เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 18700 แบบเรียนของโรงเรียนมหาดเล็ก-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 02 เม.ย. 06, 10:09

 ขอบพระคุณสำหรับความเห็นแย้งครับคุณอากง

แต่ผมก็ไม่เห็นว่าจะคลาดเลื่อนสักเท่าไหร่ เพราะโรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ subset ใหญ่ของกรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โรงเรียนหนึ่งเหมือนกัน

ในเมื่อคุณบอกเองว่าวชิราวุธวิทยาลัยคือการรวมตัวกันระหว่างโรงเรียนราชวิทยาลัย กับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ (บรรดาโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์) ก็เท่ากับวชิราวุธวิทยาลัย มีวิวัฒนาการมาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง

จะว่าไปแล้ว แม้ปัจจุบัน ในพระราชสำนักและสำนักพระราชวัง ก็จัดการทั้งปวงโดยต่อวชิราวุธวิทยาลัย คล้ายกับที่จัดการกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๖ ในฐานะโรงเรียนที่ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มากกว่าสถาบันการศึกษาอื่นๆ นั้น

อนึ่ง โปรดสังเกตว่า ผมไม่เคยบอกว่าคำว่า "วชิราวุธวิทยาลัย" เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๖ นะครับ

ความข้อหนึ่งที่คุณอากงคงไม่ประท้วงก็คือ สถานที่ตั้งตลอดจนอาคาร (เก่า) ทั้งหลายในวชิราวุธวิทยาลัยนั้น คือสถานที่ และอาคารของ "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง" เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๖ นั่นเอง แม้ตราลัญจกรประจำโรงเรียนก็ใช้พระมนูแถลงสารอย่างของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง

เมื่อดูจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของโรงเรียน พบว่ารัชกาลที่ ๗ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักเรียนโรงเรียนราชวิทยาลัย "ย้ายมาเรียนรวม" กับนักเรียนมหาดเล็กหลวง

ในพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๗ เรื่อง "ประกาศวางรูปและการพระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง" ก็ทรงพระราชปรารภ "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง" เป็นตัวตั้ง แล้วทรงแสดงพระราชดำริว่า "จะส่งเสริมฐานะของโรงเรียนให้สถาพรพัฒนาการยิ่งขึ้น"

ขนาดประกาศพระราชทานนามว่า "วชิราวุธวิทยาลัย" ยังมีชื่อประกาศว่า "ประกาศฯ พระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง" ดังนี้ จะกล่าวว่าวชิราวุธวิทยาลัยเป็นของใหม่เอี่ยมโดยไม่ได้กลายรูปมาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง กระนั้นเชียวหรือครับ

แม้เมื่อแรกรวมโรงเรียนราชวิทยาลัยกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงนั้น รัชกาลที่ ๗ ก็ยังโปรดจะให้คงชื่อโรงเรียน "มหาดเล็ก" ไว้ด้วยซ้ำ เพียงแต่เปลี่ยน "หลวง" เป็น "พระราม ๖" เป็น "โรงเรียนมหาดเล็กพระราม ๖" แต่ต่อมาได้ทรงเห็นชอบตามคำกราบบังคมทูลพระกรุณาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ให้ใช้นามว่า "วชิราวุธวิทยาลัย"

โดยความเห็นส่วนตัว ผมจึงเห็นว่าวชิราวุธวิทยาลัยมีวิวัฒนาการกลายมาโดยตรงมาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง

ฉันใดก็ฉันนั้น

แม้เส้นทางประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะไม่ได้เดินตรงแหนวมาจากโรงเรียนมหาดเล็ก แต่จุฬาลงลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มี "วิวัฒนาการ" มาจากโรงเรียนมหาดเล็ก เราก็ถือว่าเรามีกำเนิดมาจากจุดนั้นได้เหมือนกัน

จริงอยู่ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่ผู้ทรงสถาปนา "มหาวิทยาลัย" หากแต่พระองค์คือผู้ทรงก่อกำเนิด "โรงเรียนมหาดเล็ก" ดังนั้น มหาวิทยาลัยนี้จึงนับว่ารัชกาลที่ ๕ คือเจ้าพระคุณในฐานะพระผู้พระราชทานกำเนิดได้เช่นกัน

เหมือนกับที่รัชกาลที่ ๗ ทรงจัดรูปและพระราชทานนามวชิราวุธวิทยาลัย แต่โรงเรียนก็ยังถือว่าโรงเรียนมีกำเนิดมาจากรัชกาลที่ ๖ อยู่ดี

อนึ่ง ผมไม่ใช่นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย อาจจะแสดงอรรถาธิบายได้ไม่กระจ่างนัก คงต้องรอท่านอื่นๆ มีคุณ V_Mee เป็นอาทิ มาร่วมกันอภิปราย
บันทึกการเข้า
(*-*)...βĬĠZ
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

มัด ทะ ยม ต้น


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 05 เม.ย. 06, 13:29

 พี่ครับ แล้วพวกโรงเรียนต่างๆที่ได้ใช้พระเกี้ยว คือต้องเป็นเครือ เตรียม กับ บดินทร ใช่หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เจ้าสำราญ
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 เม.ย. 06, 21:33

 ลองเข้าลิงค์ดูแล้วปรากฏว่าเข้าไม่ได้ครับ

สืบเนื่องจากคห 26 ทำให้นึกถึงข้อสงสัยที่มีมานาแล้วว่าคำว่า"นิสิต" กับ"นักศึกษา"นั้น ต่างกันอย่างไร

และในประเทศไทย เท่าที่ผมทราบ มหาวิทยาลัยที่ใช้คำว่า"นิสิต" มีอยู่ 2 แห่งเท่านั้น คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนที่อื่นจะใช้คำว่า"นักศึกษา" ทั้งสิ้น

ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยไขข้อข้องด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 17 เม.ย. 06, 01:37

 "นิสิต" ยังใช้กับนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่แยกตัวออกไปจาก มศว อาทิ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น ด้วยค่ะ

ส่วนเหตุที่ทำไม มศว ใช้นิสิตนั้นไม่ทราบแน่เหมือนกันค่ะ
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 17 เม.ย. 06, 03:39

 ลองอีกครั้งนะครับ

 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=19&Pid=17235

หากคุณเปิดไม่ได้จริงๆ ก็ขอให้ copy ไป paste ลงในช่อง address ของคุณแทนกดลิ้งก์เข้าไปนะครับ เชื่อว่าจะเข้าได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 17 เม.ย. 06, 08:11

 ยกบางส่วนจากกระทู้ที่คุณ UP ทำลิ้งค์ไว้มาไขข้อข้องใจของคุณเจ้าสำราญ

ความเห็นเพิ่มเติมที่ 13 edit

 http://www.thaiengineering.com/webboard/question.asp?QID=2886
นิสิต นักศึกษา สองคำนี้ต่างกันอย่างไร ใครอยากทราบเชิญทางนี้ครับ

ว่าด้วยข้อถกเถียง นิสิต นักศึกษา
บ่อยครั้งที่กระทู้ในโต๊ะห้องสมุดจะมีข้อถกเถียงเรื่องที่มาของคำว่า “นิสิต” และ “นักศึกษา” โดยมากมักตั้งคำถามกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร สถาบันใดที่ใช้คำว่านิสิตบ้าง เป็นต้น
ก่อนจะตอบคำถามเหล่านั้นก็ควรจะมาดูก่อนว่าคำว่า “นิสิต” หมายถึงอะไร และสถาบันใดบ้างที่ใช้คำว่า “นิสิต”
คำว่า “นิสิต” นั้นเป็นภาษาบาลี แปลว่า “ผู้อาศัยกับอุปัชฌาย์” เนื่องจากแต่เดิมสถาบันการศึกษาระดับสูงมักมีหอพักให้ผู้เรียนได้พักอาศัยภายในสถาบัน ประกอบกับความนิยมภาษาบาลีด้วยจึงได้ใช้คำนี้โดยทั่วไป
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มแรกเป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ ได้สถาปนาขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” และปรากฏใช้คำว่า “นิสิต” สำหรับนิสิตชาย และ “นิสิตา” สำหรับนิสิตหญิง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “นิสิต” เพียงคำเดียว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ก่อตั้งขึ้นโดยที่ค่านิยมภาษาบาลีสันสกฤตยังเป็นที่นิยมและมีหอพักให้ผู้เรียนภายในสถาบันเช่นเดียวกัน จึงใช้คำว่า “นิสิต” มาตั้งแต่แรกเริ่ม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นับเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของไทย เริ่มต้นจากการเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร” ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทยที่สามารถเปิดสอนวิชาชีพครูได้ถึงระดับปริญญา (ก่อนจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) โดยมีทั้งสิ้น ๘ แห่งทั่วประเทศ และทุกแห่งก็ใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด
ภายหลังวิทยาลัยวิชาการศึกษาทั้ง ๘ แห่ง ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) และปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (คงสถานะเดิม)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัย มหาสารคาม)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ)
จนปัจจุบันที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแต่ละแห่งได้มีการเปลี่ยนไปด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ยังคงใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด
ทั้ง ๓ มหาวิทยาลัย (๗ มหาวิทยาลัย) ใช้คำว่า “นิสิต” ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ มีหอพักให้ผู้เรียนอยู่ภายในสถาบัน
ในสมัยที่ประชาธิปไตยพยายามจะเบ่งบาน มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (ธรรมศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยกฎหมาย) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด ไม่มีหอพักให้ผู้เรียน จึงสร้างคำใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เป็น “ไทย ๆ” มากขึ้น จึงใช้คำว่า “นักศึกษา”
มหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นภายหลังหลาย ๆ แห่ง แม้จะมีหอพักนักศึกษาอยู่ภายในมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่นิยมใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนมหาวิทยาลัย “โบราณ” ที่ก่อตั้งมานานแล้วทั้งหลาย จึงหันไปใช้คำว่า “นักศึกษา” เหมือนกันแทบทุกแห่ง แม้แต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เอง แต่เดิมก็ใช้คำว่า “นิสิต” แต่ภายหลังอธิการบดีท่านหนึ่งซึ่งเป็นนายแพทย์ ก็ได้เปลี่ยนคำว่า “นิสิต” มาเป็นคำว่า “นักศึกษา” ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองก็นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เคยใช้คำว่า “นิสิต” มาก่อน
ผู้ที่ตอบกระทู้ในโต๊ะห้องสมุดหลายคน ก็ให้เหตุผลต่าง ๆ กัน บ้างก็ว่าถ้าที่ไหนเก่าก็ใช้คำว่านิสิต บ้างก็ว่ามหาวิทยาลัยแห่งใดอยากใช้คำว่านิสิตก็ต้องขอพระราชทานเอา (ก็นับเป็นเหตุผลที่ตลกเหตุผลหนึ่ง) ส่วนเหตุผลที่ไม่เข้าท่าที่สุดก็เห็นจะเป็นเหตุผลที่ว่า “มหาวิทยาลัยใดที่เคยมีเจ้าฟ้าเข้าเรียน ก็จะเปลี่ยนไปใช้คำว่านิสิต”
อาจจริงอยู่ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเคยทรงศึกษาที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต อักษรศาสตรมหาบัณฑิต และเคยทรงศึกษาระดับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แต่มหาวิทยาลัยดังกล่าวมาแล้วนั้น ปรากฏใช้คำว่า “นิสิต” มาตั้งแต่เดิมแล้ว ไม่ได้เพิ่งมาเปลี่ยนเอาภายหลัง
อีกประการหนึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็เคยทรงศึกษาระดับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จารึกตะวันออก) ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่มหาวิทยาลัยศิลปากรก็ไม่เห็นจะต้องเปลี่ยนคำว่า “นักศึกษา” เป็น “นิสิต” แม้แต่น้อย
อาจจริงอยู่ที่สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเคยทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่สถาบันแห่งนี้ก็ใช้คำว่า “นิสิต” มาตั้งแต่นมนานก่อนที่สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ จะเสด็จเข้าทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ข้อสรุปของบทความนี้ก็ไม่เห็นจะต้องมีอะไรมากมาย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างผู้เขียนบทความได้อธิบายไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว จึงขอทิ้งท้ายบอกผู้ที่ไม่รู้จริงเอาไว้ ณ ที่นี้ว่า
“อะไรที่ตนไม่รู้จริง… อย่าพูด…”

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

ฌานิศ วงศ์สุวรรณ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 17 เม.ย. 06, 08:14

 http://www.eduzones.com/setupcon/content_nana1/view.php?id=13  
คำว่า นักเรียน นิสิต นักศึกษา สามคำนี้มีความหมายโดยทั่ว ๆ ไปที่คล้าย ๆ กัน คือ เป็นผู้ที่เล่าเรียนวิชาอะไรอย่างหนึ่ง แต่การใช้คำทั้งสามคำนี้ไม่เหมือนกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ควาหมายไว้ดังนี้

นักเรียน หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียน
นิสิต มีความหมายสองอย่าง ความหมายแรกหมายถึง ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย บางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความหมายที่สอง หมายถึง ศิษย์ที่เล่าเรียน อยู่ในสำนัก หรือ ผู้อาศัย
ส่วนคำว่า นักศึกษานั้น ไม่ได้ให้ความหมายไว้เป็นพิเศษ คงอนุโลมได้ว่า หมายถึง ผู้ศึกษา ในทางปฏิบัติจริง เรามักจะใช้คำพูด นักเรียน หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียนในระดับต่ำกว่า ปริญญาตรีหรือในระดับโรงเรียน
ส่วนคำว่า นิสิตและนักศึกษานั้น ใช้หมายถึงผู้ศึกษา เล่าเรียน ในระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป หรือในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง
แต่ความนิยม ที่ใช้เรียกผู้ศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยว่านิสิต หรือ นักศึกษานั้น ก็ยังมีความแตกต่างกัน ออกไปอีก
แต่เดิมมา เมื่อยังมีมหาวิทยาลัยอยู่น้อยแห่งนั้น ผู้ที่ศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จะเรียกกันว่า นิสิต ส่วนผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นจะเรียก กันว่า นักศึกษา ชื่อที่แตกต่างกันนั้นใช้ตามความหมายในทำนองว่า นิสิตจุฬาฯ นั้น เป็นศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ ในสำนัก ซึ่งจะตีความว่าอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยด้วย หรือต้องมาเรียนเป็นประจำก็ ได้
ส่วนนักศึกษาธรรมศาสตร์นั้น จะตีความว่าไม่ได้อยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยหรือมา เรียนตามสะดวกแบบตลาดวิชาก็ได้

ความแตกต่างที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องที่เล่าขานกันมา อาจจะมีผู้คัดค้านก็ได แต่มีอีกเหตุหนึ่ง ที่อาจจะไม่มีใครค้าน คือ ต้องการเรียกชื่อผู้ที่เรียนอยู่ในสถาบันทั้งสองน ี้ให้แตกต่างกัน ออกไปนั่นเอง
ต่อมาเมื่อมีมหาวิทยาลัยมากขึ้น ก็จะมีการเรียกผู้เรียนไปตามความนิยมของแต่ละสถาบัน เช่น นิสิตเกษตร (อาจจะด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อก่อนนี้นิสิตปีที่หนึ่งทุกคน ต้องอยู่หอพักของ มหาวิทยาลัย)
เช่น นักศึกษาแพทย์ เป็นต้น ในปัจจุบัน ความหมายโดยนัยที่กล่าวข้างต้น อาจจะเลือนไปแล้วก็ได้
สถาบันใหม่ ๆ ที่เกิดก็มักจะใช้คำว่า นักศึกษา เพื่อแสดงความใหม่ ปล่อยให้สถาบันเก่า ๆ ใช้คำว่า นิสิต กันไปเพียงไม่กี่แห่ง
ทั้งหมดนี้เป็นข้อความที่ ดร. นิตยา กาญจนะวรรณ อธิบายไว้ในหนังสือ ภาษาไทยไฮเทค ซองคำถาม
จำได้ว่าข้างฝ่ายธรรมศาสตร์ก็เคยให้คำอธิบายไว้ว่า เหตุใดจึงเรียกผู้ที่ศึกษา ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า นักศึกษา จึงไปค้นหนังสือ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง ได้คำอธิบายดังนี้
"คำว่า "นักศึกษา" ก็เกิดขึ้นในช่วงแรกนี้เช่นกัน ส่วนหนึ่งอาจเพราะเป็น คำที่เกี่ยวข้องกับความเป็นตลาดวิชาซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความแตกต่างจาก "นิสิต" ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ทรงอธิบายว่า มธก. ควรเรียกผู้ เข้ามาศึกษาว่า "นักศึกษา" ไม่ควรใช้ "นิสิต" เพราะคำว่า "นิสิต" ตรงกับ "undergraduate"
ส่วนคำว่า "นักศึกษา" ตรงกับ "student" ซึ่งเหมาะสมกว่า ตามระเบียบของ มธก. ฉบับแรกเป็นที่น่าสังเกตว่า ใช้คำ "นิสิต" และ "นักศึกษา" ทดแทนกันไปมา
จากการบอกเล่า ก่อนหน้านี้ก็มีการใช้คำว่า "นักศึกษา" อยู่ในหมู่ผู้มาเรียนที่ มธก. อยู่ก่อนแล้ว และคณะกรรมการ มหาวิทยาลัย ได้มีมติรับรองให้ใช้คำว่า "นักศึกษา" อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่การประชุมคณะ กรรมการมหาวิทยาลัยครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2477 เป็นต้นไป
บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 22:52

   
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
ออกญาธรรมาธิกรณ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 24


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 11:28

 ตอบ คคหที่ 31 ร.ร.ที่มีสิทธิใช้ตราพระเกี้ยวมีอยู่ ๕ โรงเรียนที่แต่ก่อนจะมีกีฬาที่เรียกว่า กีฬา ๕ พระเกี้ยวคือ
-เตรียมอุดมศึกษา
-หอวัง
-บดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
-เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
-เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

ต่อมาโรงเรียนต่างๆนี้ก็มี แฟรนไชส์สาขาไปอีก ก็ได้ใช้สัญลักษณ์พระเกี้ยวเหมือนโรงเรียนแม่น่ะครับ

บางสาขาตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เช่น โรงเรียนนวมินทราชูทิศ บดินทรเดชา หรือ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ หอวัง นนทบุรี ก็จะใช้มงกุฎขัตติยราชนารี เป็นสัญลักษณ์แทน ครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 11:43

 มีอีกหนึ่งโรงเรียนครับ แต่ไม่ได้ใช้เข็มพระเกี้ยวกลัดติดหน้าอก ใช้ด้ายสีน้ำเงินปักเป็นตราพระเกี้ยวที่อกเสื้อแทน

คือโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนทดลองภายใต้สังกัดคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ในเมื่อเป็นส่วนหนึ่งของจุฬาฯ ก็ใช้ตราพระเกี้ยวของจุฬาฯ เป็นเครื่องหมายโรงเรียนด้วย

ตัวผมเองเผอิญเคยทั้งกลัดเข็มพระเกี้ยวและใส่เสื้อปักตราพระเกี้ยวมาแล้วครับ ตอนย้ายโรงเรียนก็ข้ามถนนพญาไทไปเท่านั้นเอง

แต่ก่อนนี้ นานมากๆ แล้ว โรงเรียนเตรียมฯ หรือ ตอ. เคยเป็นโรงเรียน "เตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" คู่กับ ตมธก. ซึ่งคือโรงเรียน "เตรียมปริญญาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง"

คือว่าสมัยโน้นยังมีมหาวิทยาลัยแค่สองแห่ง และระบบการมัธยมศึกษายังไม่เข้าระบบได้มาตรฐานพอที่จะรองรับการต่อยอดขึ้นไปขั้นมหาวิทยาลัยได้ (อย่างน้อยก็ในความคิดของ 2 มหาวิทยาลัยนี้กระมัง) ดังนั้น 2 มหาวิทยาลัยนี้เลยมีโรงเรียนเตรียมของตัวเอง เตรียมเด็กเข้าเป็นนิสิตและนักศึกษา เทียบกับโรงเรียนเตรียมทหารเดี๋ยวนี้ ซึ่งเตรียมเด็กให้เข้าโรงเรียนนายร้อยนายเรือ 4 เหล่าโดยเฉพาะ

ตมธก. ปิดไปนานแล้ว ส่วน ตอ. ก็กลายเป็นโรงเรียมมัธยมธรรมดา ไม่จำเป็นต้องจบแล้วไปเข้าจุฬาฯ เท่านั้น แต่โรงเรียนเตรียมหทารยังอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 11:48

อ้อ มีข้อสังเกตนิดหนึ่งว่า นักเรียน นั้นดูเหมือนจะมุ่งเอาเด็กๆ คือประถมมัธยม ส่วนในระดับอุดมศึกษานั้น มีการใช้คำว่า นิสิต และ นักศึกษา ตามที่เถียงกันไปมาในกระทู้ที่ลิ๊งก์มาข้างบนนี้ครับ (ซึ่งผมขอยืนยันอีกคนว่า คำว่านิสิตนั้นไม่เกี่ยวกับการเป็นเจ้านายแต่อย่างใดเลย เพราะใช้มาก่อนนานแล้ว)

แต่มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษากลุ่มหนึ่ง ซึ่งเรียกผู้เรียนว่านักเรียน ไม่ใช่นิสิต ไม่ใช่นักศึกษา แต่พอจบมาแล้วก็เทียบให้ได้ปริญญาตรีเท่ากัน คือโรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ครับ ผู้ศึกษาในสถาบันประเภทนี้เป็น "นักเรียน" นายร้อย และ "นักเรียน" นายเรือ
บันทึกการเข้า
เจ้าสำราญ
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 19:05

 ขอบคุณอาจารย์มากครับที่ช่วยกรุณานำความรู้มาเล่าสู่กันฟัง
ผมคิด(เล่นๆ) ว่าจุฬาฯ น่าจะลองกลับมาใช้คำเรียกว่า "นิสิต" และ "นิสิตา" ดูนะครับ ฟังเพราะดีออก
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 22 เม.ย. 06, 12:35

 ขอเพิ่มเติมความเห็นที่ ๕ ที่ว่า "โรงเรียนมหาดเล็กในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง"  
โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ที่ตึกริมประตูพิมานไชยศรี  ถ้าเข้าไปในพระมหาราชวังะครับ  ทางขวามือก่อนที่จะเข้าประตูพิมานไชยศรีที่หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  ที่ปัจจุบันเป็นกำแพงและอาคารสำนักราชเลขาธิการกับสำนักพระราชวังนั้นแหละครับ  คือที่ตั้งโรงเรียนมหาดเล็ก และโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเรียกอย่างย่อว่า โรงเรียนข้าราชการพลเรือน จ.ป.ร.

เรื่องนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ถูกต้องนั้น  ต้องรบกวนคุณ Up ค้นประกาศประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเมื่อวันที่  ๒๖  มีนาคม  ๒๔๕๙ ดูอีกทีครับว่า  ท่านผู้ร่างประกาศ (Charter) ฉบับนี้ท่านใช้ กรณ หรือ กรณ์ กันแน่ครับ

ส่วนประเด็นเรื่องโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยนำมากล่าวนั้น  เป็นผลสืบเนื่องมาจากเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้ตัดรายจ่ายในพระราชสำนักลง  โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ที่เวลานั้นคงเหลืออยู่เพียง ๓ โรงเรียน คือ มหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ ราชวิทยาลัย และพรานหลวง (รัชกาลที่ ๖ มีพระบรมราชโองการให้ยุบมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่ไปก่อนสวรรคตแล้ว) ก็อยู่ในข่ายที่จะต้องถูกยุบทิ้งไปด้วย  แต่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ และพระยาบรมบาทบำรุง (พิณ  ศรีวรรธนะ) ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ได้ถวายฎีกาว่า  โรงเรียนมหาดเล็กหลวงนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นแทนพระอารามหลวงประจำรัชกาล  การที่จะบุบโรงเรียนนี้ก็จะเท่ากับยุบวัดประจำรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ยกโรงเรียนราชวิทยาลัยมารวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ส่วนชื่อโรงเรียนนั้นทรงรังเกียจว่า  จะชวนให้คนเข้าใจผิดว่า  ผู้ที่จบจากโรงเรียนนี้จะได้เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็กหลวงเหมือนในรัชกาลที่ ๖  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คิดชื่อใหม่  ซึ่งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้คิดว่า มงกุฎเกล้าราชวิทยาลัย  กับวชิราวุธราชวิทยาลัย  เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่โรงเรียนราชวิทยาลัยที่ถูกยุบไป  แต่สุดท้ายได้พระราชทานนามว่า วชิราวุธวิทยาลัย  วชิราวุธวิทยาลัยกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวงจึงเป็นโรงเรียนเดียวกันมาตลอด  เพียงแต่เปลี่ยนชื่อและสังกัดในตอนต้นรัชกาลที่ ๗  โดยย้ายจากกรมมหาดเล็กหลวงซึ่งเป็นสังกัดเดิมไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการ  ในสมัยรัชกาลที่ ๖ โรงเรียนมีฐานะเป็นโรงเรียนราษฎร์แต่ครูและพนักงานเป็นข้าราชการกรมมหาดเล็กหลวง  ถึงรัชกาลที่ ๗ ยังคงฐานะเป็นโรงเรียนราษฎร์แต่ครูและพนักงานย้ายไปสังกัดกระทรวงธรรมการ  เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วคณะราฏร์มีความเห็นว่า  โรงเรียนราษฎร์แต่มีครูเป็นข้าราชการดูลักลั่นไม่เข้าระเบียบ  จึงปลดครูและพนักงานออกจากราชการทั้งหมด  ในปัจจุบันวชิราวุธวิทยาลัยจึงมีฐานะเป็นโรงเรียนเอกชน ๑๐๐%  แต่ต่างจากโรงเรียนเอกชนตรงที่เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ทุกวันนี้จึงมีสถานะเป็นโรงเรียนหลวงก็ไม่ใช่  โรงเรียนราษฎร์ก็ไม่เชิง
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 22 เม.ย. 06, 13:22

 ขอบพระคุณคุณ V_Mee สำหรับความเห็นเพิ่มเติมครับ



เรื่องชื่อวชิราวุธวิทยาลัยนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงระบุว่า



"ชื่อของโรงเรียนมหาดเล็กนั้นน่าจะเปลี่ยนเสียเล็กน้อย มิฉะนั้นจะเข้าใจกันไปว่า นักเรียนเมื่อออกจากโรงเรียนแล้วจะต้องมีสิทธิที่จะขอเป็นมหาดเล็กหลวง ควรเรียกว่าโรงเรียนมหาดเล็กพระราม ๖ หรืออะไรอย่างนั้น ให้ส่งเรื่องถวายอภิรัฐมนตรีทรงทราบไว้ด้วย"



ต่อมาเมื่อเรื่องถึงอภิรัฐมนตรี มีลายพระหัตถ์ตัวดินสอของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า



"เรื่องชื่อโรงเรียนมหาดเล็กซึ่งทรงพระราชดำริห์ว่าควรจะหาชื่อใหม่นั้น ข้าฯ คิดเห็นว่า ถ้าเรียกว่า 'วชิราวุธวิทยาลัย' เห็นจะเหมาะดี"



เรื่องสถานภาพของวชิราวุธวิทยาลัยนั้น ผมเห็นว่ามีสิ่งที่แยกแยะเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนอีกประการหนึ่งคือเครื่องแบบพิธีการของครูโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยที่มีลักษณะจำเพาะ ไม่ได้ใช้แบบแผนเดียวกับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน



หากโรงเรียนนี้ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการเหมือนเช่นโรงเรียนของรัฐอื่นๆ ก็จะต้องแต่งเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ติดเข็มหมายเสมาธรรมจักรที่คอเสื้อ มีอินทรธนูอย่างข้าราชการพลเรือน



ส่วนเครื่องแบบครูโรงเรียนนี้ไม่มีอินทรธนู แต่จะใช้คอแผงคอประดับอักษรพระปรมาภิไธยในรัชกาลที่ ๖ ประดับแทน และเครื่องแบบนี้ก็สามารถประดับแถบย่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (กรณีแต่งปกติขาว) และประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (กรณีแต่งครึ่งยศ-เต็มยศ) ได้เหมือนชุดข้าราชการ



ทำให้เห็นได้โรงเรียนนี้มีสถานะหลวงก็ไม่ใช่ ราษฎร์ก็ไม่เชิง อย่างที่คุณ V_Mee กล่าวไว้นั้นแล
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 22 เม.ย. 06, 16:00

 ขอบพระคุณคุณUp ครับที่กรุณาไปค้นคว้าเพิ่มเติมมาให้

เรื่องเครื่องแบบครูวชิราวุธนั้น  ขอย้อนกลับไปถึงสมัยรัชกาลที่ ๖  ครูของโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ได้รับพระราชทานยศมหาดเล็กทั้งหมด  มีเครื่องแบบเช่นเดียวกับข้าราชการกรมมหาดเล็ก  เวลาปกติแต่งกายนุ่งผ้าม่วงสวมเสื้อราชปะแตนติดดุมเงินตราพระมามงกุฎ  ที่คอติดแผ่นคอเช่นเดียวกับข้าราชการกรมมหาดเล็ก  ถึงสมัยที่โอนไปสังกัดกระทรวงธรรมการนั้น  ครูเปลี่ยนจากแผ่นคอไปติดอินทรธนูขวางบ่าแบบข้าราชการพลเรือน  เมื่อครูถูกปลดออกจากราชการแล้ว  ในยุคนี้เวลาครูกำกับนักเรียนไปในงานต่างๆ จึงต้องสวมชุดสากลซึ่งไม่เข้ากับเครื่องแบบนักเรียนที่ได้พระราชทานไว้  ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไม่นาน  พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ  อิศรเสนา) ในเวลานั้นได้นำความเรียนหารือคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยขอให้มีเครื่องแบบครูขึ้นใหม่  เมื่อคณะกรรมการอำนวยการฯ ให้ความเห็นชอบเครื่องแบบครูที่อิงมาจากเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน  แต่เปลี่ยนอินทรธนูเป็นแผ่นคอเช่นเดียวกับแผ่นคอมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ ๖ หากแต่ไม่มีการประดับดาวหมายยศคงติดแต่อักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร.พระมหามงกุฎที่กึ่งกลางแผ่นคอทั้งสองข้างตามที่พระยาภะรตราชานำเสนอแล้ว  จึงได้บรรจุลงไว้ในข้อบัคับกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย  และได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระบรมราชูปถัมภกวชิราวุธวิทยาลัยทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทและมีพระบรมราชานุญาตแล้ว  ครูวชิราวุธวิทยาลัยจึงได้ใช้เครื่องแบบนั้นสืบมาตราบจนทุกวันนี้

ส่วนเครื่องแบบนักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งรวมถึงนิสสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยนั้น  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงกำหนดไว้ในพระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนัก ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) และได้มีการเปลี่ยนแปลมาเป็นลำดับ  จนเมื่อรวมโรงเรียนในรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนอักษรหมายนามโรงเรียนที่แผ่นคอเป็นอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร.พระมหามงกุฎ ซึ่งได้ช้สืบมาตราบทุกวันนี้
ส่วนเครื่องแบบนิสสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต้นกำเนิดมาะร้อมกันนั้น  ต่อมาในสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีการแก้ไขไปจนเกือบจะไม่เหลือเค้าเดิม  ที่มีเหลืออยู่ก็คือดุมเงิน  แต่เปลี่ยนจากตราพระมหามงกุฎไปเป็นพระเกี้ยว  จะว่าไปแล้วก็อยากจะขอฝากคุณUp ช่วยนำเสนอผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้ทราบด้วยว่า  เครื่องแบบนิสิตจุฬาฯ แต่เดิมมานั้นเป็นเครื่องแบบข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนักสังกัดกรมมหาดเล็ก  ซึ่งคำว่ามหาดเล็กนั้นคุณUp คงทราบดีว่า  ศักดิ์ศรีของมหาดเล็กในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นสำคัญกว่าข้าราชการพลเรือนเพียงไร  แล้วมาเปลี่ยนเป็นหัวมังกุท้ายมังกรเช่นทุกวันนี้ดูแล้วออกจะประหลาดไปสักนิด  ที่ผมเรียนว่าประหลาดก็คือ  แผ่นคอนั้นเดิมสีน้ำเงินแก่คาดแถบเงิน อันเป็นสีสัญลักษณ์ของกรมมหาดเล็ก  ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น ท่านให้สอดสีหมายกรมไว้ใต้แถบเงินเพื่อให้ทราบสังกัดและติดเครื่องหมายประจำการเป็นโลหะสีเงิน  ส่วนข้าราชการกระทรวงวังท่านให้ใช้แผ่นคอพื้นดำคาดแถบทองติดเครื่องหมายสีทอง  แต่ในกรณีของจุฬาลงกรณ์ฯ ในปัจจุบัน  แผ่นคอพื้นสีหมายคณะคาดแถบทองแต่ติดพระเกี้ยวเงิน  จะเป็นไปได้ไหมที่จะเปลี่ยนแผ่นคอเป็นสีน้ำเงินคาดแถบเงินเช่นของเดิม  แล้วสอดแถบสีหมายคณะลงใต้แถบเงิน  ผมว่าจะดูงามกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้  แล้วก็จะไม่เป็นการแบ่งแยกด้วย  ลองดูที่แถบเสื้อครุยของจุฬาฯ ก็ได้ครับ  แถบสีหมายคณะและระดับชั้นปริญญานั้นเป็นแถบเล็กอยู่ที่กลางสำรด  ซึ่งก็ดูงดงามดี
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง