เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 57852 เรียนเชิญคุณจิตแผ้ว แล ผองมิตร
VittruvienMan
อสุรผัด
*
ตอบ: 3

นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 17 เม.ย. 06, 23:42

 *เลยขอมา ทำความ รุ้จักกัน(เหมาะสมกว่า)
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 10:52

 ต่อกลอนอย่างไรดีเนี่ย  
ขอความสุขสวัสดีจงมีแต่ท่านครับ  
(เข้าอีหรอบเดียวกัน)
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 11:29


นำแผนผังโครงสร้างมาให้ดูกันครับ เผื่อไว้สำหรับ ผองมิตร อีกหลายๆคน ที่อยากแต่งเข้ามาแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี  
จะได้แต่ง ได้รื่นและสนุกกันยิ่งขึ้นครับ  
..เอ๊า  ..ล้อมวงกันข้ามาครับ.

แผนผังกลอนแปด
๑) แสดงผังโครงสร้างกลอนแปด ความยาว ๒ บท
                             ๒) กลอน ๑ บท มี ๒ บาท คือ บาทเอกและบาทโท
                             ๓) กลอน ๑ บาท มี ๒ วรรคคือบาทเอกประกอบด้วย วรรค สดับ และวรรค รับ
                                  บาทโทประกอบด้วย วรรค รอง และวรรค ส่ง
                            ๔) กลอน ๑ วรรค มี ๘ คำ จึงเรียกว่ากลอน ๘
                            ๕) เส้นโยงภายในวรรค เรียกว่าสัมผัสใน มีหรือไม่มีก็ได้ ส่วนเส้นโยงคำท้ายวรรค เรียกว่า                                     สัมผัสนอก   เป็นกฎบังคับต้องมี
                            ๖) กลอนยาว ๒ บทขึ้นไป ต้องเชื่อมสัมผัส ท้ายวรรค ส่ง   ไปยังคำท้ายวรรค รับ   ของบท
                                 ถัดไปเสมอ
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 12:10

 ขออนุญาตหยิบยกกลอนของอาจารย์นิรันดร์มาให้ชมเป็นตัวอย่างสัก2 บทครับ


"อันบางกอก บอกว่า เวลาเก่า
เรียกขานเล่า ว่าเวนิส น่าอิจฉา
จะไปไหน ไปได้ ด้วยเภตรา
ไม่มีรถ มีรา มากวนใจ

อนิจจา  มากรุงฯ กันตอนนี้
เวนิสลี้  คลองหนี  ไปที่ไหน
พอฝนมา  ฟ้ากระหน่ำ  ลงคราวใด
คลองค่อยผุด โผล่ให้  มาเห็นกัน"



ใครคิดจะแข่งกลอนกับอาจารย์ ล่ะก็คงเห็นทีต้องปาดเหงื่อเลยล่ะครับ
ตรงนี้จะเห็นว่า นอกจากจะได้ใจความที่กระชับ ได้ความหมายของเนื้อหาที่เจตนาจะสื่อชัดเจนแล้ว ยังมีสัมผัสนอกครบถ้วน  เพิ่มความไพเราะด้วยสัมผัสใน ไม่สัมผัสสระ ก็สัมผัสอักษร

สัมผัสในด้วยสระก็เช่น ในบาทเอกวรรคสดับของบทที่1
"อันบางกอก บอกว่า เวลาเก่า" ก็มี
กอก-บอก, ว่า-ลา

สัมผัสในด้วยอักษรหรือพยัญชนะก็เช่น ในบาทโทวรรคส่งบทที่2
"คลองค่อยผุด โผล่ให้  มาเห็นกัน" ก็มี
ผุด-โผล่,ให้-เห็น

เป็นต้น

ส่วนสัมผัสนอกไม่ต้องพูดถึง  
บอกได้ว่าครบถ้วน กระบวนยุทธ

อ๋อ อีกส่วนหนึ่งที่จะสร้างความไพเราะขึ้นอีกระดับหนึ่งก็คือ
ตรงตัวสุดท้ายของวรรค รับ ของทุกบท ควรใช้เสียง สูง หรือเสียงจัตวา จะทำให้ไพเราะขึ้นมากเลยครับในตัวอย่างของ อ.ก็เป็น (..ฉา) กับ (ไหน)
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 12:29

 ขออนุญาตต่ออีกนิดเถอะครับ

พอดีแลไปเห็นบาทโทของทั้งสองบทอาจารย์
บทแรก

"..จะไปไหน ไปได้ ด้วยเภตรา
ไม่มีรถ มีรา มากวนใจ"

อาจเห็นว่าสัมผัสวรรค3 ที่ต้องสัมผัสกับวรรค4 ทำไมไม่สัมผัสเหมือนผังตัวอย่าง
คือคำว่า "เภตรา"  ไม่ได้สัมผัสกับคำว่า "รถ"
ตรงนี้เข้าใจว่าเป็นการอนุโลม ให้ไปสัมผัสกับตัวอักษรที่5ของวรรคถัดไปได้ ได้เสียงไพเราะเช่นกัน
"เภตรา"  สัมผัสกับคำว่า " รา" แทน

บทที่2ก็เช่นกัน
"..พอฝนมา ฟ้ากระหน่ำ ลงคราวใด
คลองค่อยผุด โผล่ให้ มาเห็นกัน"

ตรงนี้หากเราจะใช้การสำผัสดังกล่าว  ก็ควรจะทำให้เพราะยิ่งขึ้น
ด้วยการใส่สัมผัสใน ในวรรคที่เราเว้นสัมผัสไปนั้นไม่ให้มันดู ทื่อๆเกินไป เช่น  ของอ.ก็มี
"มีรถ- มีรา "
และ
"ผุด-โผล่"

ซึ่งเป็นสัมผัสอักษรหรือพยัญชนะ

เป็นต้น

เอาล่ะที่นี้ เรามาเริ่มแต่งและเข้ามาร่วมสนุกกันดีกว่าครับ..
บันทึกการเข้า
MathGuy
อสุรผัด
*
ตอบ: 24

อาจารย์สอนคณิตศาสตร์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 19:22

 โอโฮ้ ... คุณ หมูน้อยฯ

ฉันทลักษณ์กลอนแปด มีบังคับสัมผัสในด้วยหรือนี่

จำไม่ได้ว่า ตอนเด็กๆ เคยเรียนหรือเปล่า
ก็เลยพอมีอยู่ในความทรงจำเฉพาะตรงที่สัมผัสนอก

แต่ดูๆ ตามแล้ว สัมผัสในที่ว่านี้ ทำให้ไพเราะ รื่น ชื่นใจจริงๆ

ผมเอาแต่เข้าทำนอง ... ให้ได้ดังใจ ตามเนื้อความ
ก็เลยจะขาด เสน่ห์ และศิลป์ ของการแต่งกลอน

พอได้รู้เพิ่มเติมตามที่ หมูน้อยฯ ได้ยกมาเป็นวิทยาทาน
ต่อไปนี้ ต้องพยายามแต่ง ตามแบบฉบับจริงๆ ให้ได้

................................................

กลอนของไทย อ่อนช้อย ค่อยๆฝึก
ใช่จะนึก ลองเล่น เห็นเป็นง่าย
สื่อภาษา สื่อความคิด ให้ติดใจ
พอแต่งได้ ต่อเติม เพิ่มความงาม


( อันนี้จะพอไหวมั้ยครับ ...    )
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 20:34

 ........สัมผัสในไม่ได้ไว้บังคับ
แต่เหมือนกับกินกะปิแกล้มมะขาม
สัมผัสนอกหรอกครับบังคับตาม
มีเนื้อความในใจไขออกมา

ครู MathGuy ได้เห็นแผนบังคับ
ก็ขยับกลอนได้ไพเราะหนา
เหมือนเห็นสูตรสมการคณิตา
ครึ่งเพลาก็แก้ได้ดังใจจินต์
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 12:50

 ผมเห็นว่า กลอนแปดไม่จำเป็นต้องมีสัมผัสในครับ ถ้าถือตามหนังสือเรียน
ถ้ามี ผมก็แต่งไม่ได้ครับ  
อ้อ คุณหมูน้อยครับ ผมขอแต่งร่ายได้หรือเปล่าครับ เผอิญผมแต่งกลอนแล้วไม่มันเท่าร่ายครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
MathGuy
อสุรผัด
*
ตอบ: 24

อาจารย์สอนคณิตศาสตร์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 18:08

 แข็งและอ่อน ร้อนและเย็น เป็นคู่ปรับ
ยื่นและรับ จับและวาง คู่ต่างเสริม
โหมและเพลา เบาและแรง คู่แต่งเติม
ราและเริ่ม  เพิ่มและลด หดหายคืน

ดูหินผา ดูดอกไม้ ดูใบหญ้า
ดูท้องฟ้า ดูแม่น้ำ ความฉ่ำชื่น
มีร่วงโรย มีผลิผลัด มีหยัดยืน
มีคราตื่น มีคราหลับ พับพักกาย


( ถ้าไม่มีแรงบันดาลใจ ... กลอนที่ได้ เหมือนว่าจะถูกเค้นออกมา... พักหลังๆ มักจะเป็นเช่นนี้อยู่เสมอ    )
บันทึกการเข้า
ศนิ
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95

- The Ultimate Aim of Education is the Development of Charactor -


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 18:41

 มีเกิดขึ้นดับลงไม่คงที่
พึงระลึกทุกสิ่งมีทั้งดีร้าย
หมั่นฝึกคิดพินิจค้นต้นจรดปลาย
แล้วรวบเรื่องเรียงรายให้เรียงกัน

บุราณกล่าวดาบสองคมสมดังว่า
คมนำพาโทษทางหรือสร้างสรรค์
ผู้กำหนดคือผู้รู้เท่าทัน
มิให้คมพลิกผันจนเกิดภัย
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 22:53

 ริจะเป็นนักกลอนสุนทรถ้อย
จงค่อยค่อยเรียนหลักอักษรศิลป์
หมั่นฝึกฝนตำราเป็นอาจินต์
ให้เคยชินเกณฑ์กฎของบทกลอน
  สัมผัสนอกและในให้รอบรู้
  นึกถึงครูเคยร่ำพร่ำสั่งสอน
  หนึ่งบรรทัดแปดคำสำนวนกลอน
  เรายังอ่อนสิบก็ได้ไม่ว่ากัน
นักเลงกลอนนอนเปล่าเขาไม่นับ
ต้องขยับจับปากกามาสร้างสรรค์
แต่บทกลอนวอนว่าสารพัน
ร่วมช่วยกันประสานรักษ์อักษรไทย
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 22:55

 แต่งบทกลอนวอนว่าสารพัน
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 22 เม.ย. 06, 10:09

 นักกลอนใหม่ไม่ต้องแตะปากกา
เปิดคอมฯมาหาคีย์บอร์ดแล้วหยอดไส่
รจนาภาษาสำเนียงไป
ทั้งต้องใจข้องจิตกระบิดกระบวน
มีตัวช่วยพจนานุกรมไทยออนไลน์
ตรวจค้นได้ดูศัพท์แสงสอบสวน
ราชบัณฑิตยสถานท่านประมวล
เฟ้นแต่ล้วนส่วนดีฟรีราคา
คำประพันธ์ฉันท์กลอนและโคลงกาพย์
คือสภาพพิเคราะห์ได้ว่าไทยหนา
ถึงตึกรามร่างแต่งแปลงเปลี่ยนมา
แต่ภาษาโสตสนั่นลั่นว่าไทย
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 22 เม.ย. 06, 17:25

 ในคราวนี้เห็นทีจะต้องฝึก และต้องนึกเรื่องการกลอนให้มากไว้
ผิคราวหน้าแวะมาอีกคราใด ต่อกลอนไปสบายปร๋อมิรอรี
.....................................................................
รับสารสนองจากทุก ๆ ท่าน ที่แต่งบทกานท์มากมายเหลือนี่
เห็นทีกระผมขอตัวคงจะดี ข้อคิดเห็นใครมีส่งมาได้เลย
.....................................................................
บทหลังไม่ใช่กลอนครับ เพียงแต่แต่งคล้าย ๆ กันครับ
และกราบขออภัยทุก ๆ ท่านครับ สำหรับเรื่องที่ผ่าน ๆ มา
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ศนิ
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95

- The Ultimate Aim of Education is the Development of Charactor -


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 23 เม.ย. 06, 18:19

 คำ "นักกลอน" คือนักคิด พิชิตถ้อย
หมั่นทยอยฝึกกลอนมิผ่อนผัน
ความคิดฝันนำพาค่าความครัน
สู่บทบรรเลงพร่ำเป็นคำกลอน

ฝึกประสานแต่งเสียงให้เรียงรับ
หมั่นสดับตรับฟังผู้สั่งสอน
เชื่อมความคิดโยงความรู้ไม่นิ่งนอน
แล้วขีดเขียนทุกบทตอนให้รับกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง