นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 11:44
|
|
 ศาลาท่าน้ำตรีมุข |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 11:46
|
|
 ภาพ "พระรัตนสุวรรณ" เป็นพระทองคำทรงเครื่องประดับอัญมณี ปางมารวิชัย หน้าตักประมาณ 4 นิ้ว พร้อมฐานเงินลงยาสีเขียว กว้างประมาร 7 นิ้ว สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประวัติความเป็นมา พระพุทธรูปองค์นี้สร้างในสมัยใด ผู้ใดสร้างไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่จากคำบอกเล่าของพระราชปฏิภาณโสภณ (กุญชร ประสังสิต) อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วพิจิตรได้เล่าว่า “พระรัตนสุวรรณ” เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้หลวงอภัยพิทักษ์ บุตรชายคนโตของพระยาอภัยภูเบศร (นอง) เมื่อไปรับราชการที่เมืองพระตะบอง เมื่อพระยาอภัยภูเบศร (นอง) ถึงแก่อนิจกรรมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาคทาธรธรณินทร์(เยีย) เจ้าเมืองพระตะบองคนที่ 7 (เป็นบรรพบุรุษในสกุลอภัยวงศ์ที่ได้เป็นเจ้าเมืองนี้คนที่ 3) ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมที่เมืองพระตะบองเมื่อ พ.ศ. 2435 มีบุตรธิดาอยู่หลายคน บุตรชายคนโต คือเจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่ม) เป็นเจ้าเมืองพระตะบองคนสุดท้ายก่อนที่ไทยจะเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส เมื่อคราวที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่ม)บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างพระอุโบสถวัดแก้วพิจิตร ได้ถวายพระรัตนสุวรรณ ที่ท่านนำกลับมาจากเมืองพระตะบอง ซึ่งถือว่าเป็นพระประจำตระกูลอภัยวงศ์ ให้เป็นพระประจำวัดแก้วพิจิตร เพื่อเป็นที่สักการะของประชาชนต่อไป แต่ด้วยเวลานั้นจังหวัดปราจีนบุรียังกันดาร ขโมยชุกชุม ท่านเจ้าคุณกุญชร เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงนำพระรัตนสุวรรณเก็บซุกซ่อนเพื่อให้พ้นจากขโมย เมื่อท่านมรณภาพจึงนำไปเก็บไว้ในตู้นิรภัยของธนาคารเป็นการชั่วคราว ในปี 2546 ทางวัดแก้วพิจิตรได้จัดงานสมโภชฉลองวัดครบรอบ 125 ปีของการสร้างวัด จึงอัญเชิญพระรัตนสุวรรณมาประดิษฐานที่วัดเป็นการถาวร เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้ นมัสการเพื่อความเป็นสิริมงคล ตามเจตนารมณ์ของผู้ถวายต่อไป |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 11:49
|
|
 ภาพสุดท้ายแล้วล่ะครับ เป็นภาพวัดแก้วพิจิตรซึ่งถ่ายจากสะพานแก้วพิจิตร |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 20:59
|
|
อ่านจบแล้วด้วยคนครับ ไม่ได้เข้ามา 3 วันได้เพราะเครื่องเสียครับ
ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลและรูปสวยๆนะครับ คุณนทีสีทันดร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 13 เม.ย. 06, 01:10
|
|
ขอบคุณคุณนทีสีทันดรครับ
หลวงอภัยพิทักษ์ (เยีย) บุตรพระยาอภัยภูเบศร (นอง) ผู้ได้รับพระราชทานพระพุทธรูป ดังที่คุณนทีสีทันดรเล่าให้ฟังในความเห็นที่ ๓๑ นั้น ในที่สุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็น "เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์"
เจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย) บิดาของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) ผู้นี้เป็นคนเฉลียวฉลาดเข้มแข้งเด็ดเดี่ยวมาก เล่ากันว่าบุตรของท่านคนหนึ่งทำผิดกฎหมายเป็นที่เสียหายแก่บ้านเมือง ท่านก็สั่งให้ประหารชีวิตตามพระราชกำหนดกฎหมาย ไม่มีข้อยกเว้น เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ราษฎรผู้อยู่ในความปกครองของท่านเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 13 เม.ย. 06, 01:51
|
|
ขอบพระคุณสำหรับรูปสวยๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 13 เม.ย. 06, 01:55
|
|
เปะปะหยิบโน่นนี่มาอ่านไปเรื่อย พบราชกิจจานุเบกษาที่มีเรื่องเกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณในรัชกาลที่ ๕ ที่พระราชทานแก่บุตรหลานของเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ ตอนหนึ่ง เลยคัดมาให้อ่านครับ
"ส่งเหรียญทวีธาภิเศกไปพระราชทาน
วันที่ ๓ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๕
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทย ส่งเหรียญทวีธาภิเศกไปพระราชทานแก่ข้าราชการมณฑลบูรพา คือ
นายก๊าด มหาดเล็ก บุตรเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยีย) นายฉาย มหาดเล็ก บุตรพระยาคทาธรธรนิทร์ นายลมุด มหาดเล็ก บุตรพระณรงค์เรืองเดช (ขำ) ฯฯ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 20 เม.ย. 06, 19:48
|
|
สวัสดีชาวเรือนไทยทุกคนครับ วันนี้ผมจะมาโพสรายละเอียดเกี่ยวกับวัดแก้วพิจิตรเพิ่มเติมครับ - วัดแก้วพิจิตรสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2422 โดยนางประมูลโภคา(แก้ว ประสังสิต) โดยท่านได้สร้างถาวรวัตถุจนครบถ้วนเช่น อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิ ฯลฯ แต่ทุกอย่างที่ท่านปลูกสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้ ในปีพ.ศ. 2461 เจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้มองเห็นถึงการชำรุดของอุโบสถที่ใช้งานมาเป็นเวลานาน จึงได้สร้างอุโบสถหลังใหม่เพื่อทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดผุพัง โดยได้รื้ออุโบสถหลังเก่าที่สร้างขึ้นด้วยไม้และสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นด้วยการก่ออิฐถือปูน โดยสร้างทับพื้นที่ที่สร้างอุโบสถหลังเดิม - ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรยังได้สร้างปริศนาธรรมคำสั่งสอนสอดแทรกไว้ตามที่ต่างๆเช่น "สร้างนาฬิกาที่ไม่ยอมเที่ยง" ไว้ที่ซุ้มประตูกำแพงแก้ว -ในปีพ.ศ. 2462 ท่านได้สร้างพระประธานประจำอุโบสถขึ้น โดยท่านสร้างโดยการบวงสรวงขอพร แล้วนำพรที่ได้มาออกแบบสร้าง พรที่ท่านขอได้เเป็นนิมิตดังนี้ พรข้อที่1 ถ้าท่านเป็นผู้ที่ร้อนใจเมื่อได้นมัสการแล้วใจจะเย็นลง สงบขึ้น พรข้อที่2 ถ้าท่านเป็นผู้ที่มีคำพูดไม่มีความหมาย พูดแล้วไม่ประทับใจผู้รับฟัง พูดแล้วเหมือนขวางหู เมื่อได้นมัสการแล้ว จะเป็นผู้ที่มีคำพูดที่มีความหมายติดตรึงใจผู้รับฟัง ประทับใจผู้ร่วมสนทนา พรข้อที่3 ถ้าล่วงเกินใคร จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก้ตาม เมื่อได้นมัสการแล้วจะได้รับการให้อภัย จะไม่มีการโกรธตอบ จะไม่มีศัตรู พรทั้งสามข้อนี้ เป็นพุทธคุณประจำองค์ของหลวงพ่อ โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้นำเอาพรทั้งสามข้อที่ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรบวงสรวงขอได้นี้มาออกแบบสร้าง แล้วประทานนามปางของท่านว่า ปางอภัยทาน และได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 5 ว่าหลวงพ่ออภัย หรือหลวงพ่ออภัยวงศ์เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ออกญาธรรมาธิกรณ์
อสุรผัด

ตอบ: 24
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 21 เม.ย. 06, 11:16
|
|
สวยจังครับ นี่เป็นไกด์พาเที่ยวได้เลยนะครับ คุณนทีฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 25 เม.ย. 06, 12:15
|
|
รูปม้านั้นจะเป็นไปได้ไหมว่า เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ท่านเกิดปรมะเมีย ที่สันนิษฐานเช่นนี้เพราะเห็นตัวอย่างจาก เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ ๘ ท่านก็ใช้ตราประจำชื่อเป็นรูปม้า เพราะท่านเกิดปีมะเมียเช่นเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 25 เม.ย. 06, 12:43
|
|
ตอบคุณ V_Mee ครับ
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เกิดปีระกา ครับ สัญลักษณ์รูปไก่ประจำปีเกิดของท่านติดอยู่บนเครื่องวัดทิศทางลมเหนือตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
  
ตอบ: 175
ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 26 เม.ย. 06, 09:28
|
|
จากความเห็นที่ 14 "ปล. ตรงนาฬิกาผมยังสงสัยอยู่ว่าทำไมแต่ละเรือนจะชี้ไปที่เวลาเดียวกัน ประมาณ 11.45 น.กว่าๆ ไม่ทราบว่าเวลานี้มีความหมายอะไรหรือเปล่าครับ ใครรู้ช่วยบอกทีครับ" เรื่องนี้อธิบายได้ว่า อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง ครับ เท่าที่จำได้จะมีวัดในกรุงเทพฯ หลายวัดที่ปั้นรูปนาฬิกา ที่ยังไม่ตรงเที่ยงวัน ประดับไว้ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบถึคงหลัก ไตรลักษณ์ ในพระพุทธศาสนาในข้อ อนิจจัง นับว่าเป็นความฉลาดของคนโบราณที่นำเรื่องนาฬิกา มาเปรียบกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้อย่างแยบคาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 26 เม.ย. 06, 19:37
|
|
ในกรุงเทพฯ มีอยู่ที่วัดไหนบ้างหรอครับ คุณพี่ลำดวนฯช่วยบอกหน่อยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 08 พ.ค. 06, 06:55
|
|
เมื่อวานอ่านหนังสือพิมพ์มติชนของวันที่ 6 พ.ค.49 ไปเจอรูปพระพุทธรูปลักษณะปางคล้ายๆกับ "หลวงพ่ออภัย" เลยนำรูปมาลงให้ดูกันครับ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|