เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 57844 เรียนเชิญคุณจิตแผ้ว แล ผองมิตร
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 25 ส.ค. 06, 18:55

 เป็นอย่างที่อ.เทาชมพูชี้แนะไว้ครับ โคลงบทที่ยกมามีเหตุที่เป็นอย่างนี้ แต่เรื่องมันยาว ขอติดไว้ก่อนครับ ผู้ประพันธ์"กำหนด"ที่จะให้เป็นอย่างนี้ด้วยความจัดเจนครับ

ส่วนผู้อ่อนด้อยอย่างผม ขอใช้ตำราฮาวทูต่อไปก่อนจนกว่าจะทำความเข้าใจได้ลึกซึ้งกว่านี้

ปล. หมู่นี้เข้า vcharkarn.com ไม่ค่อยได้เลยครับ ไม่ทราบว่าท่านอื่นเจอปัญหาเดียวกันหรือไม่?
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 25 ส.ค. 06, 19:15

เป็นค่ะ เข้ายากมาก
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 25 ส.ค. 06, 20:21

 พี่นิกกี้เยินยอกันเกินไปแล้ว ข้าน้อยมิกล้า มิกล้า
คุณนิกกี้เป็นคนรู้จักใช้คำมากครับ ช่างสรรหาคำมาใช้ให้เข้ากับรูปฉันทลักษณ์โคลงและเนื้อหาที่อยากจะสื่อ  ใช้คำได้กระชับและความหมายชัดเจน

รวมถึงรู้จักคำเก่าๆ หรือคำที่ใช้ในเฉพาะการแต่งร้อยกรอง นำมาปนกับคำที่แผลงขึ้นเอง เช่นสิงหา สนธิกับ อังคาร เป็นสิงหังคาร (?)  คิดได้ เยี่ยงไรพี่ท่าน ฮ่าๆๆ

แต่ขอบอกล่าวแนะกันสักหน่อย ในฐาแนะ เอ๊ย ฐานะคนชอบพอนิสัยใจคอกัน เดี๋ยวจะหาว่ายอกันอย่างเดียวไม่จริงใจ
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 25 ส.ค. 06, 20:26

 เริ่มจากโคลงบทแรกของท่านนิ๊กฯที่ว่า

ศิลปะมีแต่ครั้ง         เนานาน
เกิดก่อนบรรพกาล     เก่าโพ้น
บุรพพฤฒาจารย์        ท่านเลิศ  ล้ำเอย
สรรคิดประดิษฐ์ค้น     เรื่องไว้ให้เรียน


ไม่ค่อยรื่นหูรื่นตาตรงคำว่า "โพ้น" กับคำว่า"ค้น" ครับคำหนึ่งเสียงสัน อีกอันเสียงยาว...

ขอครูปราดเปรื่องด้าน  การโคลง
โปรดร่วมใจจรรโลง     ศิษย์ไว้
ไป่ให้ล่มลืมหลง         มรรคแห่ง  กานท์นา
ผดุงศักดิ์ดาลศิษย์ได้  สว่างแจ้งทางสมอง


โคลงบทนี้เช่นกัน"หลง" เป็นเสียงสระโอะ,ส่วนโคลงกับโลง เป็นสระโอ
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 25 ส.ค. 06, 20:34

 โคลงบทที่ 7 , 9 และ 10ก็เช่นกัน
แก้คำตรงนั้นได้โคลง10บทนี้จะถือว่าเยี่ยมยุทธ์
ว่ากันว่าบางคนถ้าไม่เมาจะแต่งไม่รื่น ที่คุณนิ๊กฯแต่งรื่นนี้จะเป็นเพราะกระทู้วัฒนธรรมการดื่มฯ หรือเปล่าหนอ
เห็นทีหมูฯต้องขอเข้าไปรื่น.. ในกระทู้นั้นหน่อยล่ะ
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 25 ส.ค. 06, 20:37

 โอ้.....................เกือบลืมทักทายอาจารย์ MG สวัสดีครับ หายไปนานเลยนะครับ
ครั้งนี้กลับมาคงไม่รีบด่วนจากไปอีกนะครับ        
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 26 ส.ค. 06, 10:57

 คนเคยชอบพอคนละคอกัน  หายไปไหนนานชักคิดถึง
มามาดใหม่  ลูบหลัง  แล้วบ้องหู

คุยเรื่องเดิมก่อนนะ

"โพ้น" กับคำว่า"ค้น" ครับคำหนึ่งเสียงสัน อีกอันเสียงยาว...

"หลง" เป็นเสียงสระโอะ,ส่วน "โคลง" กับ "โลง" เป็นสระโอ


ขอบคุณมากที่ชี้แนะ  แต่เขาอนุโลมให้ใช้แบบนี้ได้ไหม  ไม่เคยรู้มาก่อน  บอกหน่อยดิ
รู้แต่ว่าไม่ไพเราะเท่าที่ควรจะเป็น  ยอมรับ  เพราะยังอ่อนเยาว์นัก  ไม่เหมือนพี่หมู  อาวุโสพอควรแล้ว

แต่ที่บอกว่า  อันหนึ่งเสียงสัน  มันสั้นหรือมันสั่นเหรอ  ถ้าบอกว่าสั่น  พอรับได้  แต่ถ้าบอกว่าของผมสั้น  ไม่ย้อมไม่ยอม

แล้วก็  ถ้าไม่เมาจะแต่งไม่รื่น ที่คุณนิ๊กฯแต่งรื่นนี้จะเป็นเพราะกระทู้วัฒนธรรมการดื่มฯ หรือเปล่าหนอ

บ้านผมมีแต่ลื่น  ลื่นไหลไง
ถ้าเป็นรื่น  ก็รื่นเริง

เอ้า  เชิญไปรื่นเริงกันได้นะพรรคพวก
เห็นทีหมูฯต้องขอเข้าไปรื่น....  ในกระทู้นั้นหน่อยล่ะ
บันทึกการเข้า
MathGuy
อสุรผัด
*
ตอบ: 24

อาจารย์สอนคณิตศาสตร์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 26 ส.ค. 06, 11:37

 ยังงัยก็ไม่ได้กะจะหายไปเลยหรอกคุณหมูน้อย
แวะๆเข้ามาดูอยู่บ้าง

อ่านๆ เป็นผู้ฟัง ผู้อ่านที่ดี ก็ได้ประโยชน์หลายสถาน
อยู่กับตัวเลข สมการ สัญลักษณ์ ตรรกศาสตร์การคำนวณ

พอมาดูทางสายศิลป์บ้าง ก็เป็นอะไรที่เติมเต็มชีวิต เปิดโลกอีกด้านหนึ่งเลยทีเดียว


ที่สำคัญ ... พอได้เริ่มเรียนรู้ว่า ที่ชมรมนักกลอนแห่งนี้
มีแต่ผู้ที่มีฝีมือ ระดับของจริง

มือ (อยาก) สมัครเล่นอย่างผม ก็ต้องพิจารณาตัวเองแล้วล่ะ

และก็ต้อง ขอบคุณ คุณเทาชมพู
ที่ช่วยตอบคำถาม ของผมเป็นอย่างดี

สุดท้ายนี้ ก็ขอลงฉันท์ ที่เคี่ยวเข็ญอยู่กว่า 2 วัน
ต้องบอกว่า ฝืนธรรมชาติของผมจริงๆ  

................................................

อ่อนใจระรวยริน..........ปะทะศิลป์บ่คุ้นเคย
หนักเบ่ามิรู้เลย..........จะเสาะหาเหมาะแก่คำ
คิดคิดพินิจนึก..........ริจะฝึกเตาะแตะตาม
ไพเราะและงดงาม...........จะแสดงบ่เห็นมี


..................................................

จะเห็นว่ามีคำว่า "จะ" อยู่ถึง 3 ที่ คำว่า บ่ อีก 2 ที่

นี่อุตส่าห์ ไปเอา poster ก - ฮ ของลูกชายมา
ลองใส่สระเสียงสั้น ว่าจะเป็นคำอะไรได้บ้าง

คำที่ได้ ช่างจำกัดมากๆ และก็จะเอามาแต่งให้ได้ความ
ยิ่งยากเข้าไปใหญ่


สงสัยว่า ต้องแก้ไข ด้วยการ ไปศึกษา คำศัพท์ในวรรณคดี
หรือคำสมาส สนธิ อะไรต่างๆ ... เอามาใช้ตรงเสียง เบา ซึ่งผมทำได้ยากมากๆ


แต่ก็...สนุกดีครับๆ ... ถ้าว่างๆ จะเก็บไว้ฝึก เป็นของจรรโลงใจ ฝึกทักษะภาษา การคิด ได้ดีทีเดียว

เด็กๆ มัธยมบ้านเรา น่าจะได้ฝึกสิ่งเหล่านี้    
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 26 ส.ค. 06, 22:59

 บ้านท่านพี่มี ลื่นไหล
บ้านผมก็มี รื่นหู  ผมใช้คำว่า รื่น นั้นตรงกับความในใจที่อยากสื่อแล้วครับ

ท่านพี่นิ๊กฯหัดแต่งมา 20กว่าปี ผมยังไม่หัดได้ไม่กี่ปี จะกล้าเทียบรุ่นได้อย่างไรเล่าครับ

ที่น่าชื่นชมคือ อ. MG นี่แหละทั้งที่ลองแต่งมาไม่กี่เดือน(ลองอ่านในความเห็นต้นๆ) แต่เดี๋ยวนี้อ.ท่านล้ำหน้าหมูฯผู้อุ้ยอ้ายไปเสียแล้ว ว .  ว
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 27 ส.ค. 06, 00:17

 จาก http://www.geocities.com/lekpage  โดยคุณ Lek Isara ครับ

• คลังคำ “ลหุ”
โดยคุณนก สกุณา คุณอังคาร และเพื่อนๆ จากถนนนักเขียน pantip

กฏิ (สะเอว)
กณิกนันต์ (ละเอียดยิ่ง)
กติกา (ตกลง)
กปณ , กปณา = (กะปะนะ ,กะปะนา) กำพร้า, อนาถา
กรณีย (อันพึงทำ,อันควรทำ)
กระสินธุ = สายน้ำ แม่น้ำ
กวะ - (ราว)กับว่า
กิระ - คำเล่าลือ
ขนิษฐา,อนุช - น้อง
คคน , คคนะ , คคนางค์ , คคนานต์ , คคนัมพร - ท้องฟ้า
คช - ช้าง
จินต- คิด
เฉพาะ
ชไม ชรไม = คู่
ชรทึง = แม่น้ำ
ชรริน = ประดับ
ชรเรือด = แทรก
ชรโลง ชโลง = พยุง จูง
ชรอัด = ชัด
ชรอุ่ม = ชอุ่ม มืดคลุ้ม
ชระ = สะอาด บริสุทธิ์
ชระงม = ป่ากว้าง
ชล = แห่งน้ำ
ชลธาร ชลธารก = สายน้ำ ลำน้ำ
ชลธิศ = ทะเล
ชลนัยต์ ชลนา ชลเนตร = น้ำตา
ชลาศัย ชลาลัย ชโลทร = แม่น้ำ ทะเล
ชวาลา (ตะเกียง)
ชุติ (ความรุ่งเรือง,สว่าง)
ฐิติ (การตั้งอยู่, ดำรงอยู่, ตำแหน่ง)
ฐิติ = การตั้งอยู่, ดำรงอยู่
ดนย (ดะนะยะ) = ลูกชาย= ดนัย
ดนยา = ลูกสาว
ดนุ (ฉัน,ข้าพเจ้า)
ดนุ,ดนู = ข้าพเจ้า
ดนุช = ผู้บังเกิดแก่ตน , ลูกชาย
ดรงค์ = คลื่น ระลอก
ดรุ = ต้นไม้
ดฤถี = ดิถี
แด - ใจ
ทวิ (สอง)
ทหระ = เด็กหนุ่ม
ทุรยศ = ทรยศ
ทุรราช = ทรราช
นค = ภูเขา
นมะ,นม - ไหว้
นยะ (นัย)
นฤ - คน
นฤ (คน) นฤนาถ,นฤบาล,นฤเบศ (พระราชา)
นฤนาถ = พระราชา
นฤมล (นาง, ไม่มีมลทิน)
นันท (ความสนุก, ยินดี, ร่าเริง)
นิเคราะห์ (ข่ม,ปราม)
นิจ (ต่ำ) เที่ยง, ยั่งยืน,เสมอ
นิธิ (ขุมทรัพย์)
นิร (ไม่มี) นิรโฆษ (เสียงดัง),
นิรคุณ (ไม่ดี), นิรทุกข์, นิรเทศ (เนรเทศ) นิรมิต
นิลาวัลย์ (งามยิ่ง, งามเลิศ)
นิลาส, พิลาส (งามมีเสน่ห์)
นิศา ,นิศากาล - กลางคืน
นิศาคม - เวลาโพล้เพล้
นิศาชล - น้ำค้าง
นิศาทิ - เวลาขมุกขมัว
นิศารัตน์ ,นิศานาถ ,นิศาบดี ,นิศามณี , - พระจันทร์
นิษกรม - เฉย
บุระ (เมือง)
บุหรง = นก
ปฏิพัทธ์ - ผูกพัน, รักใคร่
ประจุ (บรรจุ)
ปิยะ - อันเป็นที่รัก
ผจง - ความตั้งใจ
ผละ (สละ,จากออกไป)
ไผท = แผ่นดิน
พจี - คำพูด
พิร (ผู้เพียร,ผู้กล้า)
พิลาลส (อยาก,กระหาย,เศร้าโศก,เสียใจ)
พิลาส ,วิลาส(กรีดกราย,เยื้องกาย,งามอย่างสดใส,คะนอง,สนุก,ฟ้อนรำ)
พิลาส = กรีดกราย งามสง่า
พิลึก
พิโลน = สุกใส
พิไล = งาม
พิษฐาน = อธิษฐาน
พิสัย
พิสิฐ = ประเสริฐ
พิสุทธิ์ - บริสุทธิ์, สะอาด
พิสุทธิ์ = บริสุทธิ์
พิหค = นก
ภค = โชคดี ,เกียรติ
ภณ ( พะนะ) = กล่าว พูด บอก
ภร (พะระ) = เลี้ยงดู ค้ำจุน
ภระ - ภาระ
ภระ, ภร (เลี้ยงดู)
ภว (ความเกิด, ความมี)
ภิท ( พิ-ทะ) = แตก,ทำลาย
มติ - ความคิด, ความเห็น
มธุ - น้ำผึ้ง
มธุกร, มธุการี ,มธุพรต , มธุมักขิกา, มธุลีห์ (แมลงผึ้ง)
มธุปฎร (รวงผึ้ง)
มธุรส : ไพเราะ
มธุรส = น้ำผึ้ง
มธุสร (เสียงหวาน)
มนัส,มนะ,มโน - ใจ
มยุรา (นกยูง)
มร = ความตาย
มร, มตะ (ความตาย)
มฤคย์ = สิ่งที่ต้องการ
มฤจฉา = มิจฉา = ผิด
มฤต = ตายแล้ว
มฤต = ตายแล้ว
มฤทุ = อ่อนโยน สุภาพ นุ่ม
มฤธุ = น้ำผึ้ง = มธุ
มฤษา = มุสา
มล (มะละ) = ความมัวหมอง ( อ่านได้ทั้ง มน มนละ และมะละ )
มล, มละ (ความมัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์)
มละ (ละทิ้ง)
มสิ (เขม่า, หมึก)
มห, มหะ ,มหิมา (ยิ่งใหญ่,มากนัก)
มาน - ใจ, ดวงใจ
มุฐิ (กำมือ)
มุต (รู้แล้ว)
มุติ (ความรู้สึก, ความเห็น)
มุทิกา (คนขับเสภา)
มุทิตา(ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น)
ยะเยื้อง, ยะยับ (ระยับ)
ยะหิทา (เล็บ)
ยุรยาตร (เดิน)
ยุว (หนุ่ม)
รชะ (ธุลี)
รชะ = ธุลี ละออง ความกำหนัด
รดี = รติ = ฤดี - ความรัก
รตนะ - แก้ว
รตะ (ความสุข, ความสนุก,ยินดี, ชอบใจ)
รติ , ฤดิ (ความยินดี, ชอบ, ความรัก)
รติ,ฤดิ - ความรัก, ความยินดี
รบส (ระบด) - เลี้ยง รักษา
รบาญ - รบ
รพ (ระพะ) รพา - ต่อสู้
รพิ รพี รวิ รวี - ดวงอาทิตย์
รมณี - ผู้หญิง
รมณีย - บันเทิง
รยะ (เร็ว,พลัน,ไว,ด่วน)
รว (ระวะ) - เสียงดัง
รวิ (อาทิตย์)
ระแคะ (เล่ห์, เงื่อนความ)
ระยะ (ช่วงเวลา, ช่วงสั้นยาว)
ระรึง - ผูกแน่น
รังสิมันตุ์ , รังสิมา = ดวงอาทิตย์
ริ (แรกคิด)
รุจ รุจา รุจิ รุจี รุจิระ รุจิรา = งาม แสงสว่าง
รุจน = ความชอบใจ ความพอใจ
รุจิรา (แสง, ความรุ่งเรือง, ความงาม)
รุจิเรข (มีลายงาม)
รุจิเรข = มีลายงาม มีลายสุกใส
รุชา = ความไม่สบาย
รุทร = น่ากลัวยิ่งนัก
รุธิร รุเธียร = เลือด สีแดง
รุหะ (งอกงาม, เจริญ)
ฤชุ = ซื่อ
ฤดิ - ความยินดี
ฤตุ = ฤดู
วจะ ,วทะ, วจิ (คำพูด)
วตะ (พรต,ข้อปฎิบัติ,ความประพฤติ,การจำศีล,การบำเพ็ญทางศาสนา)
วติ (รั้ว)
วธ (ฆ่า)
วธุ (หญิงสาว)
วนิดา
วนิพก
วปุ (ตัว ร่างกาย)
วปุ = ร่างกาย
วร (พร, ของขวัญ, เยี่ยม, ประเสริฐ,เลิศ)
วรางคณา - หญิงผู้ประเสริฐ
วลาหก - เมฆ
วสนะ - เสื้อผ้า
วสภ - วัวตัวผู้
วสละ -คนชั่ว
วสลี - หญิงชั่ว
วสลี (หญิงชั่ว,หญิงต่ำช้า)
วสะ (อำนาจ, กำลัง, ความตั้งใจ, ปราถนา)
วสุ (ทรัพย์, สมบัติ)
วสุธา, พสุธา (แผ่นดิน)
วิกจ (วิ-กะ-จะ) = แย้ม บาน
วิเคราะห์
วิจิ (คลื่น,ลูกคลื่น)
วินิบาต (การทำลาย, การฆ่า)
วิปการ (ผิดฐานะ)
วิมล - ปราศจากมลทิน
วิร = กล้าหาญ
วิร, วีร (กล้าหาญ)
วิเรนทร์ = จอมกษัตริย์
วิโรจ วิโรจน์ = สว่าง แจ่มใส
วิโรฒ = งอกงาม
วิโรธ วิโรธณ์ = พิโรจ พิโรจน์
วิลย วิลัย = ความย่อยยับ
วิลาป = พิลาป = ร้องไห้ คร่ำครวญ
วิลาวัณย์ - งามยิ่ง
วิลาวัณย์ : งามยิ่ง
วิษุวัต (จุดราตรีเสมอภาคโลกมีกลางวันและกลางคืนเท่ากัน)
วุฐิ (ฝน)
ศกุนี (นกตัวเมีย)
ศฐ (คนโกง,คนล่อลวง,คนโอ้อวด)
ศต (100)
ศย (นอน, หลับอยู่)
ศศ-, ศศะ : กระาย
ศศพินทุ์, ศศลักษณ์ : ดวงจันทร์
ศศะ - กระต่าย
ศศิ - ดวงจันทร์
ศศิวิมล : บริสุทธิ์เพียงจันทร์
ศิขริน, ศิขรี : ภูเขา
ศิขรี,ศิขรา , ศิขริน (ภูเขา)
ศิร (หัว)
ศิร : หัว, ยอด
ศิลป
ศิศุ : เด็กแดงๆ เด็กเล็ก
ศุกะ (นกแก้ว)
ศุนัก,ศุนิ,ศุน (หมา)
ศุภ - ความดีงาม
ศุภะ, ศุภ , สุ ,สุภะ (ความดี,ความงาม)
สขิ (เพื่อน, สหาย)
สินะท่าน
สิริ (ศรี)
สุข (สบาย)
สุขุมาล (ละเอียดอ่อน, อ่อนโยน,นุ่มนวล, ผู้ดีตระกูลสูง)
สุจิ (สะอาด,หมดจด,ผ่องใส)
สุณิสา (ลูกสะใภ้)
สุต, สุตะ (ได้ยิน, ได้ฟังแล้ว)
สุร (เทวดา)
สุริยา,ยน,เยนทร์,เยศ,โย (พระอาทิตย์)
สุวคนธ์ (ดี,งาม)
สุวภาพ (สุภาพ)
สุวินัย (สอนง่าย, ว่าง่าย, ดัดง่าย)
สุวิมล (กระจ่าง, บริสุทธิ์แท้)
สุหฤท (เพื่อน, ผู้มีใจดี)
หทย = หัวใจ
หย (ม้า)
หิริ (ความละอายใจ, ละอายบาป)
หุต (การบูชาไฟ)
เหมาะเจาะ
เหยาะแหยะ
แหวะ, แหะ, แหมะ,แหละ
อจล (อะจะละ) = ไม่หวาดหวั่น ไม่เคลื่อนคลอน
อจลา (แผ่นดิน)
อจลา = แผ่นดิน
อจิระ = ไม่นาน
อช (แพะ)
อชินี (เสือเหลือง)
อชิร = สนามรบ
อฎวี (ดง,ป่า,พง)
อฏวี = ดง ป่า พง
อณิ (ลิ่ม
อณุ, อนุ (เล็กน้อย)
อโณทัย = พระอาทิตย์ยามเช้า
อดิ, อติ (พิเศษ, ยิ่ง, มาก, เลิศล้น,ผ่าน, ล่วง,พ้นเลยไป)
อดิถี (แขกผู้มาหา)
อดิถี = แขก ผู้มาเยือน
อดิเรก
อดิศร (ผู้เป็นใหญ่)
อดิศัย - เลิศ ประเสริฐ
อดิศัย (เลิศ,ประเสริฐ)
อติชาตบุตร, อภิชาตบุตร(บุตรผู้มีคุณสมบัติสูงกว่าบิดามารดา )
อติมานะ (ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง)
อติสาร = ความเจ็บไข้ ใกล้ตาย
อธิกรณ์ (เหตุ, โทษ, คดี , เรื่องราว)
อธิคม (การบรรลุ, ความสำเร็จ, การได้)
อธิบาย
อธิมาตร (เหลือคณนา)
อน = ไร้ ไม่มี
อนยะ = ทุกข์เคราะห์ร้าย
อนิยม
อนุ (ภายหลัง, รุ่นหลัง)
อนุชา (น้องชาย)
อนุชิต (ชนะเนืองๆ)
อนุพัทธ์ (ที่ติดต่อ, ที่เกี่ยวเนื่อง)
อนุมาน (คาดคะเน)
อนุรูป (สมควร, เหมาะ, พอเพียง)
อนุโลม
อนุวัต (ทำตาม, ปฏิบัติตาม, ประพฤติตาม)
อนุสร (ระลึก, คำนึงถึง)
อนุสรณ์ (เครื่องระลึก, ที่ระลึก)
อปรา (พ่ายแพ้)
อปราธ (ความผิด, โทษ)
อปโลกน์ (อุปโลกน์)
อปวาท (คำติเตียน)
อปหาร (การปล้น, การขโมย, การเอาไป)
อภวะ = ความไม่มี ความเสื่อม ความฉิบหาย
อภิ (ยิ่ง, วิเศษ) อภิยศ, อภิบาล(บำรุงรักษา, ปกครอง)
อภิฆาต (การฆ่า)
อภินันท์ (ความยินดียิ่ง, ความดีใจยิ่ง)
อภินัย (การแสดงละคร, การแสดงท่าทาง)
อภิบาล = บำรุงรักษา
อมนุษย์ (ไม่ใช่คน)
อมรา (ผู้ไม่ตาย)
อมฤต (น้ำทิพย์)
อรณ ( อะระนะ ) = ไม่รบ
อริ (ข้าศึก, ศัตรู)
อรุ = บาดแผล
อวรุทธ์ = ถูกขับไล่
อโศก = ไม่เสียใจ, ไม่โศก
อสิ = ดาบ
อสิต ( อะสิตะ ) = สีดำคล้ำ
อสุ = ชีวิต, ลมหายใจ
อสุ = ลมหายใจ ชีวิต
อะนะ = บุตร
อิณ ( อิ-นะ) = หนี้
อินทุ = พระจันทร์
อิษฐ์ = น่ารัก น่าปรารถนา
อุจ (สูง)
อุชุ = ซื่อ
อุชุ = ซื่อตรง
อุชุ = ซื่อสัตย์
อุทก = น้ำ แม่น้ำ
อุบล = ดอกบัว

เป็นประโยชน์กับการแต่งฉันท์อย่างมากครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 27 ส.ค. 06, 00:28

 อย่างที่เคยคุยกับอ.นิรันดร์ไว้ก่อนหน้านี้แหละครับ คำลหุในภาษาไทยหายาก ต้องเจาะจงเก็บสะสมไว้เพื่อแต่งฉันท์โดยเฉพาะครับ

มือเก่าๆในเรือนไทยผมว่าฝีมือไม่ธรรมดาทั้งนั้น ไม่น่าจะถล่มตัวกันเลยครับ น้องๆรุ่นหลังๆอย่างพวกผมนี่แหละที่จะมาขอคำชี้แนะ

คุณพี่ Nick ครับ(ต้องเรียกพี่ เพราะตอน 2525 ผมยังง้างอยู่นั่นแล้ว ไม่เคยได้ลงมือแต่งอะไรออกมาซักกะอย่าง ส่วนท่านพี่ปั่นโคลงออกมาได้ขนาดนี้ ต้องอาวุโสกว่าผมหลายกิโลขีดอยู่)

เรื่องสั้นกับยาว ปกติไม่อนุโลมให้สัมผัสกันได้ครับ ต้องแอบใช้(อิอิ)แต่ในเรือนไทยรอดยาก เพราะหมูน้อยฯตาไวครับ ฮ่าฮ่า
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 27 ส.ค. 06, 08:26

 โคลงสี่สุภาพ

 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=19&Pid=5002  
บันทึกการเข้า
NickyNick
พาลี
****
ตอบ: 290

ทำงานแล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 27 ส.ค. 06, 15:55

 ทั้งคลังของคุณ CrazyHOrse กับลิ้งค์ที่อาจารย์เทาฯ แปะไว้ให้  เยี่ยม......

แต่คงยังจดจำอะไรได้ไม่คล่องนัก  หากไม่ได้ฝึกปรือฝีมือเพื่อใช้งานจริง

ตอนปี ๒๕๒๕  ที่ผมง้างเร็ว  เพราะผมพวกไวไฟครับ  จะเรียกแก่แดดแก่ลมก็ไม่ผิดนัก   คุณ C.คงมีความรู้สึกช้ากว่าผมก็ได้มั้ง  ไม่น่าใช่ที่อายุดอก

แต่ถ้าจะให้เรียกน้อง  จะเรียกน้องอะไรดีล่ะ  น้องม้า... ก็ไงอยู่
เคยแอบแปลให้ดูน่ารักว่า "ม้าพยศ"  พอไหวไหม

ขอเรียกสั้นๆ ว่าคุณ C. ก็แล้วกัน  ได้บ่

จาก นิค
บันทึกการเข้า
ชายองค์
อสุรผัด
*
ตอบ: 24

เป็นความลับ


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 27 ส.ค. 06, 21:26

 ขอตอบคุณ  CrazyHOrse

กับข้อกังขาที่ว่า การใช้เอกโทษ โทโทษ
หากว่าเราพิจารณา ด้านการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ของภาษษาไทย เราจะเห็นว่าในภาษาไทยกลาง รูปวรรณยุกต์บางรูป รูปเอก กับรูปโท เสียงเดียวกัน เช่น ค่า กับ ข้า หากเราพิจารณาจากภาษาถิ่น บางถิ่น จะเห็นว่า ค่า กับ ข้า คนละเสียงวรรณยุกต์

บางคำ ที่เราบอกว่าเป็นโทโทษ จริงแล้ว หาใช่โทโทษด้วยแท้ หากสืบตามหลักทางภาษา และตรวจสอบภาษาถิ่น เราจะพบว่า โดยจริงแท้ ในภาษาไทยกลางได้ปรับรูปภายหลัง เนื่องจาก รูปที่ต่างแต่เสียงเหมือน เช่นคำว่า เล่น โบราณเราพบว่า เขียนว่า เหล้น ในภาษาถิ่นยังเขียนและใช้คำว่า เหล้น อยู่ ออกเสียงต่างจาก เล่น อย่างชัดเจนครับ... ดังนั้นปราชญ์แต่โบราณมิได้ใช้โทโทษ ดั่งปราชญ์ยุคหลังอธิบายกัน

สำหรับเอกโทษ หากพิจารณาจากตัวสะกด ที่ลงด้วยตัวสะกดพวกเสียงกัก (stop) มักจะออกเสียงตรงกับเสียงวรรณยุกต์เอกเสมอ ดังนั้นคนโบราณจึงใช้แทนที่กันได้ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 28 ส.ค. 06, 12:07

 1.ประเด็นเรื่องโทโทษ ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกหรือเปล่าว่า คุณชายองค์จะบอกว่าการใช้โทโทษไม่มีจริง คนรุ่นหลังเข้าใจผิดกันไปเอง

อยากให้ลองดูทั้งสองบทจากลิลิตพระลอนะครับ


ท้าวทูลธิราชไท้          ชนนี
ไหว้บาทบงกชศรี         ใส่เกล้า
ข้าพระอยู่มามี           ใจเหนื่อย พระเอย
จักใคร่ลาพระเจ้า         เที่ยวเหล้นพนาสนฑ์ ฯ

ฝันทรงภูษิตจ้า          ใสสุทธิ์
พระเกศทัดธารบุษป์       กลิ่นฟุ้ง
ไปทิศอุไทยอุต          ดมยิ่ง นั้นนา
ฝันว่าอ่อนเล่นถุ้ง         ทั่วท้องสระศรี ฯ


รบกวนชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ ที่ว่า เหล้น กับ เล่น เป็นคนละเสียงกัน แบบนี้คือคนละคำกันเลยหรือครับ(แต่ความหมายเดียวกัน?)

2.ประเด็นเรื่องเอกโทษกรณีคำตาย(ตัวสะกดเป็นเสียงกัก) ถ้าพยัญชนะเป็นอักษรกลางหรือสูงประกอบกับสระเสียงยาวก็จะเป็นเสียงวรรณยุกต์เอกอย่างคุณชายองค์ว่า แต่ถ้าพยัญชนะเป็นอักษรต่ำ ประกอบสระเสียงยาวจะเป็นเสียงวรรณยุกต์โท และเมื่อประกอบสระเสียงสั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ตรี

แล้วกลุ่มที่พยัญชนะเป็นอักษรต่ำเหล่านี้ใช้เอกโทษไม่ได้หรือครับ?

ลองดูบทนี้นะครับ ลิลิตพระลอเช่นเดิม

ออกท้าวฟังลูกไท้         ทูลสาร
ถนัดดังใจจักลาญ         สวาทไหม้
น้ำ้ำตาท่านคือธาร          แถวถั่ง ลงนา
ไห้บรู้กี่ไห้              สรอื้นอาดูร ฯ


หรือว่าลิลิตพระลอยังถือว่าเป็นผลงานปราชญ์รุ่นหลัง ถ้าเป็นอย่างนั้นปราชญ์โบราณคือใคร? มีผลงานเรื่องใดให้ศึกษา? เพราะผมเข้าใจว่าลิลิตพระลอน่าจะเป็นโคลงสี่สุภาพที่อยู่ในกลุ่มที่เก่าที่สุดอยู่แล้ว ส่วนโคลงดั้นโคลงลาวที่เก่ากว่านี้ก็ไม่เคร่งครัดแบบแผนมากนักอยู่แล้ว

งงครับ รบกวนชี้แนะด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง