เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 18898 "อายุรศาสตร์" กับ "เวชศาสตร์"
เจ้าสำราญ
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


 เมื่อ 09 เม.ย. 06, 14:27

 อยาทราบว่า 2 คำนี้ มีความหมายเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรครับ

เพราะจากการสังเกตการบัญญัติศัพท์ ดังจะขอยกตัวอย่าง
- Department of Medicine : ภาควิชาอายุรศาสตร์
- Department of Family Medicine : ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
- Faculty of Tropical Medicine : คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
- Facukty of Medicine : คณะแพทยศาสตร์

จะพบว่า ทั้งคำว่า อายุรศาสตร์ เวชศาสตร์ แพทยศาสตร์ ล้วนมาจากคำว่า Medicine ทั้งสิ้น

เท่าที่ผมพอจะมีความรู้อยู่เล็กน้อย ก็คือ "อายุร" กับ "เวช"  นั้นแปลว่า "ยา" ทั้ง 2 คำ เมื่อรวมกับคำว่า "ศาสตร์" ก็จะหมายความว่า วิชาที่ว่าด้วยการใช้ยาในการรักษาโรค  ซึ่งตรงกับคำว่า "Medicine" พอดี

แต่ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจก็คือ ทำไมบางครั้งก็ใช้"อายุรศาสตร์" บางครั้งก็ใช้ "เวชศาสตร์" สองคำนี้มีรายละเอียดปลีกย่อยเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  และมีหลักในการใช้คำบัญญัติอย่างไร

รบกวนผู้รู้ช่วยไขข้อข้องใจเป็นวิทยาทานด้วยครับ
ขอขอบคุณล่วงหน้า
บันทึกการเข้า
จหมื่นอักษรารังสรรค์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 เม.ย. 06, 00:55

 กระผมขอแสดงความเห็นด้วยความรู้อันน้อยนิดนะขอรับเผื่อพอเป็นประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ได้บ้างขอรับ หากผิดพลาดประการใดขอให้ผู้รู้แนะนำด้วยขอรับ

ทั้ง "อายุรศาสตร์" และ "เวชศาสตร์" นั้นเข้าใจว่ามีความหมายนัยเดียวกัน คือ วิชาการรักษาโรคโดยการใช้ยา

ส่วน  "แพทยศาสตร์" นั้น คือวิชาการป้องกันและบำบัดโรค

ต่างกันตรงที่ "แพทยศาสตร์" น่าจะใช้เรียกศาสตร์การแพทย์ที่กว้างๆ ขอรับ มีวิชาการป้องกันและบำบัดโรคหลายแขนงรวมอยู่ใน "แพทยศาสตร์" เช่น มีทั้งอายุรศาสตร์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชศาสตร์การท่องเที่ยว อายุรศาสตร์เขตร้อน สูตินรีเวชฯ กระดูก ประสาทวิทยา ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ฯลฯ พูดง่ายว่า ไปโรงพยาบาลเช่น ศิริราช หรือ รามาธิบดี ที่มีศาสตร์ครบทุกแผนกนั่นหล่ะ เรียกว่า แพทยศาสตร์ (medicine)

ส่วน อายุรศาสตร์ (Internal Medecine) และ เวชศาสตร์ (Medecine)  เข้าใจว่าใช้เรียกศาสตร์ในประเด็นปลีกย่อยลงมาอีกจำเพาะเจาะจงลงไปเลย โดยมากจะสังกัดเป็นหน่วยหนึ่งของแพทยศาสตร์ ขอรับ อาทิ เช่น

"เวชศาสตร์เขตร้อน"
- Faculty of Tropical Medicine : คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
(เป็นสถาบันชำนาญการด้านเวชศาสตร์เขตร้อนในประเทศไทย)
เวชศาสตร์เขตร้อน (Tropical Medicine) ก็เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโรคเขตร้อนทั้งหลาย เช่น มาลาเรีย (Malaria) ปรสิตวิทยา (Parasitology) พยาธิวิทยาเขตร้อน (Tropical Patology) โปรโตซัว (Protozoology) โรคติดเชื้อเขตร้อน (Tropical Disease Infection) โรคไข้เลือดออก  (Dengue Fever, DHF โรค Toxoplasmosis, โรคเท้าช้าง (Filariasis) โรคที่เกิดจากยุงและแมลง (Vector Born Disease) สุขวิทยาเขตร้อน (Tropical Hygiene) อย่างนี้เป็นต้น  หรืออาจเป็นเวชศาสตร์อย่างอื่นเช่น เวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชศาสตร์การท่องเที่ยวและกีฬา เวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ  


Department of Medicine : ภาควิชาอายุรศาสตร์
อายุรศาสตร์ เป็นศาสตร์และวิชาการแพทย์ที่เกี่ยวกับการรักษาโรคครอบคลุมมากขอรับ กว้างกว่ากว้าง โรคที่เกิดทุกเพศทุกวัยเกิดตามอายุ โรคคนแก่ โรคเด็ก โรคเรื้อรัง โรคไม่เรื้อรัง พูดง่ายๆ ว่าถ้าไม่ป่วยด้วยโรคเฉพาะทางที่จัดกลุ่มเฉพาะเจาะจงลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งได้แล้ว ก็จัดเข้ากลุ่มอายุศาสตร์หมดครับ มีทั้งอายุรกรรมชาย และอายุรกรรมหญิง ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมต้องมีความรู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา เกือบครอบจักรวาล ขอรับ

- Department of Family Medicine
: ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
เวชศาสตร์ครอบครัวก็เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคเหมือนกัน แต่เน้นแบบองค์รวมขอรับ คือ ดูและป้องกัน รักษาโรคกันตั้งแต่ ระดับปฐมภูมิเลยทีเดียว คือเริ่มจากครอบครัว สมาชิกในครอบครัว ชุนชุน ให้ผู้ป่วยเข้าใจกระบวนการสุขภาพ การดูเลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว จนถึงระดับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ก็ต้องเก่งครอบจักรวาลเหมือนกันขอรับ แนวๆ เดียวกับผู้เชียวชาญด้านอายุรศาสตร์ขอรับ


กระผมไม่แน่ใจว่า อายุรศาสตร์จะ ครอบคลุมไปในด้านสังคม การเกิดโรค ระบาดวิทยา การป้องกัน  ด้วยหรือไม่ขอรับ นอกจากการรักษาในระดับโรงพยาบาล (Clinical) อย่างเดียวแล้ว

กระผมพอจะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นได้เพียงเท่านี้ขอรับ ไม่แน่ใจว่าถูกต้องตรงประเด็นหรือไม่

ศัพท์ที่แปลเป็นไทยบางคำหาคำได้ยากมาก ถึงแม้คำต่างกันไปในบางคราว แต่กระนั้น ความหมายก็เหมือนกันก็ได้ขอรับ
บันทึกการเข้า
จหมื่นอักษรารังสรรค์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 เม.ย. 06, 01:02

 ถ้าเป็นระบบสายการบังคับบัญชาในมหาวิทยาลัย

Faculty จะใช้แทน "คณะ"
Department จะใช้แทน "ภาควิชา" ซึ่งจะอยู่ในสังกัดของคณะฯ ขอรับ

Faculty --> Department --> Unit --> Subunit
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 เม.ย. 06, 05:38

 ถ้าเป็นระบบของอเมริกา Faculty หมายถึงโปรเฟซเซอร์หรืออาจารย์ค่ะ ไม่ได้หมายถึง คณะ

คณะ ใช้ School หรือ College ยกตัวอย่างคณะของดิฉันคือ School of  Politics and Economics ส่วน Department ใช้ในความหมายของภาควิชาเช่นเดียวกัน เช่น Department of Politics and Policy  หรือ Department of Economics ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง