111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
..............“ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย” กลอนสุภาษิตคุ้นหูที่ได้ถูกนำมาใช้เป็นสุภาษิตสอนใจอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน สุภาษิตดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งในอีกหลายๆส่วนที่มีความคมคายและเฉียบแหลมของ “สุภาษิตเจ้าอิศรญาณ” หรือที่รู้จักกันอีกในชื่อ “เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ” ผลงานของหม่อมเจ้าอิศรญาณ โอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ สุภาษิตเพลงยาวนี้มีจุดกำเนิดมาจากเมื่อครั้งที่ หม่อมเจ้าอิศรญาณซึ่งมีจริตไม่สู้ปกตินัก กำลังผนวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ ครั้งหนึ่งสำคัญว่าคงกระทำอะไรบางอย่างพิกลไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงกับตรัสบริภาษว่า “บ้า” และดูเหมือนกับว่าบุคคลอื่นๆก็คงจะเห็นจริงดังที่พระองค์ตรัสไป หม่อมเจ้าอิศรญาณน้อยพระทัยจึงแต่งเพลงยาวฉบับนี้ขึ้น โดยมีเนื้อความว่า อิศรญาณชาญกลอนอักษรสาร เทศนาคำไทยให้เป็นทาน โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี สำหรับคนเจือจิตจริตเขลา ด้วยมัวเมาโมห์มากในซากผี ต้องหาม้ามโนมัยใหญ่ยาวรี สำหรับขี่เป็นม้าอาชาไนย ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ.............. ................................ (มีต่อจ้า............)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 18:44
|
|
(ต่อ) ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล เป็นชายชาญอย่าเพ่อคาดประมาทชาย รักสั้นนั้นให้รู้อยู่เพียงสั้น รักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย มิใช่ตายแต่เขาเราก็ตาย แหงนดูฟ้าอย่าให้อายแก่เทวดา อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย น้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 18:45
|
|
เห็นตอหลักปักขวางหนทางอยู่ พิเคราะห์ดูควรทึ้งแล้วจึงถอน เห็นเต็มตาแล้วอย่าอยากทำปากบอน ตรองเสียก่อนจึงค่อยทำกรรมทั้งมวล ค่อยดำเนินตามไต่ผู้ไปหน้า ใจความว่าผู้มีคุณอย่าหุนหวน เอาหลังตากแดดเป็นนิจคิดคำนวณ รู้ถี่ถ้วนจึงสบายเมื่อปลายมือ เพชรอย่างดีมีค่าราคายิ่ง ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ ต่อให้ผู้ดีมีปัญญาจะหารือ ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 18:45
|
|
ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า ใครเลยเล่าจะไม่งามตามเสด็จ จำไว้ทุกสิ่งจริงหรือเท็จ พริกไทยเม็ดนิดเดียวเคี้ยวยังว่าร้อน เกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้ท่า ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ เป็นบ้าจี้นิยมชมว่าเอก คนโหยกเหยกรักษายากลำบากหมอ อันยศศักดิ์มิใช่เหล้าเมาแต่พอ ถ้าเขายอเหมือนอย่างเกาให้เราคัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 18:56
|
|
บ้างโลดเล่นเต้นรำทำเป็นเจ้า เป็นไรเขาไม่จับผิดคิดดูขัน ผีหลอกช่างผีตามทีมัน คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนัก สูงอย่าให้สูงกว่าฐานนานแล้วล้ม จะเรียนคมเรียนเถิดอย่าเปิดฝัก คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา ใครทำตึงแล้วก็หย่อนผ่อนลงเอา นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 18:57
|
|
เป็นผู้หญิงแม่ม่ายที่ไร้ผัว ชายมักยั่วทำเลียบเทียบข่มเหง ไฟไหม้ยังไม่เหมือนคนที่จนเอง ทำอวดเก่งกับขื่อคาว่ากระไร อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว จงฟังหูไว้หูคอยดูไป เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ หญิงเรียกแม่ชายเรียกพ่อยอไว้ใช้ มันชอบใจข้างปลอบไม่ชอบดุ ที่ห่างปิดที่มิดไชให้ทะลุ คนจักษุเหล่หลิ่วไพล่พลิ้วพลิก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 18:57
|
|
เอาเป็นหมอเป็นครูดูปลาหมอ บนบกหนออุตส่าห์เสือกกระเดือกกระดิก เขาย่อมว่าฆ่าควายเสียดายพริก รักหยอกหยิกยับทั้งตัวอย่ากลัวเล็บ มิใช่เนื้อเป็นเนื้อก็เหลือปล้ำ แต่หนามตำเข้าสักนิดกรีดยังเจ็บ อันโลภลาภบาปหนาตัณหาเย็บ เมียรู้เก็บผัวทำพาจำเริญ ถ้ารู้จริงนิ่งไว้อย่าไขรู้ เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ ไม่ควรก้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 19:06
|
|
วาสนาไม่คู้เคียงเถียงเขายาก ถึงมีปากมีเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย ผีเรือนตัวไม่ดีผีอื่นพลอย พูดพล่อยพล่อยไม่ดีปากขี้ริ้ว แต่ไม่ไผ่อันหนึ่งตันอันหนึ่งแขวะ สีแหยะแหยะตอกตะบันเป็นควันฉิว ช้างถีบอย่าว่าเล่นกระเด็นปลิว แรงหรือหิวชั่งใจดูจะสู้ช้าง ล้องูเห่าเล่นก็ได้ใจกล้ากล้า แต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 19:06
|
|
ถึงเพื่อนฝูงที่ชอบพอขอกันได้ ถ้าแม้ให้เสียทุกคนกลัวคนขอ พ่อแม่เลี้ยงปิดปกเป็นกกกอ จนแล้วหนอเหมือนเปรตเหตุด้วยจน ถึงบุญมีไม่ประกอบชอบไม่ได้ ต้องอาศัยคิดดีจึงมีผล บุญหาไม่แล้วอย่าได้ทะนงตน ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 19:08
|
|
****ความของเพลงยาวเจ้าอิศรญาณที่ต่อจากนี้เป็นต้นไป จากสำนวนนั้นคาดว่าเป็นของผู้อื่น******** (มีอีกเยอะพอสมควร)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ชื่นใจ
ชมพูพาน
  
ตอบ: 136
นักศึกษาปริญญาเอก
University of East Anglia
England
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 20:02
|
|
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ จะรออ่านอีกนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 12:56
|
|
ตัวยากอยากจะไปอาศัยเขา ถึงเป็นญาติก็เปล่าเหมือนผู้อื่น แม้มั่งมีเหมือนกันจึงยั่งยืน การยิงปืนลูกถึงแล้วจึงดัง อันคลื่นใหญ่ในมหาชลาสินธุ์ เข้าฝั่งสิ้นสาดเข้าไปในที่ฝัง เสียงกลองดังฟังดูเพียงหูพัง ปากคนดังอึงจริงยิ่งกว่ากลอง ถ้าทำดีก็จะดีเป็นศรีศักดิ์ ถ้าทำชั่วชั่วจักตามสนอง ความชั่วเราลี้ลับอย่ากลับตรอง นอนแล้วมองดูผิดในกิจการ เราทำผิดสิ่งใดในราชกิจ อุตส่าห์คิดอย่าแพร่งแถลงสาร คิดถึงผิดจิตไม่เหิมฮึกทะยาน คิดถึงชอบแล้วก็ปานละเลิงใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:00
|
|
เป็นข้าเฝ้าเหล่าเสวกามาตย์ ยิ่งกว่าทาสทาสาค่าสินไถ่ อย่าให้ชิดอย่าให้ห่างเป็นกลางไว้ ฝ่ายข้างในอย่านำออกนอกอย่าแจง มิควรทูลก็อย่าทูลประมูลข้อ จะเกิดก่อลุกลามความแสลง อย่าพูดปดให้จับได้พูดไพล่แพลง ทูลแล้วแบ่งมุสาอย่าให้เต็ม อันความเรื่องเดียวกันสำคัญกล่าว พูดไม่ดีแล้วก็เปล่าไม่เข้มแข็ง ข้าวต้มร้อนอย่ากระโจมค่อยโลมเล็ม วิสัยเข็มเล่มน้อยร้อยช้าช้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:05
|
|
ถึงโปร่งปรุในอุบายเป็นชายชาติ แม้หลงมาตุคามขาดศาสนา อันความหลงแม้ไม่ปลงสังขารา แต่ทว่ารู้บ้างค่อยบางเบา อย่าโอกโขยกอยู่ในโลกสันนิวาส แต่นักปราชญ์ยังรู้พึ่งผู้เขลา เหมือนเรือช่วงพ่วงลำในสำเภา เรือใหญ่เข้าไม่ได้ใช้เรือเล็ก คนพันหนึ่งดึงดื้อถือมานะ ในทิฏฐะแข็งจริงยิ่งกว่าเหล็ก เหล็กเผาไฟมอญไทยพม่าเจ๊ก ผู้ใหญ่เด็กตีก็อ่อนเพราะร้อนไฟ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
111
มัจฉานุ
 
ตอบ: 55
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 16 เม.ย. 06, 13:10
|
|
อนิจจังภาวนาว่ากุศล พากันบ่นวุ่นวุ่นบุญที่ไหน จังแต่ปากใจยังไม่จังใจ ต่อเมื่อไรสังเวชจิตอนิจจัง หลงโลภลาภบาปก็รู้อยู่ว่าบาป กิเลสหยาบยังไม่สุกย่อมทุกขัง ตัณหาหากชักนำให้กำบัง เอาธรรมตั้งข่มกดให้ปลดร้อน คนศรัทธาว่าง่ายสบายจิต ไม่เบือนบิดเร่งทำตามคำสอน คนที่ไม่ศรัทธาอุราคลอน โง่แล้วนอนถึงไม่ฟังก็ยังดึง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|