เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 10055 ทำไมต้อง ร้อยเอ็ด เจ็ดย่านน้ำด้วยครับ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 มี.ค. 06, 20:34

 ผมเชื่อว่ามีการถ่ายทอดความคิดระหว่างสองประเทศผ่านความเชื่อทางศาสนานะครับ แต่จะเมื่อไหร่ไม่เคยศึกษาด้วยตัวเองซักทีครับ แหะๆ

เช่น จากข้อมูลในลิงค์ด้านล่างของความเห็นเพิ่มเติมที่ 13 ที่ผมให้ไว้นะครับ

       ในคัมภีร์มหายานของธิเบต เรียงลำดับชื่อ/เขาสัตตบริภัณฑ์ - นายติบอ/ต่างออกไปอีกบ้าง และให้คำแปลดั่งนี้ ๑.ยุคันธร(ทรงแอก) ๒.อิสันธร (ทรงคันไถ ตามเนมิราชชาดกเรียก อิสินธร แปลว่า ทรงฤษี) ๓.กรวีกะ (เขียงเท้า หรือไม้จันทน์ แต่ทั่วไปแปลว่านกที่ชื่อนี้) ๔.สุทัสสนะ (มีทัศนะที่ดี คือน่าดู) ๕.อัศวกรุณะ (หูม้า) ๖.วินายกะ (มารร้าย หรือที่ประชุม) ๗.เนมินธร (ทรงวงกลม หรือกง).

       ส่วนใน ไตรภูมิพระร่วง ลำดับชื่อภูเขานับจากข้างในออกไปข้างนอก แตกต่างออกไปบ้าง คือ ๑.ยุคันธร ๒.อิสินธร ๓.กรวิก ๔.สุทัสสนะ ๕.เนมินธร ๖.วินันตก  ๗.อัสสกัณณะ.




หรือถ้าสมาชิกเรือนไทยท่านใดเดินทางผ่านถนนเยาวราช จะแวะที่วัดมังกรกมลาวาส(วัดเล่งเน่ยยี่) ไปสักการะบูชาพระประธานทั้ง 3 องค์
ซึ่งผมจำชื่อพระพุทธรูปไม่ได้แล้ว แต่เข้าใจว่าเป็นคติเดียวกับที่วัดทิพยวารีที่ซอยทิพย์วารี(วัดกำโล่วยี่)
ซึ่งมีความหมายถึงพระอามิตาภพุทธเจ้า พระศากยมุนีพุทธเจ้า และพระไภสัชยคุรุพุทธเจ้า(องค์เดียวกับพระไภสัชคุรุพุทธเจ้า)
จะลองจดชื่อทั้งไทยและจีนของ "สี่ไต่เทียงมุ้ง" ทั้งภาษาจีนและในวงเล็บมาลองแบ่งกันอ่านดูก็ได้ครับ
เพราะที่ผมจดมาเมื่อหลายปีก่อน ไม่รู้ว่าเอาไปซุกไว้ที่ไหนแล้วครับ จำได้แค่ว่าชื่อเหมือนท้าวจตุโลกบาลที่คนไทยรู้จักทุกองค์ แต่รายละเอียดอาจแตกต่างกันไปได้ครับ



ปล. สมาชิกเรือนไทยอีก 2 ท่านที่ผมมั่นใจว่ามีความรู้เรื่องพุทธศาสนาทางด้านมหายานมาก ช่วงสองสามเดือนมานี้ก็ไม่เห็นเข้ามาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเลย แต่ยังไงก็จะลองเชิญเข้ามาตอบกระทู้นี้ดูครับ


.
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 มี.ค. 06, 23:09

 ในการ์ตูนเคยเห็น

มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ
มหาสมุทรแปซิฟิกใต้
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
มหาสมุทรแอตแลนติกใต้
มหาสมุทรอากติก
มหาสมุทรแอนตากติก
มหาสมุทรอินเดีย
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 มี.ค. 06, 23:19

 เลข 7 สามารถโยงเข้ากับเขาสัตตปริภัณฑ์แล้ว

เลข 108 ...อะไร ๆ ก็ 108 ไม่ว่าจะเป็น ลูกประคำก็จะมี 108 ลูก ทำให้มีการสวดมนต์ได้ครบ 108 จบ หรือมีการใส่บาตร 108 ในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ

แต่เลข 108 ก็มาจากการรวมเอากำลังวันต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ดังนี้

วันอาทิตย์ กำลังวัน 6
วันจันทร์ กำลังวัน 15
วันอังคาร กำลังวัน 8
วันพุธ กำลังวัน 17
วันราหู (พุธกลางคืน) มีกำลัง 12
วันพฤหัสบดี กำลังวัน 19  
วันศุกร์ กำลังวัน 21
วันเสาร์ กำลังวัน 10

รวม ทั้งหมดก็ 108 พอดิบพอดี

แต่ว่าจะเกี่ยวกับ 108 ในความหมายที่แปลว่า มากมายหรือเปล่านี่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 18 มี.ค. 06, 00:56


ขออนุญาถามอ้วยศศิศครับ ว่ามั่นใจหรือเปล่าครับว่าเลขทั้งหมดที่รวมขึ้นมา ไม่ได้เกิดจากการแตกเลข 108 ออกเป็นกำลังวันต่างๆครับ


ปล. นึกถึงคำว่า "ร้อยแปดประการ" หลายอย่างในพุทธศาสนานะครับ
เช่น
มงคล108ประการในรอยพระพุทธบาท ไงครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 มี.ค. 06, 09:28

 ดิฉันสันนิษฐานว่าเจ็ดย่านน้ำมาจากความเชื่อของคนไทย ด้านภูมิศาสตร์โลกโบราณที่เรารู้จากไตรภูมิพระร่วง (ซึ่งมาจากอินเดียอีกที)
หมายถึงทะเลสีทันดรซึ่งหมายความรวมถึงทะเล ๗ แห่ง คั่นเขาสัตบริภัณฑ์ ค่ะ

เจ็ดคาบสมุทร  เป็นสำนวนเกิดขึ้นทีหลัง    เท่าที่จำได้คือประกอบหนังเรื่องซินแบด   ผจญภัยเจ็ดคาบสมุทร  
เพราะในนิทานบอกว่าซินแบดเดินทางไป ๗ ครั้ง  ตามทะเลต่างๆ
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 มี.ค. 06, 17:28

 ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นครับ    
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 11:50

 จำได้ลางๆว่า ลูกประคำ108 ลูก
หมายถึง บาป หรือ ทุกข์ 108 อย่างนี่แหละ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 12:08

 ไปค้นมาแล้ว เป็นโลกีย์108อย่าง
เกิดจาก โลกีย์ 36 * 3  (อดีต ปัจจุบัน อนาคต)

18 = 3 (ดี เลว กลาง) * 6 ช่องสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น ผิว ใจ)
+
18  = 3 (ดี เลว กลาง) * 6 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส คติ)


ปล อันนี้ เป็นเพียงแบบหนึ่ง เท่านั้น แต่ดูน่าเชื่อถือสุด
 http://www.jodo.or.jp/knowledge/syogatu/index1.html  
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 12:24

 อันนี้เป็นอีกตำราหนึ่ง

แบ่งเป็น กิเลส (คิดไปคิดมา อาจดีกว่าคำว่า โลกีย์  ไม่รู้ว่า ควรใช้อะไรเหมือนกัน)
ของ 3 ขั้น

โลกทั่วไป
รูปพรหม
อรูปพรหม




 http://www2.big.or.jp/~yba/QandA/97_6_18.html  
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 16:41

 ซื่อต้าเทียนหวาง ของจีน และจตุโลกบาลของไทยและของแขก เป็นเทพชุดเดียวกันแน่นอนครับ ทางจีนเองก็ยอมรับว่าได้มากจากอินเดียพร้อมๆ กับการรับพระพุทธศาสนา และเทียบกันได้ตรงกันเลยทั้งสี่องค์

กรวีกะของทิเบต ไทยเรียกนกการเวกครับ

ในคติทิเบตมีสิ่งที่เรียกว่า มันดาล่า Mandala คือแผนภูมิจักรวาล วาดเป็นศิลปะรูปแบบต่างๆ สวยงาม ศัพท์ มันดาลา นี้ คือคำเดียวกับที่ไทยเรียกว่า มณฑล นั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 16:44

 คนไทยชาววัดรุ่นเก่าๆ มีคำติดปากว่า กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด แต่กิเลสพันห้านี้จะมีอะไรมั่งก็ไม่รู้นะ ภูมิ ส่วนตัณหาร้อยแปด เห็นจะตรงกับ คห. 22
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 16:56

 ในคติเกี่ยวกับพระเจ้าจักรวรรดิของอินเดีย (ซึ่งไทยรับมา) ก็พูดเหมือนกันว่า จักรพรรดิตามอุดมคติ (ไม่ใช่แต่ผู้ปกครองชนิดที่เป็น Emperor แต่เดี๋ยวนี้ ภาษาไทยเราเอาคำว่าจักรพรรดิมาแปลคำว่าเอ็มเปรอเสียแล้ว) ตามอุดมคตินั้นพระจักรพรรดิต้องทรงมีทั้งคุณธรรมอันยิ่ง และแสนยานุภาพอันยิ่งเหมือนกัน ปราบได้ทั่วทั้งแผ่นดินโลก บารมีของพระองค์ทำให้มีจักรแก้วลงมาประดับบารมี (และของที่ดีราวกะเป็นแก้วอีก 6 อย่าง รวมเป็น 7 เรียกว่า สัตตรัตนะ)

จักรพรรดิ แปลว่าผู้ใช้จักรหรือหมุนจักร (คือจักรแก้วทิพย์คู่บารมีของพระองค์อันนั้นแหละครับ) ให้เป็นไปได้สมหวังตามพระทัย

เมื่อปราบราชาใหญ่น้อยทั้งหลายได้ตลอดหมดทั้งแผ่นดินโลก (ในบางที่ว่าหมดทั้งชมพูทวีป แต่คนอินเดียโบราณก็เหมือนคนจีนโบราณ "ชมพูทวีป" ในไตรภูมิน่ะแปลว่า โลกมนุษย์ทั้งหมด อีกสามทวีป  ทั้งอุตตรกุรุ อมรโคยาน บุรพวิเทห์ นั้น ผมฟังๆ ดูคำบรรยายแล้วเหมือนพิภพมนุษย์ต่างดาวมากกว่าโลกนี้) เมื่อปราบได้ทั้งแผ่นดินแล้ว จะแผ่นดินโลกรึแผ่นดินชมพูทวีปก็เหอะ ก็แปลว่า พระราชอำนาจของจักรพรรดิองค์นั้นปกแผ่ไปทั่วจนสุดปลายแผ่นดินโลก มีมหาสมุทรเป็นแดนทั้งสี่ทิศ คือ ไม่มีดินแดนใดๆ ในโลกที่ไม่อยู่ใต้อำนาจพระองค์

ในสร้อยพระปรมาภิไธยพระเจ้าอยู่หัวหลายรัชกาลในราชวงศ์จักรีนี่เอง ก็มีคำว่า จาตุรนตมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อยู่ ความหมายแน่ๆ นั้นผมเคยรู้ แต่ลืมแล้ว แต่จำเค้าความหมายได้ (ไม่รับรองว่าถูกเป๊ะครับ) ทำนองว่า ทรงเป็นพระจักรพรรดิที่พระราชอำนาจแผ่ไปจนสุดปลายแดนทางทิศทั้งสี่ จาตุรนต แปลว่าบิ๊กอ๋อย เอ๊ยไม่ใช่ มาจาก จาตุร + อนต แปลว่า ปลายทั้งสี่ (ทิศ) ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง