เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 18710 แบบเรียนของโรงเรียนมหาดเล็ก-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 มี.ค. 06, 09:41

 ได้แต่หวังว่าบรรยากาศของงาน ๙๐ ปีจุฬาฯ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่น่าจะได้เฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เป็นพิเศษนั้น บรรยากาศจะไม่เป็นอย่างปีนี้ครับ

...เห็นคำว่า "สองยาม" ขอบคุณเทาชมพูแล้วก็สะท้อนใจครับ เพราะที่บ้านผมใช้คำนี้ตลอดเมื่อหมายถึงเที่ยงคืน แต่หลังๆ มาผมพูดกับเพื่อนตลอดจนน้องๆ ไม่ค่อยจะเข้าใจเพราะคำคำนี้ เพื่อนๆ และน้องๆ ทั้งหลายที่ได้ยินมักจะหันมาถามผมว่า "ตีสองเหรอ??"
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 มี.ค. 06, 09:41

 ขอแก้ไข "ขอบ" ในความเห็นที่ ๑๕ เป็น "ของ" ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 มี.ค. 06, 19:34

 เพิ่งรู้ว่า สองยาม เป็นอีกคำหนึ่งที่ตกหล่นไปกับกาลเวลาเสียแล้ว

เอาเถอะ ยังดีที่เหลือคำว่า "ตีสอง" อยู่   ไม่กลายเป็น
"2 a.m. เหรอ?"
บันทึกการเข้า
(*-*)...βĬĠZ
อสุรผัด
*
ตอบ: 6

มัด ทะ ยม ต้น


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 มี.ค. 06, 19:49

 ชอบข้อมูลเก่าๆ ของจุฬาฯ มากๆครับ
ขอบคุณรุ่นพี่ทั้งหลายที่นำความรู้มาเผยแพร่ครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 10:21

 เพิ่งทราบเหมือนกันว่า เดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่เขาไม่เข้าใจว่า สองยาม แปลว่า 24.00 น. เสียแล้วเหรอ?

คำว่า ยามหนึ่ง สามยาม นั้นหายไปจากภาษานานมากแล้ว นี่สองยามก็จะตามไปเสียแล้วหรือ?

ตอนเช้า ดูเหมือนตอนนี้คนรุ่นใหม่ก็พูดกันลงเป็นระเบียบเดียวกันหมด คือ 06.00 น. (โบราณเรียก ย่ำรุ่ง) ก็เป็นหกโมงเช้า แล้วก็เจ็ดโมง แปดโมง .... ไปโดยลำดับ ก็ดีครับ ไม่สับสน

เพราะเด็กรุ่นผมยังทันได้ยินอีกระบบหนึ่ง ที่นับตั้งแต่หกโมงเป็นศูนย์คือจุดตั้งต้น (แต่หกโมงเองไม่เรียกศูนย์โมง) แล้วเรียกเจ็ดโมงว่า โมงเช้า แปดโมงว่า สองโมงเช้า ... จนถึงสิบเอ็ดโมงก็เรียกห้าโมงเช้า พรือเพล เที่ยงก็เป็นเที่ยง ระบบสองระบบนี้ถ้าคนพูดคนฟังไม่เข้าใจกันก็อาจสับสนได้มาก เพราะพอพูด "สี่โมงเช้า" คนพูดก็หมายความว่าสิบโมง คนฟัง ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ อาจนึกว่าเป็นตีสี่ คือ 4 am. แต่คนรุ่นเก่าเขาจะเรียก 04.00 น. ว่าตีสี่ จะไม่เรียกสี่โมงเช้าเด็ดขาด
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 14:07

 เพิ่งรู้นะครับ ว่าทางภาคกลางก็เรียก 8.00 น. ว่า สองโมงเช้า
นึกว่าเป็นภาษาของคนอีสานคนบ้านนอกเสียอีก
เพราะเมื่ีอก่อนผมอยู่ที่บ้าน(ที่อุบล)ก็พูดแบบนี้กันประจำ
พอเริ่มเข้าโรงเรียนเข้ามหาวิทยาลัยก็มีเพื่อนๆหรืออาจารย์ พูดว่า 7.00 น. คือ เจ็ดโมงเช้า
ถ้าพูดว่า หนึ่งโมงเช้่า เขาไม่จะเข้าใจกัน เลยกลายเป็นว่าเราไม่กล้าพูดอีกเลยเวลาคุยภาษากลางกับเพื่อนๆที่ไม่ใช่คนพื้นถิ่น
บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 14:23

 ภูมิใจจัง
ขนาดเราต้องอ่านประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย เพื่อที่จะใช้ตอบคำถามรุ่นพี่ในห้องเชียร์ ยังไม่ทราบถึงขนาดนี้เลย
ขอบคุณนะค่ะ


(อิ อิ กลายเป็นเรื่องการเรียกเวลาไปแล้ว)
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 16:49

 ทางภาคกลางก็ "เคย" เรียก 8.00 น.ว่าสองโมงเช้า ครับ

คือภาคกลางรุ่นเก่าๆ ครับ เดี๋ยวนี้ไม่เรียก หรือที่จริง ไม่เรียกมานานแล้วครับ พอๆ กับที่เลิกเรียกหกโมงว่าย่ำรุ่งไปแล้ว

หลักฐานอยู่ในบทร้อยกรองสอนภาษาไทยรุ่นเก่าเก๋ากึ๊ก อยู่ในแบบเรียนเด็กประถมยุคโบราณด้วย ซึ่งผู้แต่งตำรากระทรวงศึกษาฯ ก็คงเป็นคนกรุงเทพฯ หรือคนภาคกลางนี่แหละ แต่เป็นคนสมัยโน้น ยังเรียก ย่ำรุ่ง หนึ่งโมง สองโมง ฯลฯ

บทกาพย์ยานีสอนเด็กอันนี้ ผมก็จำไม่ได้หมด แต่ที่จำได้เป็นดังนี้

...จงเทียบ เปรียบเอาว่า เราเป็นนา ฬิกาเอง
เข็มบ่ง ชี้ตรงเผง  ... (จำไม่ได้)
ย่ำรุ่ง สะดุ้งตื่น วางหน้าชื่น ลุกขึ้นพลัน
อาบน้ำ ซ้ำสีฟัน  หมดโสมม ผมเผ้าหวี
โมงเช้า เฝ้าแต่งตัว เครื่องเรียนทั่ว ทุกอย่างมี
เตรียมไป ให้ทันที ที่เพื่อนเรา เข้าเรียนกัน...

ซึ่งแปลว่าตามแบบเรียนรุ่นนี้ เจ็ดโมงยังเรียกว่าโมงเช้าอยู่
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 18:04

 ออกตัวก่อนว่าผมเกิดไม่ทันอาขยานรุ่นเก๋ากึ้กของคุณนิลกังขาครับ แต่คุณแม่ชอบท่องอาขยานยุคนั้นให้ฟังเสมอ ตั้งแต่เด็กชนิดที่ว่าฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ก็นับเป็นโชคดี นับเป็นวิธีปลูกฝังให้มีใจรักในร้อยกรองแต่นั้นมา

มีแม้กระทั่งร่ายยาวมหาเวสสันดรฯ บทที่ว่า "โสโพธิสัตโต ปางนั้นสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ตรัสได้ทรงฟังพระลูกน้อย..."  ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่ามาจนถึงรุ่นผมเรียนมัธยม อาจารย์สอนภาษาไทยท่านหนึ่งจะยังให้บังคับให้ท่องร่ายยาวบทนี้ เป็นที่โอดครวญของนักเรียน (ยุคใหม่) อย่างมาก แถมมีสอบด้วย ผิด ๑ คำ หัก ๑ คะแนน พอมาเล่าให้ที่บ้านฟัง คุณแม่ก็พูดทันทีว่าสงสัยครูภาษาไทยที่โรงเรียนนั้นจะเรียนหลักสูตรเดียวกับแม่

เรื่องเวลานั้น ตอนเด็กๆ ผมได้ผู้ใหญ่ยินเสมอครับ คำว่าโมงเช้า สองโมงเช้า แต่รุ่นผมไม่มีใครกล้าใช้ ตกยุคไปเพราะเดี๋ยวเพื่อนล้อว่าแก่...

ขอยืนยันว่าคำว่า "สองยาม" นั้นใกล้ถึงกาลเข้ามาทุกที ลองถามเด็กๆ สมัยใหม่ได้ เชื่อว่าทุกคนจะทำหน้าไม่ค่อยแน่ใจว่าจะตอบว่าคำนี้แปลว่าตีสองหรือเที่ยงคืนดี

ขออนุญาตเติมคำในช่องว่าของคุณนิลกังขาว่า

เข็มบ่งชี้ตรงเผง...พึงเพ่งไว้ให้ทุกวัน
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 มี.ค. 06, 18:07

 ขอแก้ไข "ผมได้ผู้ใหญ่ยินเสมอครับ" เป็น "ผมได้ยินผู้ใหญ่พูดเสมอครับ"
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 06:46

 ที่บ้านก็ยังเรียก โมงเช้า สองโมงเช้าค่ะ

แต่ที่บ้านคุณยายที่พัทลุงเรียกเป็น ตี ค่ะ ไม่ว่าเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน เช่น สองโมงเช้า (หรือแปดโมงเช้าที่นิยมเรียกกัน) ก็จะเป็น ตีแปด บ่ายโมง ก็ตีหนึ่ง ค่ะ
บันทึกการเข้า
Dr Yu
อสุรผัด
*
ตอบ: 10

นักวิชาการอิสระ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 17:19

 ทำไมสมัยก่อนถึงใช้คำเรียกว่า "นิสสิต" ครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 29 มี.ค. 06, 17:58

 เรื่องคำว่านิสิต โปรดดู

 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.ph
p?Cid=19&Pid=17235
บันทึกการเข้า
ออกญาธรรมาธิกรณ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 24


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 31 มี.ค. 06, 22:24

 ขอบคุณครับผม
บันทึกการเข้า
อากง
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 02 เม.ย. 06, 00:53

 ประท้วงข้อมูลใน ความเห็นเพิ่มเติมที่ 5 น่าจะผิดตรงที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกลายเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยครับ

โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เกิดในสมัยรัชกาลที่ 7 หาได้ที่เราเข้าใจผิดคิดเป็น ร6 ท่านสร้าง แต่เป็นการรวมกันระหว่่าง โรงเรียนราชวิทยาลัย กับ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในกรุงเทพและเชียงใหม่

รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าสถาปนาให้เป็นอนุสรณ์ กับรัชกาลที่ 6 ที่ทรงตั้ง โรงเรียนมหาดเล็กหลวง และ นึกถึงพระคุณแห่งพระบรมราชชนกที่ทรงสถาปนาโรงเรียนราชวิทยาลัย แต่ด้วยเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประกอบกับเงินในท้องพระคลังได้ร่อยหรอ จึงทรงยุบรวมโรงเรียนและตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่ว่า "โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย"

ปัจจุบันได้สถาปนาโรงเรียนราชวิทยาลัยใหม่ได้รับพระราชาทานนามว่า "โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย  ในพระบรมราชูปถัมภ์" ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง