เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 12666 ....คนไทย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 15:48

 จะเปลี่ยนนามแฝงไหมล่ะคะคุณ i'm boring

มันก็มีคำไทยใช้อยู่แล้ว  

ดิฉันจะได้บอกคุณอ๊อฟให้ค่ะ
บันทึกการเข้า
i'm boring
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 15:58

 ขอบคุณครับ ถ้าเป็น "แอม บ้อริ่ง" คงพิลึกน่าดู  ขอเป็นอย่างเดิมแล้วกัน
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 21:24

 ไหนๆจะนิยมไทยทั้งที ก็แปลชื่อ "แอม บ้อริ่ง" เป็นภาษาไทย ได้นี่คะ เช่น คุณคนทำตัวน่าเบื่อหน่าย
บันทึกการเข้า
ศนิ
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95

- The Ultimate Aim of Education is the Development of Charactor -


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 23:18

 จากกระทู้ตั้งต้นนะคะ
ภาษาไทยท้องถิ่นมีเยอะจริง แต่เหตุผลที่ว่าทำไมถึงไม่เรียนกัน
เท่าที่นึกออกตอนนี้คือ
1. โอกาสที่ได้ใช้ในสังคมทั่วไปมีน้อย นอกจากในท้องถิ่นของตน ถ้านอกท้องถิ่นคนก็ฟังไม่ค่อยรู้เรื่องกัน
2. สำหรับคนไทยด้วยกันนั้น ภาษากลางเป็นภาษาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับคนหมู่มาก
ที่จะสามารถสื่อสารให้ทุกคนสามารถเข้าใจได้ตรงกัน
3. ความเป็นสากลของภาษา ภาษาอังกฤษ มีผู้ใช้มาก
เป็นภาษาที่จำเป็นต้องรู้ ไม่ใช่เพราะว่าเห่อไปตามเขา
แต่เพราะป้องกันการเสียเปรียบในหลายๆ แง่

ภาษา สามารถเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆค่ะ
ภาษาท้องถิ่น เป็นภาษาที่บรรพบุรุษสร้างไว้ก็จริง
แต่ไม่ได้หมายความว่า การที่เราจะรับเอาภาษาอื่น
เข้ามาด้วยจะเป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป
อันที่จริง ภาษาที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างไว้
ก็มีที่มาจากหลายๆ ภาษา หลายๆ อิทธิพล
เข้ามาประกอบกันมิใช่หรือคะ

สิ่งที่เราควรกระทำตอนนี้คือ ไม่ทำให้ภาษาเดิมแย่ลงไป
และไม่ปิดกั้นความคิดที่จะเรียนรู้ภาษาอื่นๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 17 มี.ค. 06, 13:45

 พอแวะมาที่นี่ ก็มีคนอื่นแวะมาตอบคำถามจนหมดแล้ว
เห็นด้วยกับคุณศนิครับ
ป.ล. จริง ๆ แล้ว ภาษาถิ่น มีเยอะกว่าที่คุณเอ๋อคุงคิดนะครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
บ้านายคำเก่ง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 52

ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 มี.ค. 06, 11:44

 สรีสวัสสดีแลท่านทังหลาย ข้าม่อนจักมาปล่านแปงคำสะหน่อยแล

สวัสดีครับ เห็นชื่อกระทู้ว่า คนไทย สะดุดตาเลยแวะเข้ามาอ่าน คนไทย(เฉพาะแต่ในบัตรประจำตัวประชาชน)หัวใจล้านนา ดังเช่นผม ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ

ภาษาเป็นตัวแทนของความเป็นเชื้อชาติ ภาษาอยู่ชาติก็อยู่ภาษาสูญชาติก็สูญ อันนี้เป็นความคิดเห็นโดยส่วนตัวนะครับ ผมยังมีความหวังว่าวันหนึ่งอักษรล้านนาที่แผ่นดินล้านนาบ้านผมจะมีคนอ่านออกเขียนได้เพิ่มขึ้น

สำหรับในเรื่องภาษาไทยนั้น แม้ว่าผมจะรักษ์ล้านนาเพียงใดก็ตาม ก็มิเคยรังเกียจที่จะศึกษา เช่นเดียวกับอยากเรียนรู้ภาษาพม่า ลาว จีน และเวียดนาม เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาความเป็นล้านนาให้ถ่องแท้ คิดเล่นๆว่าคงเหมือนร่างกายของเรา ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ใจปารถนา สมองคิด ตาดู หูฟัง มือจับ ส่งต่อกันเป็นทอดๆ เราจะบอกว่าใจนั้นสำคัญที่สุดก็คงมิใช่เหตุผลที่ถูกต้องเสียทั้งหมด หากไม่มีแขนขามือตาหู เราก็คงทำตามใจเราไม่ได้ อันนี้คำพระท่านว่า เดินสายกลาง

ส่วนเรื่องหัวนอกนั้น ก็พอหาประโยชน์ได้บ้าง หากผมหัวล้านนา หัวนอกก็คงจะเป็นหัวไทย ประมาณนี้นะครับ ผมคงจะสารภาพตามจริงว่า ผมก็หัวนอก คนไทย(ผมมักจะเขียนว่า คนไธย มากกว่าตามอักขระล้านนา) มีหัวคิดที่น่าศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองของผม เราเปิดใจรับ แต่ไม่ได้หมายถึงจะเลียนแบบเขา ประโยคที่กล่าวว่า "ประเทศไทยมันล้าหลัง ล้าสมัยมากหรือไง" หากเป็นแผ่นดินล้านนาบ้าง ล้านนาล้าหลังมากนักใช่หรือไม่ กรณีนี้คนล้านนาส่วนหนึ่งก็มักดูถูกความเป็นคนเมืองของตนเอง สอนให้ลูกพูดไทย (ปากไธย) ดูถูกน้ำพริก กลิ่นถั่วเน่า เหม็นสาบปลาร้า แต่จะว่าไปตามจริง การพิสูจน์ความจริงแท้ ย่อมสำคัญกว่า ไม่ว่าจะเป็นไทย ล้านนา หรือกุลลวา(ฝรั่ง) ความรู้สึกภูมิใจและหวงแหนความเป็นชาติของตนเองย่อมมีอยู่แน่นอน วันนี้เขาอาจไม่เห็นค่า เพราะเหตุผล 108 แต่ต้องมีสักวันเขาจะต้องอิ่มตัวกับสิ่งที่เขาชื่นชมอยู่ และหันกลับมามอง มองอย่างสะดุดตา คิดว่าหากเรารักบ้านเมืองเราเป็นแน่แท้ไม่เปลี่ยนหัวใจไปเป็นอย่างอื่น ก็รักษาความรู้สึกนี้ไว้ต่อไป ทำในสิ่งที่เป็นตัวตนของเรา เช่นนี้คงไม่มีใครพรากความเป็นคนไทย คนล้านนา ออกไปจากตัวเราได้ การที่ไปเรียนนอก หัวนอก ใช้ภาษานอก เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล คงจะไม่เกี่ยวกันนัก แม้เราเอง ต่างโอกาส ต่างวัน ต่างสถานที่ ต่างบุคคล ความคิดเราก็เปลี่ยนได้ ผมเห็นว่าอย่างไรเสีย ทำเพื่อส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด จะด้วยวิธีใดก็ตาม แต่มีข้อแม้ว่าวิธีนั้นไม่ได้ยกเลิกความดีงามของมรดกที่บรรพบุรุษเราสร้างไว้

ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 11:27

 >>เพราะเค้าต้องการตำแหน่ง ศ. คงไม่รอให้ ศ. คนเก่าออกก่อน
ดังนั้นจึงพยายามทำผลงานเพื่อจะไปสมัคร ในตำแหน่ง ศ. ที่อื่นต่อไป

อธิบายเพิ่มให้เข้าใจนิดหนึ่ง
ระบบของญี่ปุน ศ จะมีโคต้าจำกัด การที่ รศ จะขึ้นเป็น ศ ในที่เดิมได้ จำเป็นจะต้องให้ ศ คนเดิมเกษียณก่อน  แต่ถ้าย้ายมหาลัย สามารถไปกินตำแหน่ง ศ ของมหาลัยอื่นที่ว่างได้
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 20 มี.ค. 06, 21:11

 คุณเอ๋อคุงตั้งคำถามแบบกระทู้วุ้นกะทิเลยนะคะ

ฟังราวกับเด็กไทยแห่กันไปเรียนต่างประเทศกันหมดง่าย ๆ
เหมือนกับแห่ไปจตุจักรอย่างนั้นแหละ
อีกอย่าง ถ้าได้ขึ้นชื่อว่าไปเรียนแล้ว
เรียนเมืองนอก หรือเรียนเมืองไทย มันก็น่าสนับสนุนทั้งนั้น
เป็นการหาความรู้ ความเจริญใส่ตัว
ไม่ได้ไปประกอบอาชญากรรมนี่นา

ส่วนเรื่องคนทำตัวเป็นเด็กหัวนอก
ดิฉันว่า ไม่จำเป็นต้องเรียนเมืองนอก
ก็เป็นเด็กหัวนอกได้นะ หรือไงคะ
แล้วมันผิดตรงไหนเนี่ย หัวนอก หัวใน น่ะ
ดิฉันว่า มีหลายๆ หัวในสังคมน่าจะดี
จะได้ช่วยกันคิด ช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ต่อไป
เหมือนน้ำในบึงที่มีทางออกสู่แม่น้ำใหญ่
มีน้ำใหม่ไหลเวียนถ่ายเทได้ น้ำในบึงจะได้ไม่เน่าเสีย

ดิฉันก็เห็นมาเยอะนะคะ
นักเรียนนอกที่มีความรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษา
และมีความรู้ลึกซึ้งทางภาษาไทยและสังคมไทย
อย่าเหมารวมเลยค่ะ

คนนะคะ ไม่ใช่วุ้นกะทิ
จะได้ตัดทั้งถาดออกมาหน้าตา รสชาติเหมือนกันหมด
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 22 มี.ค. 06, 02:49

 คุณเฟื่องแก้วคะ
ทำเอาอิฉันนึกอยากกินวุ้นกะทิขึ้นมาเชียว หายากซะด้วยแถวนี้

บ้านายคำเก่งเจ้า
ข้าเจ้าเปิงใจ๋กำอู้บ้านายแต๊ๆ...
"ไม่ว่าจะเป็นไทย ล้านนา หรือกุลลวา(ฝรั่ง)
ความรู้สึกภูมิใจและหวงแหนความเป็นชาติของตนเองย่อมมีอยู่แน่นอน
วันนี้เขาอาจไม่เห็นค่า เพราะเหตุผล 108 แต่ต้องมีสักวันเขาจะต้องอิ่มตัวกับสิ่งที่เขาชื่นชมอยู่
และหันกลับมามอง มองอย่างสะดุดตา"

วันนั้นของอิฉันมาถึงแล้วค่ะ ความรู้สึกว่าตัวเองมี "ราก"
ภูมิใจทุกครั้งที่ได้บอกใครๆ แถวนี้ว่าเป็นคนไทย
ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทยให้เขารู้
ภูมิใจยิ่งไปกว่านั้น ตื้นตันเลยก็ว่าได้ ถ้ามีคนแถวนี้ชื่นชมประเทศไทย
(บางคนแถวนี้เขารู้จักประเทศไทยมากกว่าที่อิฉันคิดว่าเขาจะรู้)

ก่อนหน้านี้ไม่เคยรู้สึก "สำนึกรักบ้านเกิด" มากมายขนาดนี้หรอก
คงชินมังคะ เกิด โต เรียน ทำงาน เช้าจดเย็น ในที่เดิมๆ
กระทั่งวันหนึ่งที่ต้องกลายเป็นต้นไม้ที่โดนย้ายที่ปลูก ไปปลูกในผืนดินอื่น
ดีเหลือเกินที่ยังมี "ราก" ติดต้น ติดตัวไปด้วย
มันช่วยให้ยืนหยัดบนผืนดินอื่นได้ดีขึ้น
ยืนหยัดเพื่อรอวันย้ายกลับมาอยู่ในผืนดินเดิม
(กลับมาพร้อมกับเรื่องราวที่ดูดซับไว้เพื่อมาเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนดินเดิมของตัวเอง)

สำนวนนิทานไปหน่อยนะคะ แต่ตอนนี้อิฉันรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
ขอสารภาพว่าก่อนหน้านี้เคยนึกค่อนคนที่บอกว่ารักประเทศนักหนา
แต่พอความรู้สึกนี้เกิดกับตัว...ไม่มีคำพูดอื่นอีกแล้วที่จะอธิบายได้

อย่างที่บ้านายคำเก่งว่าไว้แหละค่ะ
"ต้องมีสักวันเขาจะต้องอิ่มตัวกับสิ่งที่เขาชื่นชมอยู่ และหันกลับมามอง มองอย่างสะดุดตา"

ดูเหมือนว่าคุณเอ๋อคุงเปิดกระทู้ทิ้งไว้ แล้วก็หายไปเลย
ปล่อยให้คนผ่านไปผ่านมานั่งจับกลุ่มสนทนากันเอง

คุณเอ๋อคุงอยู่ไหนคะ กลับมานั่งคุยด้วยกันดีไหม
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 มี.ค. 06, 14:02

 คุณชื่นใจ พูดได้ตรงใจดิฉันเหลือเกินค่ะ

เพราะดิฉันก็ลาก "ราก" ติดมาเหมือนกัน รากแก้วเสียด้วยสิคะ
รัก และภูมิใจในความเป็นไทยของตนหนักหนา

ว่าง ๆ เรามาปาร์ตี้วุ้นกะทิกันเถอะค่ะ อิอิ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 22 มี.ค. 06, 16:12

 ถ้าอยู่ใกล้ๆ จะไปทำให้กินจนอิ่มเลยครับ
เพราะมั่นใจว่าวุ้นกะทิเป็นอย่างหนึ่งในบรรดาขนมที่ตัวเองทำแล้วรสชาติพอไปรอด (มีไม่กี่อย่างหรอกครับ)

แต่ไม่มั่นใจนะครับว่า "วุ้น" เป็นอาหารไทย ??



แล้วภาษาไทยทำไมจะใช้ภาษาอื่นไม่ได้ล่ะครับ คุณเอ๋อคุง
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 22 มี.ค. 06, 21:03

 เดี๋ยวต้องไปค้นอีกไหม ว่า วุ้น เป็นอาหารไทย หรือไม่

เรื่องเรียนภาษาต่างประเทศนี่นะคะ
ส่วนตัวนี่ ในชีวิตนี้อยากพูดให้ได้สัก 5 ภาษา
จะว่าไปก็ศึกษามาหลายภาษาแล้วนะคะ
ที่นอกเหนือจากภาษาไทย  ภาษาถิ่นไทย ทั้งหลาย
พวกภาษาต่างประเทศก็มีเขมร บาลี สันสฤต
ภาษามลายูนิดๆ หน่อยๆ พวกคำยืมทั้งหลาย
อย่างนี้ เรียกเด็กหัวนอกไหมเนี่ย อิอิ
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 22 มี.ค. 06, 21:24

 เฮ คุณเอ๋อคุง เจ้าของกระทู้สูญไปไหนแล้วหา ฉานอิบอกให้ตัวฟังว่าแหลงใต้ฉานก็แหลงได้ ถึงฉานอิมาเรียนเมืองนอกแต่ฉานก็ยังคงภูมิใจในความเป็นไทย เหมือนเดิมแหละ

แหลงกลางดีหว่า เดี๋ยวคนเอิน อิฟังไม่โร้เรื่อง

คุณเจ้าของกระทู้ครับ มาเรียนเมืองนอกเพื่อนำความรู้กลับไปพัฒนาชาติไทย ไม่ดีตรงไหนหรือครับ

ในสมัยพุทธกาล และอินเดียโบราณ ก็มีนักศึกษาจากแคว้นต่าง ๆ เดินทางไปศึกษายังเมืองตักกะสิลา แล้วกลับมาพัฒนาบ้านเมืองของตัวเอง

ในจีนพระถังซัมจั๋งท่านก็ได้เดินทางข้ามทะเลทราย เพื่อไปศึกษายังมหาวิทยาลัยนาลันทา แล้วนำพระพุทธศาสนากลับมาที่จีน ทำให้พุทธศาสนาที่จีนในสมัยถัง กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง
โชคดีจัง ที่พระถังซัมจั๋งท่านไม่คิดแบบคุณเจ้าของกระทู้

ว่าแต่คุณเจ้าของกระทู้หายไปไหนแล้วหรือครับ
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 23 มี.ค. 06, 06:40

 ผ่านไปเจอเว็ปนี้โดยบังเอิญค่ะ
จึงได้มีโอกาสอ่านพระบรมราโชวาท-พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้อีกครั้ง
อยากให้ทุกท่านได้อ่านด้วยค่ะ

 http://www.khonnaruk.com/html/means/rama5.html

   
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 23 มี.ค. 06, 17:39

 ปกติ หัวนอก เขาหมายถึงพวกโซ้ด (เลียนแบบฝรั่งไปหมด)
ไม่ใช่ว่าพวกที่ไปเรียนเมืองนอก จะเป็นพวกหัวนอกเสมอไปครับ
ป.ล. พระบรมราโชวาทนี้ดีมาก ๆ ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง