หมูน้อยในกะลา
|
ความคิดเห็นที่ 225 เมื่อ 03 ก.ย. 06, 20:17
|
|
คนจะดี ดีนิสัย ใช่สมอง ควรจะลอง โง่ดูบ้าง อย่างสร้างสรรค์ อวดรู้ไป ไร้มิตร สนิทกัน ส่วนตัวฉัน ขอโง่เป็น เช่นนี้เอย ฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 226 เมื่อ 03 ก.ย. 06, 21:02
|
|
อารมณ์ขันของฮิวเมอริสต์(ครูอบ ไชยวสุ) ประชดประชันได้แสบมาก ชมเพลินเดินดู่พ้รรณ พฤกษา มากม่ายในวนา เหลื่อจ้ำ แลเหนพ่วงพะกา กรองส่วย จริงโวย จึงเก่บมันมาท้ำ เป่นพ้วงมาลัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 227 เมื่อ 03 ก.ย. 06, 21:10
|
|
ขอบคุณคุณชายองค์อีกครั้งที่ช่วยบอกทางครับ เป็นประโยชน์มาก
หากมีอะไรจะชี้แนะอีกขอเชิญได้เลยนะครับ ผมกำลังสนใจเรื่องการบังคับเสียงวรรณยุกต์ในโคลงกับเสียงวรรณยุกต์ไทยโบราณอยู่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
นิรันดร์
|
ความคิดเห็นที่ 228 เมื่อ 04 ก.ย. 06, 12:10
|
|
...... ผจงเรียงแต่งถ้อย ...... โคลงแถลง คำเช่นดังสำแดง ............... ใช่แกล้ว กางผังจึ่งดัดแปลง ............. คำกล่าว เลือกเปลี่ยนจนตรงแล้ว ...... ส่งข้อความมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
น้ำเงิน
อสุรผัด

ตอบ: 9
|
ความคิดเห็นที่ 229 เมื่อ 04 ก.ย. 06, 16:11
|
|
เพิ่งหัดแต่ง กรุณาแนะนำด้วย --------------------- ลองฝึกหัดแต่งบ้าง โคลงกลอน แม้นถูกผิดช่วยสอน ติชี้ ความรู้จึ่งขจร มากยิ่ง ยินดี จักหมั่นฝึกแต่งนี้ ผิดได้เป็นครู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 230 เมื่อ 04 ก.ย. 06, 21:44
|
|
เอกเจ็ดโทสี่ชี้ ทางโคลง แรกเริ่มควรยึดโยง เคร่งไว้ ฝึกจนแม่นครรโลง โคลงก่อน หลีกเลี่ยงคำโทษให้ ห่างได้เป็นดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
อ้อ
มัจฉานุ
 
ตอบ: 53
นักศึกษาปริญญาโท
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต การสอนฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
|
ความคิดเห็นที่ 231 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 13:18
|
|
ขอขอบคุณ คุณ CrazyHOrse เป็นอย่างมาก ในการติเพื่อก่อ และให้คำชี้แนะเกี่ยวกับ การสร้อยเป็นอย่างดี  และหวังว่าคงจะ ได้รับความกรุณานี้อีก ขอบคุณค่ะ [code] ทะเลเกลียวคลื่นม้วน พึงยล เฉกเช่นเปลวเพลิงลน เป่าไหม้ โหมกระหน่ำทุกหน รับช่วง ลมป่วนซวนเซไซร้ ดั่งนี้ไม่ดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ชายองค์
อสุรผัด

ตอบ: 24
เป็นความลับ
|
ความคิดเห็นที่ 232 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 13:36
|
|
ทดสอบ
ฝนหยดหยาดแรกหร้วง สู่ดิน ไม้แมกอ่อนน้ำริน ทาบฉุ้ม ขีดเขียนวาดจากจินต์ ลากไหล้ เส้นนา ได้ภาพแสร้งเส้นหนุ้ม เทียบผ้าง จิตรกร ฯ
แต่งยากมากๆ
คุงม้าลำพองครับ พระลอที่ว่า เล่น กับ เหล้น ผมไปค้นมาแล้ว เขาผ่านการแก้มาแล้วครับ เดี่ยวถ้าได้เข้ามาอีก ผมจะคัดที่เขากล่าวไว้ใน วรรณกรรมสมัยอยุธยา มาให้อ่านครับ
ปล. ผมเข้าใจผิดไปเองว่า โทโทษ ไม่มี จริงๆ มีครับ... ขออภัยด้วย...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 233 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 13:49
|
|
ตอนนี้ผมสงสัยว่าโคลงลาวโบราณจะไม่มีการใช้เอกโทษหรือโทโทษครับ กำลังหาท้าวฮุ่งฉบับเต็มมาตรวจสอบอยู่ สาเหตุน่าจะเป็นว่าโคลงลาวค่อนข้างจะยืดหยุ่นมากในเรื่องการสลับตำแหน่งคำบังคับ บวกกับเรื่องระบบเสียงวรรณยุกต์ที่ไม่สอดคล้องกับระบบเอกโทษโทโทษครับ (ขอบคุณอีกครั้งที่ชี้ทางให้นะครับ) ส่วนฝั่งอยุธยา ส่วนเอกโทษโทโทษเห็นชัดว่าใช้กันมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมาครับ และถ้าฝั่งล้านนาใช้"เล่น"ในรูปดั้งเดิมคือ"เหล้น" แสดงว่าโคลงใน 210 ต้องเป็น ฝันทรงภูษิตจ้า ใสสุทธิ์
พระเกศทัดธารบุษป์ กลิ่นฟุ้ง
ไปทิศอุไทยอุต ดมยิ่ง นั้นนา
ฝันว่าอ่อน*เหล้น*ถุ้ง ทั่วท้องสระศรี ฯ
ใช่ไหมครับ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
ชายองค์
อสุรผัด

ตอบ: 24
เป็นความลับ
|
ความคิดเห็นที่ 234 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 15:20
|
|
ใช่ครับ มันคล้ายๆ ว่าจะเป็น โทคู่เหมือนพวกโคลงในล้านนา หรือโคลงดั้นเสียด้วยซ้ำครับ...
ในล้านนาเอง โทโทษมิได้ใช้เลย เอกโทษก็เช่นกัน แต่เราใช้คำตายแทนครับ...
บางคำ ที่เราพบ ที่ว่าเป็นโทโทษ บางทีไม่ใช่โทโทษ อย่างตำราว่าก็มีครับ เป็นโท แท้ๆ ในคำโบราณ ผมเข้าใจว่ามันเปลี่ยนในสมัยปลายอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อ้อ
มัจฉานุ
 
ตอบ: 53
นักศึกษาปริญญาโท
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต การสอนฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
|
ความคิดเห็นที่ 235 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 17:49
|
|
หฤหรรษ์ผ่องแผ้ว..........นพคุณ ใสแจ่มกระจ่างจุณ.........จิตแผ้ว ปล่อยวางว่างว้าวุ่น..........ทุกที่ เฉกเช่นนักปราชญ์แล้ว....ย่อมให้อภัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 236 เมื่อ 05 ก.ย. 06, 18:35
|
|
 ผังโคลงมาตรฐานจากอาศรมชาวโคลง pantip.com ครับ
ตำแหน่งสีน้ำเงิน 4 ตำแหน่งเป็นคำสุภาพครับ
โดยเฉพาะคำสุดท้ายของบทจะต้องไม่เป็นคำตาย |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
นิรันดร์
|
ความคิดเห็นที่ 237 เมื่อ 06 ก.ย. 06, 16:03
|
|
........ ภาชนะใส่น้ำ ......... จำนวน หนึ่งเฮย มือจุ่มลงไปกวน .............. ก่อน้ำ ดึงมือเลื่อนเลิกรวน .......... ชลนิ่ง รอยบ่มีเห็นซ้ำ ..................หมดสิ้นรอยมือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อ้อ
มัจฉานุ
 
ตอบ: 53
นักศึกษาปริญญาโท
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต การสอนฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
|
ความคิดเห็นที่ 238 เมื่อ 06 ก.ย. 06, 16:54
|
|
มธุรพจน์นี้....................งดงาม ขับกล่าวสะท้อนความ......เจิดจ้า ความสุขเมื่อติดตาม........คลุมแผ่ ปัดเป่าความเมื่อยล้า.......เปี่ยมด้วยพลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 239 เมื่อ 06 ก.ย. 06, 17:27
|
|
มีข้อคิดเห็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณหนอนสุราเขียนไว้ในอาศรมชาวโคลงหลายปีมาแล้ว ลิงก์นั้นหายไปแล้ว แต่ผมยังมีเก็บไว้ อยากให้ได้อ่านกัน เพราะผมเห็นว่าน่าสนใจครับ
----------------------------------------------------
กับดักโคลง
หลังจากเล่นโคลงกันมายืดยาวหลายกระทู้ น่าจะแทรกภาคทฤษฎีเข้ามาสักนิด
ทฤษฎีบทต่างๆ ที่ผ่านมาเป็นการบอกว่าแต่งโคลงอย่างไรให้ได้ดีทั้งรสความแลรสคำ ตอนนี้เลยอยากแทรกว่า แล้วโคลงที่ไม่ดี มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง แต่ก่อนแจกแจงขอบอกก่อนว่าต่อไปนี้เป็นเพียงข้อสังเกตของหนอนสุราบ่ใช้ตำรา ฉะนั้นอย่ายึดติด ไม่งั้นจะกลายเป็นยึดติดว่าจะไม่ยึดติด งงมั้ยเนี่ย ฮ่าฮ่า
๑.ติดเสียงจัตวา
อันนี้ไม่รู้ได้คติมาจากที่ใดว่าโคลงที่ส่งด้วยเสียงจัตวาดีกว่าส่งด้วยเสียงสามัญ เดาเอาว่าน่าจะมาจากโคลงตัวอย่างในจินดามณีที่คัดมาจากลิลิตพระลอ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง . . . อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร . . . .ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล . . . . ลืมตื่น ฤาพี่ สองพี่คิดเองอ้า . . . . . . . อย่าได้ถามเผือฯ
หลายต่อหลายคนยึดติดการส่งด้วยเสียงจัตวามาก หลายต่อหลายครั้งถึงกับยอมเสียรสความ ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่เพียบ แต่ไม่ยกมาชำแหละให้ดู ยกให้เป็นหน้าที่ พู่ฉ้วยครู แห้...
ย้อนกลับเข้าภาคทฤษฎีตามแบบหนอนสุราต่อ
เวลาพิเคราะห์โคลงต้องดูตัวอย่างหลายๆ บทก่อนเขียนทฤษฎี แต่ถ้าขี้เกียจหรือไม่มีเวลาก็ต้องดูทั้งบท อย่าดูแค่บาทเดียว เพราะจะทำให้เข้าใจผิดเป็นตุเป็นตะ
เสียงส่งบาทจบมีความสัมพันธ์กับเสียงขึ้น (คำท้ายบาทแรก-ไม่นับสร้อย) กับเสียงรับสัมผัสบาทสองและสาม (คำที่ ๕) จากตัวอย่างบทนี้วิเคราะห์ได้ว่ากวีมองทีละคู่ คู่แรกในบาท ๑ และ ๒ ใช้เสียงสามัญ (ใด-ใคร) คู่หลังในบาท ๓ และ ๔ ใช้เสียงจัตวา (ใหล-เผือ)
ลองดูตัวอย่างอีกบทที่ใช้สูตรเสียงทั้งสี่บาทด้วยสูตรเดียวกันกับตัวอย่าง แต่สลับขึ้นจัตวาส่งสามัญ ที่เหลือทิ้งไว้ให้วิเคราะห์เอง จะได้จับปลาเป็น ฮิฮิ
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง . . . ยามสาย สายบ่หยุดเสน่ห์หาย . . . ห่างเศร้า กี่คืนกี่วันวาย . . . . . . . . . วางเทวศ ราแม่ ถวิลทุกขวบค่ำเช้า . . . . . หยุดได้ฉันใดฯ
ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องเสียงแล้ว เอาให้ครบถ้วนจบกระบวนความทีเดียวดีกว่า เว้นวรรคยาวเดี๋ยวหลับหมด มีอีกสูตรที่นิยมใช้กันมาก คือใช้เสียงสลับทีละบาท คัดตัวอย่างมาให้ดู เช่น
ลมหนาวหนาวห่มผ้า . . . ฤๅหาย พระท่านทายว่าตาย . . . . แน่แล้ว สายยาแม่ยาสาย . . . . . . . เซ้าสวาท พี่รา ผี้ว่าพี่กอดแก้ว . . . . . . . . .กลับเช้าชุ่มกชวยฯ
อีกบท
จำใจจำจากเจ้า . . . . . . จำจร จำนิราศแรมสมร . . . . แม่ร้าง จำเรียมจักไปรอญ . . . . อรินราช นาแม่ จำทุกข์จำเทวศว้าง . . . สวาสดิว้าหวั่นถวิลฯ
บทหลัง บาทสามทุกตำราคัดว่า (หนอนสุราก็เคยลอกตาม)
เพราะเพื่อจักไปรอญ อริราช แลแม่
หนอนสุราเพิ่งมาอ่านทวนคำวิจารณ์ของท่านจันทร์ พิเคราะห์แล้วน่าเชื่อกว่าเลยเปลี่ยนใจลอกตามท่านจันทร์ทั้งหมด
หมายเหตุ
๑. สูตรเสียงโคลงบ่ได้มีเท่านี้ แต่โคลงเสียงดีมักเดินตาม ๒ สูตรนี้ มือใหม่ควรลอกตามให้คล่องมือ ส่วนมือเก่าควรพินิจพิเคราะห์
๒. การคิดแบบตรรกะ เฉลยได้ว่าที่เราเรียก อังคาร กัลยาณพงศ์ ว่า ท่านอังคาร เป็นการเรียกตาม ท่านจันทร์ หรือ มจ.จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ทั้ง ๒ ท่านต่างเคยเล่นโคลงสดที่บ่อนท่าช้าง ณ มิ่งหลี มาด้วยกัน
ท่านจันทร์ : จันทร์จิรายุเจ้า เหนือดาว อื่นเฮย ท่านอังคาร : ดาวก็ดาวใช่ยาว กว่าข้า
ฮ่าฮ่าโฮ่โฮ่ หลักการคิดแบบตรรกะบอกนสร.ว่า ท่านจันทร์ทรงประสูติวันจันทร์ ส่วนท่านอังคารเกิดวันอังคารชัวร์ป้าบ
ปรากฎว่าผิดหมด ฮ่าฮ่าโฮ่โฮ่
จากคุณ : หนอนสุรา ---------------------------------------------
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
|