ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ภาษาวรรณคดี
>
เรียนเชิญคุณจิตแผ้ว แล ผองมิตร
หน้า:
1
...
10
11
[
12
]
13
14
...
18
พิมพ์
อ่าน: 57145
เรียนเชิญคุณจิตแผ้ว แล ผองมิตร
นิรันดร์
องคต
ตอบ: 522
ความคิดเห็นที่ 165
เมื่อ 17 ส.ค. 06, 22:44
ขอบคุณ คุณ CrazyHOrseที่มาให้คำแนะนำในการแต่งฉันท์
ชอบอ่านฉันท์แล้วก็อยากแต่งฉันท์ให้ได้เหมือนคำประพันธ์อื่น
แต่รู้สึกตะกุกตะกักพิกล
ผมเห็นฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ แล้วก็รู้สึกว่ามันเหมือนสูตรคณิตศาสตร์
มีแบบแผนบังคับคล้ายคลึงกัน คือรูปแบบที่ค่อนข้างจะตายตัว
ต่างกันแต่เพียงแทนที่จะเอาตัวเลขเข้ามาเติมในสูตร
ก็เพียงหาคำมาเติมในแผนผัง
ผมเป็นคนเคยเก่งคณิตศาสตร์(
) ก็คิดว่าจะสามารถแต่งฉันทลักษณ์ได้
ด้วยการเคารพกฎเกณฑ์แบบเดียวกันได้
แต่มันก็ยากไปอีกแบบหนึ่ง เพราะเราต้องรู้จักคำมากๆ
และรู้วิธีการใช้คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาแทนคำที่ใช้กันเป็นพื้นฐาน
คุณหมูน้อย ฯ ก็ไม่ต้องกังวลใจว่าผมจะเคืองนะครับ
ทักท้วงมา ดีกว่าปล่อยให้เด็ก ๆ จำอะไรผิด ๆ ไป
เห็นแก่ส่วนรวมเป็นใหญ่เป็นดีที่สุด
เวลาสอนหนังสือ เด็ก ๆ ก็ท้วงว่าผมคิดเลขผิดบ่อยไป ก็ไม่ได้เคืองใคร
พ่อผมซึ่งเป็นครูวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ก็สอนวิธีสอนให้ผมว่า
เวลาทำโจทย์ให้เด็กดู ให้จงใจทำผิดให้เด็กจับได้บ้าง
เด็ก ๆ จะได้มีกำลังใจ คิดว่าสามารถเอาชนะครูได้เล็ก ๆ น้อย ๆ
อย่างไรคุณหมู ฯ ก็ระวังผมเอาคืนนะครับ
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
ตอบ: 522
ความคิดเห็นที่ 166
เมื่อ 17 ส.ค. 06, 23:01
ดูจากความคิดเห็นของคุณ CrazyHOrse แล้ว
เหมือนกับว่า เราจะใช้คำว่า 'เพราะ' หรือ 'ประ' จัดเป็นครุหรือครับ
พอจะมีตัวอย่างหรือไม่ว่ามีการใช้คำควบกล้ำแบบนี้เป็นคำ'ครุ'
หรือเป็นคำกลาง ๆ เป็นได้ทั้งครุและลหุ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1898
ความคิดเห็นที่ 167
เมื่อ 17 ส.ค. 06, 23:54
ผมก็คิดเหมือนอาจารย์ครับ นักเรียนสายวิทย์ไม่ว่ารุ่นอาจารย์นิรันดร์หรือรุ่นลูกศิษย์อย่างผมไปจนถึงรุ่นน้องๆหลานๆสมัยนี้ผมเชื่อว่ามีแน้วโน้มจะติดที่จะคิดอะไรเป็นแบบแผน ซึ่งความจริงผมก็คิดว่ามาถูกทางระดับหนึ่งอยู่แล้ว (ถ้าไม่นับเรื่องสุนทรียะในบทกวีนะครับ)
ปัญหาอยู่ที่ว่าแบบแผนเหล่านั้นคือทั้งหมดของฉันทลักษณ์แล้วหรือไม่?
ผมคิดว่า "ไม่" ครับ
หลายสิ่งหลายอย่างไม่เคยแสดงในแบบแผนครับ ยกตัวอย่างเช่นกลอนสุภาพที่เราคุ้นเคยกันนั่นแหละครับ คำท้ายวรรคสองโดยมากจะต้องเป็นเสียงจัตวา อาจะเป็นเสียงโท เสียงตรี เสียงเอกได้บ้าง แต่ยากที่จะเป็นเสียงสามัญครับ ในขณะที่คำท้ายวรรคสามกลับใช้เสียงสามัญเป็นหลัก
เรื่องแบบนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องพื้นๆที่คนเคยแต่งกลอนทุกคนจะรู้ แต่ผมไม่เคยเห็นในผังกลอนเลยครับ
อย่างนี้จะเรียกว่าเป็น undocumented pattern ได้หรือไม่?
ในฉันทลักษณ์แบบอื่นๆก็แล้วแต่มีเคล็ดลับเหล่านี้ อย่างโคลงสี่สุภาพ ดูไปสักพักผมก็เริ่มรู้สึกแบบนี้เหมือนกัน บางทีแต่งเอกเจ็ดโทสี่เป๊ะฟังแล้วไปรื่นหู แต่แต่งแบบไม่เคร่งครัดกลับไพเราะกว่า
แต่ในความไม่เคร่งครัดนั้นก็มี pattern ของมันอยู่เหมือนกัน ไม่ใช่มั่วเลยนะครับ
ผมยังเข้าไม่ถึงหัวใจของศาสตร์นี้ แต่มีข้อสงสัยในหลายเรื่องที่อาจจะเกี่ยวข้องกัน
1.ทำไมโคลงถึงบังคับรูป ไม่ได้บังคับเสียง
2.จารึกพระขุนรามราชมีแต่ไม้เอกและไม้โท ไม่มีวรรณยุกต์อื่นๆเลย วรรณยุกต์ตรีและจัตวาเพิ่งจะมีใช้ในสมัยอยุธยา
3.โคลงลาว(กลอนอ่าน)ฉันทลักษณ์ไม่ตรงกับโคลงไทยเสียทีเดียว บังคับรูปวรรณยุกต์เหมือนกัน และที่สำคัญ มีบังคับแค่รูปเอกและโทเหมือนกัน
4.โคลงจีน(ที่ผมยกมาในอีกกระทู้หนึ่ง) บังคับเสียงวรรณยุกต์โดยที่วรรณยุกต์จีนในยุคที่ฉันทลักษณ์นั้นเป็นที่นิยม มีเสียงตรงกับเสียง สามัญ,เอกและโทในภาษาไทย
5.โคลงไทยโบราณ(โคลงดั้น) โคลงลาว และโคลงจีนมีบังคับสัมผัส แต่ไม่มาก นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มว่ายิ่งเก่าเท่าใดก็ยิ่งเคร่งครัดน้อยเท่านั้น (การวิเคราะห์โคลงลาวและโคลงไทยโบราณหาอ่านได้ในหนังสือโองการแช่งน้ำโดยจิตร ภูมิศักดิ์ครับ)
บางทีการศึกษาเรื่องการประพันธ์ อาจจะต้องย้อนกลับไปดูที่มาของฉันทลักษณ์นั้นๆว่ามาอย่างไร เจตนาของบังคับที่มีนั้นมีเพื่ออะไรนะครับ
บันทึกการเข้า
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1898
ความคิดเห็นที่ 168
เมื่อ 18 ส.ค. 06, 00:20
เสียง เพราะ, ประ ตระกูลนี้ตามตำราถือว่าเป็นลหุนะครับ แต่ในความเห็นส่วนตัวของผม ธรรมชาติของเสียงควบกล้ำแบบนี้มันไม่ใช่เสียงลหุครับ เรื่องใช้เป็นลหุนั้นใช้ได้แน่ๆ(เพราะนิยมใช้กันอยู่) แต่ผมว่าอ่านแล้วไม่รื่นหูครับ
ในขณะที่เราก็สามารถใช้คำเหล่านี้แทนคำครุได้อย่างสบาย
ผมจะลองใส่ใน วิชชุมาลาฉันท์ดูนะครับ บังคับครุทั้งหมด
ประเทศเราก็ มีพ่อเพียงหนึ่ง
เพราะเป็นที่พึ่ง ของประชาราษฎร์
บันทึกการเข้า
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นิรันดร์
องคต
ตอบ: 522
ความคิดเห็นที่ 169
เมื่อ 18 ส.ค. 06, 14:19
ถ้าอย่างนี้
เอาเป็นว่า
เวลาอ่าน
ถ้าคำนี้อยู่ตรงตำแหน่งลหุ ก็อ่านเบา ๆ หน่อย หรือลงเสียงสั้น ๆ เข้าไว้
ถ้าไปอยู่ตรงตำแหน่งครุ ก็ให้เน้น ๆ หน่อย จะได้ทำนองฉันท์ตามที่บังคับ?
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1898
ความคิดเห็นที่ 170
เมื่อ 18 ส.ค. 06, 14:50
บนพื้นฐานที่ว่าภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด(ทำให้คำไทยทุกคำออกเสียงหนักหมด) ผมเห็นอย่างนั้นครับอาจารย์
บันทึกการเข้า
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นิรันดร์
องคต
ตอบ: 522
ความคิดเห็นที่ 171
เมื่อ 18 ส.ค. 06, 22:03
ถ้าเช่นนี้ คงหาลหุแท้ ๆ มาแต่งฉันท์ได้ยาก
คงต้องแบบกล้อมแกล้มไปเท่านั้นกระมังครับ
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
ตอบ: 169
ความคิดเห็นที่ 172
เมื่อ 18 ส.ค. 06, 22:41
ผิดเป็นครูแต่คนที่เป็นครูจงพยายามอย่าทำความผิด
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
ตอบ: 392
อะแฮ่ม!!
ความคิดเห็นที่ 173
เมื่อ 19 ส.ค. 06, 00:12
เกือบคืนค่อน นอนไม่หลับ นั่งนับฝัน
ตกกลางวัน เฝ้าฝันต่อ มิท้อถอย
โอ้ว่าฝัน มันเฝ้าล้อ การรอคอย
หิ่งห้อยน้อย คอยฝันอยู่ อยากคู่เดือน ฯ
นอนไม่หลับเหมือนกันหรือครับ ครูจิตแผ้ว ช่วงนี้ไม่ค่อยเจอกันเลยนะครับ
ในเมื่อฝันหายไปแล้ว ขอไปนั่งนับดาวต่อล่ะครับ..
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
ตอบ: 392
อะแฮ่ม!!
ความคิดเห็นที่ 174
เมื่อ 19 ส.ค. 06, 00:14
ด้วยความยินดีครับผมอ.นิรันดร์
แต่แหม๋..ผมคงพลาดยากนะครับอาจารย์นิรันดร์
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1898
ความคิดเห็นที่ 175
เมื่อ 19 ส.ค. 06, 01:04
แหม๋ ได้ไงครับ ต้อง แหม ครับ
โดนซะแล้วมั้ยล่ะ
บันทึกการเข้า
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
ตอบ: 169
ความคิดเห็นที่ 176
เมื่อ 19 ส.ค. 06, 05:58
แสงหิ่งห้อยอาจด้อยค่าคราจันทร์ฉาย
ไร้ความหมายหากยังมีสุริยฉัน
คราอาทิตย์อับแสงแล้งเงาจนัทร์
หิ่งห้อยพลันแจ่มบรรเลิดเลิศวิไล
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1898
ความคิดเห็นที่ 177
เมื่อ 19 ส.ค. 06, 10:04
เย็นฝนยามฟ้าสาง เย็นเยือกอย่างนางเลือดเย็น
ยามยิ้มดังหนึ่งเช่น กรีดใจเล่นเซ่นใจนาง
บันทึกการเข้า
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นิรันดร์
องคต
ตอบ: 522
ความคิดเห็นที่ 178
เมื่อ 19 ส.ค. 06, 20:33
........ สี่ . ตีนปีนป่ายพลั้ง ....... พลาดลง
เท้า . ที่เหยียบดินคง ............. ลื่นได้
รู้ . หรือไม่ก็จง ...................... สติมั่น
พลาด . ผิดทีเดียวไซร้ ........... อาจให้เสียการ
........ นัก . เรียนเพียรร่ำรู้ ....... วิชา
ปราชญ์ . เปรื่องเรื่องนานา ...... พลาดได้
รู้ . มากเท่าใดหนา ................ ฤๅหมด
พลั้ง . ง่ายประมาทให้ ............ หมดสิ้นชีวิน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1898
ความคิดเห็นที่ 179
เมื่อ 19 ส.ค. 06, 23:48
งามดุจภาพสวรรค์ ดวงตาวันลับแผ่นฟ้า
สะท้อนในอกข้า อีกไม่ช้าราตรีเยือน
บันทึกการเข้า
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า:
1
...
10
11
[
12
]
13
14
...
18
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...