เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 09:22
|
|
ขอนำรายพระนามเจ้านาย ที่ประสูติจากพระบรมราชชนกและชนนีที่สืบสายเลือดพระโลหิตใกล้ชิดกัน ให้เห็นว่าทรงมีพระชนม์ยาวนานมากน้อยแค่ไหน
ขอออกตัวก่อนว่าข้อมูลนี้เอามาให้อ่านประกอบ เพื่อเป็นความรู้ ไม่ได้เป็นการยืนยันหรือขัดแย้งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับทฤษฎีสายเลือดใกล้ชิด เพราะไม่ได้มีการรวมรวม(หรือมีแต่ดิฉันหาหนังสือไม่เจอ) ว่าแต่ละพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคอะไร ดังนั้นตัวแปรอาจจะมีมากมายเกินกว่าสรุปได้
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕ (สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ทรงมีพระราชโอรส ๔ พระองค์ และพระราชธิดา ๔ พระองค์ คือ ๑. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก) สวรรคตเมื่อพระชันษา ๑๗ ปี ๒. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๒๑ วัน ๓. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๔ เดือน ๔. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา๑๘ ปี ๕. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๕๔ ปี ๖. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๑๑ ปี ๗. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ) สิ้นพระชนม์ พระชนมายุ ๔๓ พรรษา ๘. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ ๔ วัน ยังไม่ได้รับพระราชทานนาม)
(ราชาศัพท์ในนี้ใช้ตามหนังสือ ราชสกุลวงศ์ค่ะ เรื่องการใช้ราชาศัพท์เป็นความลำบากใจอย่างมากตามที่คุณ UP เคยบอกไว้ว่าจะเลือกใช้ตามเล่มไหนดี )
จำได้ไม่แม่นนักว่า ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเอ่ยถึงโรคไต ว่าเจ้านายเป็นกันหลายพระองค์ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 09:46
|
|
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชโอรสธิดา ๑๔ พระองค์ คือเป็นพระราชโอรส ๗ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์ และที่ตก(แท้ง)ระหว่างทรงพระครรภ์ ไม่ปรากฏว่าเป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดา อีก ๕ พระองค์
ลำดับครบ ๑๔ พระองค์ ได้แก่ ๑) สมเด็จเจ้าฟ้า(หญิง)พาหุรัดมณีมัย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๑๐ ปี ๒) ตกระหว่างทรงพระครรภ์ ๓)สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)มหาวชิราวุธ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระชนมายุ ๔๖ พรรษา ๔)สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)ตรีเพ็ชรุตม์ธำรง สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๗ ปี ๕) สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)จักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต พระชนมายุ ๓๘ ปี ๖) ตกระหว่างทรงพระครรภ์ ๗)สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)ศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๓ ปี ๘) ตกระหว่างทรงพระครรภ์ ๙) สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ ๑๐)สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)อัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เสด็จทิวงคต พระชนมายุ ๓๕ ปี ๑๑)ตกระหว่างทรงพระครรภ์ ๑๒)ตกระหว่างทรงพระครรภ์ ๑๓) สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย) จุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๓๒ ปี ๑๔)สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระชนมพรรษา ๔๘ ปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 09:48
|
|
สมเด็จพระนางเธอสุขุมาลมารศรี มีพระราชโอรสธิดา ๔ พระองค์ แต่ว่าตกระหว่างทรงพระครรภ์เสีย ๒ พระองค์ เหลือเพียง ๒ พระองค์ คือ ๑)สมเด็จเจ้าฟ้า(หญิง)สุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ พระชันษา ๔๖ ปี ๒) สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)บริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สิ้นพระชนม์ พระชันษา ๖๓ ปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 10:05
|
|
ขอตามคุณเทาชมพูด้วยการเชิญพระนามพระราชโอรสธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ให้เห็นว่าทรงพระชนม์ไม่ยืนนานนักเช่นกัน
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระชนมายุ ๑๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา สมเด็จฯ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรรุตม์ธำรง พระชนมายุ ๗ พรรษา สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระชนมายุ ๓๗ พรรษา สมเด็จฯ เจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ พระชนมายุ ๓ พรรษา สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์วันที่ประสูติ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระชนมายุ ๓๔ พรรษา สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย พระชนมายุ ๓๑ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 10:07
|
|
โอ้...มาช้าเกินไป สวนทางกัน ขอประทานโทษครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 130
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 10:11
|
|
แงๆๆๆๆๆๆๆๆ พี่นักวิทยเภสัชศาสตร์แกล้งผม.....(ขออนุญาตเรียกพี่แล้วกันนะครับ เพราะไปสืบมาว่า ตัวจริงพี่อายุมากกว่าผมปีหนึ่ง..แต่คาดว่าน่าจะเรียนรุ่นเดียวกัน เพราะผมเรียนเร็วครับ)
ทราบมั้ยครับว่าวันนี้เกือบทั้งวัน ผมพยายามหาเอกสารอ้างอิงหลากหลายมาก เพื่อมาหักล้างว่าจริงๆ แล้ว Hemophilia เกิดจากการ mutation .....ผมต้องขุดความรู้ทั้ง foundamental genetics, biochemical genetics, and environmental genetics ที่เคยเรียนในมหาวิทยาลัยมาช่วยค้นเลยนะครับ....ทั้งๆที่ผมไม่ค่อยชอบวิชาพวกนี้เท่าไหร่
แต่ก็แปลกนะครับ คนเราเกลียดอะไรก็มักเจอแบบนั้น......ผมจบชีวเคมี แต่ไม่ชอบชีวเคมี...แต่พอมาทำงาน ทุกอย่างมันมุ่งไปที่ชีวเคมีหมดเลย..กลายเป็นว่าเป็นข้อดีที่เรียนชีวเคทีมา..แต่สุดท้ายยังทำใจให้ชอบไม่ได้อยู่ดีครับ
อย่างที่บอก..ต้องไปขุดความรู้เก่าๆมาช่วยค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม..พอได้ข้อมูลมาครบ และกำลังจะนั่งเขียนรีพลายตอบ..ผลปรากฏว่าพี่ตอบมาซะก่อน....ทำเอาข้อมูลผมเป็นหมันเลยทันใด.....แงๆๆๆๆๆๆๆ เฮ้อ.....
-------------------------------------
จากข้อมูลที่คุณเทาชมพู เอามาให้ดู ผมเองก็เริ่มเอนไปหาสมมุติฐานเรื่องเลือดชิด แต่เรื่องระบบสาธาณสุขมูลฐานภายในพระราชวัง ก็ยังมาถ่วงไม่ให้เอนเอียงไปมากเท่าไหร่ครับ
ถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าจะเป็นพระน้องนางเธอในพระพุทธเจ้าหลวง แต่ก็มีพระชนนีคนละองค์กัน....พระโลหิตค่อนข้างชิด แต่ไม่ชิดมากเท่าไหร่.....
ดูไปดูมาผมกลับได้ข้อสังเกตุเพิ่มเติม.... อันนี้ไม่ได้อ้างอิงวิชาการใดๆทั้งสิ้น เพียงแต่เป็นความคิดเล่นๆส่วนตัวครับ....
คือ ผมคิดว่า การที่สมเด็จพระบรมราชชนก มีพระปรีชาสามารถในเรื่องวิทยาศาสตร์ นั้นเพราะได้น่าจะได้รับ gene มาจากสมเด็จปู่ คือรัชกาลที่ 4 มาแบบครบถ้วนเลยครับ
เพราะว่า พระพทธเจ้าหลวงจะได้ Y chromosome จาก รัชกาลที่ 4 ในขณะเดียวกัน พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็จะได้ X chromosome จากรัชการที่ 4 เช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อจับคู่ตามแผนผังทาง genetic แล้ว พบว่า พระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ จะมีโอกาสได้รับ X and Y จากรัชกาลที่สีคู่กันเต็มๆๆ ....(ถ้าไม่มีการ mutation ขณะแบ่ง sex cell ของพระพุทธเจ้าหลวงและพระพันวัสสานะครับ)......ขอย้ำว่าเป็นความคิดเล่นๆนะครับ อย่าถือเป็นสาระ...แค่เห็นว่ามันน่าจะเป็นไปได้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 10:15
|
|
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยมีพระราชปรารภไว้ว่าจะไม่ทรงอภิเษกสมรสกับพระขนิษฐภคินีของพระองค์เอง (แม้ต่างพระครรโภทร) เด็ดขาด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 12:27
|
|
ไม่ต้องขอโทษหรอกค่ะคุณ UP ยินดีมากที่เข้ามาร่วมวง ทราบว่าคุณ UP มีข้อมูลดีๆมาเล่าสู่กันฟังเสมอ ถ้าดิฉันเล่าผิดตอนไหนโปรดแก้ให้ด้วย
มาต่อให้ว่า ความประสงค์ที่จะสมรสในหมู่ญาติใกล้ชิด (ขออนุญาตเขียนเป็นภาษาชาวบ้าน เพื่อจะเข้าใจง่ายๆ) มีอยู่มากในหมู่เจ้านาย
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ก็ทรงมีพระทัยเสน่หาในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีต่างพระครรโภทร พระชนมายุห่างกันไม่ถึงปี ก็มีข่าวก๊อสสิปกันว่า เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ แต่ว่ามิได้ทรงสนับสนุน เรื่องก็ค้างอยู่แค่นั้นไม่ทันคืบหน้า เพราะว่าสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเสด็จสวรรคตเสียก่อน
แต่แนวความคิดนี้ก็ยังมีอยู่ต่อมา อย่างที่คุณ UP แย้มๆเอาไว้
ขอยกจากหนังสือ "ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖" "ส่วนพระองค์เสด็จแม่(หมายถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ)เองนั้น มีพระประสงค์ให้ฉันเลือกลูกเธอของทูลกระหม่อม( หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)องค์ ๑ และทรงแนะนำว่า หญิงน้อย(สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองฯ พระเจ้าลูกเธออันประสูติแด่พระวิมาดา กรมพระสุทธาสินีนาฏ ) เป็นผู้ที่ทรงเห็นเหมาะ แต่ฉัน(หมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)ก็ยืนยันอยู่เช่นที่ได้เคยยืนยันมาแล้ว ตั้งแต่กลับจากยุโรป ว่าไม่ยอมเลือกน้องสาวเปนเมียเป็นอันขาด"
ในเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯก็ไม่ทรงเห็นด้วย และมีข่าวกระซิบเบาๆว่าพระวิมาดาก็ไม่ทรงเห็นด้วยเช่นกัน เรื่องนี้ก็เงียบหายไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 13:26
|
|
คุณ andreas คิดเล่นๆแต่ก็เป็นไปได้ยากอยู่ดีครับ ถ้าคิดเฉพาะ sex chromosome x chromosome ของสมเด็จพระบรมราชชนกอาจมาจากของรัชกาลที่ 4 หรือพระนางเจ้ารำเพยฯก็ได้นะครับ ถ้าคิดทั้งหมด chromosome มีตั้ง 23 คู่ ในระหว่างการสร้าง gamete จะเอาตัวไหนมาในแต่ละคู่ก็ไม่รู้ นอกจากนี้ระหว่างการสร้าง gamete ก็มีการเกิด crossing over ด้วย ยากจริงๆครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 13:30
|
|
ผิดมหันต์ครับ ขอโทษครับต้องเป็นเจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา) แทนพระนางเจ้ารำเพยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 15:28
|
|
ครับ เคยอ่านที่ไหนไม่ทราบ จำไม่ได้แล้ว ว่าพระวิมาดาเธอฯ ก็ไม่ทรงต้องพระประสงค์จะให้พระราชธิดาเข้าทำราชการฝ่ายในในรัชกาลที่ ๖ เช่นกัน หากจำไม่ผิด รู้สึกว่าสมเด็จหญิงทั้งหลายโปรดให้มีวงดนตรีไทยประจำวัง เพื่อทรงเล่นทรงฟังเป็นที่ทรงพระสำราญตามพระนิยมของเจ้านายสมัยนั้น แต่พระวิมาดาเธอฯ ก็ไม่โปรดให้มี ด้วยในพระราชสำนักรัชกาลที่ ๖ ก็โปรดศิลปะการดนตรีเช่นนี้อยู่ ทรงเกรงว่าจะเป็นที่ครหาได้ว่ามีไว้เอาพระทัยพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ทรงโปรดปราน
..ผมพาเลี้ยวออกนอกเรื่องอีกแล้ว
เชิญคุยกันเรื่องพันธุกรรมต่อครับ เรื่องเชิงวิทยาศาสตร์เช่นนี้ ผมขอหลบนั่งฟังอยู่หลังเขามอเงียบๆ ดีกว่า เพราะไม่มีความรู้เอาเสียเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 23:01
|
|
ขอบคุณ คุณAndres ในความเห็นที่ 28 นะครับ
เมื่อเช้านี้ตอนช่วงว่างระหว่างฝึกงาน ผมได้โทรศัพท์คุยกับพี่เจ้าของความคิดเรื่องสุนัขพันธุ์แท้ และแนะนำให้เข้ามาอ่านเองตอบเองไปแล้วครับ อิอิ หวังว่าคงได้ฤกษ์ดีในการสมัครซะก่อนกระทู้จะวายนะครับ หุหุ
สำหรับผมเอง ถึงแม้จะมีตัวอย่างเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕ จากพระมารดาเดียวกันที่สิ้นพระชนม์เป็นจำนวนมาก ก็ยังไม่อยากปักใจโทษทฤษฎีเลือดชิดมากนักครับ
อย่างแรก คือเจ้านายที่ประสูติจากพระมารดาอื่นๆ ซึ่งไม่ได้มีเลือดชิดก็มีการสิ้นพระชนม์เหมือนกัน เช่น พระราชกุมารที่ประสูติจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นต้น
ข้อ ๒ อัตราการตายของประชากรในยุคนั้น ถ้าเทียบกับอัตราการเกิด ถือว่าสูงมาก ซึ่งต่างกับในปัจจุบันมาก เช่น ในมารดาที่มีรูปร่างเชิงกรานแบบพิเศษ หรือทารกที่มีท่าในครรภ์ไม่ดี แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีโอกาสรอดได้เลยครับ
ข้อ ๓ โรคที่เจ้าฟ้าหลายพระองค์ประชวรสิ้นพระชนม์ ไม่ได้เป็นโรคทางพันธุกรรมอย่างเดนชัดครับ ถ้าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าทรงประชวรด้วยโรคใดโรคหนึ่ง จนสิ้นพระชนม์ การสรุปว่าเป็นทฤษฎีเลือดชิดคงมีน้ำหนักมากกว่านี้มาก แต่ในกรณีนี้ ผมขออนุญาตไม่สรุปไปทางใดทางหนึ่งให้ชัดเจนจะดีกว่าครับ
ข้อสุดท้าย จะเห็นว่าพระมเหสีที่อาจารย์เทาฯ และคุณอัพ ยกมานั้น ทรงครรภ์กันบ่อยเหลือเกิน ซึ่งเป็นเรื่องไม่แปลกอะไรนัก ถ้าจะมีพระสุขภาพครรภ์ไม่แข็งแรงจนทำให้เกิดการตกระหว่างพระครรภ์ได้ โดยเฉพาะในสมเด็จพระพันปีหลวง เท่าที่ผมเข้าใจครั้งแรกที่ทรงครรภ์ พระชนมายุยังไม่ถึง ๒๐ พรรษานะครับ ?? (สมเด็จพระพันปีหลวงน่าจะประสูติ พ.ศ. ๒๔๐๖ ส่วนเจ้าฟ้าหญิงพาหุรัดมณีมัยน่าจะประสูติ พ.ศ. ๒๔๒๑ นะครับ ถ้าผมจำไม่ผิด)
ปล. รอตัวจริงดีกว่าครับถ้าเจ้าตัวยอมมา เพราะผมเชิญใครมาทีไร มักไม่ค่อยได้สมัคร หรือสมัครก็อยู่ได้ไม่นานทุกที ไม่ทราบเหมือนกันครับ ว่าเพราะอะไร เฮ่อ....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 03 เม.ย. 06, 13:06
|
|
จากความเห็นล่าสุดของพี่ติบอ "พระราชกุมารที่ประสูติจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมี" ผิดครับ ที่ถูกต้องคือ พระราชกุมารีที่ประสูติจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมีครับ มีพระนามว่า พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 3 พรรษาครับ ........................ พักร้อน = ว่าง แต่ไม่มีเวลาโพสต์ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 03 เม.ย. 06, 18:45
|
|
ขอบคุณคุณศรีปิงเวียงครับ ที่ช่วยแก้ไขให้ ผมพิมพ์ตกๆหล่นๆอีกแล้วจนได้  ขายหน้าจัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 04 เม.ย. 06, 12:21
|
|
 ไม่ต้องอายหรอกครับพี่ติบอ ผิดเป็นครู พลาดเป็นบทเรียน (รู้สึกว่าผมจะพลาดเยอะกว่าพี่ด้วยซ้ำครับ) ป.ล. ไม่แน่ใจครับว่า ทฤษฎีเลือดชิดจะใช้ได้ ถ้ามีพ่อเดียวกัน แต่ต่างแม่แต่งงานกันครับ หรือ กรณีที่ว่า ลุงแต่งงานกับลูกของหลานลุง จะพิจารณาอย่างไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
|