111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:14
|
|
หาเงินติดไถ้ไว้อย่าให้ขาด ตำลึงบาทหาไม่คล่องเพียงสองสลึง ชาติตะปูชาติแข็งต้องแทงตรึง ชาติขี้ผึ้งชาติอ่อนร้อนละลาย ของสิ่งใดสงสัยให้พิสูจน์ ไม่แกล้งพูดธาตุทั้งสี่ดีใจหาย ดูดินน้ำลมไฟให้แยบคาย ไล่ระบายเท็จก็แปรแท้ไม่จร ปลาร้าเค็มพริกเทศเผ็ดไฉน เอออะไรดูเถิดยังเกิดหนอน กลับฟอนฟันพริกปลาร้าสถาพร ทั้งเค็มร้อนไม่ถึงกรรมเป็นธรรมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:18
|
|
พูดโกหกแต่แยบคายอุบายปด คนทั้งหมดนั่งฟังไม่กังขา ที่ซื่อถือแท้แน่เจรจา เขาก็ว่าพูดปดทุกบทไป เป็นเจ้านายผู้ดีมีวาสนา เอาพ่อตาลงข้างล่างใช้ต่างไพร่ มีเมียน้อยหลักแหลมก็แถมใช้ ลูกเขยจนแล้วก็ใส่คอเป็นเอ็น คุณกับโทษสองแบ่งแรงข้างไหน คุณถึงใหญ่ให้ผลคนไม่เห็น โทษเท่าหัวเหาเล็กเท่าเล็น ให้ผลเห็นแผ่ซ่านทั่วบ้านเมือง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:24
|
|
น้ำใจเอ๋ยเห็นกรรมไม่ทำชั่ว บวชตั้งตัวตั้งใจบวชได้เรื่อง บวชหลบราชการหนักบวชยักเยื้อง บวชหาเฟื้องหาไพบวชไม่ตรง หลายตำบลหลายแห่งแขวงป่าช้า อศุภพาเกิดพินิจพิศวง ป่าช้าใหญ่คือเตาไฟไยมิปลง สังเวชลงว่าเผาผีทุกวี่วัน สัตว์ผอมฤษีพีนี้สองสิ่ง สามผู้หญิงรูปดีไม่มีถัน กับคนจนแต่งอินทรีย์นี้อีกอัน สี่ด้วยกันดูเป็นไม่เห็นงาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:28
|
|
บรรพชาสามปางนางสามผัว ข้าเก่าชั่วเมียชังเขายังห้าม มักเกิดเงี่ยงเกี่ยงแง่แส่หาความ กาลีลามหยาบช้าอุลามก เคหฐานหยาบช้าหาสะอาด มูลฝอยใบไม้ใช่ญาติอย่ามุ่นหมก อย่าเข้าทำส่ำสมนิยมรก ไฟจะตกลามไหม้ไม่ได้การ กิ่งไม้เรียวหนามหนาศิลาหัก เห็นเสียบปักอยู่กลางทางสถาน หยิบทิ้งเสียบุญหนักหนาอย่าขี้คร้าน ทำไปนานแล้วก็ก้างไม่ค้างคอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:32
|
|
ถือตำรามากนักขี้มักกรอบ มิเสียชอบขัดสนจนจ่อนจ่อ ออกชื่อบาปครางฮือทำมืองอ ไม่นึกฉ้อส่อเสียดเบียดบังใคร จิตดำรงคงธรรมไม่พล้ำเพลี่ยง สู้หลีกเลี่ยงตามภาษาอัชฌาสัย ถึงบอกลาภบาปแล้วไม่พอใจ มีหาไม่อุตส่าห์รักษากาย พระพุทธองค์ก็ทรงชมว่าสมปราชญ์ บัณฑิตชาติเมธาปัญญาหลาย สู่คติเบื้องหน้าถ้าเขาตาย ทางอบายห่างไกลไม่ไปเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:36
|
|
กระแสพุทธฎีกาว่ากระนี้ เดี๋ยวนี้นี่ไม่กระนั้นนะท่านเอ๋ย ถ้ายากจนแล้วก็คนมักยิ้มเย้ย ภิปรายเปรยเปรียบเทียบพูดเสียบแทง ว่าชะชะนักปราชญ์ญาติสถุล วิบากบุญให้ผลจนต่องแต่ง สวรรค์นรกที่ไหนไม่แจ้งแจง อยู่เขตแขวงธานีบุรีใด อย่าคบมิตรจิตพาลสันดานชั่ว จะพาตัวให้เสื่อมที่เลื่อมใส คบนักปราชญ์นั่นแหละดีมีกำไร ท่านย่อมให้ความสบายหลายประตู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:41
|
|
ความเจริญและความฉิบหายนั้น ที่เกิดมันไม่มากเท่าปากหู อ้ายคิ้วตานั่นก็เปล่าแต่เจ้าชู้ จมูกรู้ก็แต่สูดพูดไม่เป็น ชั่วแต่กายวาจาย่อมปรากฏ คนทั้งหมดแม่นแท้เขาแลเห็น ชั่วในใจบังปิดให้มิดเม้น สิบห้าเล่มเกวียนเข็นไม่หมดมวล คดสิ่งอื่นหมื่นแสนแม้นกำหนด โกฏิล้านคดซ้อนซับพอนับถ้วน คดของคนล้นล้ำคดน้ำนวล เหลือกระบวนที่จะจับนับคดค้อม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:46
|
|
หินกับเหล็กชุดดีตีเอาเถิด ไฟก็เกิดหินร่อยไปเหล็กไม่ผอม ถึงหินนิดกรีดกดตีอดออม อุตส่าห์ถนอมใช้ไปได้นมนาน จะผ่าไม้ให้พินิจพิศดูว่า ให้เห็นว่าแสกไหนเหมาะจึงเจาะขวาน จะเข้าหาคนผู้ดูอาการ ถือโบราณถูกเดาถึงเอาคำ ห้าสิบปีมีประมาณฐานเก่าเก่า น้ำไม่เข้าท่วมถึงที่มีดินถนำ โตเท่าผลมะขวิดสดเร่งจดจำ ถูเงินเฟื้องเหลืองก่ำเป็นทองจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:52
|
|
คนพันหนึ่งเสาะสางทางเสน่ห์ อุปเทห์ทำให้ยอบชอบใจหญิง เสกทีใดใจเจ้าของต้องประวิง ได้ก็เกิดยุ่งยิ่งร้างหย่ากัน รักกันเองหรือขอสู่อยู่กันยืด ไม่จางจืดเสน่หาจนอาสัญ อื่นอื่นนั้นยกไว้ใจสำคัญ กับอีกอันปฏิบัติไม่ขัดเรา คนมียศรูปสวยทั้งรวยทรัพย์ เสน่ห์บทนี้ปับขลังจริงเจ้า สาวสาวเห็นหมดหน้าถ้าจะจะเอา ไม่ต้องเป่าเสกคาถาก็มาเจียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:56
|
|
คนแก่มีสี่ประการโบราณว่า แก่ธรรมาพิสมัยใจแห้งเหี่ยว แก่ยศแก่วาสนาปัญญาเปรียว แต่แก่แดดอย่างเดียวแก่เกเร ความรู้ท่วมหัวตัวไม่รอด เป็นคำสอดของคนเกเรเกเส เรียนวิชาไม่แม่นยำคะน้ำคะเน ไปเที่ยวเตร่ประกอบชั่วตัวจึงจน ทะเลน้อยเท่ารอยโคโผไม่ได้ โดยว่าใจยังกำหนดขัดมรรคผล หญิงขมิ้นชายปูนประมูลปน ไหนจะพ้นทะเลแดงตำแหน่งเนื้อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 14:00
|
|
จิ้งจกเรียกจระเข้บกยกขึ้นเท้า แมวตัวเล็กเขาก็ว่าเป็นอาเสือ แมวเป็นอาของพยัคฆ์ชักว่านเครือ ไม่น่าเชื่อหลานอะไรใหญ่กว่าอา อีกข้อหนึ่งเมืองเราชาวมนุษย์ ย่อมว่าพุทธกับไสยตั้งใจว่า ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไปมา ทั้งเจรจารำคาญหูดูไม่งาม พุทธแปลว่าพระเจ้าท่านกล่าวแก้ ไสยนั้นแปลว่าผีนี้ได้ถาม ผิดหรือถูกไม่ตรึกตราเจรจาตาม มีเนื้อความในคัมภีร์บาลีใด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 14:04
|
|
ว่าพระพุทธองค์ไปอาศัยผี ผีไปพึ่งบารมีที่ตรงไหน ถ้อยทีถ้อยพึ่งกันนั้นอย่างไร ครั้นว่าไล่เข้าก็ซัดลัทธิแรง เป็นวาจากรรมเปล่าไม่เข้าข้อ รู้แล้วก็นิ่งไว้อย่าได้แถลง แม้พลั้งปากเสียศีลพลาดตีนแพลง มักระแวงข้างเป็นโทษประโยชน์น้อย หนึ่งนักปราชญ์ผู้เขลากล่าวกำเนิด ว่ากระต่ายตายไปเกิดเป็นหิ่งห้อย เพราะอย่างนั้นรัศมีสีจึงย้อย แล้วอย่าพลอยพูดไถลเหมือนไม้ลิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 14:08
|
|
จะคบมิตรสนิทนักมักเป็นโทษ เกิดขึ้งโกรธต่างต่างเพราะวางจิต ทันระวังตัวที่ไหนไม่ทันคิด เหตุสักนิดแล้วก็ได้ขัดใจกัน ประพฤติดีฝีปากข้างถากถาง คือเห็นทางห้ามรักให้ชักสั้น ฉุกละหุกคลุกคลีถึงตีรัน อ้ายรู้มากที่แลมันเป็นต้นเดิม เจ้าท่านเกลียดอย่าเกลียดแทนองค์เจ้า เอ็นดูเหล่าผู้ผิดอย่าคิดเสริม กริ้วสิ่งใดช่วยซ่อมแซมค่อยแต้มเติม ผู้ผิดเพิ่มพูดผิดใช่กิจเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 14:13
|
|
ผมยาวยุ่งทิ้งไว้ไม่สางหวี สิ้นที่พึ่งแล้วจึงมีคนข่มเหง อาวุธปากกล่าวดีมีคนเกรง ยิงให้เป็นเป้งเดียวถูกทุกทุกคำ ของเข้าที่ออกที่ทางพิเศษ ถ้ารู้เหตุก็คงเห็นเป็นยังค่ำ คว่ำหงายตำตอกบอกแล้วจำ กลางคืนกลางวันร่ำอยู่อัตรา ดูตระกูลกิริยาดูอากัป ดูทิศจับเอาที่ผลต้นพฤกษา ดูฉลาดเล่าก็เห็นที่เจรจา ดูคงคาก็พึงหมายสายอุบล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 14:17
|
|
นกกระจาบเดิมหนัหนามากกว่าแสน ไม่เดือดแค้นสามัคคีย่อมมีผล ครั้นภายหลังอวดกำลังต่างถือตน พรานก็ขนกระหน่ำมาพากันตาย ดูโรงเรือนเปรียบเหมือนกับสังขาร ปลูกไว้นานเก่าคร่ำคร่าฉล่ำฉลาย แก่ลงแล้วโคร่งคร่างหนอร่างกาย ไม่เฉิดฉายเหมือนหนุ่มกระชุ่มกระชวย ตาก็มัวหัวก็ขาวเป็นคราวคร่ำ หูก็ซ้ำไม่ได้ยินเอาสิ้นสวย แรงก็ถอยน้อยกำลังนั่งก็งวย ฟันก็หักไปเสียด้วยไม่ทันตาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|