนี้
ที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จะมีพิธีลอยสังขานต์ ทุกบ้านจะทำสะตวงใส่เครื่องเหมือนสะตวงทั่วไป มีข้าวแป้งปั้นเป็นก้อนเอาเช็ดตามหน้าตา เนื้อตัว แขนขา โดยเชื่อกันว่าเป็นการเช็ดเอาเคราะห์ภัยต่าง ๆ หรือสิ่งชั่วร้ายที่มีอยู่ในเนื้อตัวใส่ในสะตวงนำไปทำพิธีลอยน้ำแม่แจ่ม เพื่อให้เคราะห์ภัยต่าง ๆ ลอยไปกับสายน้ำพร้อมกับปีเก่าที่ผ่านเลยไป


วันเน่า หรือ วันเนาว์ ชื่อเรียกวันนี้ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า ห้ามทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคลในวันนี้ โดยเฉพาะห้ามด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้ ปากของผู้นั้นจะเน่าเหม็น และหากวิวาทกันในวันนี้บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ที่ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ “เน่า” และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว
วันเนาว์นี้จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ในวันพญาวัน ตอนบ่ายมีการขนทรายเข้าวัด ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ติดเท้าของตนออกจากวัด ซึ่งเท่ากับว่าได้ลักของจากวัด ขณะขนทรายเข้าวัด ก็จะกล่าวคำว่าขนทรายเข้าวัดเป็นภาษาบาลีว่า “อะโห วะตา เม วาลุกัง ติระตะนานัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ” กล่าวรำพึงอย่างนี้วนไปวนมาจนขนทรายเสร็จ
วันนี้บางคนก็จะทำตุง เช่น ตุงไส้หมู หรือ  ช่อพญายอ และช่อ ซึ่งเป็นธงรูปสามเหลี่ยมเตรียมไว้สำหรับนำไปปักที่เจดีย์ทราย วันเน่านี้ อาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วันดา” เพราะเป็นวันที่จัดเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ที่จะใช้ทำบุญ และบริโภคในวันพญาวัน ขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลสงกรานต์นี้ มีหลายชนิด เช่น ข้าวหนมจ๊อก, ข้าวหนมปาด หรือข้าวหนมศิลาอ่อน.เข้าวิทู ( อ่าน เข้าวิตู ) คือข้าวเหนียวแดง, ข้าวแตน ( อ่าน ข่าวแต๋น ) เป็นต้น


วันพญาวัน วันนี้ถือว่า เริ่มต้นจุลศักราชใหม่ วันนี้จะทำบุญสุนทานกันอย่างยิ่งใหญ่ ตั้งแต่เวลาเช้าตรู่ผู้คนจะนำสำรับกับข้าวไปถวายพระตามวัน เรียกกันว่า “ทานขันเข้า” เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ บางคนก็จะนำสำรับอาหารไปทานให้แก่บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้ที่ตนเองนับถือ ซึ่งการทำเช่นนี้เขาเรียกว่า “ทานขันเข้าคนเฒ่าคนแก่” จากนั้นก็จะนำตุงที่มัดติดกิ่งไผ่ หรือต้นกุ๊ก ซึ่งเตรียมไว้เมื่อเมื่อวันก่อนไปปักบนเจดีย์ทราย ทั้งนี้มีคติว่าการทานตุงนั้นมีอานิสงส์ช่วยให้ผู้ตายที่มีบาปหนักถึงตกนรกนั้นสามารถพ้นจากขุมนรกได้ โดยที่ชายของตุงจะพันตัวของผู้ตกนรกนั้น แล้วดึงพ้นจากขุมนรกขึ้นมา ความเชื่อถืออีกอย่างหนึ่งก็คือ ในวันพญาวันนี้ชาวเหนือจะนำไม้ง่ามไปถวายวัด สำหรับค้ำต้นสะหลี ไม้ง่ามนี้จะมีกรวยดอกไม้ ธูปเทียน ( เรียกสวยดอก ) และกระบอกบรรจุน้ำพร้อมทราย ผูกติดกับไม้ง่ามไปด้วย การทานไม้ง่ามนี้ ถือคติว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป แล้วจะทำพิธีสรงน้ำทั้งพระพุทธรูป สถูปเจดีย์รวมทั้งสรงน้ำพระสงฆ์ เจ้าอาวาสด้วย ตอนบ่ายก็มีการไปดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ บิดามารดา ผู้อาวุโสเป็นต้น
วันนี้ชาวบ้านที่ไม่ไปวัด จะไปเตรียมสถานที่เพื่อทำบุญ “ใจบ้าน” คือบริเวณที่ตั้งของ “เสาใจบ้าน” ได้แก่สะดือบ้าน มีการจัดทำรั้วราชวัตร ประดับด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย เป็นต้น จากนั้นก็จะโยงด้ายสายสิญจน์จากเสาใจบ้านต่อ ๆ กันไป จนถึงทุกหลังคาเรือน จัดทำแตะไม้ไผ่สานจำนวน ๙ แผง แล้วใช้ดินเหนียว วางบนแตะนั้น พร้อมทั้งใส่เครื่องบูชาต่าง ๆ และให้ใช้ไม้ทำ หอก ดาบ แหลม หลาว หน้าไม้ ปืน ธนู วางบนแตะทั้ง ๙ นั้น เพื่อทำพิธี “ส่งเคราะห์บ้าน” หรือพิธี “นพเคราะห์ทั้งเก้า”


วันปากปี ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้ชาวบ้านจะกินแกงขนุน เพราะเชื่อว่าจะค้ำชูอุดหนุนให้ชีวิตประสบแต่ความสุข ความเจริญ ตลอดทั้งปี และจะพากันไปดับหัววัด คือไปทำพิธีคารวะเจ้าอาวาสที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ตกตอนค่ำก็ให้แต่ละบ้านบูชาเทียน คือการนำเทียนซึ่งมีไส้ทำด้วยกระดาษสา ที่เขียนเลขยันต์มาจุดบูชาพระพุทธรูปอีกด้วย


วันปากเดือน ปากวัน และปากยาม ๓ วันนี้ ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นวันใหม่ ในวันนี้นิยมมีการส่งเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และไปคารวะดำหัวผู้เฒ่าผู่แก่ ครูบาอาจารย์ กิจกรรมของคนเมืองเนื่องในประเพณีปีใหม่เมืองก็จะเริ่มจางลงไปเรื่อย ๆ ชีวิตปรกติเริ่มต้นขึ้น
"
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 07:33

 ถ้าดูในโทรทัศน์เดี๋ยวนี้  จะเห็นว่าเวลานำเสนอเกี่ยวกับประเพณีรดนำ้ดำหัวผู้ใหญ่  เปลี่ยนจากผู้ใหญ่เป็นคนให้พรกลายเป็นเด็กให้พรผู้ใหญ่ไป  ซึ่งผมว่ามันดูแปลกๆ  แต่อย่างน้อยก็ยังดีที่สื่อยังส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอันดีของสงกรานต์  แต่ถ้าจะทำให้ถูกต้องตามประเพณีก็คงจะดีกว่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 11:27

 ผมข้องใจอย่างหนึ่งครับ
ปฏิทินล้านนาระบุว่า วันสังขานต์ล่องปีนี้ ตรงกับวันที่ 14 เม.ย.
แต่ทางราชการ และสื่อมวลชนต่างระบุว่าตรงกับวันที่ 13 เม.ย. เหมือนที่เคยเป็นมา
กลายเป็นว่า เทศกาลสงกรานต์ทางเหนือปีนี้จัดเร็วไป 1 วันครับ

ที่คุณศศิศพูดก็ถูกครับ วันสงกรานต์ส่วนใหญ่เขาก็นึกแต่เรื่อง สงครามน้ำ

ถ้าใครได้ดูรายการกรองสถานการณ์ เมื่อวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา
ซึ่งมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มาพูดถึงเรื่องสงกรานต์ในมิติใหม่
ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้น ประกอบด้วย อ. ศรีศักร วัลลิโภดม,คุณนิวัติ กองเพียร และคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
สรุปใจความได้ว่า เราควรจะให้ความสำคัญกับวันสงกรานต์ในด้านวันครอบครัว,เรื่องการสาดน้ำควรจะทบทวนใหม่ว่าเหมาะสมเพียงใดครับ
พบกันใหม่คราวหน้าครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 11:41

 ไม่ใช่แต่เฉพาะหนังสือปีใหม่เมือง หรือประกาศสงกรานต์ล้านนา ที่บอกว่า...ปีนี้

วันสังกรานต์(สังขานต์)ล่อง คือวันที่ 14 เมษา
วันเน่า คือวันที่ 15 เมษา
วันพระญาวัน คือวันที่ 16 เมษา

แต่ทางไทยภาคกลางก็เป็นวันเดียว เวลาเดียวกันครับผม เพราะว่าใช้คัมภีร์สุริยยาตรเช่นเดียวกัน

คือว่า มหาสงกรานต์ คือวันที่ 14 เมษา
วันเนา คือวันที่ 15 เมษา
และวันเถลิงศก คือวันที่ 16 เมษา

แต่มันเป็นความสะดวกและความเคยชิน ที่จะปฏิบัติต่าง ๆ ตามวันหยุดทางราชการ

ซึ่งผมก็อยากจะเสนอว่า

"น่าจะมีการประกาศวันหยุดทางราชการในช่วงวันสงกรานต์ให้ตรงกับวันสังกรานต์ล่อง (ตรุษสงกรานต์) วันเน่า (วันเนา) และวันพระญาวัน (วันเถลิงศก)

เพราะอย่างไร ก็มีการคำนวณไว้ล่วงหน้าแล้วว่า ปีถัดไปวันเหล่านั้นจะตรงกับวันที่เท่าไร แล้วกำหนดวัดหยุดทางราชการให้ตรงกับวันเหล่านั้น เหมือนกับวันหยุดทางราชการที่ตรงกับวันสำคัญทางศาสนา ที่เลื่อนไปเป็นปี ๆ ก็น่าจะได้นะครับผม"
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 13:08

 ผมเห็นด้วยเลยทีเดียวกับ คหพต.ที่3 ของคุณหยดน้ำครับ
ผมก็ไม่ อยากให้คนหนุ่มสาวเราๆท่านๆ เข้าใจว่าเราควรไปอวยพรผู้ใหญ่ เนื่องในโอกาสเทศกาลงานสงกรานต์เช่นกันครับ
เคยเห็นแต่เราไปขอพรผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัว
การได้พรดีๆ จากผู้ใหญ่ตั้งแต่เริ่มวันปีใหม่มา ถือว่าเป็นมงคล และจะเกิดมงคลกับเรา(ผู้น้อย)จวบจนสิ้นปีเลยทีเดียว
ก็ออกจะแปลกๆอยู่หากเราจะไปอวยพร หรือให้พรผู้ใหญ่ เนื่องในโอกาสวันปีใหม่(วันสงกรานต์)
ว่าไหมครับ

ปล.ปีใหม่เมืองปีนี้ออกจะตลกๆอยู่ เพราะผมเห็นเด็ก,วัยรุ่นแถวบ้าน ถูกด่าถูกบ่นในวันปีใหม่เมืองอยู่ตลอดเพราะมัวแต่เล่นน้ำสาดน้ำ บ้างก็เมาหัวราน้ำ ร้องเพลงโหวกเหวก บางพวกขับรถเบิ้ลเครื่องเสียงดัง หรือบางทีทะลึ่งตึงตังลามก บ้างก็ทำตัวเป็นนักลงนักเลง หนักๆก็ตีหัวหมาด่าแม่เจ็กกัน
จากที่จะได้รับพร เป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ก็กลายเป็น ถูกด่าถูกแช่งไปเสียนี่!!
อย่างนี้ ถือว่าเป็น อัปมงคลตั้งแต่วันปีใหม่เลยไหมเนี้ย....    
บันทึกการเข้า
111
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 16:10

 ปีนี้พิด'โลกล้มแชมป์เก่าโคราช ...............



สงกรานต์แต่โบราณมาคงไม่มีใครเมาแล้วขับ (เกวียน) ขี่ (ม้า)



เฮ้อ....... เทศกาลบุญแท้ๆ
บันทึกการเข้า
M.Shinoda
อสุรผัด
*
ตอบ: 9

ศึกษาอยู่โรงเรียน นวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบ วิทยาลัย สมุทรปราการ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 17:18

 เทศกาลนี้ทีไรอุบัติเหตุเยอะมากจริงๆครับ เนื่องด้วยหลายปัจจัยต่างๆ เช่น เมา หลับใน
มีผู้เฒ่าผู้แก่ท่านนึงก็เตือนสติบอกว่า
'มารดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ อย่าให้ผู้ใหญ่ต้องไปรดน้ำ'??
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 20:51


สงกรานต์ เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทย

วัฒนะ - คือความเจริญ งอกงาม
ธรรม - คือธรรมชาติ

วัฒนธรรมไทย ไม่ได้ตายไปจากคนไทย
แต่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยเห็นวัฒนธรรมไทยแต่กาลก่อน
ก็จะเห็นความแตกต่างว่าการเล่นสงกรานต์เดี๋ยวนี้กับตอนที่ท่านเป็นเด็ก
นั้นแตกต่างกันมาก
แต่เด็กรุ่นใหม่จะไม่รู้เลยว่าแต่ก่อนเขาทำกันอย่างไร

หากอยากให้เด็กรักษาวัฒนธรรมให้เหมือนเดิมแต่โบราณนานมา
คนรุ่นเก่า ก็ต้องช่วยสืบสาน
โดยการสาธิตให้เห็นว่าทำอย่างไร
เพราะเด็กมักไม่ทำตามที่ผู้ใหญ่บอก(หากสิ่งนั้นขัดกับแรงผลักดันตามธรรมชาติ)
แต่เด็กจะทำตามอย่างที่ผู้ใหญ่ทำให้ดู รวมทั้งสังคมที่มีกระแสทำตามกัน
ก็เป็นเหตุให้วัฒนธรรมมีวัฒนาการต่อไปเรื่อย ๆ

การเล่นน้ำฉ่ำกันทั้งเมือง ก็คงมีแต่ประเทศไทย
ผมว่ามันก็ดึงดูดนักท่องเทียวได้ดีระดับหนึ่ง
ใครจะมาเมืองไทยช่วงสงกรานต์ก็ต้องเตรียมตัวเปียกให้ดี
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 21:00


จะมีที่แห่งใดในโลกที่คนที่มาพบกัน ยิ้ม ทักทาย ประแป้งให้กัน
ยิ้ม หัวเราะให้กันด้วยไมตรีทั้งประเทศ เหมือนเมืองไทย

ผมเดินถือกล้องบนถนนดินสอ
ไม่มีใครสาดน้ำผม มีเด็กมาจะสาด ผู้ใหญ่ก็บอกว่าระวังเดี๋ยวไปโดนกล้องเขา
แล้วเราก็ยิ้มให้กัน
แล้วเขาก็ขอประแป้งหน่อย  
ประเทศเรา ช่างน่าอยู่จริง ๆ
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 21:04


1 ในหลายคนที่ประแป้งให้ผม
(สาว ๆ ก็มี แต่เก็บรูปไว้ดูเอง อิอิ)
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 21:13


ผมตั้งใจจะถ่ายภาพศาลาที่อยู่ห้านหลัง
แต่เขาและเขาเหล่านี้ รู้สึกว่าผมอยากจะถ่ายรูปพวกเขา
ก็ไม่อยากทำให้หล่อนเสียใจในวันปีใหม่ไทย
เธอถามว่า จะเอาไปลงหนังสืออะไร
ผมบอกว่าจะเอาไปขึ้นอินเตอร์เน็ต
เท่านั้น เธอก็กรีดกันสนั่น    
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 21:16

 “รดน้ำ ไม่ดำหัว”

   เมื่อจะรดน้ำ ก็ไม่มีดำหัว และเมื่อจะดำหัว ก็ต้องไม่มีรดน้ำ แม้นว่าจะเคยคุ้นเคยกันมานาน ก็อย่างไรเสีย “รดน้ำ” และ “ดำหัว” มันก็คนละเรื่อง ((แต่เผอิญคำมันมาคล้องกันได้นี่สิ))

   การ “รดน้ำ” ผมว่าเป็นเรื่องของคนไทยภาคกลาง ที่นิยมรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ในช่วงสงกรานต์ แต่การ “ดำหัว” เป็นประเพณีของทางเหนือ ซึ่งการปฏิบัติก็แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้นจะมารวมกันก็ยากเต็มที จึงนำเรื่องราวของการดำหัว มาฝากกันครับผม

   ดำหัวปีใหม่

   คำว่า “ดำหัว” ก็คือการสระผม ซึ่งในสมัยก่อนจะทำการ สระผมกลางบ้านเลยทีเดียวแต่ต่อมาก็เหลือเพียงกริยาที่เอาน้ำขมิ้นส้มป่อย มาลูบศีรษะของตน เป็นกริยาว่าได้ดำหัวแล้ว

การดำหัว เป็นการแสดงความเคารพผู้เฒ่าผู้แก่ ครูบาอาจารย์ คลอดถึงบุคคลที่เรานับถือ นอกจากนี้ยังเป็นการขอขมาต่อผู้ใหญ่ ที่บางครั้งในรอบปี เราได้ล่วงเกินทั้งทางกาย วาจา ใจ ด้วยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ดี ก็จะมากระทำการขอขมาคารวะในวันปีใหม่ผ่านพิธีดำหัวนี้

   ในพิธีการดำหัว จะประกอบไปด้วยเครื่องเคารพซึ่งประกอบด้วยข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน น้ำขมิ้นส้มป่อย และของบริวารอื่น  ๆ เช่น มะม่วงมะปราง แตงกวา กล้วยอ้อย ขนม ข้ามต้ม หมากพลู บุหรี่ หรือเงินทองใส่ไปด้วยก็ได้ หรืออาจจะมีเสื่อผ้า กางเกง ผ้าซิ่น ผ้าขนหนูหรือของที่ระลึกอื่น ๆ จัดแต่งใส่พาน หรือภาชนะเรียบร้อยสวยงาม

   การกล่าวขอขมาลาโทษเป็นทำนองว่า

   “วันนี้เป็นวันเดือนจีปี๋ใหม่ หมู่ลูกหลานตังหลายได้มาขอขมาลาโทษป้ออุ๊ย แม่อุ้ย ((...หรือบอกชื่อผู้รับการดำหัว....)) แม้นว่าพวกข้าเจ้าตังหลาย ได้ปากล้ำกำเหลือ ล่วงเกิ๋นด้วยประการใด ๆ ก็ดี ขอป้ออุ๊ย แม่อุ๊ย ((... หรือบอกชื่อผู้รับการดำหัว...)) ได้หื้อขมาลาโทษแก่ผูงข้าเจ้าตังหลายด้วยเต๊อะ

   ผู้รับดำหัวจะรับประเคนของแล้วเอาผ้าขาวม้าหรือผ้าสไบพาดบ่าแล้วให้พรด้วยโวหารว่า

    “เอวัง โหนตุ ดีแล อัชชะในวันนี้ ก็เป็นวันดี สะหลีอันประเสริฐ ล้ำเลิศกว่าวันตังหลาย บัดนี้รวิสังขานต์ก็ข้ามล่วงป๊นไปแล้ว ปี๋ใหม่แก้วก็มาฮอดมาเถิง ลูกหลานตังหลายก็บ่ละเสียยังฮีด บ่รีดเสียยังป๋าเวณี เจ้าตังหลายก็ได้น้อมนำมายังมธุบุปผาและสุคันโธทกะ สัพพะวัตถุนานาตังหลาย มาขอสมมาคารวะตนตัวผู้ข้า ว่าฉันนี้แต๊ดีหลี แม้นว่าเจ้าตังหลายได้ปากล้ำกำเหลือ ขึ้นที่ต่ำ ย่ำที่สูง ผิดด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ดั่งอั้นก็ดี ผู้ข้าก็จักอโหสิกรรมหื้อแก่สูเจ้าตังหลาย แม่นว่าสูเจ้าตังหลายจักไปสู่จตุทิสสะ อัฐทิสสะ วันตกวันออกขอกใต้หนเหนือค้าขายวายล่องท่องเทียวบ้านเมือง และอยู่บ้านจองหอเฮือนก็ดี จุ่งหื้ออยู่ชุ่มเนื้อเย็นใจ๋ หื้อเป็นที่ปิยะมะนามักรักจำเริญใจ๋แก่หมู่คนและเตวดา แล้วจุ่งหื้อก้านกุ่งรุ่งเรืองไปด้วยโภคะธนะธนัง ข้าวของเงินคำสัมปัตติตังหลาย แม่นจักกินก็อย่าหื้อได้ผลาญ จักตานก็อย่าหื้อได้เสี้ยง ห้อมีอายุยืนยาวนั้นแต๊ ดีหลี

   สัพพีติ โย วิวัชชันตุ สัพพโรโค วินัสสตุ มา เต ภวันตะวันตรายโย สุขีทีฆายุโก ภวะ อภิวาทนสีลิสนิจจัง วุฑฒาปจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ สุขัง พลัง๚”


   ระหว่างที่ทำพิธีอยู่นั้น บรรดาผู้ฟังต่าง ๆ ก็จะพนมมือรับพร เมื่อผู้ให้พรกล่าวจบต่างก็ยกมือจรดเหนือหัวพร้อมเปล่งเสียง “สาธุ” พร้อม ๆ กัน เสร็จแล้วผู้รับการดำหัว ก็จะรับธูปเทียนไปใส่ในพานใหญ่ที่เตรียมไว้ เอามือจุ่มลงในน้ำขมิ้นส้มป่อยแล้วลูบศีรษะของตนเป็นกริยาว่าได้ดำหัวแล้ว และนำน้ำขมิ้นส้มป่อยเทลงในขัน เป็นอันเสร็จพิธี
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 21:36


ถ้าเราอยากให้เด็กรักษาสิ่งใดไว้
เราก็ต้องรักษาสิ่งนั้นให้เขาดู หรือไม่ก็ทำไปพร้อม ๆ กัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง