เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 27166 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 09 เม.ย. 06, 13:38

 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชเล่าไว้ในเรื่อง ถกเขมร ถึงนายพุดศอร ไกด์ชาวเขมรที่เคยอยู่พระตะบองตอนเด็กๆ
แกเคยเห็นเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ชมว่า  หน้าตาผิวพรรณงามนัก  สง่าผ่าเผย  หนวดก็งาม

ขอขยายความหน่อยว่า หนึ่งในวีทีมแถวๆนี้แหละ  เป็นเหลนทวดเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ค่ะ
แต่ดูรูปตั้งแต่ข้างบนจนข้างล่าง  แล้วยังดูไม่ออกว่ามีเค้าท่านไหน
คงต้องรอให้แก่เสียก่อน ค่อยดูกันอีกที
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 09 เม.ย. 06, 14:11

 ปริศนาคุณเทาชมพูครั้งนี้ยากเหลือเกิน (สำหรับผม)

หากเป็นเหลนปู่ทวดก็ง่ายที่จะค้นหาอยู่ หาไม่แล้วก็จนปัญญาจะสืบครับ อย่างไรก็ดี ฝากคุณเทาชมพูกรุณานำความไปแจ้งทายาทท่านเจ้าพระยาฯ มาเล่าเรื่องในสกุลให้ฟังบ้างสิครับ เผื่อจะมีที่ใดผิดพลาดไป เหลนท่านจะได้ทักได้แก้ไข ..ปล่อยให้ญาติตัวปลอมอย่างผมพูดอยู่คนเดียวมานานแล้ว ขายหน้าจริง..  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 09 เม.ย. 06, 14:56

ถ้าหากว่าเปิดเสียงหน้าจอมอนิเตอร์ของคุณเหลนทวดให้คุณ UP ฟังได้
คงได้ยินเสียง "แหะๆ" เป็นคำตอบ

ไม่รู้ว่าเขาจะยอมเปิดตัวหรือเปล่านะคะ    

บางทีเหลนซึ่งเกิดทีหลังเป็นร้อยปีก็อาจจะรู้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคุณทวด ไม่มากเท่าผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร  
บรรดาผู้รู้ก็กรุณาอย่าขวยเขินว่ามาเจอเหลนตัวจริง    กรุณาเล่าต่อเป็นวิทยาทานให้ผู้สนใจทั่วไปได้ฟัง  รวมทั้งดิฉันและคุณเหลนด้วย
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 09 เม.ย. 06, 21:31

 ราชทินนาม "อภัยภูเบศร" นั้นมีผู้ได้รับพระราชทานกันหลายท่านครั้บ แต่ต้องไม่ซ้ำในเวลาเดียวกัน เท่าที่ปรากฏส่วนใหญ่อยู่ในสกุลอภัยวงศ์ เช่น ในรัชกาลที่ ๑ มี เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ในรัชกาลที่ ๓ มี พระยาอภัยภูเบศร (นอง) ในรัชกาลที่ ๕ มี เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) ในรัชกาลที่ ๖ มี พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม)

จากนี้ไป จะกล่าวถึงเจ้าพระยาอภัยภูเบศรท่านแรกสมัยรัชกาลที่ ๑ ผู้เป็นต้นสกุลอภัยวงศ์ และเป็น "ทวด" ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) ครับ

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) เป็นคนไทยมีช่วงชีวิตอยู่ปลายกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ ๑ ...ผมขอแอบตั้งสมัญญาให้ท่านเป็นคน "สามกรุง"

ก่อนเล่าเรื่องเจ้าพระยาฯ ขอทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาในพุทธศักราช ๒๓๑๐ กัมพูชาที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของไทยมาแต่โบราณก็ตั้งตนขึ้นเป็นอิสระ แต่แล้วก็มีการจลาจลชิงราชสมบัติกัน ไม่สามารถปกครองให้ราบคาบได้ สู้กันไปสู้กันมา จนเจ้านายเขมรมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทยก็หลายครั้งหลายพระองค์ เช่น พระมหาอุปราชของเขมรที่มีพระนามว่า สมเด็จพระรามราชา ที่เห็นทีจะมีราชภัยก็เสด็จมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ในพุทธศักราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีศุภอักษรไปยังพระเจ้าแผ่นดินเขมรว่าบัดนี้บ้านเมืองไทยกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ให้กัมพูชาจัดต้นไม้เงินทอง ราชบรรณาการ มาถวาย ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาก็ทรงปฏิเสธว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ไม่ใช่เชื้อราชวงศ์อยุธยา ก็ทรงแข็งเมือง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ จึงโปรดฯ ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) กับพระยาอนุชิตชาญชัย (บุญมา) ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ กับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ยกทัพไปปราบ จนตีได้เสียมราฐและพระตะบอง

ยังไม่ทันไร กองทัพไทยก็ยกกลับมากรุงธนบุรีเพราะมีข่าวลือว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จสวรรคต ซึ่งไม่เป็นความจริง ฝ่ายเขมรก็ได้ใจ นึกว่าไทยยกทัพหนี เลยตีย้อนมาจนถึงเมืองตราดและจันท์

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ทรงพระพิโรธมาก จึงโปรดฯ ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) ท่านเดิมซึ่งตอนนั้นได้เป็นเจ้าพระยาจักรี แล้ว ยกทัพไปตีกัมพูชาอีก ทัพนี้ตีได้ถึง โพธิสัตว์ บริบูรณ์ บันทายเพชร อีกทางหนึ่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ โปรดฯ ให้ สมเด็จพระรามราชา เสด็จไปด้วยอีกทัพ ตีได้ บันทายมาศ และ พนมเปญ พอเห็นว่าเขมรได้บทเรียนพอสมควรแล้ว ทัพไทยก็กลับ แล้วก็กวาดต้อนครัวเขมรมาอยู่แถวราชบุรีนับหมื่นคน ส่วนสมเด็จพระรามราชานั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ โปรดฯ ให้ประทับอยู่รักษาเมืองกำปอด

ต่อมาอีกไม่กี่ปี สมเด็จพระนารายณ์ราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาก็เกิดทรงพระราชดำริกลับพระทัยอย่างไรก็ไม่ทราบ ทรงเห็นว่าพระองค์และสมเด็จพระรามราชาจริงๆ แล้วก็เป็นญาติกันแท้ๆ เทียว ทำศึกสงครามกันไปก็วุ่นวายเดือดร้อนพลเมืองไปเปล่าๆ จึงทำศุภอักษรมากราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ว่าขอมีไมตรีและขอสละราชสมบัติ ให้ สมเด็จพระรามราชา เสวยราชย์แทน

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ทรงพระโสมนัสยินดี และทรงอภิเษกสมเด็จพระรามราชา เป็นกษัตริย์เขมรแทน เป็นอันว่าบ้านเมืองเขมรได้สงบสุขราบคาบแต่นั้นมา

ความส่วนนี้ยังเป็นการเกริ่นคร่าวๆ ถึงเรื่องเมืองเขมร เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) จะเริ่มมีบทบาทขึ้นหลังจากนี้
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 09 เม.ย. 06, 21:37

 แต่ก่อนจะเล่าเรื่องต้นสกุลอภัยวงศ์ต่อไป ขอเล่าเรื่องอาหารการกินสักนิด พอดี ผมมีอาจารย์ที่เคารพนับถือท่านหนึ่ง เป็น "เหลนเขย" ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) และมีเพื่อนรุ่นน้องที่สนิทกันอยู่คนหนึ่งเป็น "ลื่อ" ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เลยมีโอกาสได้ชิมรสมือกับข้าวแปลกๆ (แต่อร่อย) โดยรสมือของทายาทชั้น "หลาน" ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) อยู่หลายครั้ง

ฝากคุณเทาชมพูเรียนถามคุณเหลนด้วยว่าทำ "แหนมเขมร" เป็นหรือไม่ ผมนึกแล้วหิวขึ้นมาครามครันเพราะอร่อยมากและหาที่ไหนรับประทานไม่ได้เลย นอกจากฝีมือคนในสกุลอภัยวงศ์
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 09 เม.ย. 06, 21:57

 ความเห็นที่ ๖๓ ย่อหน้าที่ ๕ ขอเติมว่า "ในพุทธศักราช ๒๓๑๒"
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 10 เม.ย. 06, 22:17

 มาต่อเรื่องเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)

ต้องขอพูดย้ำๆ ซ้ำๆ ว่า เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) กับเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) ที่สร้างตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้นเป็นคนละท่านกัน เกรงว่าท่านผู้เข้ามาอ่านใหม่ๆ จะสับสน

ปลายสมัยกรุงธนบุรี เขมรก็วุ่นวายเข้าทำนองเดิม แต่คราวขุนนางเป็นต้นเหตุไม่ใช่เจ้านายทะเลาะกันเอง

ขุนนางเขมรคนหนึ่งชื่อ พระยาวิบูลยราช (ซู) ยุแหย่ให้สมเด็จพระรามราชาทรงระแวงนักองค์ธรรม พระมหาอุปราช  และลอบฆ่าเสีย

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่าเมืองกัมพูชามีเหตุจลาจลวุ่นวายมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยายมราช (แบน) ผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระรามราชามาแต่เดิม ให้ไป "ช่วยราชการ" เมืองกัมพูชา แต่จริงๆ แล้วก็มีนัยแฝงอยู่เหมือนกัน เพราะการส่งขุนนางไทยไปเช่นนี้ก็ออกจะเป็นการ "กำราบ" สมเด็จพระรามราชาอยู่กลายๆ ไม่ให้หลงอำนาจ อีกนัยหนึ่งก็ช่วย "คุ้มกัน" สมเด็จพระรามราชาด้วย

สาเหตุสำคัญอีกประการที่ส่งพระยายมราช (แบน) ไปดูแลเมืองเขมร คือ เขมรเป็นเมืองกันชนที่สำคัญของไทยกับญวน ถ้าไม่มีใครไปดูแล เกิดพลาดท่าเสียทีกับญวนจะลำบาก ไทยก็แอบระแวงฝ่ายกัมพูชาอยู่หน่อยๆ เหมือนกัน เพราะเวลากัมพูชามีปัญหาทีไร เจ้านายหรือขุนนางกัมพูชาก็หนีไปพึ่งญวนเสียบ่อยๆ

ต่อมา พระยาวิบูลยราช (ซู) บ่างช่างยุคนเดิมได้คบคิดกับเจ้านายเขมรพระองค์หนึ่งคือ "ฟ้าทะละหะ (มู)" ทำกบฏต่อสมเด็จพระรามราชา จับสำเร็จโทษเสีย แล้วฟ้าทะละหะก็ขึ้นปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ มีพระยาวิบูลยราชเป็นเจ้าพระยากลาโหม

ถึงตอนนี้พระยายมราช (แบน) ก็ตกที่นั่งลำบาก เพราะพระยายามราชอยู่ในฐานะคนของสมเด็จพระรามราชา

เดชะบุญ เจ้าพระยากลาโหม (ซู) กับพระยายมราช (แบน) นั้นมีไมตรีกันอยู่ จึงรอดจากการสำเร็จโทษให้ตกตามกันไป
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 10 เม.ย. 06, 22:27

 แต่กระนั้น พระยายมราช (แบน) ก็ถูกส่งไปปกครองเมืองกะพงสวาย ซึ่งไกลปืนเที่ยงอยู่มากนัก

พงศาวดารระบุว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงพระพิโรธอย่างหนักที่สมเด็จพระรามราชาถูกปลงพระชนม์ ทรงพระราชดำริว่าพระยายมราช (แบน) ไม่อาจอารักขาสมเด็จพระรามราชาได้ตามพระบรมราชโองการ จึงทรงขอให้ฟ้าทะละหะส่งตัวพระยายมราชกลับมา "รับโทษ"

แต่น่าแปลกที่ตลอดเวลาที่พระยายมราช (แบน) ถูกลงโทษจำคุก กลับอยู่อย่างสุขสบาย มีเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) เป็นผู้ทำนุบำรุงอย่างดี

พิเคราะห์ไปก็เห็นจะเป็นพระบรมราชกุศโลบายของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่จะเรียกตัวพระยายมราช (แบน) กลับมา เผื่อวันข้างหน้าจะถูกระแวงและมีราชภัยจากฟ้าทะละหะ จึงทรงขอตัวกลับมาโดยอ้างว่าเพื่อจะนำมารับโทษนั้นเอง
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 11 เม.ย. 06, 01:37

 มาโพสรูปต่อตามสัญญานะครับ โพสเฉพาะรูปชิ้นส่วนเหมืองทองในสมัยพระปรีชากลการแล้วกันนะครับ ส่วนรูปวัดแก้วพิจิตรผมจะขึ้นในกระทู้ใหม่ กระทู้นี้จะได้ไม่ยาวจนเกินไป
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 11 เม.ย. 06, 01:39

 รูปปล่องชิ้นส่วนโรงงานล้างแร่ทองคำ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 11 เม.ย. 06, 01:41

 หวังว่ารูปจะขึ้นนะครับ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 11 เม.ย. 06, 01:42

 แงๆ รูปไม่ขึ้นอ่ะครับ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 11 เม.ย. 06, 01:46

 งั้นเอาไว้ผมลงในกระทู้ใหม่หมดทีเดียวแล้วกันครับ T-T
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 11 เม.ย. 06, 02:20

 ในพุทธศักราช ๒๓๒๕ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ทรงทราบว่าเจ้าฟ้าทะละหะไปฝักใฝ่ญวน จนถึงขั้นบังอาจจะยกทัพมาทำสงครามกับไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ กรมขุนอินทรพิทักษ์ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) คุมทัพสามขบวนไปตีเขมร

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขอพระบรมราชานุญาตให้นำตัว พระยายามราช (แบน) ออกจากคุก เพื่อร่วมทัพไปด้วย ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามที่กราบบังคมทูลขอ

แต่แล้วก็เกิดเหตุร้ายในกรุงธนบุรี เป็นอันต้องเลิกทัพกลับจากกัมพูชา คืนสู่กรุงธนบุรี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชย์แล้ว เจ้าฟ้าทะละหะก็ยังคิดชักชวนญวนให้มาทำสงครามกับไทยอีก คราวนี้เจ้าพระยากลาโหม (ซู) ไม่เห็นด้วยกับเจ้าฟ้าทะละหะ จึงมีหนังสือบอกมาจากเมืองเขมร กราบบังคมทูลขอตัวพระยายมราช (แบน) ไปช่วยกัมพูชาสู้กับญวน อ้างว่าเพื่อนำกัมพูชากลับมาสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ อย่างเดิม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาต

เมื่อพระยายมราช (แบน) คุมทัพออกไปเมืองเขมรแล้ว ก็จับเจ้าฟ้าทะละหะสำเร็จโทษเสีย

จากนั้น พระยายมราชเองก็ได้เป็น "ฟ้าทะละหะ (แบน)" สำเร็จราชการกรุงกัมพูชาอยู่ระยะหนึ่ง พอขุนนางเขมรอีกฝ่ายที่เริ่มตั้งตนเป็นใหญ่ เตรียมขึ้นชิงอำนาจ ฟ้าทะละหะ (แบน) ก็ไหวตัวทัน รีบยกทัพกลับกรุงเทพมหานคร พร้อมนำเสด็จเจ้านายกัมพูชามาด้วยหลายองค์ ที่สำคัญคือ นักองค์อี และ นักองค์เภา ซึ่งต่อมาคือพระสนมเอกในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และ นักองค์เอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงชุบเลี้ยงเป็นพระราชโอรสบุญธรรม

ส่วนชาวบ้านที่กวาดต้อนมาก็ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่แถววัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ปัจจุบันเรียกว่า "ชุมชนบ้านเขมร"

เมื่อกลับกรุงเทพมหานครแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงรำลึกถึงความจงรักภักดีของพระยายมราช (แบน) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็น

"เจ้าพระยาอภัยภูเบศร วิเศษสงคราม รามนรินทรบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ"

เป็นเจ้าพระยาคนแรกของสกุลอภัยวงศ์
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 11 เม.ย. 06, 02:25

 การจลาจลวุ่นวายในเขมรยังไม่จบแค่นั้น

เมื่อพระอนุชาของเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) เรืองอำนาจ และได้เป็นฟ้าทะละหะ (แทน--ชื่อตัวว่าแทน ..ไม่ได้หมายความว่ามาแทนที่) ก็ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ขอพระราชทานนักองค์เองออกไปครองกรุงกัมพูชา พระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเกรงภยันตรายจะเกิดแก่พระราชโอรสบุญธรรม เพราะนักองค์เองยังทรงพระเยาว์นัก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ออกไปว่าราชการต่างพระเนตรพระกรรณพลางก่อน

ฟ้าทะละหะ (แทน) ก็อึ้ง พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ก็จำต้องยอมรับอำนาจของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ไปโดยปริยาย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง