เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 18661 แบบเรียนของโรงเรียนมหาดเล็ก-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


 เมื่อ 24 มี.ค. 06, 18:44


ด้วยเหตุว่าวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๙ นี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีอายุ ๘๙ ปีนับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ ประจวบเหมาะกับการที่ผมได้พบภาพหนังสือแบบเรียนโรงเรียนมหาดเล็ก ซึ่งมีวิวัฒนาการต่อมาเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน เลยขออนุญาตนำภาพหนังสือเรียนโรงเรียนมหาดเล็ก และเอกสารอื่นๆ ที่น่าสนใจซึ่งเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยมาให้ชมกันครับ

......

เล่มแรกคือ รเบียบการโรงเรียนมหาดเล็ก

หนังสือเล่มนี้ มหาวิทยาลัยได้นำมาพิมพ์โดยวิธีถ่ายจากต้นฉบับ เผยแพร่เป็นหนังสือที่ระลึกในโอกาสฉลอง ๘๔ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๕ ปีก่อน
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 18:45


โคลงพระราชนิพนธ์เฉลิมหลักสูตรของโรงเรียนฯ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 18:49


บรรทึกจัดการโรงเรียนมหาดเล็ก รัตนโกสินทรศก ๑๒๖

เข้าใจว่าหนังสือรายงานกิจการประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพิมพ์เผยแพร่อยู่ทุกปีนั้น น่าจะมีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากบรรทึกจัดการแต่ครั้งกระนั้น
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 18:51


ดูชื่อตำราแล้วน่าเรียนทีเดียว "ลำดับพระบรมราชวงษ์" ชาวเรือนไทยคงอยากลงเรียนวิชานี้กันอยู่ไม่น้อย
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 18:55


วิชานี้ก็น่าเรียนครับ ..."ราชาศัพท์"

เมื่อเห็นพิจิตรเรขาตราพระเกี้ยวที่พิมพ์อยู่บนหนังสือแต่ละเล่มแล้ว รู้สึกว่าจะมีหลากหลายลักษณะ ทั้งองค์พระเกี้ยว พระเขนยรอง และรัศมีก็แตกต่างกันไป ดูงามแปลกตาดีเหมือนกัน ที่สำคัญคือผมรู้สึกว่าตราพระเกี้ยวในยุคก่อนนั้นมองดูเป็นสามมิติมากกว่ารูปตราพระเกี้ยวในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 19:12

 โรงเรียนมหาดเล็กในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง วิชาเรียนก็คือวิชาอย่างมหาดเล็กของพระเจ้าแผ่นดินพึงเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นราชาศัพท์ การขานพระนามเจ้านาย กิริยามารยาทในราชสำนัก การตั้งเครื่องเสวย การทำหนังสือราชการ ฯลฯ

การรับราชการสมัยก่อนส่วนมากก็เห็นจะเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาดเล็ก เพราะมหาดเล็กคือผู้ได้ใกล้ชิดเบื้องพระบรมบาทยุคล มีโอกาสได้เรียนรู้พระราชบริหารของพระมหากษัตริย์ จนรู้พระราชอัธยาศัยและพระบรมราโชบาย พระมหากษัตริย์ก็ทรงไว้วางพระราชหฤทัยได้สนิท เป็นเหตุให้ทรงมอบหมายให้ออกไปปฏิบัติบริหารราชการในแขนงต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา "โรงเรียนมหาดเล็ก" ให้เป็น "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ผมขอเรียกว่าเป็นทุติยราชกรณียกิจเพื่อการศึกษาของชาติที่ยิ่งใหญ่แห่งรัชสมัย เพราะเมื่อเสวยราชย์แล้วนั้น ปฐมราชกรณียกิจเพื่อการศึกษาเห็นจะเป็นการสถาปนา "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง" ซึ่งต่อมาคือวชิราวุธวิทยาลัย ครั้นอีก ๒ วันต่อมา จึงทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ

ต่อมาอีก ๖ ปี จึงทรงประดิษฐานขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 19:15


เอกสารแผ่นนี้ไม่ใช่ยุคโรงเรียนมหาดเล็ก แต่เป็นข้อบังคับหอสมุดกลาง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในยุคที่สมาชิกเรือนไทยหลายท่านในที่นี้อาจยังได้ทันเรียนทันเห็นกัน
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 21:04

 ขอบคุณครับคุณ UP
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 22:22

 ขอบพระคุณครับ น่าสนใจจริงๆ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 08:31

 ขอบคุณค่ะ
ข้อบังคับหอสมุดกลาง - ไม่เคยเห็นค่ะ  สมัยอ.สุกิจเป็นบรรณารักษ์  ยุคไหนนะนี่
มีกระทู้ที่เกี่ยวข้องกัน เลยขอทำลิ้งค์ให้เข้าไปอ่าน
 http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K4188385/K4188385.html

ความเห็นที่ ๖ ข้อ ๗ ผิดค่ะ
7. เมื่อก่อนชื่อ "จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า" กอน " เฉย ๆ แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะเขาบอกว่า ถ้าไม่อย่างนั้นก็ต้องอ่าน " กะ-ระ-นะ " ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ -_-"

การใส่การันต์ ไม่ได้ทำในสมัยจอมพล ป.  ทำในสมัยนี้ละค่ะ
แต่จำไม่ได้ว่ารัฐบาลชุดไหน  
เหตุผลก็ไม่ใช่อย่างที่บอกข้างบนนี้  แต่เป็นเพราะเมื่อแรกตั้ง  ชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการันต์ ค่ะ
หลังจากใช้แบบไม่การันต์มาหลายสิบปี  ก็ย้อนกลับไปมีการันต์อีกครั้งเหมือนในชื่อเริ่มแรก

ขอถามสมาชิกเรือนไทยที่ผ่านรั้วสีชมพูมา  สมัยคุณเรียน  จุฬาฯ ใส่การันต์แล้วหรือยังคะ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 09:29

 หลักฐานเรื่องชื่อของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรากฏในกฎหมายจัดตั้งองค์กร มีดังต่อไปนี้ครับ

๑. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๘๖

๒. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๖

๓. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๑

๔. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๗

๕. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙

๖. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๐๒

๗. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๗๖ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕

๘. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๒๒

จะเห็นได้ว่าสะกด "จุฬาลงกรณ" แบบไม่มีการันต์ ในระหว่างการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติฉบับที่ ๔, ๕ และ ๖ ซึ่งคงอยู่ในระหว่างประมาณพุทธศักราช ๒๔๙๗ ถึง ๒๕๑๔

อย่างไรก็ดี ขณะนี้ ผมยังไม่สามารถค้นประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๗๖ มาอ่านได้ จึงไม่ทราบว่าในประกาศดังกล่าวใช้ว่า "จุฬาลงกรณ" หรือ "จุฬาลงกรณ์"

แต่สรุปได้แน่ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแบบมีทัณฑฆาตบน ณ เณร นั้น เพิ่งกลับมาเติมใหม่เมื่อประมาณ ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ใช่ยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นแน่

สมัยผมเรียนก็มีการันต์เรียบร้อยแล้วแน่นอน แต่น่าแปลกที่ป้ายสำนักอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ริมถนนพญาไทในสมัยที่ผมเรียนอยู่นั้นยังไม่มีการันต์เลยครับ สังเกตได้ว่าเพิ่งมาเติมทัณฑฆาตบน ณ เมื่อสองสามปีมานี้เอง
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 09:34

 ส่วนคำกล่าวที่ว่ารัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม "เติม" ทัณฑฆาตนั้น ผมเข้าใจว่าผู้กล่าวเช่นนั้นสับสน จึงกลับข้อเท็จจริงให้กลายเป็นตรงกันข้ามเสียสิ้นเชิง

แท้จริงแล้วน่าจะเป็นยุคที่ "ตัด" ทัณฑฆาตเสียมากกว่า เพราะพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ฉบับที่ ๔ นั้นออกในพุทธศักราช ๒๔๙๗ ซึ่งเป็นสมัยที่จอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 09:36

ตามที่คุณ UP ยกมา ก็แสดงว่าชื่อมหาวิทยาลัย มีการันต์บ้างไม่มีการันต์บ้าง สลับกันเป็นช่วงๆ
การันต์มาก่อน  ต่อมาการันต์หายไป  และก็กลับมามีการันต์อีก

ป้ายสำนักอธิการบดีคงทำขึ้นในยุคไม่มีการันต์    พอการันต์กลับมา ป้ายก็เลยตกยุค ไม่ทันปรับเข้ากับยุคสมัย

ยุคคุณ UP กับคุณจ้อ  เป็นยุคการันต์กลับมาแล้ว
ส่วนยุคคุณ นกข. มีหรือเปล่าไม่ทราบ  ถ้ามีการันต์ก็น่าจะเป็นว่า"การันต์ รีเทิร์นส์"ยุคประมาณนี้
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 11:21

 ดีใจ ยังนับได้ว่าหนูอยู่ยุคเดียวกับน้องจ้อค่ะ อาจารย์    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 มี.ค. 06, 07:49

 เมื่อวานไปงานครบรอบสถาปนาจุฬาฯครบ ๘๙ ปี  ไปถึงตอนหกโมงเย็น    พบด้วยความอัศจรรย์ใจว่าถนนหน้ามาบุญครองว่างเสียยิ่งกว่าเวลาสองยาม    
รถราวิ่งกันฉิวลิ่วโล่ง   เลี้ยวเข้าสยามสแควร์  ผู้คนเดินกันโหรงเหรง  มีที่จอดรถเหลือว่างหลายที่ตามลานจอด  
เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของเย็นวันอาทิตย์ ปกติแน่นเอี้ยดจนบางทีเขาปิดไม่ให้รถเข้า

งานที่จุฬาฯ เงียบเหงา  ผู้คนมาน้อยมากยิ่งกว่าปีไหนๆ    ดิฉันไปถึงตอนหกโมงเกือบจะเปลี่ยนใจกลับบ้านเสียแล้ว
เพราะนึกว่าไม่มีเพื่อนฝูงมาแน่ๆ
พบว่ามาไม่กี่คน  ปกติรุ่นเราจะสปิริตแรง  งานคืนสู่เหย้ามักจะมากันเต็มสามโต๊ะ

เข้าใจว่าส่วนใหญ่ไม่มาเพราะเกรงรถติด เนื่องจากได้ข่าวว่ากลุ่มพันธมิตรไปตั้งขบวนที่สนามกีฬาแล้วเดินไปจนถึงเอมโพเรียม
ในตอนกลางวัน
แต่ถ้ามีเหตุยืดเยื้อถึงเย็น หรือเปลี่ยนเวลามาเป็นเย็น   การจราจรจะติดขัดอย่างหนัก

อีกกลุ่มที่ไม่มา ก็อาจเป็นได้ว่าไปรวมขบวนกับเขาเสียแล้ว

ในงานนี้ไม่เห็นนิสิตเก่าที่อยู่ในวงการเมืองปัจจุบันเลยละค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 19 คำสั่ง