เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 12271 Brahms Experience CD ของคุณ B
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 00:25

 ตอนนี้ CD ของคุณ B ทำเสร็จเรียบร้อย พร้อมมอบให้ผู้เป็นเจ้าของ สะดวกเมื่อไรก็แจ้งมานะครับ จะส่งให้โดยด่วน
นึกสนุกขึ้นมา จะลองเล่าเรื่อง Brahms เล่นดูสักหน่อย เป็นข้อมูลประกอบ CDไปด้วยในตัว เพราะผมเลือกทำ CD the Brahms Experience ให้นะครับ

Brahms ตายเมื่อปี 1897 ตรงกับพ.ศ. 24เ40 ปีเดียวกับที่ ร. 5 เสด็จยุโรปครั้งแรก จะว่าเป็นคนยุคเก่าก็ได้ แต่ถ้านึกว่าเป็นหนึ่งในทำเนียบสุดยอดนักแต่งเพลง ก็นับว่าใกล้กับเรามากพอดู เพราะหลังยุคของ Brahms แล้ว แทบจะไม่มีมหาบุรุษระดับนี้ดำรงชีวิตอีกเลย (ผมนึกได้แค่คนกว่าๆ ที่ยอมรับให้เข้าในทำเนียบ ชนิดไม่อายรุ่นพี่)
ตอนที่ตาย เขามีฐานะเป็นเศณษฐีแห่งเวียนนาได้คนหนึ่ง แต่ก็มิได้สะสมสมบัติพัศถานอออันใดไว้เลย เมียก็ไม่มีมีแต่น้องชายที่ไม่ได้ทำอะไรสำคัญพอจะให้เขียนถึง แม้ว่าจะเป็นคนดังระดับโลก เทียบแล้วก็คงประมาณไอน์สไตน์ ฟลอยด์ หรือยอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ประมาณนั้น เรียกว่าไปที่ใหน พระเจ้าแผ่นดินของที่นั้นเป็นต้องอยากพบ แต่ Brahms ไม่เคยเห่อเหิมกับเกียรติยศนี้  ออกOxford จะมอบปริญญาให้ ก็ปฎิเสธ บอกว่าไม่กล้านั่งเรือข้ามไปเกาะอังกฤษ ทั้งๆที่เพื่อนซี้ ไปเผยแพร่ทำทางไว้จนเขาแทบจะปิดเกาะต้อนรับ
Sir Edward Elgar สรรเสริญไว้อย่างหรูเริ่ด แต่ George Bernard Shaw ก็ด่ายับไม่มีชิ้นดีเหมือนกัน
ถ้าจะให้สรุปโดยผมเอง ก็ขอบอกว่า งานของ Brahms นี่ หาคนสู้ยาก เพราะฉลาดในการเรียงร้อยถ้อยความ จนหาที่ติไม่ได้
มีเกณฑ์เฉลี่ยผลงานที่ดีถึงดีเลิศ สูงมาก เช่นถ้าเทียบกับ Beethoven แต่ง Symphony ไว้ 9 ชิ้น เบอร์ 1, 2, 4,  8, ถือว่างั้นๆ แต่ของ Brahms 4 ชิ้น ยอดเยี่ยมทุกชิ้น
คนส่วนใหญ่ชอบกล่าวหา ว่า งานของเขา สูงส่ง ลึกซึ้ง และน่าเบื่อ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ จริงอยู่งานของเขาค่อนข้างยากในเชิงเทคนิค แต่ก็ไม่ใช่งานที่ยากสุดๆ
ดูอย่างนี้ก็แล้วกัน เขาเล่น Piano concerto หมายเลข 2 ของตัวเอง ทั้ง 4  movementsโดยใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 37 นาที แต่ปัจจุบัน ทุกคนจะเล่นที่ ประมาณ 50 นาที เวลาที่ต่างกันสิบกว่านาทีนี่ ถือว่ามีนัยยะสำคัญอย่างมากครับ เวลาขนาดนี้ เท่ากับหนึ่งเพลงเชียวครับ ผมเคยเจอ เล่นยาวถึง 53-54 นาทีก็มี
นี่อาจเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่ชี้ว่า เราไม่รู้จัก Brahms ตัวจริงกันเลยกระมัง

จริงอย่างยิ่งครับ ชาวยุโรปร่วมสมัยกับ Brahms เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่วางเรื่องเล่าลือไว้กับชีวิตของเขา แม้จนถึงวันที่เขาเสียชีวิต เรื่องคาวๆก็หาได้จางหายไป

เขาลือกันว่า Brahms เป็นชู้กับภรรยาของอาจารย์ตัวเอง
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 03:02

ขอบคุณครับ ที่ชวนคุยเรื่องดนตรี

ขอแสดงความเห็นแย้งเล็กน้อยเกี่ยวกับ Johannes Brahms ครับ
อันที่จริงเรื่องดนตรีนี่ผมว่าเป็นเรื่องของรสนิยมนะคุณ pipat อาจจะเห็นว่าบราห์มส์นี่เลอเลิศที่สุดแล้ว แต่ก็เป็นแค่ในรสนิยมแบบคุณเท่านั้นนะครับ
ในทัศนะของผม ท่าน Brahms เป็นยอดนักแต่งเพลงคนหนึ่ง งานของท่านเต็มไปด้วยสติปัญญาและการสร้างสรรค์ นักดนตรีในยุคนั้นยกย่องบราห์มส์มากเพราะว่าท่านมีความคิดสร้างสรรค์ในการแปรเปลี่ยนทำนองได้หลากหลาย แต่ด้วยความลึกซึ้งนี่เองอาจจะทำให้คนฟังทั่วๆไปไม่นิยมอยู่บ้างด้วยบางตอนอาจจะน่าเบื่อไม่หวือหวา จุดเด่นของท่านอยู่ที่ Orchestration หรือการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับ วง orchestra ที่ยอดเยี่ยม มีสีสัน เวลาฟังงาน orchestra ของบราห์มส์สังเกตดูว่าดนตรีของท่านจะฟังดูแน่นมาก กระหึ่มเลยทีเดียว

แต่ผมเห็นว่ามันจะเป็นการไม่ยุติธรรมถ้าจะบอกว่างานของ Beethoven 9ชิ้น เฉลี่ยสู้ของ Brahms ไม่ได้ แหมๆ ในทางศิลปะไม่น่าจะคิดค่าเฉลี่ยนะครับ 555555

อีกประการหนึ่ง Beethoven เขียน Symphony ชิ้นแรกเมื่ออายุ 20 กว่าๆ เขียน Symphony No.5 ที่ลือเลืองเมื่ออายุ 30 ต้นๆ แต่บราห์มส์เขียน symphony บทแรกของท่านเมื่ออายุ 40 แถมท่านยังยอมรับด้วยว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก symphony หมายเลข 9 ของ Beethoven

การนำงานของคีตกวียุคก่อนมาเปรียบกับงานของคีตกวียุคหลังอาจจะไม่ค่อยแฟร์ เท่าไหร่นะผมว่า เพราะคนยุคหลังได้เรียนรู้ผลการค้นคว้าวิจัยจากคนยุคก่อนแล้วนำมาพัฒนาเป็นของตัวเอง

Brahms เป็นคนที่ถ่อมตัวและคมคายมาก เขาเป็นเพื่อนสนิทกับ Johann Strauss II ผู้แต่งเพลง An der Shoennen Blauen Donau (By the Beautiful Blue Danube) อันลือลั่นเป็นเพลงอมตะยอดฮิตมาถึงทุกวันนี้
ครั้งหนึ่งมีนักเรียนดนตรีเอาโน๊ตเพลง Blue Danube มาขอให้ Brahms เซ็นชื่อบนหน้าปก

Brahms ก็เขียนลงไปว่า
"อนิจจา ไม่ได้แต่งโดย บราห์มส์"
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 09:59

 ดูๆ บราห์มส ก็นิสัยน่ารักนะครับ ตามที่คุณปากานินี่เล่า

ผมส่งเมล์คุยกับคุณปากานีนี่หลังไมค์แล้วนะครับ

เรื่องอื่นๆ ผมยังไม่มีความเห็น หรือยังไม่มีความเห็นในที่นี้ก็แล้วกัน ฟังๆ คุยกันไปต่อไปผมอาจจะอยากมีความเห็นขึ้นบ้างก็ได้

ขอให้ "น่อง B เหอ" ของผมฟังเพลงของบราห์มสด้วยความสุขสนุกสนานเทอญ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 12:57

 คุณ Paganini วิจารณ์ได้ลึกซึ้งถึงเชิงดนตรีเช่นเคยครับ

แต่จะว่าไปแล้ว งานศิลปะใช่ว่าจะให้คะแนนไม่ได้เอาเสียเลย ในเมื่อเป็น subjective opinion  เราก็สามารถใช้คะแนนจากความคิดเห็นโดยเฉลี่ยได้ระดับหนึ่ง

หาไม่แล้วคงไม่มีคีตกวีที่ "เป็นที่ยอมรับ" นะครับ

ถ้าขอยกมือโหวตบ้าง ผมก็ขอบอกว่าชอบงานของ Beethoven มากกว่างานของ Brahms (โดยเฉลี่ย) ครับ

มีเรื่องที่ผมยังแปลกใจคือ ฟังงานของ Brahms ผมไม่ได้รู้สึกถึงความเกี่ยวพันกับงานของ Schumann อาจารย์ของเขาเลย หรือแค่หูผมไม่สามารถเข้าถึงได้

ขอท่านผู้เยี่ยมยุทธทั้งหลายโปรดชี้เแนะ    
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 14:19

 Brahms อาจจะไม่ได้เป็นศิษย์ของชูมันน์เพียงคนเดียวครับ
เท่าที่ทราบไม่ได้เป็นศิษย์ของชูมันน์เลยนะ ตอนเขาไปอาศัยกับชูมันน์นั้นเขาเป้นนักเปียโนและนักแต่งเพลงที่เริ่มมีชื่อแล้ว

และสมัยนั้นผมว่าพวกอัจฉริยะพวกนี้ไม่ได้อิทธิพลจากอาจารย์ตัวเองเท่าไหร่ เพราะเมื่อไหร่ที่ถูกครอบงำโดยอาจารย์พวกนี้มักจะไม่ดัง เพราะมีอาจารย์ดังอยู่แล้ว
แต่อิทธิพลมักจะมาจากอัจฉริยะอีกคนหนึ่ง

อ้อ ท่านม้าคลั่งครับ งานศิลป์ที่ยิ่งใหญ่มักลึกล้ำสุดหยั่งคาด ฟังวันนี้ กับฟังพรุ่งนี้ กับฟังอีก 10 ปีข้างหน้า จะได้โสตรสต่างกัน
โดยส่วนตัวผมถึงยังไม่กล้าให้คะแนนไงครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 15:45

 ผมคงใช้สำนวนที่อ่อนเชิงไปหน่อย เลยทำให้คุณปะกานีนี่โต้แย้งอย่างนั้น ขอบคุณที่มาร่วมวง มีอะไรบกพร่องก็ชี้แนะด้วยนะครับ
ยกโทษให้ผมก่อน แล้วจะขอแก้ตัวดังนี้ครับ

"เกณฑ์เฉลี่ยผลงานที่ดีถึงดีเลิศ สูงมาก"
เป็นการเทียบกับตัว Brahms เองครับ เช่นเขาสร้างงานมา 121 opus (นับเฉพาะที่เผยแพร่ก่อนตาย)  มีงั้นๆ อยู่ ไม่ถึงสิบชิ้น ซึ่งน่าพิศวงมากนะครับ
ไม่ได้หมายความว่า ทั้งประวัติศาสตร์แล้ว  Brahms จะเหนือกว่าคนนั้นคนนี้นะครับ ทั้งหมดนี้ยังไม่เกี่ยวกับรสนิยมครับ นั่นจะว่ากันตอนที่เครื่องร้อนดีใหมครับ
ที่ผมเขียน จึงมิได้ "นำงานของคีตกวียุคก่อนมาเปรียบกับงานของคีตกวียุคหลัง"  อย่างที่คุณเทพไวโอลินสรุปเลย

ใหนๆ ก็ใหนๆ แล้ว ขอเสริมคุณปะกานีนี่นิดเดียวครับ
ลูกสาวโยฮัน ฉเตราส์ ขอลายเซนต์คุณลุงบี (ย่ออย่างนี้ละกัน) แกก็คว้ากระดาษเปล่ามาแผ่น เขียนโน๊ตท่อนที่แสนงดงามของพ่อของเธอ จำไม่ได้แล้วว่ากี่ตัว แต่มีรูปอยู่ หาเจอแล้วจะอวดนะครับ
แล้วก็ลงชื่อไว้ว่า "อนิจจา มิใช่โดยโยฮันเนสส์"
อันนี้เป็นมุขครับ คือเพื่อนซี้ทั้งสองใช้ชื่อเดียวกัน ต่างกันตรงราชาเพลงวอลส์เป็นโยฮัน ซึ่งเป็นลำดับชื่อที่เหนือกว่าโยฮันเนสส์ (แปลว่าโยฮันน้อย เพราะพ่อของ Brahms ก็ชื่อโยฮันเหมือนกัน มันเป็นชื่อโหลน่ะครับ)

ทั้งคู่นับถือกันมาก แต่รูปแบบชีวิตต่างกันเป็นคนละโลก คนหนึ่งเป็นไฮโซ อีกคนเป็นโลโซ คนหนึ่งเฉิดฉายในโลกดนตรี อีกคน มีผู้มาพบ ดันบอกว่า Brahms ไม่อยู่
ในยุคนั้น เพลงวอลส์ถูกตีค่าไว้ต้อยต่ำ เป็นแค่ความไพเราะฉาบฉวย มีศักดิ์ศรีไม่เท่าพวกเพลงมโหฬารพันลึก
ลุงบีแกอยากจะยกย่องเพื่อน แกก็เลยแต่งเพลงเดี่ยวเปียนโนสำหรับสี่มือเป็นวอลส์สิบหกบท (opus 39) ยกชั้นของแบกะดินขึ้นห้างหรูซะเลย
จากนั้นอีกหลายปี ก็แต่งอีกชุด คราวนี้หนักขึ้นไปอีก เป็นเพลงร้องขนาดใหญ่ สิบแปดบท (opus 52) แล้วก็แปลงให้เล่นด้วยเปียนโนสี่มือ แล้วทั้งหมดก็ถูกแปลงเป็นเปียนโนสองมือ แปลงเป็นไวโอลินเดี่ยว เป็นเครื่องดนตรีคู่ เป็นเพลงบันเลง ฯลฯ สารพัดสารพัน โดยหลายๆคน รวมทั้งตัวลุงบีเอง
เพื่อจะบอกพวกหัวสูงว่า รู้จักของดีซะบ้าง มันอยู่ในของพื้นๆนี่แหละ ไม่ต้องแสวงหาก็คงจะเจอ

ส่วนคุณม้าไม่ปกติ
ผมอยากได้หูอย่างคุณจังเลย ฟังออกขนาดนี้ พูดอะไรออกมาก็ต้องรับไว้ก่อนละครับ
ในความเห็นของผม ชูมันน์แต่งเพลงโดยเน้นการสั่นไหวของอารมณ์ ใช้พื้นผิวที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้ดื่มด่ำ เหมือนดูยูงรำแพน เน้นรายละเอียดมากกว่าโครงสร้าง
เป็นคนละศาสนากับลุงบี รายนี้ลงทุนกับฐานรากอย่างเต็มที่ เปรียบเหมือนภูเขาน้ำแข็ง มีส่วนที่มองไม่เห็นถึงเก้าส่วน ว่าไปแล้วก็สิ้นเปลีองไม่ใช่เล่น
นักเปียนโนคนหนึ่งบอกผมว่าไม่ชอบเล่น Brahms เล่นแล้วปวดเอว เพราะต้องใช้กระดูกสันหลังมาก ผมเห็น Sviatoslav Richter เล่น opus 116 no.5 แล้วก็ประหลาดใจ
เป็นเปียนโน Character Pieces ชิ้นเล็กๆ ยาวแค่ห้านาที แต่แกทำท่าอย่างกับกำลังเก็บกู้ระเบิด
นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้คนทั่วไปไม่ปลื้มลุงบี

ข้างบนนี้ เป็นแก้คำผิดนะครับ คราวนี้มาว่าที่เรื่องราวต่อ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 18:28

 อืม จากที่อ่านมาคุณ Pipat ถือว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้คนหนึ่งเลยนะ
ผมเองก็ต้องยอมรับว่าไม่อินกับบราห์มส์ขนาดคุณ แต่งานของ เขาที่ผมชอบก็มี Violin Concerto, Double Concerto for violin and cello, Tragic and Academic Overture, Variation on a theme of Haydn แล้วก็ Hungarian Dance ทั้งหลาย.
อ้อ ขาดไม่ได้คือ Violin sonata ทั้ง 3 บท ที่โดยเทคนิคแล้วเล่นไม่ยากครับ โน๊ตง่ายๆ แต่เล่นออกมาให้เพราะนี่ยากมากเพราะผมเคยฟังบางคนเล่นแล้วผมเลิกฟังเลย จนวันนึงได้ฟัง Isaac Stern เล่น โหย โดนเลยครับ เลยต้องมาศึกษาใหม่และพบว่างานชิ้นนี้มีอะไรดีๆอยู่
ส่วน symphony ของบราห์มส์ ผมพูดตรงๆว่าหลับครับ อิอิอิ
มันแล้วแต่รสนิยมอ่ะ คือเหมือนกับว่าคุณต้องการจะเสพรสดนตรีในด้านใด
ถ้าคุณต้องการดนตรีที่ทำนองหวาน สละสลวย บราห์มส์ก็ไม่เหมาะ แต่ถ้าคุณมีความรู้ทางดนตรีและมีประสบการณ์การฟังมาแล้ว งานของบราห์มส์มีเสน่ห์น่าติดตามในเชิงความคิดสร้างสรรค์ ความซับซ้อน

ผมสงสัยว่าเรื่องบราห์มส์กับสเตร้าส์ ของผมกับคุณคงเป็นเรื่องเดียวกันแต่ฟังมาคนละทางเลยเพี้ยนต่างกันไป และของคุณคงใกล้ความจริงมากกว่า

ปล. สงสารคุณ เครีซี่ฮอร์ส จริงๆที่ชื่อท่านถูกแปลเป็นไทยได้พิลึกกึกกือโดยหลายๆท่าน อิอิอิ  อย่าซีเรียสนะท่าน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 18:39

 มีทั้งคนรักและเกลียด Brahms
Carl Friedberg (1872-1955) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Juilliard School สมัยที่ยังหนุ่ม ปี 1893 เคยเล่นคอนเสิต all Brahms Programm  ประกอบด้วย op 2,35,76,79,118 และ waltze อีกหลายชิ้น ไมม่ต้องสงสัย ลุงบีย่อมจะปลื้มมาก พาไอ้หนุ่มไปเลี้ยงข้าวเย็น แล้วคุยต่อถึงตีสาม จึงบอกว่า คุณเล่นได้เยี่ยม หนุ่มน้อยแต่อย่าทำอย่างนี้อีก ไม่มีใครเขาชอบฉัน ฉันยังไม่ดัง ทีหลังก้อ เล่นของคนอื่นมากๆ เล่นของฉันครั้งละเพลงก็พอ
Pierre Monteux (1875–1964) ออกเสียงว่า มอนเธ่อ คอนดัคเตอร์ที่น่ารักที่สุดในวงการ วงลอนดอน ซิมโฟนี่ เสนอสัญญา 25 ปีให้เขา ตอนที่เขาอายุ80 กว่า
เป็นอีกคนที่เข้าขั้นบ้า เขาเล่าว่า อยู่ที่ใหน ก็ต้องหารูปหรือเรื่องที่เกี่ยวกับลุงบีมาประดับ เขาอวดว่า ตอนอายุสิบเก้า เคยไปเล่นสตริงควอร์เตทให้เจ้าตัวฟังที่เวียนนา อารามตื่นเต้น ไม่กล้าสนทนากับท่านผู้เฒ่า แต่แกสัญญาว่า ตายไป ได้พบบราห์มสอีกละก้อ จะขอโทษ ที่ไม่สามารถเล่นผลงานให้งดงามได้ดั่งที่ควรจะเป็น

ลองมาฝั่งเกลียดบ้าง ฝั่งนี้ผมยกให้  George Bernard Shaw (1856–1950) เขียนไว้ราวๆ 1893
"The real Brahms is nothing more than a sentimental voluptuary... He is the most wanton of composers... Only his wantonness is not vicious; it is that of a great baby... rather tiresomely addicted to dressing himself up as Handel or Beethoven and making a prolonged and intolerable noise.
“There are some experiences in life which should not be demanded twice from any man, and one of them is listening to the Brahms Requiem.”
"Brahms is just like Tennyson, an extraordinary musician, with the brains of a third rate village policeman."
นี่ก็อีกคน Pyotr Ilyich Tchaikovsky "I have played over the music of that scoundrel Brahms. What a giftless bastard!"(1886)
และอีกคนก็คือ Hugo Wolf  (1860–1903) พวกนี้สังกัดฝั่งที่ยกย่อง Wagner/List  และไม่เคยละโอกาสที่จะกัดลุงบี เสมอ แต่ตัวอย่างข้างบนก็น่าจะเพียงพอ
ผมชอบสำนวนเจ๊ชอว์เป็นที่สุด เธอเป็นอัจฉริยะอันดับหนึ่งของความปากจัดโดยแท้

แล้วบราห์มสล่ะ ชอบ/ไม่ชอบใคร
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 19:10

 ชื่อนั้นสำคัญไฉน
สำคัญสิครับ
เครซี่ ฮอร์ส นี่วีระบุรุษในดวงใจเชียวนะครับ (Tashunca-Uitco 1849?–1877) บุคคลเดียวที่สั่งสอนกองทัพสหรัฐกลางดินแดนสหรัฐ ลองสอบชื่อนี้ใน Wikipedia แล้วจะรู้ว่า Web นี้เชื่อถือไม่ได้เพียงใด
ม้าไม่ปกติแปลว่าม้าวิเศษครับ
แต่อย่าเปลี่ยนเรื่องดีกว่า เดี๋ยวกู่ไม่กลับ

ส่วนคุณปะกานีนี่ นับว่ายอด ขนาดไม่ใช่แฟน ยังวิจารณ์ขาดถึงเพียงนี้ คุณชอบใคร โปรดบอก ผมจะได้ไม่แตะ ฮิ ฮิ
โซนาตาทั้งสามชิ้นที่ว่า เป็นงานปลายชีวิต แต่งให้เพื่อนรักคือ Joseph Joachim (1831-1907) นักไวโอลินที่ดีที่สุดต่อจาก Paganini
แนะนำให้หา Milstein / Horowitz หรือ Szigeti / Petri มาฟัง
โดยเฉพาะคู่แรก ไม่น่าเชื่อว่า จะทิ้งมรดกดนตรีไว้แค่เพลงนี้ (opus 108) เพลงเดียว ทั้งๆที่เป็นเพื่อนร่วมตายกันมาแต่หนุ่ม
ผมสารภาพว่า นอกจากคู่ M/H แล้ว ผมยังไม่เคยได้ฟังอะไรที่เหนือกว่าครับ อ้อ เกือบลืม คู่ของพ่อลูก Berman ก็ไม่เลว
ในความเห็นของผม ที่ฟังมานั้น ภาคไวโอลินมักจะโดดเด่นเกินสมดุลย์ เพลงของลุงแกนี่แปลกครับ ทุกส่วนสำคัญเท่ากันหมด แม้กระทั่งตอนที่ไม่มีโน้ต
ลองสังเกตงานเดี่ยวเปียนโนสิครับ มือขวาและมือซ้าย งานหนักพอกัน ในโซนาตาชุดนี้ยิ่งยากเข้าไปอีก
ต้องสมมติว่าลุงบราห์มสแกเล่นเปียนโน เพื่อเป็นแท่นให้เพื่อนแกถูกเชิดชู และเพื่อนแกก็ไม่ยอมส่งเสียงไวโอลินชนิดที่บดบังเปียนโน มันเป็นเพลงแห่งสัมพันธ์ภาพนะครับ ผมว่า

คลาร่าชอบท่อนเริ่มของชิ้นแรกเป็นอย่างยิ่ง(op. 78) มันหวานลึกเสียจริงๆ
ส่วนซิมโฟนี่ เรื่องยาวครับ ตอนนี้ขอไปฟัง opus 78 ก่อน
เอ....นี่ถือว่าเครื่องร้อนหรือยังครับ
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 00:55

 แหม ผมชอบนักดนตรีคนไหน คุณ pipat  ยิ่งต้องแตะเพราะจะได้คุยกันมันส์ไปเลย แลกเปลี่ยนทัศนคติมิใช่ฟาดฟันกันทางวาจา  ฟาดฟันกันได้แต่เพื่อมิตรภาพ เพื่อลับภูมิปัญญาให้แหลมคม
นานๆจะเจอคนที่มีความรู้ทางดนตรีคลาสสิคเหนือกว่าผมเช่นคุณ pipat ครับ (เอ๊ะ ผมว่าผมขี้โม้ไปป่าวเนี่ย อิอิอิ)

ครับ Beethoven, Brahms และอีกหลายๆคนพวกนี้เขาเป็นนักเปียโนโดยจิตวิญญาณ เวลาแต่งไวโอลินโซนาตาเลยอดที่จะขอเล่นเปียโนให้เด่นไม่น้อยไปกว่าไวโอลิน
ต่างกับสมัยบาร้อกถึงยุคคลาสสิคที่ไวโอลินเป็นพระเอก harpsichords หรือ piano เป็นตัวประกอบ

สงสัยคุณ pipat คงเล่น piano แน่เลย วันหลังเรามาเล่น Duo กันดีกว่าครับเดี๋ยวผมจะไปศึกษา Violin Sonata ของ Brahms มาก่อน

แต่คงอีกหลายเดือนนะครับ อิอิอิ
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 06:10

 ขอบคุณค่ะ แล้วจะแจ้งไปนะคะ

ตอนนี้ขอมานั่งฟังเรื่องของ Brahms ด้วยคนค่ะ
บันทึกการเข้า
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 10:13

 เคยได้ยินมาว่า brahms แต่ง symphony อันแรกตอนอายุ 40 เพราะไม่กล้าแต่งต่อจาก beethoven น่ะครับ ก็คุณพี่แต่ง Symphony #9 ทิ้งท้ายไว้ซะขนาดนั้น ใครไม่มั่นใจในฝีมือตัวเองจริงๆคงไม่กล้าแต่งต่อ ตอนที่ brahms แต่ง symphony #1 ออกมายังมีคนเรียกงานชิ้นนี้ว่า beethoven's tenth เลยครับ



ในยุค brahms นี่วงการศิลปะเข้าสู่ยุค romantic แล้วครับ การแสดงออกอารมณ์จากภาพวาด กลอน ดนตรี นี่กำลัง in trend นักดนตรีส่วนมากเช่น wagner, listz, schumann, chopin ก็มาแนวนี้หมด แตมีคนบอกว่า่ brahms ไม่ใช่น่ะครับ ยังยึดกับยุค enlightenment อยู่ที่เน้นความคิดความเข้าใจความลึกซึ้งมากกว่าอารมณ์



แต่จากที่ผมฟังเอง งานบางชิ้นของ brahms ก็มีอารมณ์ปนเยอะเหมือนกัน แต่จะค่อนไปทางมืดมนหดหู่เครียดๆซะมาก ประมาณว่ามันลึกซึ้งต้องคิดเยอะจนเครียดน่ะครับ เช่นท่อนแรกของ Symphony #4  ผมไม่เคยฟังเพลงอะไรแล้วเครียดแบบนี้มาก่อนเลย ตอนไปดูคอนเสิร์ตเพลงนี้ จบท่อนนี้ท่อนเดียว conductor ต้องพักปาดเหงื่อก่อนเลยน่ะครับ



ผมไม่เถียงนะครับว่า brahms เก่ง แต่ความเก่งของเขาเป็นแบบลึกซึ้งเข้าถึงยาก ไม่เหมือน beethoven หรือ mozart หรือ bach ที่ฟังเพลงเขาแล้วรู้สึกทันทีว่าเก่ง
บันทึกการเข้า
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 10:41

 คุณ pipat ท่าจะชอบ brahms ที่สุดนะครับ เพราะปกติแล้วพอพูดถึงพี่บี จะต้องนึกถึง 3 บีคือ บาค บีโธเฟน แล้วก็บีเทิลส์...เอ้ยบราห์มส์    แต่คุณ pipat ท่าจะจองไว้ให้ brahms คนเดียวเลย  

ส่วนตัวผมเองผมชอบเพลงแนว classical มากกว่า romantic อยู่แล้ว (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ชอบเพลง romantic นะครับ แต่บางทีอารมณ์มันรุนแรงเกินไป) ก็นิยม brahms พอสมควร แต่ผมเป็นคนร่าเริงโดยธรรมชาติ เลยบางทีรับความเครียดจาก brahms ไม่ไหว ผมก็เลยชอบ mozart กับ beethoven มากกว่า เพลงของ brahms ที่ผมชอบฟังเลยจะเป็นแนวที่เขาแต่งเพื่อตลาดซะมาก พวก hungarian dances lullaby ประมาณนั้นน่ะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 14:18

 ยินดีต้อนรับครับ คุณช็อคเล็ตร้อน แม้ผมจะเป็นคอกาแฟก็ตาม แต่ความหลากหลายคือความอุดมสมบูรณ์ จริงใหมครับ

ขอบคุณที่มาร่วมวง ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับคีตกวีท่านอื่นมากนัก ชอบแต่ฟัง บังเอิญอ่านเกี่ยวกับลุงบีคนที่สามมากหน่อย แต่ก็ไม่ถือว่ามากมายอะไร เพราะไม่ได้จริงจังเหมือนอาชึพโดยตรง

จะขอแทรกเรื่องบีที่สองที่สัมพันธ์กับบีที่สามสักเล็กน้อย เพราะมีหลายท่านเอ่ยถึงอย่างน่าสนใจ

หลังกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ลิลิตยวนพ่ายสำเร็จลง ก็ไม่มีใครกล้าใช้คำประพันธ์ชนิดนี้ออกมาประชัน
เป็นความอับจนทางปัญญ เหมือนกับที่ยุโรปต้องเผชิญ หลังซิมโฟนี่เบอร์ 9 ของบีโธเฟ่นแต่งสำเร็จ

คนส่วนมากออ้างเหตุร้อยแปดเพื่อเลิกแต่งซิมโฟนี่ นี่เป็นวิกฤติการณ์ทางอารยะธรรมเชียวนะครับ เพราะมันลามต่อไปอีกว่า พวกงานเก่าๆ ก็หมดสมัยไปด้วย อย่าไปขุดออกมาใช้เลย
เหมือนเราบอกกันทุกวันนี้ว่ายอดของคำประพันธ์ต้องนี่เลย กลอนเปล่า ใครไม่แต่งกลอนเปล่าเป็นเชยระเบิด เพราะมัน อย่างโน้นอย่างนี้ อู้อี้ อู้อี้ กูตีกูลู จุด จุด จุด......ไม่เดิ้น ไม่เข้าถึงจิตวิญญาณอิสระของเสรีชนที่บูชาปัจเจกภาพเป็นประทีบส่องทาง ฯลฯ ฯลฯ
อย่าไปสนใจของที่ตายแล้ว พวกฉันท์ พวกร่าย พวกกลบท.......

อีทีนี้ก็ยุ่งสิครับท่าน พอเลิกใช้ มันก็สูญเลย เสียมากกว่าได้

บราห์มสเกิดมาในบรรยากาศอย่างนี้ละครับ เขาเกิดหลังปู่บีสิ้นได้ 6 ปี อิทธิพลยังคุกรุ่นอยู่ แต่ตอนแตกเนื้อหนุ่มอีกสิบสี่สิบห้าปีต่อมา มันเป็นยุคหลังบีโธเฟ่นเสียแล้ว ดนตรียุโรปกำลังปรับตัวอย่างโกลาหล พวกหัวเก่ากำลังถดถอย พวกสมัยใหม่เจี๊ยบกำลังครองโลก

เปียนโนโซนาตา ซึ่งเป็นรูปแบบสูงสุดของการเป็นนายแห่งเปียนโน (ไฮเด้น 60 กว่าบท มทสาร์ต 20 กว่า ชูเบิร์ต เกือบ 20 และบีโธเฟ่น 32 ที่ต้องบอกเป็นตัวเลขกลมๆ เพราะบัญชีผลงานของท่านเหล่านี้ไม่สมบูรณ์ ยกเว้นปู่บี ที่แกมีหัวการค้าสูง เก็บข้อมูลชัดเจน) มาถึงสมัยของเมนโดลโซนห์ ชูมาน แบริโอ้ วากเนอร์ นี่ 0 ชิ้นครับ คือไม่แต่งเลย หรือไม่ก็แต่งแต่ไม่เผยแพร่ โชแปง ซึ่งแต่งแต่เพลงเปียนโน มี 3 ชิ้น  List ซึ่งวางตนเองเป็นเทพแห่งเปียนโน มี 2 ชิ้น

นี่แค่งานเดี่ยวเปียนโนนะครับ พอมาถึงซิมโฟนี่ ยิ่งหนักเข้าไปอีก หากจะเปรียบด้วยวรรณกรรม ก็ระดับมหากาพย์ คือทุนทางปัญญามีเท่าไหร่ ต้องใช้หมด เผลอๆ ต้องไปกู้มาใช้แต่งซิมโฟนี่

เมนโดลโซห์น เลี่ยงไปแต่งด้วยเนื้อหาที่เบาลง ซับซ้อนน้อยลง ชูมันแต่งไว้สี่เบอร์กว่าๆ แต่ก็ยังไม่พอใจ พยายามแก้ ตกแต่ง ตัดต่อ จนตาย
ที่สำคัญ แก่นของมันก็ยังมิใช่ซิมโฟนี่ครับ จะออกแนวพรรณาความโดยขาดหลักการทางปรัชญาและหลักการแห่งชีวิต
เพราะว่าความสนใจของคนกำลังแกว่ง มีของใหม่ให้ลองมาก แล้วก็คุณปู่บี แกจบบัญชีไว้ชนิดคนที่จะมาเปิดบัญชีทำต่อ ได้แต่ส่ายหัวครับ สู้ไม่ได้ ไม่เห็นทางเลย

ดังนั้น การที่ลุงบี หาญกล้ามาทำซิมโฟนี่ในยุคนั้น ก็คงเหมือนนีล อาร์มสตรองกล้าไปดวงจันทร์ โดยหวังพึ่งสไลด์รูลมังครับ
แต่แกก็ทำสำเร็จ ด้วยมาตรฐานเดียวกับบีโธเฟ่น (มาตรฐานนะครับ ไม่ใช่คุณภาพ เดี๋ยวโดนคุณปะกานีนี่อัดเอาอีก แหะ แหะ)
มีคนมาแซวว่า มันเหมือนของบีโธเฟ่นนะ ว่าไม้
แกบอกว่า any donky can see that.............

งานชิ้นนี้เริ่มต้นตอนอายุยี่สิบนิดหน่อย มาเสร็จตอนสี่สิบกลางๆ คือใช้เวลายี่สิบสี่ปีครับ ความจริงแกไม่ต้องแต่งก็ได้นะครับ งานชิ้นนี้เป็นผลงานลำดับที่ (opus) 68 แปลว่ามีอีก 67 เบอร์อยู่ก่อนหน้า รวมทั้งฮังกาเรี่ยนแดนส์อันลือเลื่อง ทำให้ลุงบีเป็นยอดนักแต่งเพลงของยุโรปไปแล้วเรียบร้อย
งานชิ้นนี้ ทำให้เกิดตามมาอีกสามเบอร์ ซึ่งยอดขึ้นเป็นลำดับ แต่ที่สำคัญคือ มันเปิดทางให้อีกสองสามชั่วคนต่อมา กล้าเล่นกับงานหนักแบบซิมโฟนี่นะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 15:38

 ผิดบรรลัยวายวอดเลยท่าน ขอรับประทานโทษอย่างสูง
ขอแก้  ยวนพ่ายเป็น ตะเลงพ่าย ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.108 วินาที กับ 19 คำสั่ง