นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 13:21
|
|
 วันที่ไปถ่ายรูป คงมีคนมาบนไก่ชนจริงๆ เลยได้ภาพนี้แหละครับ มีไกชนตัวเล็กๆ 3 ตัวตีกันอยู่ครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 13:23
|
|
 รูปโรงพยาบาลในปัจจุบันครับ รูปนี้เป็นตึกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉินครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 13:24
|
|
 ต้นไทรใหญ่หน้าโรงพบาบาลครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 13:36
|
|
 ที่ด้านล่างต้นไทรมีพระนามาภิไธยย่อของ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ และพระนางเจ้าสุวัทนาฯ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 13:38
|
|
 รูปสุดท้ายแล้วครับ เป็นแม่น้ำปราจีนที่ผ่านหน้าโรงพยาบาล ที่เห็นสีฟ้าๆคือกระชังเลี้ยงปลาทับทิมครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 13:40
|
|
รูปของวัดแก้วพิจิตรของติดไว้ก่อนนะครับ ถ้ามีโอกาสไปวัดเมื่อไหร่จะเก็บมาฝากชาวเรือนไทยทุกคนครับ ปล.กลับหอผู้ป่วยก่อนล่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 17:54
|
|
ขอบคุณคุณนทีสีทันดรมากครับสำหรับภาพ โดยเฉพาะภาพในความเห็นที่ ๔๘ ผมไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าที่ป้ายโรงพยาบาลยังมีอักษรพระนามของทั้งสองพระองค์ติดอยู่ เพราะป้ายแรกดั้งเดิมที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ เสด็จมาทรงเปิดนั้น ก็มีอักษรพระนามของทั้งสองพระองค์แบบนี้ แต่ทำด้วยไม้ แล้วจะหามาให้ชมครับ
ส่วนภาพที่ ๔๐ นั้นก็น่าดูมากทีเดียว วิธีเชิญโกศศพของท่านเจ้าพระยาฯ ไม่ได้ใช้วิธีหิ้วลงบันไดภายในอาคารอย่างปกติ แต่ใช้วิธีต่ออัฒจันทร์ไม้ชั่วคราวยกลงมาจากระเบียงชั้นบนอย่างนั้นเลย
เคยได้เห็นในหนังสืองานศพของคุณวนิดา แก่นอบเชย มีภาพขณะที่เชิญศพท่านเจ้าพระยาฯ ล่องแพใหญ่ไปตามแม่น้ำปราจีนบุรีไปยังวัดแก้วพิจิตรด้วย ดูโก้มาก
ไม่ทราบที่โรงพยาบาลมีภาพนั้นมั้ยครับ ถ้ามี รบกวนคุณนทีสีทันดรถ่ายมาให้ชมกันหน่อย พอดีผมไม่มีหนังสืองานศพเล่มนั้นอยู่ในมือครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 22:04
|
|
มีคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าต้นสกุลอภัยวงศ์นั้นเป็นเขมร บ้างก็ตั้งข้อรังเกียจ ทั้งนี้คงจับความเอาจากการที่บรรพบุรุษหลายชั่วคนเป็นเจ้าเมืองพระตะบอง แท้จริงแล้วต้นตระกูลคือ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ซึ่งเป็นคนไทยเกิดสมัยปลายอยุธยา แต่รับพระบรมราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ให้ไปปกครองเขมรต่างพระเนตรพระกรรณ
จริงอยู่ บรรพชนในสกุลหลายคนเกิดที่เขมร บ้างก็ไปดองกับเจ้านายเขมรด้วย แต่สมัยโน้นพระตะบองเป็นส่วนหนึ่งของไทย จึงถือได้โดยนิตินัยว่าท่านเหล่านั้นเป็นไทย
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖ นายควง อภัยวงศ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แสดงปาฐกถาเรื่องชีวิตของท่านเอง ณ หอประชุมคุรุสภา ท่านได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
"แน่ละ การที่เราไปอยู่เมืองเขมรมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนกระทั่งปลายรัชกาลที่ ๕ นั้น การปะปนระหว่างเขมรกับพวกผมนี่มีมากมาย ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร คราวนี้ท่านก็พิจารณาเอาเองเถิดว่าผมจะเป็นเขมรหรือคนไทย"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 08 เม.ย. 06, 13:31
|
|
ผมจะลองไปหารูปที่คุณ UP พูดถึงดูนะครับ ขอนอกเรื่องแ๊ป๊บนึงนะครับ เมื่อวานซืนนั่งรถผ่านสถานีตำรวจภูธร เห็นศาลเจ้าพ่อสำอางอยู่ และเผอิญผมได้มีโอกาสไปพักที่บ้านท่านผู้ว่าฯก็พบว่ามีปล่องชิ้นส่วนของโรงงานล้างแร่ทองคำในสมัยพระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) อยู่ด้วย วันหลังจะลงรูปให้ดูนะครับ เห็นว่าเรื่องของพระปรีชากลการน่าสนใจดี แม้ท่านจะถูกประหารชีวิตแต่ชาวปราจีนฯก็สร้างศาลให้ท่านเนื่องจากท่านทำประโยชน์ให้จังหวัดมากมาย เรื่องของท่านมีอยู่ในกระทู้นี้ครับ http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=130&Pid=45442
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 08 เม.ย. 06, 13:37
|
|
ในคคหที่ 24 ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ออกญาธรรมาธิกรณ์
อสุรผัด

ตอบ: 24
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 09 เม.ย. 06, 00:53
|
|
สวยครับ คุณนที
ป.ล.ขอโทษทีครับ ที่ไม่ได้เข้ามาตอบ เพราะเพิ่งเห็นครับผม ถ้าตอบก็คง เป็น 1 ใน 3 ของที่คุณอัพตอบครับ แหะๆ..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ออกญาธรรมาธิกรณ์
อสุรผัด

ตอบ: 24
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 09 เม.ย. 06, 11:58
|
|
 อ่อ นำรูป พระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) มาให้ดูครับ
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร แบน รู้สึกจะเป็นต้นตระกูล อภัยวงศ์ ใช่ไหมครับ และเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเสียมราช เป็นผู้ที่นำพระแสงขรรค์ไชยศรี พระแสงราชกกุธภัณฑ์ สำคัญที่หายสาบสูญไปของราชวงศ์เขมร ที่ชาวบ้านพบในทะเลสาบ มาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย รัชกาลที่ ๑
เมื่อพระแสงนี้มาถึง พระบรมมหาราชวัง ก็มีอัศนีบาต สำแดงอภินิหาร ลงมาที่ประตูพระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ ๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งชื่อ ประตูว่า วิเศษไชยศรี ครับผม |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ออกญาธรรมาธิกรณ์
อสุรผัด

ตอบ: 24
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 09 เม.ย. 06, 12:06
|
|
เมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ ฯ และพระนางเจ้าสุวัทนาฯ เสด็จทรงเปิดโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 09 เม.ย. 06, 12:42
|
|
 ครับ ท่านออกญาฯ เรื่องพระแสงขรรค์ไชยศรีนั้น พระยาเทวาธิราช (ป.มาลากุล) สมุหพระราชพิธี บันทึกไว้ว่า
"พระแสงขรรค์ไชยศรี พระแสงองค์นี้ ตัวพระขรรค์เป็นของเก่า ฝีมือทำงามนักแล เป็นฝีมือเดียวกันกับพระนครวัด จมตกอยู่ในท้องทะเลสาบนครเสียมราฐ ชาวประมงทอดแหได้เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ให้ข้าราชการนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อวันที่พระแสงนี้มาถึง อัศนีบาตตกลงในพระนครถึง ๗ แห่ง มีที่ประตูวิเศษไชยศรี และประตูวิมานไชยศรี (พิมานไชยศรี--UP) เป็นต้น อันเป็นทางที่พระแสงขรรค์อังค์นี้ได้ผ่าน และการที่ประตูพระบรมมหาราชวังมีสร้อยชื่อว่า 'ชัยศรี' ทั้ง ๒ ประตู เช่นเดียวกับสร้อยชื่อพระแสงขรรค์องค์นี้ก็เพราะเหตุนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ทำด้ามและฝักขึ้นด้วยทองคำลงยาประดับมณี ใช้เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์"
ประวัติเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ผู้เป็นต้นสกุลอภัยวงศ์ และเป็น "ทวด" ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) นั้น ออกจะมีอีกมากพิสดาร แล้วจะนำมาเล่าให้ฟังต่อไปครับ
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 09 เม.ย. 06, 12:44
|
|
สำหรับคำบรรยายใต้ภาพในความเห็นที่ ๕๖ นั้นคลาดเคลื่อนครับ จริงๆ แล้วเป็นภาพ "เจ้า" พระยาอภัยภูเบศร ("ชุ่ม" อภัยวงศ์) ไม่ใช่พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม)
เข้าใจว่าท่านออกญาฯ นำมาจากหนังสือเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๖ รอบ ที่พิมพ์โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
ขอเรียนว่า คำบรรยายใต้ภาพเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) ในหนังสือเล่มดังกล่าวผิดพลาดไปครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|