เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 12274 Brahms Experience CD ของคุณ B
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 17:27

 ในช่วงยุคโรแมนติคนี่การยึดติดตามแบบแผนนี่ out ไปแล้วน่ะครับ เขามองกันว่าจะแต่งเพลงทั้งทีทำไมต้องยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ มี 3 ท่อนๆช้าอยู่กลางขนาบด้วยท่อนเร็ว ช่วงแรกเป็น introduction ตามด้วย exposition ของธีม จบด้วย coda จะแต่งอะไรก็แต่งไปเลย sonata form เลยไม่เป็นที่นิยม เนื้อหาของเพลงก็เหมือนกัน ทำไมต้องแต่งแต่เรื่องที่ยิ่งใหญ่อลังการ เป็นปรัชญาหรือมีข้อคิด แต่งเรื่องธรรมดาสามัญไม่ได้หรือ เห็นผู้หญิงปั่นด้ายก็เอามาแต่งเพลงก็ได้ นั่งเรือไปเที่ยวก็เป็นเพลงได้



เมนเดลส์ซอห์นที่ไม่มี piano sonata เลย (จริงๆมีนะครับ แต่ไม่ดังเท่านั้นเอง) แต่มี song without words อยู่เป็นร้อยได้ อาจจะไม่มีอะไรลึกซึ้งมาก เพราะเมนเดลส์ซอห์นไปเที่ยวไหนประทับใจอะไรก็แต่งไว้ เป็นเหมือนบันทึกการเดินทาง โชแปงนี่มี prelude 24 nocturne 20+ etude valse polonaise etc etc ลิทซ์เองก็มีเพลงเปียโนดีๆเยอะ แม้ผมจะรู้สึกว่ามัน emotional extravaganza ไปหน่อยแต่ก็คิดว่าเพราะ (เป็นบางช่วง)



แต่ถ้าพรรณาโวหารมากขนาด tone poem นี่ผมก็ไม่ไหวเหมือนกันนะครับ งานที่เขาว่าดีหลายๆชิ้นของ richard strauss (คนละคนกับ Johan Strauss the Waltz King นะครับ) พวก Also Sprach Zarathustra, Don Juan, Don Quixote พวกนี้ผมฟังแล้วมึน ดูเหมือนว่ามันไม่เป็นเพลง อาจจะต้องไปอ่านนิยายก่อนแล้วมาฟังอีกที    งานพวกนี้ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีบ้าง (เช่นที่กล่าวมาแล้ว หรือ Midsummer Night's Dream ของ Mendelssohn) รูปภาพบ้าง (เช่น La Mer ของ Debussy, Pictures at an Exhibition ของ Ravel) บางทีถ้าไม่เคยอ่านหรือดูมาก่อนอาจไม่รู้เรื่อง บางทีถ้าอ่าน title ของเพลงก็พอช่วยได้บ้าง เขาี้เรียกงานประเภทนี้ว่าเป็น program music ครับ ส่วน Brahms นั้นเชื่อใน absolute music คือสาระของงานดนตรีหาได้จากดนตรีเอง ไม่ต้องหาอ่านหาดูจากที่อื่นมาก่อน ความซับซ้อนของงานก็เลยเยอะกว่า



ดนตรีคลาสสิกจริงๆเข้าใจลึกซึ้งยากมั้งครับ ส่วนมากคนจะนิยมฟังแต่ช่วงเด่นๆ น้อยนักที่จะฟัง sonata หรือ concerto แบบครบทั้งสามสี่ท่อนโดยเข้าใจว่าขาดท่อนใดท่อนหนึ่งไปไม่ได้ อย่าง moonlight sonata ของ beethoven ที่โด่งดังผมมั่นใจว่าส่วนมาก 80% เลยเอ้า รู้จักท่อนแรกท่อนเดียว ตัวผมเองรู้ว่ามี 3 ท่อนก็ยังไม่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละท่อนเหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 17:56

 นั่งฟังอย่างเดียวเพลินดีแท้ๆ    
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 19:51

 "รับความเครียดจาก brahms ไม่ไหว "
"ท่อนแรกของ Symphony #4 ผมไม่เคยฟังเพลงอะไรแล้วเครียดแบบนี้มาก่อนเลย"
ผมรู้สึกว่าเวปนี้ มีสมาชิกที่โสตสัมผัสพิเศษหลายท่านจริงๆ พูดในสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลย ตรงประเด็นยังกับล็อคเป้าไว้

Sir Donald Tovey (1875–1940) ปรมาจารย์การวิเคราะห์เพลงแกชอบเบอร์ 4 นี้มาก อยู่ในคีย์ eไมเนอร์ (ท่านปะกานินี่จะอธิบายได้ดีกว่าผม โน๊ตสักตัวยังอ่านไม่ออกเลยครับ อย่าว่าแต่จะเคาะคีย์ให้เป๋นดนตรี) ซึ่งแปลกจากปกติ
แกอธิบายง่ายๆ ว่า ใครก็ตามที่เป็นคนปกติ ฟังตอนแรกของท่อนเริ่มต้นนี้ น่าจะรู้ว่า เพลงกำลังจะกล่าวถึงความโศกาอาดูรอย่างลึกซึ้ง...................

แต่เดี๋ยวก่อน ผมว่าอีตา Tovey นี่แหละ ต้นเหตุของความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบราห์มส
เรื่องลึก เรื่องยาก เรื่องดูดดื่มอะไรพวกนี้ มันมาจากการตีความล้วนๆ
ลุงบีแกไม่ใช่พวก Sarasate หรือไชค็อฟสกี้ ที่สร้างเมโลดี้สุดสะเทือนใจ ฟังๆ ไปน้ำตาหยดเผาะ เผาะ เหมือนฟังละครเรื่องสายเปล ตอนที่ผู้พิพากษา(ลูกชาย) สั่งประหารชีวิตแม่บังเกิดเกล้า(โดยไม่รู้ชาติกำเนิด -นอกเรื่องไปหน่อยครับ กลอนพาไป)
แต่ลุงแกเป็นพวกชนชั้นต่ำเขยิบฐานะเป็นชนชั้นกลาง พวกนี้ไม่ใช้วัฒนธรรมฟูมฟาย แต่เป็นพวกเก็บกดมากกว่า

เอาอย่างนี้ครับ ฟังอีกคนซิว่า วิเคราะห์งานของบราห์มสว่าไง  Claudio Arrau (1903–1991.) นักเปียนโนที่เล่นโน๊ตได้สะอาดที่สุดที่หูสั่วๆ ของผมเคยได้ยิน แกบอกว่าท่อนช้าในโซนาต้าเบอร์ 3 (op.5) ของลุงแกนี่ ไพราะที่สุดต่อจากท่อนเพลงรักใน Tristram and Isolde ของ Wagner เลยทีเดียว แถมยังหยอดด้วยว่า เป็นเปียนโนที่ sexy มาก
ตรงนี้ละครับ ที่อยากจะตอบคุณช็อคร้อนว่า ลุงบราห์มสแกทำเรื่องเครียดไม่เป็นครับ แต่ความเครียดน่าจะมาจากคอนดัคเตอร์ที่คิดว่าลุงแกเครียดมากกว่า
เอางี้นะครับ ลองหาเบอร์ 4 ที่กำกับโดย Victor de Sabata (1892–1967) เมื่อปี 1939 มาฟังดู http://www.cduniverse.com/search/xx/music/pid/1033777/a/Victor+De+Sabata+-+Brahms:+Symphony+no+4%3B++Wagner,+et+al.htm
อย่าดูถูกว่าเป็นการบันทึกเสียงเมื่อพ.ศ. 2482 นะครับ ในความเห็นอันไร้เดียงสาของผม มันคือบราห์มสจากแผ่นเสียงที่ดีที่สุดตลอดกาล

วิคตอร์เป็นอิตาเลี่ยน ซึ่งโดยพื้นฐานจะแพรวพรายในการสำแดงออก ยังบวกกับที่แกเชี่ยวชาญในโอเปร่า สองอย่างนี้รวมกัน ย่อมผลิตของวิเศษได้ง่ายๆ ผมขออธิบายแบบคนไม่รู้ดนตรีนะครับ ว่าแกกำกับเพลงไปตามกำลังลมหายใจของมนุษย์ เพลงของแกจึงไม่เครียด เพราะไม่ต้องกลั้นใจรอท่อนอร่อย หรือยืดลมหายใจเพื่อรองรับบางวลี (ไม่รู้จะว่าผมบวมรึเป่า)
คือธรรมดาเวลาเราลากคันชักไวโอลิน หรือเป่าแตร มันจะไปตามใจปราถนา แต่คนเรามีขีดจำกัดในการหายใจ คอนดัคเตอร์ดาดๆ จะเน้นจังหวะ ลากอารมณ์ หรือกระแทกกระทั้น จนโครงสร้างของเพลงเสียดุลย์ ดังสุด ช้าสุด เร็วสุด พวกนี้แหละครับ
ดุลย์ในงานของบราห์มสคืออะไร
อันนี้ต้องยืมคำของ Dietrich Fischer-Dieskau ออกเสียงว่า ฟิชเช่อร์-ดิสเกาว(1925-) นักร้องเสียงสวรรค์คนสุดท้าย แกบอกว่า จะเข้าถึงสุนทรีย์ภาพของบราห์มส คุณต้องทำผ่านเพลงร้อง
ผมก็เลยถึงบางอ้อ ว่า ที่คนส่วนมากเบื่อบราห์มส น่าจะเป็นเพราะเพลงไปอยู่ในมือซาตาน(เปรียบเทียบให้เห็นภาพน่ะครับ)

ฟังเรื่องนินทานี้หน่อย เมื่อสักห้าหกปีก่อน วงเอเชี่ยน ยูธ มีคิวมาเล่นที่เมืองไทย คอนดัคเตอร์ก็เป็นคนไทย แกให้สัมภษษว่า เสียดายที่ต้องเปลี่ยนจากซิมโฟนี่ของไชค็อฟสกี มาเป็นบราห์มส เบอร์ 4 แต่ก็ยังโชคดี เพราะเพลงไม่ยากกกกกกกกกกก
ผมงี้ร้องจ๊าาาาากกกกกก เลยครับท่าน
นี่คงเป็นการประกาศเป็นครั้งแรกในโลก ว่าเพลงนี้ไม่ยาก
ตอนแต่งเพลงนี้ ลุงแกรู้อยู่แล้วว่าเป็นเพลงปราบเซียน แกก็เลยเรียบเรียงเป็นเปียนโนสี่มือ เล่นให้เพื่อนวงในของแกตรวจสอบเสียก่อน ทุกคนสั่นหัวครับ คนที่สั่นหัวนี่ ล้วนแต่เป็นชื่อในตำนานทั้งนั้น บางคนขอปรับเปลี่ยนบางส่วน คุณลุงแกก็สั่นหัวลูกเดียวบ้าง บอกว่าโน แล้วแกก็ไปแอบเตี๊ยมกับวงบ้านนอกเล็กๆไว้ เพื่อลองเล่นก่อน เลยกลายเป็นความผิดใจกันนิดหน่อย เพราะคอนดัคเตอร์ที่จะได้เล่นรอบปฐมทัศน์โลก ดันถูกเจ้าของเพลงตัดหน้า
แต่แล้ว เพลงนี้ก็รอดมาถึงทุกวันนี้

ผมมีหลักฐานมาเสนอด้วยนะครับ ว่าเพลงนี้ ของแท้ต้องไม่เครียดครับ เพราะการแสดงแบบเต็มยศครั้งแรกนั้น พอจบท่อนแรก คนดูก็ไม่ยอมฟังท่อนสองครับ ยึนขึ้นปรบมือทั้งโรงแสดง นาน กว่าจะยอมให้เล่นท่อนสอง และปรบมือทุกท่อนครับ
มีครั้งหนึ่งลุงแกไปแอบฟังอยู่ในที่นั่ง box office คนดูรู้เข้า ตบมือไม่เลิก จนลุงแกต้องลุกขึ้นโค้งรับ นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ชาวเวียนนาเห็นแกในที่สาธารณะ

เพลงอย่างนี้ไม่น่าจะเครียดนะครับ

ส่วนท่านหัวหน้าม้าผยอง ฟังอยากเดียว จะถูกแช่งให้ฟังเพลงแม่นยิ่งขึ้นนะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 22:54

 ต้องแก้คำผิดอีก 2 แห่งครับ
อ็อกสฟอร์ด แก้เป็น เคมบริตจ์
เรื่องลายเซ็นต์ให้ลูกสาว Strauss jr. มีคนให้ข้อมูลว่า เด็กสาวขอให้เขียนบนพัด เพื่อเอาไว้คลี่อวดกัน
ผมเห็นที่เขาพิมพ์ตัวหนังสือ เขา crop ไว้ จึงเข้าใจว่าเป็นกระดาษธรรมดา

มือสมัครเล่นก็อย่างนี้ละครับ เขียนผิดมากกว่าถูก
มีที่สะกดผิดอยู่ประปราย ก็โปรดอดทนอ่านนะครับ
นึกว่าสนทนากันเล่น
ดีกว่าอยู่ปล่าว ปล่าว
บันทึกการเข้า
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 มี.ค. 06, 12:01

 เครียดที่ผมว่าผมหมายถึง dark, brooding น่ะครับ ไม่ได้เป็นแบบเศร้าสร้อย ดนตรีอีกชิ้นที่ให้ความรู้สึกแบบนี้ก็คือ Rachmaninov 2nd Piano Concerto ขึ้นต้นมาก็หดหู่แล้ว

แต่ก็เข้าใจว่าอารมณ์เพลงก็อยู่ที่คอนดัคเตอร์ตีความ ไว้ผมจะลองหาเวอร์ชั่นที่คุณ pipat ว่าๆสดใสมาฟังละกันครับ เวอร์ชั่นที่ผมมีคือของ Kleiber conducting Wiener Philhamoniker

แต่หดหู่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ดีนะครับ ตอนผมไปดูคอนเสิร์ตที่ว่าคอนดัคเตอร์ต้องหยุดปาดเหงื่อนั่น ก็มีคนปรบมือโห่ร้องตั้งแต่จบท่อนแรกเลย ส่วนตัวผมเองผมยังจำช่วงแรกของท่อนแรกได้ขึ้นใจเลย นึกตอนไหนก็นึกออก (ปกติแล้วผมจำไม่ค่อยได้หรอก ต้องเล่นขึ้นมาก่อนถึงจะจำได้)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 มี.ค. 06, 20:28

 Rach II แต่งโดยคนที่เพิ่งบำบัดทางจิตมาหมาดๆ สิ่งที่บรรจุไว้นี่ ย่อมไม่ปกติอยุjแล้ว แต่เป็นหนึ่งในของดีที่สุดเชียวแหละครับ มันอาจจะเป็นข้อเตือนใจที่ดีว่า บางครั้ง เราก็น่าจะบ้าสุดๆ ดูบ้าง
Kleiber แผ่นนี้ผมก็มี แต่แผ่นเสียงดีกว่า CD หลายร้อยเท่า เสียงจากแผ่นปลาสติคเคลือบมีเนียมนี่แห้งแร้งไร้น้ำใจ เพราะไม่ทิ้งเยื่อไยให้หูเลย อาจจะเป็นเพราะเครื่องของผมมันถูกๆ แต่ฟังจาก turntable ชุดเด็กๆที่ผมมี เสียงก็น่าพอใจมากแล้วครับ
ผมดันไปชอบ Kleiber คนพ่อ (Erich ไม่ใช่ Carlos) เล่น Beethoven นี่ ไม่ต้องหาใครมาเทียบเลยครับ ยังกับฝูงม้าป่าทรงพลัง ควบตระบึงผ่านท้องทุ่ง จะดูทีละตัวก็หลง จะดูรวมทั้งฝูงก็อัศจรรย์ใจ
แต่ Kleiber ลูกนี่ก็เยี่ยมนะครับ เสียดายที่ไม่ค่อยอัดแผ่น และเสียดายยิ่งขึ้นไปอีก ที่กลับไปอยู่กับพ่อเสียแล้ว หมดกัน คอนดัคเตอร์ที่ไม่ใช่นักแสดง และเป็นของจริง
เขาไม่เหมาะกับงานของลุงบีนัก ยกเว้นเบอร์ 2 เพราะแกเป็นกลุ่ม "คิดมาก" จะเล่นบราห์มสให้ดีนี่ ห้ามคิดครับ ต้องทำเหมือนที่สมเด็จฯ นริศ ตรัสว่า กินเข้าไปแล้วแตกออกมาเป็นเหื่อ คือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งที่ตัวเองกำลังทำ

แนว "สดใส" ที่คุณ HotChoc ชอบ มีแผ่นนี้แผ่นเดียว ฝีมือคอนดัคเตอร์อมตะ Stokowski เล่นสด น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตกระมัง แกเกิด 1882 เล่นเมื่อ 1974 อายุใกล้ร้อยแล้วครับ อีกแป๊บเดียว
แต่อายุไม่มีความหมาย แกเล่นเหมือนเพิ่งตกหลุมรักสาวสวยมาหยกๆ (และคงมานั่งฟังตรงแถวหน้าด้วย -แหะ แหะ เปรียบเทียบนะครับ)
74.14 นาทีในแผ่นนี้ ไม่มีสักวินาที ที่ทำให้ผิดหวัง
ผมไม่รู้วิธีส่งไฟล์เสียง หาไม่จะอภินันทนาการเสียให้เข็ด เพราะลองหาในเนทแล้ว ไม่เจอ แปลว่าหมด
เอารหัสไปก็ได้ครับ Stokowski. BBC Radio Classics BBCRD9107
นี่เป็นคำวิจารณ์ http://www.gramophone.co.uk/gramofilereview.asp?reviewID=9503009&mediaID=5051

แกเล่นอร่อยจนคนดูลืมตัว จบท่อนแรก ปรบมือกันกราว
แต่แล้วก็ได้สติ ผีผู้ดีเข้าสิง พากันหยุดเสียงปรบมืออันมีค่า เปลี่ยนไปนั่งนิ่งเป็นซอมบี้ ผมไม่รู้ว่าธรรมเนียมท่อนไม้ฟังเพลงนี่ใครเป็นคนสอน แต่มันแย่จริงๆ มทสาร์ตหรือบีโธเฟ่นนี่ อยากให้คนดูมีส่วนร่วใตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนสตราวินสกี้เสนอ Le Sacre du printemps ในปี 1913 คอนดัคโดย Pierre Monteux ให้กับ Théâtre des Champs-Élysées in
ลือกันว่าเล่นไปสักพักคนดูก็ทะเลาะกันว่านี่มันของดีหรือของเลว สุดท้ายก็เหมือนแฟนคาราบาวครับ ตีกันหน้าเวทีนั่นแหละ มันเป็นบ้าไม๊ล่ะท่าน

ผมไม่เห็นด้วยเลย กับการทำศิลปะให้กลายเป็นพิธีกรรม ทีพิธีกรรมที่เป็นศิลปะ อย่างโขน ก็ดันมีคนทำจนกลายเป็นตลกคาเฟ่ไปเสียนี่
ขอโทษที นอกเรื่องมากไปหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 11:36

 คราวนี้ มาทำความรู้จักลุงบีเสียที
Johannes Brahms (May 7, 1833 – April 3, 1897)
เป็นคนฮัมบวร์ก เกิดในสลัม (น่าจะเรียกอย่างนั้นได้) ในครอบครัวที่ค่อนข้างแปลก พ่ออ่อนกว่าแม่ถึง 17 ปี แม่มาจากตระกูลผู้ดี แต่ก็ตกต่ำเป็นปลายแถวมานานพอดู นินทากันว่ายอมแต่งกับเด็กหนุ่มกว่า เพราะเป็นทางเดียวที่จะขายออก ค่าที่ตัวเองไม่สวยเลย แถมขาเป๋ไปข้างหนึ่ง เห็นใหมครับ โรคสนใจชีวิตชาวบ้านนี่เป็นมาแต่ใหนแต่ไรเชียว

พ่อของบราห์มส Johann Jakob Brahms เป็นนักดนตรีต๊อกต๋อย มาจากต่างเมือง เล่นดนตรีได้หลายอย่าง ในที่สุดก็เป็นมือเบสประจำวงของเมือง มีลูกสามคน คนกลางเป็นลูกสาว น้องสุดท้องโตขึ้นเป็นนักเปียนโน แต่ไม่มีชื่อ ทั้งคู่ตายก่อนพี่คนโต

ลุงบี เขียนถึงตัวเองว่า
I have had no experiences that I could communicate.
I have attended no schools or institutions for musical culture.
I have embarked on no travels for purposes of study.
I have received no instruction from eminent masters.
I am the incumbent of no public offices,
and I hold no official positions (จาก Jeffrey Dane)

เขายืนยันว่าวัยเด็ก มีความสุขดี และรักแม่มาก เมื่อแม่ตาย เขาสร้างงานดีที่สุดสองชิ้นเป็นอนุสรณ์  ชิ้นแรกเป็นเพลงร้องประกอบวงขนาดใหญ่ ระดับ Requiem แต่บราห์มสทำสิ่งพิเศษไว้หลายอย่างในงานนี้ อันแสดงถึงความคิดทางศาสนาของเขาอย่างเด่นชัด (เราจะข้ามไปก่อน เพลงนี้เพลงเดียวทำให้บราห์มสตั้งตัวได้ และถูกยกย่องคู่กับของ Verdi ดังนั้น ควรพิจารณาต่างหากดีใหมครับ)
เพลงนี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องหมายการค้ายี่ห้อ บราห์มส = ลูงส่ง ล้ำลึก ซึ่งผมเห็นว่าจริง แต่ก็ไม่จริงทั้งหมด ประเด็นนี้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกได้สองใบเลยล่ะ (หรือคนเดียว แต่ทำเอก แล้วต่อด้วย post doc.ก็ได้)
เพราะในงานรำลึกถึงแม่อีกชิ้น ที่เล็กกว่ามากๆ คือเป็นแค่วงสามชีวิตที่ผสมผสานเครื่องดนตรีอย่างแปลก Horn tri op.40 ประกอบด้วย piano violin และ French horn มีคนทำปริญญาเอกเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว (ถ้ามีเวลา เราค่อยมาถกกันถึงงานชิ้นนี้นะครับ บอกแต่ว่า ถ้าเลือกได้เพลงเดียว ผมจะเลือกเพลงนี้ ถ้าเลือกได้ท่อนเดียว จะเลือก op.60 ท่อน3))

บราห์มสเป็น Prodigy คือเด็กอัจฉริยะ เขาแต่งโซนาตาตั้งแต่สิบขวบกว่า งานที่เก่าที่สุด ที่เขายอมให้รอดชีวิตมาได้ (ปกติแกเป็นจอมทำลายล้างครับ เขาว่าแกฉีกทิ้งถึงสองโหล กว่าจะยอมให้ไวโอลินโซนาตาที่คุณปะกานีนี่อ้างถึง รอดมาสามชิ้น) เป็นScherzo (สแก๊ตโซ่) ขนาดมหึมา in E-flat minor ยาว 9 นาทีกว่า ฟรันส์ ลิสต์ เห็นโน๊ตเข้าก็เล่นเลย และชมว่ามีอนาคต บราห์มสแต่งตอนอายุ 18 ครับ
อายุ 14 ก็เริ่มเล่นเปียนโนในบาร์ท่าเรือแล้ว กลางวันทำงานร้านซ่อมเปียนโน ระหว่างเล่นก็อ่านหนังสือไปด้วย (แยกกายออกจากจิตกระมัง)
เพื่อนร่วมสมัยบันทึกถึงบราห์มสตอนหนุ่มน้อยว่า ฝีมือไม่แพ้พวกโปลิช ซึ่งเป็นคำยกย่องอย่างพิเศษสำหรับชนชาติงุ่มง่ามอย่างเยอรมัน
ในยุคนั้น เปียนโนถูกปกครองโดยศิลปินจากโปแลนด์ คงไม่ต้องบอกว่าโชแปงเป็นชาวอะไรนะครับ

ลองอ่านจดหมายถึงครูเปียนโนคนแรก Otto Friedrich Willibald Cossel (ลงชื่อเต็มให้เป็นเกียรติครับ) ตอนนั้นอายุ 9 ขวบ
January 1, 1842
Beloved Teacher!
Once again a year has passed, and I am reminded how far you have brought me in music in the year gone by. How many thanks do I owe you for that! True, I must also consider that at times I did not follow your wishes, in that I did not practice as I should have. I promise you, however, in this year to comply with your wishes with diligence and attentiveness. While wishing you much happiness for the new year, I remain
Your obedient student,
J. Brahms
Happy New Year, all!

หลังจากเรียนอยู่สองปี บางคนก็บอกว่านานกว่านั้น ครูก็หมดภูมิ เจ้าหนูย้ายไปเรียนกับครูอีกคน  คราวนี้เรียนของยาก คือการประพันธ์และการประสานเสียงเครื่องดนตรี
เรรียนฟรีครับ ไม่มีเงินจ่าย (พักแป๊นะครับ หิวข้าว)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 12:54

 แก้คำผิด (อีกแล้ว)
Mendelssohn มี 3 sonatasครับ
op.6  Sonata no.1 in E major
op.105  Sonata no.2 in G minor
op.106  Sonata no.3 in B-flat major
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 13:49

 คุณมนุษย์ปักกิ่งเชิญมาร่วมวงหน่อยครับ อยากฟังหลากหลายความเห็นให้ครึกครื้นกันหน่อยครับ

ผมรับเป็นโปรโมเตอร์อย่างเดียวครับ ฮิฮิ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 14:32

 อ้าว กลายเป็นค่ายมวยไปแล้ว หัวหน้า
ผมขอเป็นคนพากษ์ก้อแล้วกัน

ถือโอกาสขอบคุณคุณมนุษย์โบราณด้วยครับ ได้เพลงดีๆจากความอนุเคราะห์ เพียบ
คนอะไร ฟังเพลงหมดโลกเชียวหรือ
เสียดาย Mahler - Sinopoli downloadไม่สำเร็จ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร

Sinopoli กำกับ German Requiem ที่ว่ามาข้างบนได้เหลือเชื่อ
สมเป็นอิตาเลี่ยนจริงๆ เสียดายที่กลับไปรับใช้พระเจ้าซะแล้ว กำลังซ้อมอยู่ดีๆ ไปเลยครับ โรคหัวใจ

นึกถึงแกแล้ว ก็อยากทำเรื่อง บราห์มสโดยคนเยอรมัน อิตาเลี่ยน ฝรั่งเศส และรัสเซียดู
ถ้าไม่แก่ตายเสียก่อน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 15:31

 ครูคนที่สองนี่ ถือเป็นสิ่งที่พระเป็นเจ้าประทานมาให้ลุงบีโดยแท้
Eduard Marxsen  (1806-1887) เป็นครูมีชื่อของเมือง เพราะสืบสกุลดนตรีมาจากมทสาร์ต (เรียนกับลูกศิษย์มทสาร์ต) และชูเบิร์ต(เป็นศิษย์เพื่อนสนิทชูเบิร์ต) และเป็นครูของ Cossel ด้วย
คลาร่าบันทึกไว้ตอนพบกับบราห์มสใหม่ๆ ว่า มาร์กเซ่นทำได้ดีมากกับเด็กหนุ่มคนนี้ ลุงบีก็คงซาบซึ้งกับบุญคุญที่ได้รับ ในปี 1881 เขาอุทิส  Piano Concerto No.2 op.83 ให้ครูผู้เฒ่า
มันเป็นยังไงหรือครับงานชิ้นนี้
มันมี 4 ท่อน(แทนที่จะเป็น 3) มันมีท่อนช้าที่ถูกแซวว่าจะเป็นเชลโล่โซนาต้าซะละมากกว่า มันมีท่อนสะแก๊ตโว่ที่บราห์มสบอกว่าชิ้นเล็กๆ แต่นักเปียนโนต่างก็หวาดกลัวกันเป็นที่สุด และเป็นคอนแชร์โตชิ้นหนึ่งในชีวิต ใครไม่เล่น ก็เหมือนศูนย์หน้าที่ไม่เคยยิงประตูได้เลย
มีหลายคนยกให้เป็นที่หนึ่ง แต่เพื่อไม่ให้ท่านผู้มีเกียรติหมั่นใส้ ผมให้เป็นหนึ่งในสองของเปียนโนคอนแชร์โต้ที่ดีที่สุดก้อแล้วกัน
(ใครหาชิ้นที่ทัดเทียมกันได้ เชิญเสนอมาเลยนะครับ ของรางวัลเป็นรถเก๋ง.... เอ๊ย ไม่ใช่ เป็น CD สั่งตัด the greatest piano concertos on earth 1 แผ่น)
เอ นี่ผมจะทำผิดกฏหมายเลือกตั้งใหมนี่
บราห์มสเรียน(ฟรี) กับครูผู้นี้ 2-3 ปี ก็เริ่มหากินได้ เรียบเรียงเสียงประสานให้วงดนตรีที่พ่อเป็นสมาชิก และเล่นคอนเสิร์ตเล็กๆ รวมทั้งเป็นนักเปียนโนประจำบาร์ อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอีตัว
เขาเล่าว่า ๆไม่รู้รอดมาจากแรงกระตุ้นสมัยนั้นได้อย่างไร คิดดูเถอะ เด็กหนุ่มหน้าตาดี กำลังแตกเนื้อหนุ่มเปรี๊ยะๆ นั่งบนตักโสเภณีครึ่งโหล กึ่งเปลือย ถูกกอดรัดฟัดเหวี่ยงเหมือนตุ๊กตา
ยังรอดมาเป็นบีคนที่สามได้
ตอน Mendelssohn ตาย ปี 1847 ครูคนนี้บอกไว้ล่วงหน้าว่า นี่แหละคนที่จะมาแทน และตอนเริ่มเรียนใหม่ๆ มีพ่อค้าหัวใส ขอซื้อเด็กน้อยคนนี้(อายุ 12) จะเอาไปแสดงเป็นของแปลกที่สหรัฐ (แบบเดียวกับแฝด เอ็ง/ช้าง หรือ อิน/จัน) ก็ครูคนนี้แหละ ที่ห้ามไว้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 15:41


รูปแรกของบราห์มส อายุ 14 เป็นลายเส้น
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 15:42

 รูปที่สอง มีตังค์ถ่ายรูปแระ อายุประมาณเดียวกัน 14 - 15
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 15:47


รูป
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 17:40

 คุณ pipat วิธีย่อรูปที่เหมาะสมคือใช้ Photoshop และ สั่ง resize ให้ได้ขนาดตามต้องการ (ประมาณรูปแรกถือว่าใช้ได้ครับ) ถ้าภาพแนวนอนกว้างสัก 500-700 จุดกำลังเหมาะ ถ้าเป็นแนวตั้งก็ให้สูงสัก 300-450 จุดก็กำลังดีครับ

ทำเสร็จแล้วเลือก save for web ปรับขนาด output โดยการปรับที่ quality ถ้าทำแล้วภาพที่คุณภาพพอรับได้ยังใหญ่เกินไปก็ต้องกลับไป resize ให้เล็กลงอีกสักหน่อยก่อน

ชนิดของภาพ jpg จะเหมาะกับภาพทั่วไป แต่ถ้าเป็นภาพแนว graphic สีน้อยๆเส้นคมๆ(อย่างพวกการ์ตูน) บันทึกเป็น gif จะคุณภาพดีกว่าและ file เล็กกว่าครับ ถ้าไม่แน่ใจก็ลองปรับดูจนพอใจแล้วค่อยบันทึกครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง