กงกง
อสุรผัด

ตอบ: 27
|
เคยอ่านเมื่อนานมาแล้วเกี่ยวกับโรคเลือดซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมในราชวงศ์อังกฤษ และอีกหลายราชวงศ์ในยุโรป รวมถึงรัสเซีย (อาการที่เจ้าชาย อเลกเซ มีเลือดไหลไม่หยุด) แต่เผอิญผมเป็นคนขี้ลืม เลยจำไม่ได้ว่าหนังสือที่อ่านชื่ออะไร(อ่านเมื่อสมัยเรียนปี 1 ตอนนี้อายุ 25 แล้วคับ) จึงอยากจะรบกวนท่านผู้รู้ช่วยแนะนำแหล่งข้อมูล หรือเรื่องราวที่ท่านพอจะทราบแก่ผมบ้าง เพราะผมจะนำข้อมูลมาเกี่ยวโยงกับทฤษฎีเลือดชิดในราชวงศ์ไทย ที่ทำให้เจ้านายหลายพระองค์ทรงพระชนม์ชีพได้ไม่นานนัก (จะเอาไปอธิบายให้นักศึกษาฟังซัมเมอร์นี้คับ) ขอขอบพระคุณทุกท่านล่วงหน้าคับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 130
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 02:54
|
|
Anyway....personally I don't think that X-Linked Recessive Disease would be involving with ทฤษฎีเลือดชิดในราชวงศ์ไทย. Although they both seem to be originated in the same root of thought….they are however using different theories to explain.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 08:15
|
|
ดฉันไม่ทราบว่าคุณกงกงจะนำมาเกี่ยวโยงทางไหน แต่ก็น่าสนใจ อยากฟังค่ะ
สิ่งที่ดิฉันมองเห็น กลับเป็นแง่ของความแตกต่าง คือ ทฤษฎีเลือดชิด มองว่าทำให้ลูกหลานที่เกิดมามีสุขภาพอ่อนแอ โรคบางอย่างที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นกันอยู่แล้วในหมู่พี่น้อง ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะถ่ายทอดสู่ลูกหลานกันมากขึ้น แต่ถ้าไปแต่งงานกับผู้มีสายเลือดห่างไกล อีกฝ่ายมีสุขภาพแข็งแรงดี ลูกก็มีโอกาสจะสุขภาพดี
แต่โรคฮีโมฟีเลียที่เป็นกันในหมู่เจ้านายยุโรป เหมือนโรคประจำตระกูล ไปแต่งงานกับใคร แม้แต่เจ้าหญิงรัสเซียไปแต่งกับชาวนา ลูกหลานก็มีสิทธิ์เป็นได้
ไม่ทราบว่าคิดอย่างนี้ถูกหรือเปล่าคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 08:29
|
|
สวัสดีครับอาจารย์เทาชมพู กราบขอโทษที่หายไปนานเลยครับ ตอนนี้ผมกำลังฝึกงานอยู่รพ.กบินทร์บุรีครับ ผมว่าที่อาจารย์คิด ถูกแล้วล่ะครับ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเกิดจากมีสารพันธุกรรม(gene)ที่ผิดปกติถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ดังนั้นลูกหลานจึงมีโอกาสเกิดความผิดปกติมากกว่าประชากรทั่วไป ส่วนความน่าจะเป็นในการเกิดความผิดปกติก็ขึ้นอยู่กับว่าโรคพันธุกรรมชนิดนั้นมีลักษณะการถ่ายทอดเป็นเช่นไรครับ หมายเหตุ ข้อยกเว้นก็มีครับแต่อธิบายแล้วผมว่าจะทำให้ยิ่งงงเข้าไปอีก ปล.เสียดายจริงๆที่ไม่ได้ไปร่วมงานมีตติ้ง อดดูกล้วยไม้สวยที่อาจารย์ปลูก หวังว่าจะมีโอกาสหน้านะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 08:47
|
|
หัวข้อที่คุณกงกงตั้งไว้หน้าสนใจครับเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีเลือดชิด ได้มีคนตั้งข้อสังเกตไว้เหมือนกันว่าพระราชโอรส-ธิดาของรัชกาลที่4 มีพระชนมายุยืนนาน ต่างกับพระราชโอรส-ธิดาของรัชกาลที่5 ซึ่งมักจะมีพระชนม์ชีพได้ไม่นาน ว่าอาจเกิดจากการอภิเษกในหมู่พี่น้อง แต่ก็ไม่มีคนรวบรวมข้อมูลไว้ว่าแต่ละพระองค์ที่มีพระชนม์ชีพได้ไม่นานนั้น สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคอะไร และอย่างที่คุณ andreas บอกครับว่าลักษณะของพระโรคในหมู่พระราชโอรส-ธิดาไม่ได้มีลักษณะการถ่ายทอดที่ชัดเจนเหมือนโรค hemophilia ซึ่งการถ่ายทอดเป็นแบบ x-linked ซึ่งหากศึกษาจากพงศาวลีก็พอจะบอกได้ ถ้าจะศึกษาถึงเรื่องนี้จริงๆคงจะต้องรวบรวมข้อมูลเยอะพอสมควรทีเดียว ฝากท่านออกญาฯช่วยหาข้อมูลให้หน่อยละกันผมก็อยากรู้เหมือนกันครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 130
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 10:43
|
|
คุณเทาชมพูเป็นพหูสูตของแท้เลยครับ ขอบังอาจชมครับ.... คุณเทาชมพูเข้าใจถูกต้องแล้วครับ ทฤษฎีเลือดชิดและโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม (X linked recessive disease) นั้นดูเหมือนจะไกล้กันแต่เอาเข้าจริงแตกต่างกันมากครับ
ก่อนอื่นต้องออกตัวว่า ยังไม่มีเวลาหาหลักฐานทางวิชาการมาสนับสนุนสิ่งที่ผมจะแสดงความคิดเห็นต่อไปนี้ เนื่องด้วยยังไม่มีเวลาครับ แต่พอจะมั่นใจว่าน่าจะไม่ผิดพลาด เพราะร่ำเรียนมาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีที่เมืองไทยครับ
ทฤษฎีเลือดชิดนั้นเป็นการอธิบายเรื่อง Lacking of genetic diversity รวมถึงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันครับ
เรื่อง Lacking of genetic diversity สามารถอธิบายได้ในกรณี ครอบครัวหนึ่ง ทุกคนในครอบครัวมียีนด้อยแฝงอยู่หมด แต่ไม่แสดงออกเพราะถูกยีนเด่นควบคุมอยู่ แต่พอแต่งงานกันเองระหว่างพี่น้อง ลูกหลานที่เกิดมาก็จะมียีนด้อยบริสุทธิ์ (ด้อย+ด้อย) ยี่สิบห้าเปอร์เซนต์ ถ้าพวกยีนด้อยบริสุทธิ์แต่งงานกันเองอีก ลูกที่เกิดมาก็จะกลายด้อยบริสุทธิ์ทุกคน ลองคิดดูซิครับว่าถ้ายีนด้อยควบคุมเรื่องระบบสติปัญญา เรื่องทุภพลภาพ เรื่องสมรรภาพร่างกาย พอด้อยเจอด้อยแล้วจะเหลืออะไร แต่ถ้าแต่งงานกับคนในครอบครัวอื่นๆ โอกาสที่จะเจอยีนเด่นที่จะมาข่มยีนด้อยยังมีอยู่บ้าง แม้ไม่แน่นอนแต่ก็ยังดีกว่าพี่น้องที่ด้อยทั้งคู่แต่งงานกันใช่มั้ยครับ..นี่แหละครับที่เรียกว่า lacking of genitic diversity
ส่วนเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน ผมขอยกตัวอย่าง ราชวงค์ของอียิปต์ ที่พี่น้องแต่งงานกันเอง และลูกที่ออกมาก็จะอ่อนแอ การอ่อนแอในที่นี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ไม่สามารถต้านทานกับโรคต่างๆได้ จึงล้มหมอนนอนเสื่อ สิ้นชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก รวมถึงการติดเชื้อโปลิโอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงเช่นกัน
ทุกท่านคงจะเข้าใจว่าทำไมเราต้องรณรงค์ให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง..... เพราะว่านมมารดาอุดมด้วยสารอาหารและมีสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยงัยครับ โดยปกติคนในครอบครัวเดียวกันก็จะมีแบบแผนของภูมิคุ้มกันเดียวกัน แต่ถ้าต่างครอบครัวก็จะต่างกัน ดังนั้นลูกที่เกิดมาจากพ่อแม่ต่างครอบครัวกันก็จะมีโอกาสได้รับระบบแบบแผนทางภูมิคุ้มกันผสมผสานกันครับ
หวังว่าผมคงอธิบายไม่วกวนนะครับ.....คราวนี้กลับมาที่ X-linked recessive disease บ้างครับ.... โรคที่เกิดจากโครโมโซม X จากมารดานี้ แตกต่างจากทฤษฎีเลือดชิดครับ เพราะว่าไม่จำเป็นที่ต้องแต่งงานในครอบครัวเดียวกันแล้วถึงจะเกิดโรค แต่งกับคนอื่นๆก็เกิดโรคเช่นกันครับ
ยกตัวอย่างนาย ก จากตระกูลคหบดี เป็นโรคฮีโมฟิเลีย แต่งงานกับ นส. ข ผู้มาจากตระกูลชาวนาแต่ดันเป็นพาหะของโรค ลูกที่เกิดมาเป็นชายจะมีโอกาสเกิดโรคห้าสิบเปอร์เซนต์ ในทำนองเดียวกันก็จะเกิดขึ้นห้าสิบเปอร์เซนต์ในลูกเพศหญิงเช่นกัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแม้เลือดไม่ชิดก็เกิดโรคได้
คราวนี้มาลองดูตัวอย่างแต่งงานในครอบครัวเดียวกันบ้าง...เช่น ก เป็นโรคฮีโมฟีเลีย แต่งงานกับพี่สาวที่เป็น พาหะ ลูกที่ออกมาก็จะเป็นแบบตัวอย่างข้างต้นเป๊ะเลยครับ
กรณีข้างบน...อ่านเผินๆ อาจบอกว่า อ้าว...ก็คล้ายกับทฤษฎีเลือดชิดนี่นา เพราะลูกเพศหญิงที่เป็นโรคก็เพราะเกิดจากยีนด้อยเจอยีนด้อย......จริงแล้วมันต่างครับ เหตุผลแรกเพราะมันจะเกิดเป็นเปอร์เซนต์ที่แน่นอนและเป็นแบบแผน แตกต่างจากทฤษฎีเลือดชิดที่คาดทำนายเปอร์เซนต์ที่แน่นอนไม่ได้ครับ และเหตุผลที่สอง จะเลือดชิดหรือไม่ชิดถ้าพ่อแม่เป็นพาหะและแสดงอาการของโรค ลูกก็จะออกมาเป็นแบบแผนเดียวกันครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
 
ตอบ: 70
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 13:03
|
|
ขอสรุปเรื่องทฤษฎีเลือดชิด (inbreed) กับ X-linked recessive disease เช่น hemophilia จริงๆแล้ว X-linked recessive disease เป็นส่วนหนึ่งของการที่เรามีการแต่งงานในหมู่เครือญาติใกล้ชิด (inbreed) การแต่งงานในหมู่เครือญาติใกล้ชิดนี้มีผลต่อสิ่งมีชีวิต 2 ประการหลักๆ (ตามที่สรุปความเอง) 1) ทำให้ลักษณะด้อย (recessive) ทั้งที่ดีและไม่ดีปรากฎออกมาได้ง่ายขึ้น ซึ่งลักษณะด้อยส่วนมากมักจะเป็นลักษณะที่ไม่ค่อยดีเป็นส่วนมาก ซึ่งผมจะแสดงด้วยแผนภาพของโอกาสเกิดโรค hemophilia 4 แบบ แบ่งเป็นกรณี inbreed ไปจนถึง cross-breed ซึ่งการเกิด cross-breed ที่อีกฝ่ายไม่เป็นโรคจะทำให้โรคทางพันธุกรรมจากยีนด้อยนี้หายไป ยิ่ง cross-breed มากเท่าใด โรคจากยีนด้อยก็จะหายไปมากเท่านั้น 2) นอกจากนี้ยังไม่ทำให้เกิดความหลากหลาย ลูกหลานออกมาก็จะมีความคล้ายคลึงพ่อแม่ ทำให้ไม่สามารถปรับตามสภาวะสิ่งแวดล้อมได้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะไม่เกิดวิวัฒนการ ตามหลักการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพเช่น ผีเสื้อกลางคืนที่มีลายกลมกลืนกับต้นไม้ จะอยู่รอดได้ถ้าอยู่ในป่า กรณีที่เกิดมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าถูกทำลายมีการสร้างบ้านเรือนตึกขึ้นมา พวกมันจะถูกล่ามากขึ้นเพราะไม่สามารถอำพรางตัวได้ แต่ถ้ามันมีการผสมพันธุ์กับผีเสื้อพันธุ์สีขาวแล้วลูกหลานมีโอกาศออกมาเป็นสีขาว ทำให้มันอยู่รอดได้มากขึ้น ในทางกลับกันผีเสื้อขาวอาจจะไม่อยู่รอดหากไม่ผสมกับพันธุ์ลายถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
 
ตอบ: 70
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 13:13
|
|
 กรณีแรก Cross-breed ฝ่ายหญิงมาจากตระกูลอื่นและไม่เป็นพาหะของโรค + ฝ่ายชายที่เป็นโรคเพราะโครโมโซมวายนั้นสั้นจึงไม่มียีนเด่นมาบดบังไว้ ตามปกติฝ่ายชายทีเป็น hemophilia มักจะไม่มีชีวิตรอดพอที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์ กรณีที่เกิดแบบนี้จึงน้อย แต่มีตัวอย่างในพงศาวลีของ Queen Victoria ที่มีผู้ชายที่เป็นโรคแต่งงานมีลูกหลานได้เหมือนกัน จากแผนภาพจะเห็นได้ว่าจะได้ลูกสาวที่เป็นพาหะ และลูกชายไม่เป็นโรค ซึ่งการที่ลูกสาวเป็นพาหะนั้นจะถูกกำจัดออกไปได้ในชั้นลูกหลานนั้นจะต้องแต่งงานกับผู้ชายที่ปกติ ซึ่งจะแสดงในรูปถัดไป |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
 
ตอบ: 70
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 13:18
|
|
 กรณีที่ 2 cross-breed ผู้หญิงเป็นพาหะ แต่งงานกับ ผู้ชายที่ไม่เป็นโรคจากตระกูลอื่น จะเห็นได้ว่า ลูกสาวมีโอกาสที่จไม่เป็นพาหะนำโรค 1 คน (โอกาสร้อยละ 25 ) และลูกชายมีโอกาสไม่เป็นโรคด้วยอีก 1 คน (โอกาสร้อยละ 25 ) ซึ่งโรคนี้จะหายไปจากตระกูล ถ้าลูกสาวที่เป็นพาหะไม่แต่งงานมีลูก และลูกชายที่เป็นโรคไม่แต่งงานมีลูก |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
 
ตอบ: 70
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 13:22
|
|
 กรณีที่ 3 Inbreed แม่เป็นพาหะ แต่งงานกับ พ่อที่เป็นโรค กรณีนี้จะเกิดได้จากการแต่งงานในหมู่เครือญาติ จะเห็นได้ว่าโรคนี้แม้จะเกิดขึ้นในผู้ชายได้ง่าย แต่หากแต่งงานกันในหมู่เครือญาติก็มีโอกาสทำให้ลูกสาวเป็นโรคได้เช่นเีดียวกัน |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
 
ตอบ: 70
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 13:27
|
|
 กรณีที่4 Inbreed แม่เป็นโรค แต่งงานกับ พ่อที่เป็นโรค กรณีนี้คิดว่ายังไม่มีเกิดขึ้นในโลก เป็นกรณีสมมติขึ้นมา เพราะกรณีนี้ต่างฝ่ายต่างต้องรักษาชีวิตตัวเองดีมากๆ ถึงจะรอดมาเพื่อแต่งงานมีลูก จะเห็นได้ว่าลูกที่เกิดมาเป็นโรคทุกคน ซึ่งแน่นอนว่าโอกาสที่ตระกูลนี้จะหายไปจากโลกก็มีสูง เพราะไม่มีความหลากหลายของลูกหลานพอที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
 
ตอบ: 70
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 13:38
|
|
 ก่อนอื่นต้องขอแก้ไขข้อความในด้านบนที่บอกว่ามี 4 กรณี ขอแก้ไขเป็น 5 กรณีครับ
กรณีที่ 5 Cross-breed แม่เป็นโรค แต่งงานกับ พ่อปกติที่มาจากตระกูลอื่น กรณีเป็นไปได้ยากเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจะมีลูกชายที่เป็นโรค ส่วนลูกสาวจะเป็นพาหะ
ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้หวังว่าคงพอทำให้หลายๆคนเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับพันธุกรรมมากขึ้นนะครับ กรณีของ hemophilia เป็นการถ่ายทอดโรคผ่านทางโครโมโซมเพศหญิง (X-linked gene) ซึ่งจะมีความแตกต่างจากถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมทั่วๆไป การอธิบายเรื่องของ ทฤษฎีเลือดชิด นั้นจึงควรจะรวมเรื่องของโรคทางพันธุกรรมอื่นๆลงไปด้วย เพราะกรณีที่เกิดไม่เหมือนกัน ถ้าใช้กรณีของ hemophilia อย่างเดียวจะอธิบายได้ไม่สมบูรณ์ครับ
ประโยชน์ของ ทฤษฎีเลือดชิด ก็ได้แก่ การดำรงสายพันธุ์ของสัตว์และพืชให้มีความบริสุทธิ์ไว้ เช่น สุนัขพันธุ์แท้ชนิดต่างๆ ปลาสวยงามทั้งหลาย เป็นต้นครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 28 มี.ค. 06, 22:22
|
|
เท่าที่ผมเข้าใจจากวิชาที่อ.หมอสอน (ที่จริงคือ เท่าที่ตื่นอยู่และมีสติฟังครับ อิอิ)
ขออธิบายง่ายๆว่า คนทุกคนที่เกิดมา มียีนส์ด้อยของโรคทางพันธุกรรมบางโรคเป็นมรดกจากการปฏิสนธิอยู่แล้ว อย่างน้อยประมาณ 3 - 5 ยีนส์จากโรคทางพันธุกรรมนับพันนับหมื่นโรคครับ แต่เนื่องจากคู่สมรสมักไม่ได้มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงกัน การเกิดโรคทางพันธุจึงมักไม่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ครับ เพราะโอกาสที่ยีนส์ด้อยจะมาพบกันทั้งคู่แบบผู้หญิงคนทางซ้ายในความเห็นที่ 12 ของพี่เภสัชฯ เกิดขึ้นได้น้อยมาก เราจึงมักพบว่าโรคทางพันธุกรรมแต่ละโรคผู้ป่วยมักอยู่ในระดับ 1 ต่อ 10,000 บ้าง 1 ต่อ 6,000 บ้าง ซึ่งไม่ได้มากนักครับ
แต่ในสังคมที่ค่อนข้างปิด หรือมีการแต่งงานกันแบบปิด เช่น สังคมหมู่บ้าน-ชนเผ่า หรือสังคมในวังซึ่งมีคติความเชื่อในการแต่งงานกับคนในเผ่าหรือชนชั้นเดียวกัน โอกาสในการกระจายตัวของยีนส์ที่ทารกในครรภ์ จะได้รับยีนส์ด้อยทั้งจากพ่อและแม่จึงมีมากขึ้นได้ครับ เท่าที่ผมเข้าใจมาก็คงประมาณนี้ล่ะครับ
ปล. ให้พี่นทีสีทันดรมาอธิบายดีกว่าครับ ผมไม่ได้เรียนวิชาเฉพาะทางนี้ซะด้วยสิครับ แหะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|