ช่อม่วง
อสุรผัด

ตอบ: 7
มัธยมปลายช่วงชั้นที่ 4 ปีที่ 2
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 22:11
|
|
"ผิดเป็นครู " ครูที่ร.ร.ของดิฉันก็เคยบอกค่ะ
แต่ดิฉันผิดจนจะเป็นผู้อำนวยการแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เจ้าสำราญ
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 08 เม.ย. 06, 16:32
|
|
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่าการที่พระราชโอรสและพระราชธิดาชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าทรงมีพระชนมายุไม่ยึนยาวนักนั้นก็น่าจะมาจากการที่ทรงอภิเเษกสมรสกันเฉพาะในหมู่พระญาตินั่นเองครับ ถ้าลองย้อนประวัติกลับไปดูจะเห็นได้ว่าจุดแรกเริ่มนั้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่2 ที่ทรงอภิเษกกับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ จริงๆแล้วก็ทรงเป็นพระธิดาของ "ป้าแท้ๆ"-พระเชษฐภคินีของรัชกาลที่1(ผมจำพระนามไม่ได้)นั่นเอง ครั้นสมัยรัชกาลที่4 สมเด็จพระบรมราชินีคือกรมสมเด็จพระเทพศิริทรามาตย์หรือสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี-ก็ทรงเป็น"หลานตาแท้ๆ" ของรัชกาลที่ 1 ที่ทรงสนิทสเน่หาเป็นที่ยิ่ง(ถึงกับทรงสร้าง"วัดโสมนัสฯ"พระราชทานให้) พอรัชกาลที่ 5 ก็ทรงอภิเษกกับพระเจ้าน้องนางเธอทั้ง 3 พระองค์ ซึ่งทรงเป็น"น้องสาวต่างมารดา"-คือกรมสมเด็จพระเทพศิรินทร์กับสมเด็จพระปิยมาวดี เท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจหรอกครับ ที่พระราชโอรสและพระราชธิดาชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าเหล่านั้น จะทรงมีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก ทั้งนี้ก็เพราะการยึดในหลักอุภโตสุชาติและในกฎมนเทียรบาลสมัยก่อนได้ระบุไว้ว่า การจะเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกหรือสมเด็จเจ้าฟ้านั้น พระบิดาจะต้องเป็นกษัตริย์และพระมารดาจะต้องเป็นพระองค์เจ้าหรือเจ้าฟ้าเท่านั้น และหากสังเกตจะพบว่าพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกยาเธอที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาวนั้นล้วนเป็นชั้นพระองคืเจ้าซึ่งมีพระมารดาเป็นเจ้าจอมมารดาทั้งสิ้น(พูดง่ายๆ ก็คือเกิดการผสมข้ามสายเลือดนั่นเอง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 08 เม.ย. 06, 20:55
|
|
เราพูดกันในค.ห.ต้นๆของกระทู้ ว่าเรื่องนี้ยังสรุปแบบที่คุณช่างสำราญเข้าใจไม่ได้ เพราะตัวแปรมากมายกว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยทรามาตย์ ทรงเป็น "ลูกพี่ลูกน้อง"กัน ถ้าหากว่านับการสืบสายสกุลทางพ่อ ทั้งสองพระองค์ก็มาจากคนละสกุล พระชนกของสมเด็จฯคือเจ้าขรัวเงินนั้นท่านก็เป็นอีกตระกูลหนึ่ง ที่ไม่ใช่ราชวงศ์จักรี พูดถึงสายเลือดที่เกี่ยวข้องกันก็คือสายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ กับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระชนนีของสมเด็จฯ เป็นพี่น้อง แต่ว่าเจ้าขรัวเงินก็ดี และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกัน สรุปแล้ว พ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย มีอยู่ ๒ คนที่ไม่ได้เป็นญาติ และอีก ๒ ที่เป็นพี่น้อง เลือดที่ใกล้กันก็พอประมาณได้ว่า 50%
กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ ๑) เจ้าฟ้าชาย สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ ๒) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระชนม์ยืนยาวถึง ๖๕ พรรษา ถ้าไม่เสด็จสวรรคตด้วยไข้ป่า ก็จะมีพระชนม์ยืนยาวกว่านี้ ๓) พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า สวรรคตเมื่อพระชนม์ ๕๘ พรรษาหลังจากประชวรด้วยพระโรควัณโรค
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 08 เม.ย. 06, 20:57
|
|
ขอแก้ไขค่ะ พระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี-ก็ทรงเป็น"หลานตาแท้ๆ" ของรัชกาลที่ 1 ที่ทรงสนิทสเน่หาเป็นที่ยิ่ง(ถึงกับทรงสร้าง"วัดโสมนัสฯ"พระราชทานให้)
พระนางเจ้าโสมนัสเป็น"หลานปู่" ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ค่ะ ทรงเป็นพระธิดาในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เจ้าสำราญ
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 08 เม.ย. 06, 20:59
|
|
ทราบแล้วครับ ขออภัยที่ข้อมูลผิดพลาด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 08 เม.ย. 06, 21:05
|
|
สืบเนื่องจากค.ห. ๕๐ ลองมาเปรียบเทียบตามนี้บ้าง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าทรงมีพระสนมเอก คือเจ้าจอมมารดาเรียม (สมเด็จพระศรีสุลาไลย) ซึ่งไม่ได้มีสายเลือดใกล้ชิดกัน โปรดดูพระชันษาของพระราชโอรสธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียมบ้าง ๑) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระชนมายุ ๖๗ พรรษา ๒)พระองค์เจ้าหญิงป้อม สิ้นพระชนม์ พระชันษา ๔ ปี ๓) พระองค์เจ้าชายดำ สิ้นพระชนม์ พระชันษา ๑ ปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 09 เม.ย. 06, 11:54
|
|
ขอบพระคุณทุก ๆ ความเห็นครับ กรณีของ ร. ๔ แลสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี เท่าที่ดูจะพบว่าเป็นการอภิเษกสมรสระหว่างปู่กับหลานปู่ (ร. ๓ มีศักดิ์เป็นพระอัยกาของสมเด็จพระเทพศิรินฯ) สมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล สิ้นพระชนม์ราว ๆ 7-9 ชันษา ด้วยพระโรควัณโรค แต่พระราชโอรสทั้งสามพระองค์มีพระชนม์มากกว่า ๔๐ ชันษา
กรณีของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ก็เช่นเดียวกัน เพราะพระองค์เจ้าพรรณราย เป็นพระน้องนางในสมเด็จพระเทพศิรินฯ ใช้ทฤษฎีเลือดชิดไม่ได้เช่นกัน เพราะมักจะเสด็จสวรรคต,ทิวงคตหรือสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคทั้งสิ้น
อีกกรณี พระราชโอรสธิดาที่เกิดจากเจ้าจอมมารดาบางพระองค์ สิ้นพระชนม์แต่เยาว์วัยก็มาก ใช้คำว่าทั้งสิ้นไม่ได้ เช่น พระองค์เจ้าศรีพัฒนา(20-21 ชันษา),พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช(9 วัน),พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส(พระขนิษฐาร่วมครรโภทรกับพระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย แต่สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนม์ได้ 2 ชันษา ส่วนพระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย มีพระชนม์ชีพยืนมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน) ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
เจ้าสำราญ
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 09 เม.ย. 06, 14:07
|
|
ขอบคุณสำหรับทุกคำแนะนำนะครับ
อย่างไรก็ตาม ในทางการแพทย์นั้นการเกิดโรคหรือพยาสภาพต่างนั้น จะไม่ได้มาจากเพียงจากเหตุปัจจัยเดียวเท่านั้น โดยส่วนมากมักเป็น Multifactorial causes (ไม่ทราบว่าจะใช้คำไทยว่า สาเหตุจากพหุปัจจัย ได้หรือไม่) กล่าวคือมีสาเหตุทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ในกรณีนี้ อาจกล่าวได้ว่า การนิยมอภิเษกสมรสในหมู่พระญาติของราชวงศ์จักรีนั้น ทำให้เพิ่มโอกาสหรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือพยาธิสภาพเหล่านั้นมากขึ้น ร่วมกับวิทยาการทางการแพทย์ในสมัยก่อนยังไม่พัฒนาเพียงพอ
จึงทำให้เจ้านายบางพระองค์ซึ่งทรงมีความเสี่ยงหรือแนวโน้มที่จะอ่อนไหว (Succeptible) ต่อการเกิดโรคได้ง่ายกว่าประชาชนทั่วไป จึงทรงมีพระชนมายุไม่ยืนยาวอย่างที่ควรจะเป็นนัก
แต่ในบางพระองค์ ก็นับว่าทรงโชคดี ที่ไม่ทรงมีแนวโน้มดังกล่าว จึงทรงมีพระชนมายุยืนยาวได้มาก (เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร)
เพราะในเรื่องของพันธุศาสตร์และพยาธิสรีรวิทยานั้น จะมีเรื่องของ "ความเสี่ยง" หรือ "ความน่าจะเป็น" เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เจ้าสำราญ
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 09 เม.ย. 06, 14:10
|
|
ขอแก้คำผิดครับ
"พยาธิวิทยา" ครัย ไม่ใช่พยาวิทยา (มาจาสกคำว่า Pathology ครับ)
สวัสดีครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หนูหมุด
มัจฉานุ
 
ตอบ: 88
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 11 เม.ย. 06, 11:14
|
|
ขอ save ไปอ่านก่อนนะคะ หนีงานมาค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 11 เม.ย. 06, 11:26
|
|
ดิฉันก็ยังข้องใจอยู่ดีละค่ะ คุณเจ้าสำราญ ในผู้มีเลือดใกล้ชิด ลองทำตัวอย่างแบบนี้ ๑)ชาย A + หญิง B (มีเลือดใกล้ชิดกันในฐานะ half bother-sister) มีลูกๆ อายุไม่ยืนยาว ๒)ชาย A คนเดิม + หญิง C (มีเลือดใกล้ชิดกันในฐานะ half bother-sister) มีลูกๆอายุยืนยาวเกิน ๔๐ -๖๐ ปี ๓)ชาย A คนเดิม + หญิง D ไม่มีสายเลือดใกล้กันเลย ห่างกันมาก มีลูกๆอายุไม่ยืนยาว ๔) ชาย A คนเดิม + หญิง E ไม่มีสายเลือดใกล้กันเลย ห่างกันมาก มีลูกๆอายุยืนยาว
ในเมื่อมีพหุปัจจัยมากมายมาเป็นตัวแปร งั้นเราจะเอาอะไรมายืนยันได้ว่ามีความเสี่ยงในหมู่ผู้มีเลือดใกล้ชิด นอกจากทฤษฎี
เราจะมองอีกด้านได้ไหมว่า การใกล้ชิดกันทางสายเลือด "ไม่จำเป็น" ว่าจะก่อให้เกิดความอ่อนแอและอายุสั้น แต่สามารถมีลูกอายุยืนยาวอย่างในข้อ ๒ ก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 11 เม.ย. 06, 12:03
|
|
อ. เทาชมพูพูดถูกต้องครับ ผมคิดว่า ความผิดปกติตามทฤษฎีเลือดชิด นอกจากเรื่องอายุและโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังมีเรื่องบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
หนูหมุด
มัจฉานุ
 
ตอบ: 88
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 12 เม.ย. 06, 13:52
|
|
ขอบพระคุณทุกท่านที่มาให้ความรู้นะคะ หนูหมุดกลับไปนั่งอ่านอยู่นาน แล้วเกิดความสงสัยหนึ่งดูเหมือนโรคทางพันธุกรรมที่กล่าวกันว่ามีโอกาสจะปรากฏมากขึ้นหากมีการแต่งงานกันในหมู่ญาติใกล้ชิด โรคที่เป็นกันนอกจาก โรคเลือดไหลไม่หยุดแล้ว ยังมีโรคทางพันธุกรรมอื่นๆรึเปล่าคะ เคยได้ยินว่าเบาหวานก็เป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมเหมือนกัน หรืออาการเรียนรู้ช้า พิการซ้ำซ้อน พวกนี้เป็นลักษณะด้อยด้วยรึเปล่าคะ (อันนี้ถามทั่วๆไป ไม่ได้เจาะจงนะคะ)
หนูหมุดเคยอ่านเรื่องคลั่งเพราะรัก ของ ว. ณ ประมวญมารค ซึ่งกล่าวถึงราชวงศ์ยุโรป รวมถึงเสปนด้วย ดูเหมือนจะมีการกล่าวถึงการที่คนในเครือญาติจิตวิปลาสแล้วเกรงว่าตัวเอกของเรื่องอาจจะเสียสติไปอีกคน แสดงว่ามีความเชื่อว่าอาการทางจิตก็อาจจะถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้เหมือนกันเหรอคะ
ส่วนในของเจ้านายไทยนั้น หนูหมุดว่าอาจจะยากที่บอกว่าที่อายุสั้นหรือสุขภาพไม่แข็งแรงนั้นเกิดจากทฤษฎีเลือดชิดอย่างเดียว แต่ก็นับว่ามีความเป็นไปได้ที่สูง หรืออย่างน้อยก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Buran
อสุรผัด

ตอบ: 2
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 15 เม.ย. 06, 16:04
|
|
ความเห็น 33
๗. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ) สิ้นพระชนม์ พระชนมายุ ๔๓ พรรษา
พระองค์ฯ ทรงประสูตร พ.ศ. 2434 สิ้นพระชนม์ 24 ก.ย. 2472 = 38 พรรษา?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Buran
อสุรผัด

ตอบ: 2
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 15 เม.ย. 06, 16:07
|
|
ขอแก้คำพิมพ์ผิด ประสูติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|