เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 27160 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 12:05

 "บุตรธิดาของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)"

ท่านเจ้าพระยาฯ มีบุตรธิดาหลายคน เฉพาะที่เกิดจากเอกภริยา คือคุณหญิงสอิ้ง คทาธรธรณินทร์ ซึ่งถึงแก่กรรมสมัยเจ้าพระยาฯ ท่านยังเป็นพระยาคทาทรฯ นั้นได้แก่

หม่อมเชื่อม กฤดากร ณ อยุธยา ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร
คุณหญิงรื่น กัลยาณวัฒนวิศิษฎ์ ภริยาพระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ์ (เชียร กัลยาณมิตร)
พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์)
พระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์)

บุตรคนอื่นๆ ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่มีชื่อเสียง เช่น

นายหมิว อภัยวงศ์ สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารหลังคารูปโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลวงโกวิทอภัยวงศ์ หรือ นายควง อภัยวงศ์  อดีตนายกรัฐมนตรี ๔ สมัย
นายเชียด อภัยวงศ์ สามีของหม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ (ท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์)
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 12:11


ได้อ่านประวัติของท่านแล้วก็ซาบซึ้งในความจงรักภักดีของท่านต่อพระราชวงศ์จักรีจริงๆ
ตึกทรงฝรั่งคงหมายถึงตึกหลังนี้นะครับ ด้านหน้าประดิษฐานอนุสาวรีย์ของท่าน ตอนนี้ตึกกำลังบูรณะอยู่ครับ เดี๋ยววันหลังจะถ่ายรูปมาฝากชาวเรื่อนทุกคนครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 12:17

 "หลานเจ้าพระยาอภัยภูเบศร"

พระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) บุตรคนโตของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ซึ่งได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้าสืบตระกูล และเป็นผู้ได้รับพระราชทานราชทินนาม "อภัยภูเบศร" เช่นเดียวกับบิดานั้น มีภริยาคนหนึ่ง เกิดในสกุลบุนนาค ชื่อ "เล็ก" มีบุตรธิดาหลายคน คนสำคัญที่สุดชื่อติ๋ว หรือเครือแก้ว ต่อมาได้ถวายตัวเป็นข้าราชสำนักในรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "สุวัทนา" และต่อมาได้ถวายตัวเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในวันที่ ๑๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าจอมสุวัทนา ขึ้นเป็นเจ้า มีพระนามว่า

"พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี"

ขอเชิญความตอนหนึ่งในพระบรมราชโองการสถาปนาที่กล่าวถึงเชื้อสกุลอภัยวงศ์ ดังต่อไปนี้

"อนึ่ง เจ้าจอมสุวัทนา ก็เป็นเชื้อสกุลที่บรรพบุรุษทั้ง ๒ ฝ่ายได้รับราชการ มีความดีความชอบในราชการได้รับพระราชทานพระมหากรุณาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน คือข้างฝ่ายบิดาของเจ้าจอมสุวัทนาเป็นเชื้อสายของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งเคยได้รับราชการเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองต่างพระเนตรพระกรรณ ตั้งแต่รัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จนมาเมื่อเร็วๆ นี้..."

ครั้นวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ได้มีพระประสูติกาลพระหน่อพระองค์แรก และพระองค์เดียวในรัชกาลที่ ๖ คือ "สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" (ในรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลปัจจุบัน มีคำนำพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ")

นับได้ว่าพระนางเจ้าสุวัทนาฯ คือหลานคนสำคัญยิ่งของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

สำหรับพระประวัติ ของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖ โปรดบทความดูตามลิ้งก์นี้ครับ

 http://www.siamchronicle.com/news/view_article.html?article_id=e4de2b43564e2bf45ba202a31ec5d7be  
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 12:22


พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 12:40

 พระนางเจ้าสุวัทนาฯ นี้เองที่หลานท่านเจ้าพระยาฯ ที่ได้ทำหน้าที่ชุบชีวิตตึกใหญ่ทรงยุโรปและนาม "เจ้าพระยาอภัยภูเบศร" ให้มีเชื่อเสียงโด่งดังขึ้นอีกครั้ง ดังที่คุณนทีสีทันดรกล่าวถึงในความเห็นที่ ๑๖

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าจอมสุวัทนา พระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์) ผู้รับมรดกบ้านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ปราจีนบุรี จึงได้ขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในจังหวัดปราจีนบุรีแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เป็นของทูลพระขวัญ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็ทรงพระมหากรุณาพระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าจอมสุวัทนา

อย่างไรก็ดี พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ก็ไม่ได้ทรงนำไปใช้สอยเป็นประโยชน์ส่วนพระองค์ หากแต่ทรงพระกรุณาประทานตึกและที่ดินรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในบริเวณที่ดินอันเป็นสมบัติของเจ้าพระยาอภัยภูเบศรทั้งหมด ให้แก่ทางราชการมณฑลทหารบกที่ ๒ เพื่อให้ปรับเป็นสถานพยาบาลสำหรับทหารและประชาชนในละแวกใกล้เคียง

ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้เลือกหาที่ดินสำหรบสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัด กระทรวงกลาโหมจึงมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแก่กระทรวงมหาดไทย และได้ปรับปรุงต่อเติมเป็นโรงพยาบาล แล้วเสร็จ เปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔

เมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เสด็จจากประเทศอังกฤษ นิวัตประเทศไทยเป็นการถาวรแล้วเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๒ ได้ทรงพระกรุณาเอาพระทัยใส่อุปการะกิจการของโรงพยาบาลนี้เป็นอย่างยิ่ง เมื่อทางราชการกราบทูลขอประทานนามโรงพยาบาล ก็โปรดประทานนามว่า "โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระบรรพบุรุษ

ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ พร้อมด้วยพระนางเจ้าสุวัทนาฯ เสด็จไปทรงเปิดป้ายนามโรงพยาบาลด้วยพระองค์เอง และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ก็ทรงรับโรงพยาบาลไว้ในพระอุปถัมภ์

ฉะนั้น โรงพยาบาลประจำจังหวัดปราจีนบุรี จึงมีนามว่า "โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" เป็นเกียรติยศพิเศษต่างจากโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไป

ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมกิจการหลายครั้ง และทรงพระกรุณาพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงโรงพยาบาลอยู่เนืองๆ ตราบจนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 12:54


พระนางเจ้าสุวัทนาฯ และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ (หลานและเหลนของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร)
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:04


ตึกทรงยุโรปที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปลูกขึ้นเพื่อรับเสด็จนั้น ปัจจุบันมีนามว่า "ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร" อยู่ในบริเวณโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นตึกสองชั้นแบบยุโรป สมัยเรอเนสซองส์ มีมุขด้านหน้า ตรงกลางเป็นโดม ผนังด้านนอกเป็นปูนปั้นลายพรรณพฤกษาประดับซุ้มประตูและหน้าต่าง

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว

ภายในตึกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ ปีกด้านหนึ่งจัดเป็นส่วนนิทรรศการประวัติของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พระประวัติพระอุปถัมภิกาของโรงพยาบาล คือ พระนางเจ้าสุวัทนาฯ ในฐานะที่ทรงเป็นหลานปู่ของท่านเจ้าพระยาฯ และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ในฐานะที่ทรงเป็นเหลนของท่านเจ้าพระยา รวมถึงประวัติโรงพยาบาล

อีกปีกหนึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร รวบรวมอนุรักษ์ตำราไทย สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี อีกทั้งยังเป็นแหล่งการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร และการแพทย์ของท้องถิ่น
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:07


หน้าบันประดับปูนปั้นรูปต้นไม้ในกระถาง บนหลังคาตึกมีเครื่องวัดทิศทางลมทำจากโลหะที่ยอดสุดหล่อเป็นรูปไก่ ครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:08


ลืม attach ภาพครับ ภาพนี้สำหรับคำบรรยายในความเห็นที่ ๒๒
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:10


มุมหนึ่งภายในตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ชั้นบน
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:11


ชั้นล่างจัดเป็นพิพิธภัณฑ์สมุนไพร มีตู้บรรจุเครื่องยาไทยและอุปกรณ์การแพทย์แผนไทยจำนวนมาก
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:16


บัดนี้ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดปราจีนบุรี สมาชิกเรือนไทยท่านใดยังไม่เคยไปก็ขอแนะนำให้หาโอกาสไปเยี่ยมชมนะครับ อยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ถนนปราจีนอนุสรณ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๓ กิโลเมตร

ที่หน้าตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มีอนุสาวรีย์เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) มีผู้คนไปกราบไหว้อยู่มิได้ขาด
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:32


ผมไม่ได้ไปมาหลายปีแล้ว ไม่ทราบว่าเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงไร คงได้ยินแต่ชื่อเสียงของสมุนไพรอภัยภูเบศรที่โด่งดังไปทั่ว ส่งมาขายแม้กระทั่งที่เมืองนอกเมืองนา ถ้าเป็นในเมืองไทยนี่ก็เป็นที่แพร่หลาย หาซื้อได้ไม่ยากเลย

ส่วนภาพตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ในโรงพยาบาล คงต้องพึ่งคุณนทีสีทันดรกรุณารับเป็นธุระนำมาให้ชมกัน

ยังมีอีกสถานที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับท่านเจ้าพระยาฯ ซึ่งควรไปเยี่ยมชม ได้แก่ วัดแก้วพิจิตร ซึ่งมีสถาปัตยกรรมงดงามแปลกตามากอยู่ไม่ไกลจากโรงพยาบาล วัดนี้มีพระประธานที่ไม่เหมือนที่ใด เป็นปางที่ ออกแบบสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงออกแบบ พระหัตถ์ขวาคว่ำส่วนพระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระชานุทั้งสอง หล่อด้วยนากทั้งองค์  มีนามว่า "พระอภัยทาน"

ท่านใดประสงค์จะไปกราบรำลึกถึงคุณูปการของท่านก็ควรอ้อมไปด้านหลังพระประธาน ไปกราบได้ที่ฐานตอนล่างเบื้องพระปฤษฎางค์ของพระอภัยทานซึ่งเป็นที่บรรจุอัฐิ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ครับ

คงต้องรอคุณนทีสีทันดรนำภาพมาให้ชมครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:36


"บิดาและปู่ได้เป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทมาหลายชั่วชั้นบรรพบุรุษแล้ว ไม่ปรารถนาจะย้ายไปเป็นข้ากรุงกัมพูชา ถ้าพระราชทานเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ไปเป็นของกรุงกัมพูชาเมื่อใด ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต อพยพครอบครัวบุตรหลาน และภูมิลำเนา เข้ามารับราชการสนองพระเดชพระคุณอยู่ในกรุงเทพฯ"

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:39

 ขอแก้ไขข้อความ "พระนางเจ้าสุวัทนาฯ นี้เองที่หลานท่านเจ้าพระยาฯ ที่ได้ทำหน้าที่ชุบชีวิตตึกใหญ่ทรงยุโรปและนาม 'เจ้าพระยาอภัยภูเบศร' ให้มีเชื่อเสียงโด่งดังขึ้นอีกครั้ง" ในความเห็นที่ ๑๙ เป็น "พระนางเจ้าสุวัทนาฯ นี้เองคือหลานท่านเจ้าพระยาฯ ที่ได้ทำหน้าที่ชุบชีวิตตึกใหญ่ทรงยุโรปและนาม 'เจ้าพระยาอภัยภูเบศร' ให้มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นอีกครั้ง "
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง