เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 42066 โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
กงกง
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 23:11

 ขอบคุณมากๆครับสำหรับทุก คห. ได้ประโยชน์มากเลยทีเดียว เวบนี้มีคุณค่ามากจริงๆจากที่เคยเป็นเพียงผู้อ่านมานาน ไม่กล้าออกความเห็น เพราะแต่ละท่านมีความรู้มากจริงๆ(กลัวแป้ก)
จริงๆแล้วสาเหตุที่ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาก็เพราะสมัยผมเรียนท่านอาจารย์เพียงแต่สอนหลักการและทฤษฎี แต่มิได้นำมาเปรียบเทียบว่าเกี่ยวโยง หรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในขณะที่ผมเป็นนศ.อยู่นั้นผมและเพื่อนก็คิดว่าคล้ายๆกัน แต่ว่าจริงๆแล้วแตกต่างกัน ฉะนั้นผมเลยคิดว่านศ.สมัยนี้ก็คงจะคิดแบบเดียวกันกับผม จึงอยากแชร์ความคิดเห็นจากท่านผู้รู้หลายๆท่านมาประเทืองปัญญาของตนเองและจะได้ถ่ายทอดต่อผู้อื่นด้วยครับ
บันทึกการเข้า
กงกง
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 23:35

 ในส่วนของทฤษฎีเลือดชิดที่ผมจะนำมาเกี่ยวโยงกับราชวงศ์ไทยนั้นก็เพราะเห็นว่าเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน สามารถอธิบายทฤษฎีนี้ได้ดีที่สุด ตั้งแต่ตั้งครรภ์ลูกในท้องก็มีภูมิต้านทานที่ต่ำ บวกกับสภาพแวดล้อม สังคมในสมัยนั้นที่ยังไม่วิวัฒนาการเท่าปัจจุบัน ลูกที่เกิดมาจึงอยู่ได้ไม่นาน(บางองค์ดำรงพระชนม์ชีพได้ไม่กี่ชั่วโมงด้วยซ้ำ) ท่านอื่นๆคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับในกรณีนี้
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 00:46

Dear Khun กงกง

Personally, I still think that ทฤษฎีเลือดชิดในราชวงศ์ไทย might be very difficult to demonstrate into a clear picture since inbreeding wasn’t rather purely occurred among royal family…..although it seems to have inbreeding in the period of King Rama V(5)…once you closely look; you will see most of royal consorts were from different mother, either family.

The better picture of inbreeding results is obviously seen in royal family of an ancient Egypt. Because you could see Pharaoh was married to his sister…..This is purely inbreeding….Thus it resulted in having weak children or sometime incapableness.

As I told you earlier in Thai, inbreeding leads to lacking of genetic diversity in which it has strong association to immune system. The following information will confirm my opinion…
“However, it is quite possible to weed out genetic faults in even the most inbred lines. Scientists do this all the time; they have produced strains of mice, rats, and other animals that are so inbred as to be genetically identical. Each animal in one of these strains is the identical twin (aside from sex) of every other animal of that strain. These animals carry no lethal genes and are extremely healthy in every way except one. They must be kept in a nearly sterile environment, because their immune systems are not capable of fighting off a normal range of diseases.
The immune systems of all animals are absolutely dependent on genetic diversity. There are basically two kinds of immune responses:
1. There are cells called B-cells, that make antibodies which are capable of inactivating or killing foreign particles (such as bacteria or viruses) that enter the body.
2. There are cells called T-cells, which kill dangerous cells such as tumor cells infected with a virus.” http://bowen1.home.mindspring.com/mchs/articles/lorimer.htm
OK…come back to royal family of Thailand….I think “Lacking of Sanitization as well as Community Hygien” is a major cause of short-life of princes and princesses, rather than “Inbreeding problem”

However, other persons might think differently…… please wait and see

Regards

Andreas
บันทึกการเข้า
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 10:54

 เคยได้ยินมาว่าราชวงศ์ที่ inbreed กันเยอะอีกวงศ์ก็คือ habsburg ของออสเตรียน่ะครับ มีปมด้อยที่เห็นชัดก็คือ habsburg's lip ที่ริมฝีปากล่างยื่นออกมาผิดปกติ แต่การ inbreed ก็ยังไม่ถึงขนาดพี่แต่งกับน้องแบบอียิปต์โบราณ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 12:16

 มาลงชื่อฟัง ตักตวงความรู้เฉยๆ ครับ

ขอบคุณวิทยากรทุกท่าน

ในส่วนที่อาจจะเกี่ยวกับเรือนไทยที่ผมจะเล่าได้บ้างนิดหน่อยคือ ตามความนิยมหรือธรรมเนียมเก่าในเรื่องนี้มีศัพท์เรียกว่า "อุภโตสุชาติ" ซึ่งถือกันในสมัยนั้นว่าเป็นเรื่องดี คือการที่เด็กหรือพระราชกุมารพระราชกุมารีที่จะประสูติมานั้น ทั้งฝ่ายพระชนกและพระชนนีมี "กำเนิดดี" หรือ "มีชาติดี" พร้อมทั้งสองฝ่าย

ว่าให้แคบลง หรือเกี่ยวกับทฤษฎีเลือดชิดก็คือ ทั้งพ่อและแม่ทรงมีชาติกำเนิดเป็นเจ้านายทั้งสองทาง

ถ้าผมจำไม่ผิด ในวรรณคดีพุทธประวัติ ดูเหมือนกับว่าได้มีการแต่งพุทธประวัติบรรยายพงศาวลีของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งคือพระพุทธเจ้า ไว้เหมือนกันว่า บรรพชนของพระองค์รุ่นก่อนๆๆๆ ขึ้นไปจากพระพุทธบิดาตั้งแต่ครั้งตั้งกรุงกบิลพัสดุ์ใหม่ๆ ก็เป็นอย่างนั้น คือพี่ชายได้กับน้องสาวตัวเอง อธิบายไว้ว่าเพื่อมิให้สายเลือดวงศ์กษัตริย์ต้องปนกับสายเลือดอื่น แต่ไม่ทราบว่ามีหลักฐานจริงๆ ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีแค่ไหน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 18:11

 พอดีวันนี้ผมได้คุยโทรศัพท์กับเพื่อนคนึง ซึ่งสนใจทางด้านนี้อยู่
เลยชวนเขาคุยเรื่องหัวข้อของกระทู้นี้ แล้วถามตัวอย่างที่ชัดเจนของทฤษฎีเลือดชิดไป ว่าจะใช้ตัวอย่างของราชวงศ์ไหนดี

คำแรกที่เพื่อนถามมาทำให้อึ้งเล็กน้อยว่า "แน่ใจเหรอว่าเจ้านายบางพระองค์ตายเพราะโรค"

ส่วนตัวอย่างที่เขายกมาก็ทำให้ตกใจอีกเช่นกัน เพราะเขาเสนอมาว่า

"ยกตัวอย่างหมาพันธุ์แท้ไม่ดีกว่าเหรอ วงชีวิตก็สั้น การตายเพราะโรคก็ชัดเจนกว่า การคัดเลือกพันธุ์ก็แน่นอนกว่า แล้วบางสายพันธุ์คัดเลือกได้ถึงลักษณะทางพฤติกรรมที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงได้ เช่น สุนัขหลายสายพันธุ์ถูกคัดเลือกพันธุ์จากสุนัขเลี้ยงสัตว์ หรือสุนัขเก็บเหยื่อ มาเป็นสุนัขเลี้ยงในบ้าน พฤติกรรมก็เปลี่ยแปลงไปได้ หรือบางสายพันธุ์ถูกคัดเลือกให้เห่าเตือนเมื่อพบคนแปลกหน้า แต่ในขณะที่อีกหลายสายพันธุ์จะเห่าทักทายเมื่อพบเจ้าของหรือคนคุ้นเคยก็ได้ ถ้าเอาหมาตัวอย่างก็หลากหลายกว่า เยอะกว่า นข้อมูลก็ง่ายกว่าพิมพ์ชื่อพันธุ์เข้าไปหาได้เยอะแยะ จะไปเอาเรื่องเจ้าเรื่องนายมาพูดถึงทำไม"

แล้วเพื่อนก็ยังตบท้ายด้วยประโยคที่ทำให้ผมตัดสินใจมาโพสต์กระทู้นี้ด้วยคำว่า
"ถ้าไม่มั่นใจว่าเจ้านายบางพระองค์สิ้นพระชนม์เพราะระบบเลือดชิด เอาไปสอนเด็กพูดไปก็เหมือนโกหกในใจ จะพูดไปอีกทางก็เหมือนหมิ่นพระเกียรต์เจ้านายอีกหลายพระองค์ มึงเอาหมาแทนเหอะเพื่อปกป้องพระเกียรติ์ของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วน่ะ"



ฟังแล้วก็เลบขออนุญาตเอามาโพสต์หน่อยนะครับ





ปล. แต่คงแปลกน่าดูนะครับ ถ้าเจ้านายราชวงศ์ยุโรปหลายประเทศจะถูกนำไปเทียบกับสุนัข  








.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 18:46

 ใครช่วยแปลสิ่งที่เพื่อนคุณติบอพูด จากไทยเป็นไทยได้ไหมคะ
ดิฉันอ่านแล้วไม่เข้าใจการใช้ตรรกะของเขา
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 22:59


มาแปลเองครับ อาจารย์
ถ้ามีส่วนไหนยังดูสับสนอยู่ ผมก็ขอรับผิดชอบด้วยการแปลเพิ่มครับ



เรื่องมีอยู่ว่า วันนี้เพื่อนคนนึง เสนอกับผมมาว่า ถ้าผมจะยกตัวอย่างประกอบทฤษฎีของยีนส์เรื่องการสืบพันธุ์ในกลุ่มประชากรที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน
(ตอนคุยกันไม่ได้บอกครับว่าเป็นเรื่องกระทู้ เขาคงคิดว่าผมจะเอาไปอธิบายเอง)

ตัวอย่างที่น่าจะยกมาประกอบได้ตัวอย่างหนึ่ง โดยไม่พาดพิงถึงข้อถกเถียงบางข้อของนักประวัติศาสตร์ หรือปัจจัยทางด้านการสาธรณสุข น่าจะเป็นเรื่องโรคที่พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์แท้ชนิดต่างๆครับ
เพราะทางวิทยาศาสตร์ถือว่าสุนัขบ้าน เป็นสัตว์ในสปีชีส์เดียวกัน
สุนัขที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาสายพันธุ์หนึ่งก็คือสุนัขบ้านที่ถูกผสมพันธุ์ในบรรดาลูกหลานที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมาเป็นเวลานานจนมีลักษณะเด่นร่วมกัน


ดังนั้นโรคที่มักพบบ่อยในสุนัขสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง จึงจัดเป็นโรคทางพันธุกรรมแบบ "เลือดชิด" ที่เกิดจากการคัดเลือกพันธุ์โดยมนุษย์ครับ

เช่นในเวบไซต์ที่ผมยกมาอาการกระดูกสะบ้าเคลื่อน จัดเป็นโรคทางพันธุกรรม ของสุนัขพันธุ์ชิวาวา ครับ
(Luxation of the patella, or dislocation of the kneecap, is a common hereditary problem with chihuahuas and other small breeds.)

 http://www.prouxchihuahuas.com/id27.html





แต่หลังจากคุยกันแล้ว ผมอดรู้สึกไม่ได้ว่าถ้าใครซักคนจะเปรียบเทียบโรคทางพันธุกรรมในระบบ X-linked recessive กับโรคที่เกิดจากการสืบพันธุ์ในประชากรที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน
โดยเปรียบเทียบตัวอย่างของโรค haemophilia ของเจ้านายในราชวงศ์ยุโรป กับ โรคทางพันธุกรรมของสุนัขพันธุ์แท้สักสายพันธุ์หนึ่ง ผู้ฟังคงรู้สึกแปลกๆนะครับ
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 30 มี.ค. 06, 00:11

 อืม คาดว่ายังคงมีบางท่านยังไม่เข้าใจเรื่องของ ทฤษฎีเลือดชิด ดีนักนะครับ
คำว่า "เลือดชิด" ขยายความได้ว่า สายเลือดใกล้ชิด หรือ มีการผสมพันธุ์หรือแต่งงานกันระหว่างญาติพี่น้องใกล้ชิด ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Inbreed
คำตรงกันข้ามคือ Cross-breed หรือการผสมพันธุ์หรือแต่งงานกันข้ามสายพันธุ์หรือที่ไม่ใช่พี่น้องใกล้ชิด
เ็ป็นศัพท์ทางด้านพันธุศาสตร์ ซึ่งบิดาของวิชานี้คือ เมนเดล ท่านได้ทดลองเกี่ยวกับการผสมพันธุ์ถั่ว จนได้ทฤษฎีทางพันธุศาสตร์ให้เราได้เรียนกัน
การผสมกันขอจำกัดความใช้ในกรณีที่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (species เดียวกัน) เพื่อจะได้ไม่งงไปกว่านี้
สำหรับโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น ถ่ายทอดได้ทั้ง Inbreed และ Cross-breed
เพียงแต่เขาเห็นว่า Inbreed นั้นมีข้อเสียว่ามักจะทำให้เกิดลักษณะด้อย (recessive) ปราำกฎออกมาได้ ซึ่งลักษณะด้อยนี้อาจทำให้เป็นโรคหรือไม่ก็ได้ (ลักษณะด้อยมีทั้งดีและไม่ดี บางอย่างก็ไม่ดีไม่ร้าย เช่น คนผมตรงเป็นยีนด้อย คนผมหยิกเป็นยีนเด่น เป็นต้น)
โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมทั้งหลายที่เกิดในโลก มักมาจากยีนด้อย นั่นเลยทำให้เป็นข้อเสียว่าการเกิดการผสมระหว่างพี่น้องใกล้ชิด (inbreed) จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคที่แฝงมาได้ง่าย
โรค hemophilia เป็นหนึ่งในยีนด้อยที่แฝงมา เพียงแต่มันดันไปอยู่ที่โครโมโซมเพศ X (โครโมโซมคู่ที่ 23) เพราะอีกข้างเป็นโครโมโซม Y ซึ่งสั้นกว่า ไม่มีคู่ของยีนอีกข้างมาบดบังเอาไว้ในบางส่วน ทำให้ลักษณะการถ่ายทอดแปลกกว่าชาวบ้านเท่านั้นเอง

สรุปง่ายๆก็คือ hemophilia ก็เกิดจากการผสมแบบเลือดชิด (inbreed) เพียงแต่เป็นการผสมที่มีข้อพิเศษเท่านั้นเอง จะเอาไปอธิบายการผสมแบบเลือดชิดทั้งหมดเลยไม่ได้ ต้องหาตัวอย่างโรคอื่นๆ ที่มีรายงานทางการแพทย์ที่ชัดเจน
กรณีของราชวงศ์ไทย ไม่มีหลักฐานการเกิดโรคทางพันธุกรรมเลย (หรือมีแต่ไม่ทราบ) เพราะฉะนั้นผมเห็นว่าไม่สมควรจะยกตัวอย่าง และคิดว่ายกตัวอย่างด้วย hemophilia นั้นเหมาะสมแล้ว เพราะเป็นเรื่องที่รู้จักกันแพร่หลายและถูกบรรจุในตำรามาตรฐานสากลแล้วทุกเล่ม

-Inbreed ทำให้เกิดโรคและถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมได้ง่ายกว่า cross-breed
-Inbreed ทำให้เอกลักษณ์บางอย่างคงอยู่ แต่ก็ทำให้ยีนด้อยที่ไม่ดีมีโอกาสปรากฎออกมาได้เช่นกััน
-hemophilia เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ได้มาจากการ inbreed
-cross-breed ทำให้โรคที่ถ่ายทอดจากยีนด้อยค่อยๆหมดไป (ต้องผสมกันหลายรุ่น)
-cross-breed ก็ถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 30 มี.ค. 06, 02:37

 ผมอ่านข้อความของคุณ นักวิทยเภสัชศาสตร์ แล้วเกิดข้อความเห็นขัดแย้งนิดหน่อยครับ....ผมว่าคุณนักวิทยเภสัชศาสตร์ น่าจะเข้าใจถูกต้องแต่เวลาเขียนออกมาแล้วอาจตัดย่อจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย

"สรุปง่ายๆก็คือ hemophilia ก็เกิดจากการผสมแบบเลือดชิด (inbreed) เพียงแต่เป็นการผสมที่มีข้อพิเศษเท่านั้นเอง"

ประโยคนี้ต้องการจะสื่อว่าอะไรกันแน่ครับ .....เพราะจริงๆแล้ว hemophilia คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นผลมาจาก ยีนเกิดการผ่าเหล่าผ่ากอ (defective copies of genes usually occurr randomly, due to mutation) มิได้เกี่ยวกับการ inbreeding แต่อย่างใด เพียงแต่ การ inbreeding จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ยีนผิดปกติอยู่แล้วมาเจอกันได้ง่ายขึ้น และเกิดประชากรมีการอาการของโรคขึ้นมาเพิ่มขึ้น

แบ่งประเด็นให้ดีๆนะครับ....ว่าจุดกำเนิดของโรค Hemophilia กับ การที่มีประชากรเกิดโรคนี้เพิ่มจำนวนเพราะ inbreeding มันแตกต่างกัน

X-Linked Recessive disorders เช่น Hemophilia คือโรคที่เกิดเพราะ genetic deformation  ซึ่งเป็นผลมาจากการ mutation .....ซึ่งการเกิดกระบวนการผ่าเหล่าผ่ากอของดีเอ็นเอนั้น (DNA mutation) นั้นมีสองสาเหตุใหญ่ คือ 1) การที่สาย DNA ได้รับความเสียหายจากการสัมผัสแสง UV หรือสารเคมีต่างๆ 2) เกิดการจับคู่ของคู่เบสผิดพลาดขณะเกิดการคัดลอกตนเองก่อนการแบ่งเซลล์ http://gslc.genetics.utah.edu/units/disorders/sloozeworm/mutationbg.cfm

การ mutation นั้นส่วนใหญ่จะส่งผลให้บางยีนที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนทำงานไม่ได้ หรือทำงานไม่มีประสิทธิ์ภาพ Hemophilia ก็เป็นโรคหนึ่งที่เกิดความผิดปกติอันเนื่องมาจากขาดโปรตีน หรือ clotting enzyme นั่นเอง

ถ้าใครยังสงสัยว่าจุดกำเนิดของโรค Hemophilia เกิดจากการ inbreeding อยู่อีก ผมเอาบทความนี้มาให้อ่านครับ
"However, if you look at the geneology of the members of various "royal" families
of Europe descended from Queen Victoria, you will notice that the most inbred family members on that three, the children of Queen Elizabeth II on line
VIII, do not suffer from hemophilia. Examining this tree closely, you can see that there is no real relationship between the inbreeding that has gone on in this family and the incidence of the disease.http://www.madsci.org/posts/archives/oct99/940037873.Cb.r.html"

ในกรณีที่เราต้องการจะเชื่อมโยงเรื่อง Hemophilia กับ inbreeding......เราสามารถพูดได้แต่เพียงว่า inbreeding ของสมาชิกครอบครัวที่มีอาการของโรคหรือเป็นพาหะ จะส่งผลให้โอกาสเกิดลูกหลานที่มีอาการหรือพาหะของโรคมากขึ้น.... แต่ไม่สามารถพูดได้ว่า "hemophilia เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ได้มาจากการ inbreed" เพราะจะทำให้เข้าใจผิดเรื่องจุดกำเนิดของโรคไปเสียครับ .....ต้องบอกว่า "จำนวนสมาชิกของครอบครัวเดียวกันที่เป็นโรคฮีโมฟิเลียจะเพิ่มขึ้น ถ้าอัตราการ inbreeding ในครอบครัวเดียวกันสูงขึ้น"

อีกเวปหนึ่งครับ..เค้าอธิบายอย่างเดียวกับผมhttp://www.cureresearch.com/genetics/inbreeding.htm
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 30 มี.ค. 06, 02:50

 ถ้าผมเขียนอะไรไป อ่านแล้วไม่เข้าตา ก็ขออภัยด้วยนะครับ.... ผมไม่ได้มีเจตนาดิสเครดิตใครนะครับ

---------------------------------------------

มาเสริมคุณติบอนิดหน่อยครับ....การที่จะบอกว่าเจ้านายของไทยมีพระสุขภาพและพระอนามัยอ่อนแอ อันเป็นผลมาจากการเกิด inbreeding ผมว่าเราพูดได้ไม่เต็มปากนักครับ เพราะมันเกิดข้อโต้แย้งได้ง่าย

ข้อหลักๆที่เอามาโต้แย้งได้ก็คือ เรื่องระบบสาธาณสุขมูลฐานในวัง รวมถึงเรื่องความเชื่อในการรักษาโรคที่ผิดๆในสมัยโบราณ

ผมว่านะครับ การที่เจ้านายบางพระองค์มีพระชนม์มายุสั้น ส่วนหนึ่งมาจากการติดเชื้อปอดบวมมาตั้งแต่เยงทรงพระเยาว์และรักษาไม่หายขาด รวมถึงเชื้อมาลาเรียด้วยครับ.....เพราะเชื่อกันว่า เมื่อคนเป็นโรคสองโรคนี้ตั้งแต่เด็กแล้ว จะทำให้สุขภาพอ่อนแอง่าย และภูมิต้านทานลดลง

.....ไม่นึกเลยนะครับว่า แค่หัวข้อที่คุณกงกงจั่วมาเล็กๆ กลับมีการสนทนากันยาวนานถึงเพียงนี้.....ผมว่านี่คือเสนห์ของเรือนไทย ที่เราคุยกันได้ทุกเรื่องจริงๆ (โอ้ว...ยกเว้นการเมือง 55555)
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 30 มี.ค. 06, 10:49

 ขอบคุณคุณ Andreas สำหรับความคิดเห็นที่แตกต่างครับ เรื่องนี้ผมไม่ซีเรียสหรอกครับ กลับเป็นเรื่องที่ดีเสียอีกที่มีผู้เห็นข้อบกพร่องหรือขัดแย้ง เพราะบางทีคนเรารู้ด้านเดียวอาจเติมเต็มเนื้อหาไม่ครบ

โอเค ครับผมยอมรับว่าใช้ภาษาในการสื่อสารผิดไปหน่อย "hemophilia ก็เกิดจากการผสมแบบเลือดชิด (inbreed) เพียงแต่เป็นการผสมที่มีข้อพิเศษเท่านั้นเอง" เป็น "hemophilia ปรากฎออกมาได้ง่ายขึ้นเมื่อมีการผสมแบบ inbreed เท่านั้นเอง"
ที่ผมเขียนเช่นนั้นเพราะผมมองว่า hemophilia ไม่ได้เป็นยีนที่เกิดจากการ mutation  แต่เป็นยีนด้อยอีก viriation หนึ่งซึ่งมีอยู่ในเผ่าพันธุ์มนุษย์ ซึ่งพบได้น้อยมาก เพราะมันถูกข่มด้วยยีนเด่น และ cross-breed ไม่เอื้ออำนวยในการกระจายโรค

แต่พอคุณ Andreas พูดเรื่องที่ว่า hemophilia เกิดจากการ mutation ทำให้ฉุกคิดว่า ถ้าเป็นแบบนี้ต่อให้มีการ Cross-breed โรคนี้ก็สามารถกลับมาหลอกหลอนคนในตระกูลได้ หรือสามารถเกิดกับประชากรกลุ่มใดก็ได้เช่นกัน
เรื่อง mutation มักนำมามองในเรื่องของโรคมะเร็งเป็นส่วนใหญ่ แต่โรคนี้กลับไม่ค่อยมีความสัมพันธ์ในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสักเท่าไหร่นัก แล้วก็ไม่พูดในแง่ของการ inbreed อีกด้วย
เพราะฉะนั้น "hemophilia เกิดจากการ mutation" ผมว่ามันก็ฟังแล้วทะแม่งๆอยู่ดี ครับเหอๆ ซึ่งประเด็นนี้อาจได้ถกกันอีกยาวแน่ในกระทู้นี้

ผมว่า hemophilia ก็ยังนำมาเ็ป็นตัวอย่างใช้อธิบายข้อเสียของการ inbreed ได้อยู่ดี เพียงแต่เป็นตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้นแหละ
บันทึกการเข้า
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 30 มี.ค. 06, 11:40

 ผมพอจะเข้าใจความหมายของคุณติบอใน #23 นะครับ แต่ผมมองว่าทางฝรั่งเขาไม่ได้คิดว่าเรื่องกษัตริย์เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์อะไรมากมาย กษัตริย์ย่อมมีทั้งที่ดีและไม่ดี องค์ไหนดีมีความสามารถก็ควรยกย่อง องค์ไหนประพฤติตัวไม่ดีทำอะไรผิดก็ว่ากันไปได้ตามเนื้อผ้า ต่างกับทางเมืิองไทยที่เรื่องกษัตริย์ถือเป็นของสูง ทุกอย่างที่เกี่ยวกับกษัตริย์ต้องดีต้องถูกหมด การไปเสนอว่าเจ้านายตายเพราะโรคที่ถ่ายทอดมาตามระบบเลือดชิด อาจจะฟังเหมือนว่าระบบเลือดชิดนั้นไม่ดี กลายเป็นหมิ่นเบื้องสูงได้

แต่ผมว่ามันไม่เกี่ยวกันเลยนะครับ คนที่ศึกษาเรื่องแบบนี้ก็คงไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี แค่เป็นเรื่องเหตุผลธรรมดา แต่คนไทยติดที่ว่าเรื่องกษัตริย์ต้องดีไว้ก่อน พอพูดเรื่องธรรมดาๆเกี่ยวกับกษัตริย์ก็กลายเป็น lese majeste ไป

ผมคิดว่าค่านิยมแบบนี้ของคนไทยที่ว่า a king can do no wrong นี่ทำให้เรามองกษัตริย์โดยขาดความเป็นมนุษย์ไป ทำให้เรามองข้ามความยิ่งใหญ่บางอย่างของกษัตริย์หลายๆพระองค์ไป เพราะผมมองว่าความยิ่งใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่ว่าคนๆนี้นสมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่การเอาชนะจุดอ่อนของตัวเองได้ หรือการยอมเสียสละเพื่อประเทศ เช่น ควีนอลิซเบ็ทที่ 1 ที่ไม่ยอมแต่งงานก็ำไม่ใช่เพราะจิตใจบริสุทธิ์ผุดผ่องรักไม่ยุ่งมุ่งแต่งาน พระองค์ก็มีคนรัก แต่ไม่แต่งเพราะอาจจะเป็นชนวนการแย่งอำนาจกัน แล้วยังใช้สถานภาพโสดของพระองค์เป็นเครื่องล่อหาพันธมิตรให้อังกฤษ(ที่มีปัญหารุมเีร้าหลายด้านตอนนั้น)ซะอีก หรือปริ๊นซ์บิสมาร์กที่หักหลังหลอกลวงพันธมิตร ล่อลวงบ้างขู่เข็ญบังคับแม้แต่กษัตริย์ตัวเองบ้าง แกล้งแก้ไขโทรเลขของกษัตริย์ตัวเองเพื่อก่อสงครามก็เคย บิสมาร์กไม่มีเพื่อนเลยเพราะใช้ทุกคนเป็นเครื่องมือ ทุกคนเกลียดบิสมาร์กแต่บิสมาร์กก็ยอมทำเื่พื่อรวบรวมและรักษาชนชาติเยอรมันให้เป็นปึกแผ่น เรื่องควีนวิคตอเรียที่กำลังคุยกัน ที่ส่งลูกๆไปแต่งงานกับเจ้าต่างๆก็หวังจะใช้ความสัมพันธ์ทางญาตินี้เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามระหว่างประเทศ  ปริ๊นเซสวิคตอเรียพระธิดาองค์ที่ส่งไปแต่งงานกับเจ้าชายเยอรมันนีก็ไม่ได้มีความสุขเท่าไหร่ที่เยอรมันนะครับ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 30 มี.ค. 06, 13:20

 สวัสดีครับคุณฮ็อตฟัดจ์,พี่ติบอ,พี่เภสัช,คุณแอนเดรียส,อ. เทาชมพู,คุณพระนิล,พี่กงกง และคุณนทีสีทันดรครับ

ขอสนับสนุนความเห็นของคุณฮ็อตฟัดจ์ครับ เพราะในเกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 เคยระบุไว้ว่า สถานะพระมหากษัตริย์ในยุโรปถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับชนชั้นสูงอื่น ๆ
ซึ่งเทียบไม่ได้กับสถานะพระมหากษัตริย์ไทยที่ถือว่าเป็นสมมติเทพครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 02:00

 มาต่อเรื่อง hemophilia กับ mutation อีกครั้งครับ

จากทีุ่คุณ Andreas พูดว่า "hemophilia เกิดจากการ mutation" นั้น ถูกต้อง แล้วครับ
พอดีผมเข้าใจนิยามเกี่ยวกับ mutation ผิดพลาดไปหน่อย แฮะ แฮะ
ยังไงก็กราบขออภัยท่านผู้อ่านมา ณ ที่นี้ด้วย
ผมคิดว่าประเด็นทางด้านวิทยาศาสตร์น่าจะจบลงเพียงเท่านี้ เพราะดูเหมือนจะมีบทสรุปแล้ว

ประเด็นที่คุยกันต่อก็คงเป็นประเด็นทางสังคมศาสตร์ เพื่อให้เข้ากับห้องเรือนไทยบ้าง
อย่างที่คุณ Hotchoc และน้องศรีปิงเวียง ได้แสดงความคิดเอาไว้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.101 วินาที กับ 19 คำสั่ง