UP
|
 เทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่ชาวไทยจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทีอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งต่อพระรัตนตรัย ต่อบุรพชน และเป็นโอกาสที่จะได้แสดงน้ำใจไมตรีต่อสมาชิกต่อญาติมิตร
พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงยึดถือความกตัญญูกตเวทีเป็นธรรมะประจำพระราชหฤทัยมาทุกยุคทุกสมัย ครั้นถึงเทศกาลสงกรานต์ นอกจากจะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงพระราชอุทิศแด่สมเด็จพระบรมราชบุรพการีแล้ว ยังมีราชประเพณีหนึ่งที่น่าสนใจยิ่ง คือการพระราชทานเครื่องสรงน้ำ และเครื่องรดน้ำสงกรานต์ (แก่บุคคลผู้ยังมีชีวิต) ซึ่งเป็นราชประเพณีที่ทรงปฏิบัติเป็นการภายใน จึงไม่ใคร่มีผู้ใดได้ทราบแพร่หลายนัก
ผมขออนุญาตเล่าให้ฟังตามสติปัญญาจะอำนวย หากว่าท่านใดมีข้อมูลเสริมก็กรุณาด้วยนะครับ
ทราบมาว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังทรงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเครื่องสรงน้ำสงกรานต์เป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเครื่องรดน้ำแก่ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระชนนี เมื่อครั้งยังมีชีวิต เป็นประจำทุกปี
นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ตลอดจนข้าราชสำนักผู้ใหญ่ เชิญเครื่องสรงน้ำ-รดน้ำสงกรานต์ ไปพระราชทานแก่พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ สมเด็จพระสังฆราช ตลอดจนข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้สูงอายุ บางพระองค์และบางท่านที่ทรงนับถือ เป็นการแสดงพระราชกตัญญุตาธรรมและพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเหลือ
เครื่องสรงน้ำ-รดน้ำสงกรานต์ พระราชทาน ประกอบไปด้วยเงินพระราชทาน น้ำอบไทย และผ้าขาวสำหรับนุ่ง ๑ ผืน ผ้าขาวสำหรับห่ม ๑ ผืน ผ้าลายสำหรับนุ่ง ๑ ผืน ผ้าแพรสำหรับห่ม ๑ ผืน ผ้าแต่ละผืนจับจีบพับเป็นรูปยาวแล้วซ้อนกัน ผูกริบบิ้นที่หัวท้าย ส่วนเครื่องสรงน้ำพระราชทานแด่สมเด็จพระสังฆราช จะเปลี่ยนผ้านุ่งผ้าห่มเป็นผ้าไตร ๑ สำรับแทน |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 13 เม.ย. 06, 05:05
|
|
 ตามราชประเพณีนั้น จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงสงกรานต์แก่บุคคลผู้มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป
เช่น เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖ ทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษาแล้วก็ทรงได้รับพระราชทานเครื่องสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นประจำทุกปี
ภาพนี้เป็นหมายรับสั่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ต่อมาคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) เชิญเครื่องสรงน้ำพระราชทานมาถวายพระนางเจ้าสุวัทนาฯ ครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 13 เม.ย. 06, 05:12
|
|
อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ตลอดจนบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงปฏิบัติตามพระราชปฏิบัตินี้เช่นกัน เช่น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญเครื่องสรงน้ำสงกรานต์ไปพระราชทานแก่เจ้านายหลายพระองค์ในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันนี้ยังคงมีพระชนม์อยู่พระองค์เดียว คือ หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aha_s
อสุรผัด

ตอบ: 14
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 20 เม.ย. 06, 23:15
|
|
ช่วยเพิ่มเติมของพี่ UP นะครับ ในปี ๒๕๔๙ นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสรงน้ำ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ ปี ๒๕๓๒ เป็นต้นมา
และในปี ๒๕๔๙ นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสรงน้ำ หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ (ปี ๒๕๔๘ พระราชทานสรงน้ำ หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ )
สำหรับสมเด็จพระสังฆราชฯ จะพระราชทานผ้าไตรเนื้อดี 1 ไตร สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับพระราชทานสรงน้ำเนื่องในโอกาสพระราชพิธีสงกรานต์ จะได้รับพระราชทาน เงิน ๓ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ผ้า ๒ สำรับ(สำหรับผ้าที่พระราชทาน พี่ UP ได้ให้รายละเอียดไว้หมดแล้วนะครับ)
และผมได้นำหมายรับสั่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ราชเลขาธิการ แทนพระองค์ไปในการสรงน้ำ สมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นครับ
ส่วน พระบรมวงศานุวงศ์นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล แทนพระองค์ไปในการสรงน้ำหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
aha_s
อสุรผัด

ตอบ: 14
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 20 เม.ย. 06, 23:19
|
|
หมายรับสั่งครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 22 เม.ย. 06, 20:21
|
|
การพระราชทานน้ำสงกรานต์นั้น เท่าที่ทราบสมัยก่อนนั้นจะพระราชทานแก่เจ้านายและข้าทูลละอองธุลีพระบาทที่ทรงเจริญพระชนมายุหรือมีอายุสูงกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ปัจจุบันไม่ทราบว่า มีเกณฑ์พระราชทานอย่างไร
เมื่อครั้งผมยังเป็นเด็กนักเรียนได้มีโอกาสร่วมในพิธีพระราชทานน้ำสงกรานต์ครั้งหนึ่ง คราวนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมหลวงทวัสันตฺ ลดาวัลย์ ราชเลขาธิการ (ซึ่งเพิ่งล่วงลับไป) เป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญพระราชทานน้ำสงกรานต์ไปพระราชทานพระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา) ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยในเวลานั้น เมื่อผู้แทนพระองค์เดินทางมาถึงหอประชุมวชิราวุธวิทยาลัยโดยรถยนต์พระประเทียบ ครูและนักเรียนทั้งหมดลุกยืนถวายเคารพ เมื่อท่านผู้แทนพระองค์นั่งเรียบร้อยแล้ว ทุกคนนั่ง ท่านผู้บังคับการลงนั่งคุกเข่าบ่ายหน้าไปทางพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กราบถวายบังคม ๓ ลา แล้วหมอบรับพระราชทานน้ำสงกรานต์และของพระราชทานเป็นผ้าคู่ (ดังที่คุณUp) บรรยายไว้แล้ว พร้อมเงิน ๓ ชั่ง ๑๕ ตำลึง (๓๐๐ บาท ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้ขึ้นให้หรือยัง) รับพระราชทานแล้วเชิญขึ้นวางบนพานที่จัดไว้ เสร็จแล้วท่านผู้บังคับการลุกขึ้นนั่งเก้าอี้ ท่านผู้แทนพระองค์ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านลงมากราบท่านผู้บังคับการ แล้วผู้แทนพระองค์จึงเดินทางกลับ นับว่าเป็นบุญของผมที่ได้มีโอกาสเห็นขนบประเพณีที่งดงามเช่นนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 23 เม.ย. 06, 01:51
|
|
ในอดีตมีข้าทูลละอองธุลีพระบาทได้รับพระราชทานเครื่องรดน้ำสงกรานต์หลายท่านครับ ปัจจุบันเห็นจะล่วงลับไปมากราย
ขอเอ่ยนามพอเป็นตัวอย่างเช่น พลโท หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร นายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 23 เม.ย. 06, 01:56
|
|
น้ำสรง ผ้าคู่ และเงิน ที่เคยพระราชทานแก่พระบรมวงศ์ในโอกาสสงกรานต์นั้น เมื่อพระบรมวงศ์เสด็จสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็แปรสภาพไปเป็นการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศพระราชทานในลักษณะเทียบเคียงแทน คือการสดัปกรณ์ผ้าคู่ เครื่องสดับปกรณ์ผ้าคู่นั้น มี น้ำอบไทย ๑ ขวด ผ้าขาวสำหรับนุ่ง ๑ ผืน ผ้าข่าวสำหรับห่ม ๑ ผืน ธูปเทียน ๑ มัด และปัจจัยปวารณา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|