เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7231 คำว่า ร้อนตับจะแตก มีที่มาอย่างไรคะ
just somebody
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


 เมื่อ 20 มี.ค. 06, 14:00

 อยากทราบว่า คำว่า ร้อนตับจะแตกมีที่มาจากไหน ทำไมต้องเป็นตับด้วย

ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 14:31

 "ร้อนตับจะแตก" คิดว่าเป็น การพูดเกินจริงเพื่อให้เห็นภาพพจน์ ที่เรียกว่า "อติพจน์" (hyperbole)
[ hyper (prefix) = above, more than]
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 18:17

 จะมาจากเวลาทำอาหารหรือเปล่าครับ
จำได้ว่าถ้าต้มน้ำเดือดมากเกินไป ตับจะกระด้าง

แต่ไม่เคยต้มเองซะด้วยสิครับ เลยไม่แน่ใจว่าจะแตกหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
ศนิ
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95

- The Ultimate Aim of Education is the Development of Charactor -


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 มี.ค. 06, 19:37

 ขอเสนอ คำว่า ร้อนตับแลบ อีกคำนึงค่ะ
ไม่ทราบว่าร้อนขนาดไหน ตับถึงจะแลบออกมา    
บันทึกการเข้า
111
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 เม.ย. 06, 16:45

 ใช่มาจากตุ๊กแกรึเปล่า ที่ร้องตุ๊กแกๆเรียกงูมากินตับ (เอ๊ะ !! นั่นมันตับแก่ ไม่เกี่ยวกันเนอะ)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ธ.ค. 11, 02:56



        เข้าใจเองมานานแล้วว่า  ตับ ที่แตกเพราะความร้อน  คือ ตับของใบจากที่ใช้มุงหลังคา

เมื่อต้องมาเจอกับแสงแดดที่แผดเผา  ก็สิ้นสภาพเพราะความกรอบแห้ง

ที่ว่า ตับแลบ  ก็คือ ตับหมดสภาพการใช้ก็ยุบตัวลงจนสามารถเห็นได้ชัด  ไม่เป็นส่วนเดียวกับหลังคาจาก

ต้องรื้อออกมาเป็นตับ  แล้วมุงใหม่


        นายโหมด  อมาตยกุลใน "๓๑๑ ปี สกุลอำมาตย์ และ ๗๓ ปีแห่งการพระราชทานนามสกุล อมาตยกุล ๒๕๒๙" 

ได้เล่าเรื่องบ้านเรือนลักษณะต่าง ๆสมัยรัชกาลที่ ๓ - ๔ ไว้น่าฟังมาก

เสาชานบ้านที่ตอหม้อ ที่ท่านเรียกว่า ตะหม้อ ทำจากต้นมะพร้าวก็ต้องเปลี่ยนทุกปี

ยุ้งข้าวของคุณตาและบิดาของนายโหมด หลังคาจาก  ฝาไม้ไผ่สับเป็นเรือนทาดินกับขี้ควาย

คุณน้าพระกลิ่นบิดาบุญธรรม  มียุ้งข้าวอยู่ในสวน ข้าวเปลือกนั้นส่งมาจากบ้านสวนมาสีที่ใต้ถุนหอนั่ง


จากนี้จากพจนานุกรมมติชนหน้า ๒๒๖ บอกไว้ว่า 

๒. น.  ไม้ตระกูลปาล์ม  ใบคล้ายมะพร้าว  มักขึ้นริมน้ำกร่อย
นำใบมาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคา

น้อมรับความเห็นจากสหายทุกท่านด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ธ.ค. 11, 07:47

คุณวันดี กล่าวถึงใบตับจากนั้นแม่นแท้

คำว่า "แลบ ก. เหลื่อมหรือทําให้เหลื่อมออกจากที่เดิม (มักใช้แก่ของแบน ๆ)  เช่น แขนเสื้อชั้นในแลบ แลบลิ้น; เป็นแสงแวบ ๆ ออกไป เช่น
 ฟ้าแลบ ไฟแลบ"

ยังมีความร้อนอีกอาการหนึ่งที่เคียงกัน "ร้อนจนตับแตก" ซึ่งความหมายนี้ให้ตัวอย่างที่ชัดกว่า คือ ความร้อนแผดเผาไปที่ใบจาก จนเกิดอาการกรอบและม้วนตัว เมื่อหลาย ๆ ตับจาก เกิดอาการม้วนตัวพร้อม ๆ กันเนื่องจากความร้อน ก็จะเกิดเสียงดัง กร๊อบ แกร๊บ ๆ  ๆ บนหลังคาจากแดดเผา คนโบราณจึงเรียกอาการนี้ว่า "ร้อนจนตับแตก" คือ หมายถึง อากาศและแดดร้อนมากจนตับจากแตก แสงลอดถึงพื้นเรือนได้หากตับจากพันใบน้อยชั้นเกินไป

การเย็บจากจะให้วัสดุเย็บคือ "คล้า" ที่มีความเหนียวสูง ขายเป็นฟ่อน ยาวสองเมตรกว่า จับรวมกันเป็นฟ่อนมัดรวมกัน ตอนเด็ก ๆ เห็นประจำด้วยคนแถบแม่น้ำบางปะกงต่างเย็บตับจากขายกันเนือง ๆ ตัวโครงไม้ทำด้วยไม้ประเภทหนึ่ง ออกสีลูกหว้าถึงดำ มีความเหนียวและยืดหยุ่นดีไม่แพ้ไม้ไผ่


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ธ.ค. 11, 08:35

นอกจากตับจาก ยังมีอีกหลายตับ

ตับ น.ไม้สําหรับหนีบปลาหรือไก่เป็นต้นปิ้งไฟ; เรียกของที่ผูก ตั้ง หรือวางเรียงกันเป็นแถว เช่น ตับจาก ตับพลุ ตับลูกปืน; ลักษณนามเรียกของที่เรียงกันเป็นแถว เช่น ปลาย่างตับหนึ่ง ปลาย่าง ๒ ตับ.

ตับจากแตกได้ได้ฉันใด ตับปลาย่างก็อาจแตกได้ฉันนั้น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ธ.ค. 11, 08:53

คุณเพ็ญชมพู ขยายความเรื่องตับ ก็จะเสริมให้เพิ่มด้วยว่า ในทางการดนตรีไทยนั้น ก็มี "เพลงตับ"

เพลงตับ คือ การนำเพลงไทยหลาย ๆ เพลง นำมาตีเพลงต่อ ๆ กัน เป็น ๑ ชุด เรียกว่า "เพลงตับ" และตั้งชื่อเสียใหม่ ทำนองว่าหากตีเพลงตับนี้ต้องมีเพลงอะไรประกอบเข้าด้วยกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ธ.ค. 11, 09:01

ชวนคุณหนุ่มเสวนาเรื่องที่มาของสำนวน "ตับ"

ลำดับแรก "ล้วงตับ"

มาจากไหน ?

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 ธ.ค. 11, 09:12

ชวนคุณหนุ่มเสวนาเรื่องที่มาของสำนวน "ตับ"

ลำดับแรก "ล้วงตับ"

มาจากไหน ?

 ยิงฟันยิ้ม

คงมาจากความสัมพันธ์ระหว่างงูเขียว กับ ตุ๊กแก หรือเปล่าเอ่ย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 ธ.ค. 11, 09:16

สัมพันธ์กันอย่างไร        อยากรู้ไซร้ขยายความ
ใครล้วงใคร่ขอถาม        ล้วงทำไมให้สงกา

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 ธ.ค. 11, 09:25

สัมพันธ์กันอย่างไร        อยากรู้ไซร้ขยายความ
ใครล้วงใคร่ขอถาม        ล้วงทำไมให้สงกา

 ยิงฟันยิ้ม

อันว่างูนั้นล้วงกินตับ   ตุ๊กแกงับปากอ้าน่าสงสัย
เท็จจริงล้วนน่าฉนงพิกลนัย   งูเข้าไปกินอาหารจากกายา  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 ธ.ค. 11, 09:56

ตุ๊กเอยตุ๊กแก                             ตับแก่แซ่ร้องก้องบ้าน
เหมือนเตือนหูให้งูรู้อาการ                น่ารำคาญเสียแท้แท้แซ่จริงจริง
อันความลับเหมือนกับตับที่ลับแน่         อย่าตีแผ่ให้กระจายทั้งชายหญิง
ควรจะปกปิดไว้อย่าไหวติง               ที่ควรนิ่งนิ่งไว้ในใจเอย

นายทัด  เปรียญ  แต่ง

 ยิงฟันยิ้ม 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ธ.ค. 11, 07:49

ลำดับที่สอง "กินตับ"

น่าจะมาที่เดียวกับ "ล้วงตับ"  แต่ตับในที่นี้มีความหมายมากกว่า "ความลับ" อย่างความหมายเป็นนัยในเพลงที่ว่า พาไปกินตับ คนฟังคงไม่ได้นึกถึงว่าพาไปกินตับ (ที่เป็นอาหาร) อย่างเดียว

ความหมายเป็นนัยนี้แตกแขนงไปมากมาย อย่างในการ์ตูนของคุณชัย ราชวัตร ในไทยรัฐฉบับวันนี้เอง (วันอาทิตย์ที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔)

ลองดูซิว่า "ตับ" มีความหมายกระไรบ้าง

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง