เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 12667 ....คนไทย
i'm boring
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 13:20

 ขอบคุณความเห็น 9 ที่ช่วยชี้แจง
ผมเองยอมรับในข้อที่ 1
ส่วนข้อสองผมคงไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะว่าในเมืองไทยบางคนจำนวนมากจบกลับมาก็ทำงานสอนหนังสือ และจะทำวิจัยเลย ที่จริงแค่สอนหนังสือให้ดีอย่างเดียวก็หนักแล้วสำหรับอาจารย์ใหม่ ผมเองนับถือบรรดาอาจารย์ที่สามารถสร้างผลงานวิจัยและวิชาการที่มีคุณภาพภายใต้ระบบที่เป็นอุปสรรค์นี้จริงๆ
ส่วนข้อ3 ก็คงไม่เห็นด้วยอีกนั่นแหละครับ จริงอยู่ที่คนญี่ปุ่นส่วนมากพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่อง แต่ถ้าเขาเป็นคนที่มีผลงานที่ดีมีคุณค่าจริง หรือไม่ก็เป็นคนดัง ก็จะมีคนรุมตั้งคำถามและอยากที่จะคุย สนใจพยายามที่จะฟังถึงฟังไม่ค่อยออกก็จะใช้ความพยายาม ผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยอย่างมากในการดูถูกคนที่ใช้ภาษาได้ไม่ดี ถ้าผลงานของเขาไม่ดีหรือเป็นคนนิสัยไม่ดีก็อีกเรื่อง
ถ้าไม่เป็นการรบกวนนะครับช่วยออกความเห็น ว่าทำไมเมืองไทยถึงไม่สามารถผลิตนักศึกษาในระดับปริญาเอก ในสาขาที่บ้านเมืองต้องการได้ และทำไมถึงส่งไปต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เกือบร้อยปีแล้วในแต่ละปียังถึงต้องส่งไปอีกจำนวนมากอยู่ทุกปี
ถ้าผมคิดเห็นไม่ค่อยถูกต้องผมเองก็อยากรู้ว่าที่จริงเป็นอย่างไร
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 13:23

 ค.ห. 14
ตรรกะของคุณศรีปิงเวียง ดูไม่ค่อยเป็นเหตุเป็นผลเลย เช่นกล่าวถึงคุณน่าเบื่อว่าไม่ได้เหมือน นิทเช่
เพราะ "คุณมักจะยกตัวอย่างประกอบเสมอ" ถ้าเขียนอย่างนี้แปลว่า นิทเช่ไม่ได้ยกตัวอย่างประกอบน่ะซีคะ

ไงๆขอชม คุณศรีปิงเวียง ว่าเวลาเขียนหนังสือ แล้วคุณลดการใช้เครื่องหมายวงเล็บ ทำให้อ่านได้รื่นขึ้น
และลดทอนโทนเสียงแห่งการประชดประชัน ยอกย้อนได้มากทีเดียวค่ะ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 13:34

 ความจริงไม่อยากออกความเห็นหรอกครับ ให้เหตุผลไปก็จะหาว่าผมอยากเอาชนะคะคานกัน และมันก็น่าเบื่อมากที่ต้องมานั่งอธิบายยาวๆ ให้อีกฝ่ายที่มีคำตอบของตัวเองอยู่แล้ว คือผมว่ามันเสียเวลานั่งคิดเลขของผมน่ะครับ แต่เอาเถอะครับ ผมจะพยายามตอบให้

1 มีหน่วยงานเกี่ยวกับการให้ทุน เอาจำนวนเด็กที่ส่งไปเรียนเป็นผลงาน ไม่ทราบอันนี้จริงมั้ยครับ

หน่วยงานไหนล่ะครับ ช่วยบอกชัดๆ แต่ถึงจะมีผู้บริหารที่เอาจำนวนเด็กที่ส่งไปเรียนเป็นผลงานจริง แต่การที่คุณจะไป Stereotype ว่าองค์กรส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้นมันคงจะไม่ค่อยยุติธรรมนัก

2 คนจบปริญาเอกส่วนใหญ่กลับมาทำงานไม่ได้ทำงานหลังปริญาเอก เรื่องจริงมั้ยครับ

เคยเป็นเรื่องจริงแต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้วครับ ทุนรัฐบาลหลายๆทุนก็เปิดโอกาสให้นักเรียนทุนสามารถทำ Postdoc หลังจบการศึกษาได้อย่างน้อย 2 ปี (ตัวอย่างก็อย่างเช่น ทุน พสวท.) นักเรียนส่วนใหญ่ถ้าไม่มีภาระที่ต้องรีบกลับ เช่น มีบิดามารดาที่ต้องรีบกลับมาดูแล และสามารถหาตำแหน่ง Post Doc ได้ เขาก็มักจะทำกัน

จริงอยู่ถ้านักเรียนทุนได้ทำ Post Doc หลังจบปริญญาเอกจะทำให้เขามีประสบการณ์มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ไม่เคยทำ Post Doc จะไร้ซึ่งประสบการณ์ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้  หน่วยงานต่างๆมีการสนับสนุนอาจารย์หรือนักวิจัยที่พึ่งจบกลับมาอยู่แล้ว ทั้งในรูปของเงินทุน หรือ โอกาส เช่น ถึงไม่ได้ทำ Post Doc แต่ก็ยังมีโอกาสไปฝึกทำวิจัยต่างประเทศ แต่แน่นอนว่าคุณจะเอาให้ทุกอย่างได้ดังใจน่ะมันเป็นไปไม่ได้ ประเทศเรายังจนมีงบประมาณจำกัด จะเอามาทุ่มให้วิทยาการอย่างเดียวเลยมันก็คงไม่เหมาะ และอีกอย่างการทำวิจัยไม่ใช่มีแค่เงินแล้วคุณจะเสกทุกอย่างขึ้นมาได้ มันต้องใช้เวลา และ อีกหลายๆปัจจัยซึ่งอาจจะทำให้เกิดขึ้นในเมืองไทยไม่ได้เลยก็ได้ สิ่งสำคัญที่ควรทำคือใช้โอกาสที่มีให้ดีที่สุดจะดีที่สุดจะดีกว่า ไม่ใช่เรียกร้องหาแต่โอกาส

3 มีนักวิชาการจำนวนมาก รับงานนอก เป็นอาจารย์พิเศษตามที่อื่น เป็นที่ปรึกษาตามบริษัท หรือเปิดสอนพิเศษ จริงมั้ยครับ

ถ้าจริง ... แล้วมันผิดตรงไหนหรือครับ ถ้าสิ่งที่เขาทำไม่ทำให้หน้าที่ๆได้รับมอบหมายบกพร่อง? คนเรามีสิทธิที่จะเลือกชีวิตของเขา สมมุติถ้าเขาไม่มีเงินเลี้ยงครอบครัว คุณจะไปห้ามไม่ให้เขาหารายได้หรือครับ? คุณไปบังคับเขาได้หรือ?  ตัวผมเป็นอาจารย์ที่ไม่คิดจะรับงานนอกเพราะแค่งานสอนกับงานวิจัย แล้วก็ดูแลเว็บนี้ก็ไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่นแล้ว แต่ผมไม่คิดจะไปประณามอาจารย์คนอื่นที่รับงานสอนพิเศษ เพราะมันชีวิตของเขา ผมกลับมองว่าผมโชคดีที่ไม่ต้องไปรับงานนอก หาเงินเลี้ยงปากท้อง แล้วผมก็พยายามใช้โอกาสและความโชคดีนี้มาพัฒนางานสอนของผม ทุ่มเวลาให้กับงานวิจัย แล้วก็สอนนิสิต แทนที่จะเอาเวลาไปโทษคนอื่น ถ้าทุกคนมั่วแต่โทษคนอื่นโทษรัฐบาลที่ไม่ขึ้นเงินเดือน โทษเพื่อนร่วมงานที่ออกไปเปิดศูนย์สอนพิเศษ โทษผู้บริหารที่ไม่สนับสนุน เวลาที่คุณใช้ในการปัดสวะให้คนเหล่านี้ก็หมดไปพร้อมกับโอกาสของคุณน่ะแหละ ถ้าคุณคิดว่าคุณมีอุดมการณ์อยากจะทำให้วงการวิชาการดีขึ้น แทนที่จะมานั่งโทษนู่นโทษนี่ ผมว่าคุณเอาเวลาไปทำสิ่งที่คุณอยากทำจะดีกว่าครับ

4 หรือสุดท้าย ถ้าเรื่องทั้งหมดเป็นจริงมัน เรื่องพวกนี้ก็ไม่เห็นมีผลกระทบการศึกษาไทยตรงไหน ก็ยังมีคุณภาพดีอยู่

ข้อนี้ตอบไปแล้วในตอนท้ายของข้อสาม
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 13:34

 ค.ห. 15 คุณน่าเบื่อมี "agenda" ของตัวเองในใจ เหมือนปักธงไว้แล้ว ลองกลับไปอ่าน ค.ห. 9 ข้อ 2 อีกครั้ง

ดิฉันวิ่งหนีไม่ได้เพราะดูถูก แต่เพราะรำคาญ เคยหยอดเหรียญโทรศัพท์สาธารณะกับน้า โทรทางไกล น้าพูด เอ่อ..เอ่อ
เอ่อ..เอ่อ หมดไป 3 บาท ยังไม่รู้เรื่อง คุยกับแม่ หยอดบาทเดียวพูดรู้เรื่อง

บางทีเราไม่มีเวลาที่จะหยุดคุยกับคนที่พยายามจะพูด ถ้าว่างก็อีกเรื่องหนึ่ง ทำงาน+เรียน อาทิตย์หนึ่ง 120 ชม.
คงเข้าใจนะคะ...จบ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 13:44

 
อ้างถึง
ไงๆขอชม คุณศรีปิงเวียง ว่าเวลาเขียนหนังสือ แล้วคุณลดการใช้เครื่องหมายวงเล็บ ทำให้อ่านได้รื่นขึ้น
และลดทอนโทนเสียงแห่งการประชดประชัน ยอกย้อนได้มากทีเดียวค่ะ
อ้างถึง
รับทราบครับ ผมจะพยายามลดการใช้วงเล็บครับ
ป.ล. ถ้าคุณพี่ไม่เข้ามาชี้แจง ผมคงไม่ทราบครับว่าการใช้วงเล็บบ่อย ๆ เกิดผลเสียอย่างไร    
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 14:02

ประเด็นแตกออกจากหัวข้อกระทู้ไปแล้ว

ผมขอพูดเป็นกลางๆ ว่า ที่คนไทยจำเป็นต้องเรียนภาษานอกนั้น เป็นเพราะเรายังอยู่ในโลกใบเดียวกับคนที่ใช้ภาษานอกเหล่านั้น ถ้าเราจะเอาชาติ ประเทศ วัฒนธรรม และสังคมของเราให้รอด เราต้องรู้เขารู้เราครับ ต้องรู้ทันโลก การเรียนภาษาต่างประเทศ ไม่ได้แปลว่าต้องสยบยอมความคิดต่างประเทศเสมอไป

แต่การที่ว่า ควรจะรู้ภาษาต่างชาติที่เป็นภาษาสำคัญในโลกนี้ด้วยนั้น ไม่ได้แปลว่าเราควรจะลืมรากของตัวเองหมด เปลี่ยนหัวเป็นฝรั่งเลย ก็ไม่ใช่ เรายังสามารถรักความเป็นไทยได้โดยไม่ต้องเสียความทันสมัย และเมื่อผมกล่าวถึง "ความเป็นไทย" นั้น ควรต้องเข้าใจด้วยว่า ความเป็นไทยประกอบขึ้นมาด้วยเอนกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มต่างๆ มากหลาย ที่อยู่ร่วมรวมกันบนผ์นดินไทยนี้และถือตัวว่าเป็นคนไทยด้วยกันทั้งหมด ถ้าเรารู้และเข้าใจประวัติศาสตร์ไทย และธรรมชาติของสังคมมนุษย์ (ทุกแห่ง รวมทั้งเมืองไทย) จริงๆ ความภูมิใจใน "ความเป็นไทย" ของเราก็จะสามารถครอบคลุมถึงความภูมิใจในภาษาถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่นกระแสต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน

ผมเป็นคนพุทธ พูดไทยกลาง พูดอังกฤษได้ พูดจีนกลางได้บ้าง พูดฝรั่งเศสนิดหน่อย พูดเยอรมันเล็กน้อยมากๆ รู้แต้จิ๋วน้อยมาก รู้มาเลย์นิดหนึ่ง พอฟังภาษาไทยปักษ์ใต้เข้าใจบ้างแต่พูดไม่ค่อยได้ แอบจำภาษาญี่ปุ่นได้เป็นคำๆ ฯลฯ เชื้อสายฝ่ายพ่อและปู่ผมเป็นไทยใต้ แต่มีเลือดมุสลิมชวาในตัว เชื้อสายฝ่ายย่ามีเลือดฮกเกี้ยน เชื้อสายฝ่ายแม่ทางยายว่ากันว่ามีเชื้อสายพราหมณ์เมืองเพชร ทางตาเป็นไทยเมืองเพชรบุรี แล้วยังไงล่ะครับ? ผมก็ยังถือว่าตัวเองเป็นคนไทยอยู่ดี

ความรู้ทุกอย่างมีประโยชน์ คุณเอ๋อคุง หายเอ๋อแล้วลองศึกษาเรียนภาษาญี่ปุ่นที่คุณชื่นชมนั่นแหละ (ผมรู้นะว่า ...คุง น่ะ เป็นภาษาญี่ปุ่น) ให้รู้กระจ่าง แล้วจะเอาความรู้ภาษาญี่ปุ่นของคุณมารับใช้สังคมไทยอย่างไรก็เอาเลย ถ้าคุณสนใจภาษาถิ่น จะศึกษาเปรียบเทียบหรือแปลคำพังเพยไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง หรือผู้ไท หรืออะไรออกเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เอาเลย แต่อย่าเสียเวลาและพลังงานแขวะคนอืนอย่างไม่สร้างสรรค์เลยครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 14:03

 ค.ห. 17
เท่าที่ทราบหน่วยงาน สวทช. มีพันธะกิจด้าน HRD ที่จะต้องสร้างบุคคลากรด้าน S&T
โดยคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) จะกำหนดเป็นแผนงานขึ้นมาเลย เช่น
ด้าน HRD จะต้องสร้าง Ph.D. ปีละ 20 คน ตลอดแผน 5 ปี
ด้าน R&D จะต้อง  file patents X pcs.
..............จะต้องตีพิมพ์.........Y papers.            

ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปฏิบัติอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.พ.ศ. 2534 ที่ร่างขึ้นมารองรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ
และการที่คุณน่าเบื่อ แสดงความเห็นใจว่าปริญญาเอกเงินเดือนน้อยนั้น รัฐบาลผ่าน พ.ร.บ. นี้เพื่อสร้าง
สถาบันทางด้านวิจัยที่ทำให้บุคคลากรสามารถตั้งหน้าตั้งตาทำงาน ลืมตาอ้าปากได้โดยไม่ต้องดิ้นรน
หาอาชีพเสริม บุคคลากรของหน่วยงานนี้ มีสถานภาพเป็นพนักงานองค์กรของรัฐ เจ็บป่วยเข้า ร.พ.
เอกชนได้ (พ่อ/แม่/ลูก/คู่สมรส เข้า รพ. เอกชนได้/ บุตรเบิกค่าเล่าเรียนได้) เงินเดือนพนักงาน
ขององค์กรนี้ในวัย 35-45 น่าจะมากกว่าข้าราชการระดับอธิบดี
หากคุณข้องใจ กลับไปอ่าน พรบ. และ

 http://www.nstda.or.th  
บันทึกการเข้า
แป๋มคุง 100
อสุรผัด
*
ตอบ: 2

เรียนอยู่ ไม่บอก รร.นะ


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 14:11

 ขอโทษนะคะเพิ่งเข้ามาขอแทรก

แต่ถ้าพูดตามประเด็นกระทู้แล้ว

ที่เด็กไทยนิยมเรียนภาษาอื่น  เพราะคนไทยถูกปลูกฝังความศิวิไลของต่างชาติมาตั้งนานแล้ว  ทำให้คนไทยไม่มีความเป็นชาตินิยมเลย

พ่อแม่ก็สอนลูกให้คิดอย่างนี้ แล้วลูกก็สอนหลาน สอนโหลน สอนเหลน .....ต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 14:25

 ตอบข้อนี้
++มีนักวิชาการจำนวนมาก รับงานนอก เป็นอาจารย์พิเศษตามที่อื่น เป็นที่ปรึกษาตามบริษัท หรือเปิดสอนพิเศษ จริงมั้ยครับ++

มีค่ะ  แต่จำนวนเท่าใดไม่อาจทราบได้  
สาขาอื่น ไม่อาจตอบแทนได้  แต่ในสาขาอักษรศาสตร์  ดิฉันบอกอดีตลูกศิษย์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยว่า

เธออย่าจำกัดตัวเองอยู่แต่ในห้องเรียนที่เป็นงานประจำ  เป็นอันขาด   เธอต้องออกไปสร้างผลงานข้างนอก
จะเป็นงานอะไรก็ได้ ที่มันเกี่ยวกับงานประจำของเธอ

หูตาเธอจะกว้างขึ้น   เธอจะได้เร่งตัวเองให้ทันโลกภายนอกที่หมุนไปเร็วขึ้นทุกวัน

อย่าสอนที่เดียว  สอนหลายๆที่เพื่อมีโอกาสเปรียบเทียบนักศึกษาของแต่ละแห่ง  เป้าหมายของแต่ละแห่ง  อาจารย์แต่ละแห่ง ฯลฯ
มันจะทำให้เธอกระตือรือร้นมากขึ้นเมื่อมองเห็นการแข่งขันของโลกภายนอก
ทำให้รู้ว่าเธอจะนั่งแช่จืดชืดเป็นน้ำยาเย็นอยู่ในที่ทำงานเดิมไม่ได้  ตำราเล่มเดียวสิบปีไม่เปลี่ยน- ไม่ได้
รู้แต่ในตำราแต่ไม่เคยเอามาใช้ว่าได้ผลหรือไม่ -ไม่ได้

สมมุติว่าเรียนแต่งกลอนมาสารพัดรูปแบบ ท่องได้คล่องปรื๋อเรื่องฉันทลักษณ์   แต่ในชีวิต แต่งกลอนเอาลงหนังสือสักเล่มยังทำไม่ได้   บก.โยนลงตะกร้าหมด  ยังงี้รู้ไปก็เท่านั้น

ถ้าเธอเป็นอาจารย์ที่กี่ปีๆเธอก็นั่งอยู่ในห้องทำงานห้องเก่า   สอนด้วยความคิดเดิมๆ  ไม่รับรู้โลกภายนอก  ไม่ฝึกเอาทฤษฎีที่เรียนมาไปปฏิบัติ    ถือว่าฉันต้องซื่อตรงกับงาน ไม่ไปหาเศษหาเลยข้างนอก จนเกษียณ
นั่นแหละคือคำแก้ตัวของคนทำงานเช้าชามเย็นชาม  รู้แต่ทฤษฎีมันง่าย แต่ปฏิบัติมันยาก เลยไม่กล้าเสี่ยง
อย่างน้อยเธอต้องไปวิจัย ไปดูงาน ไปศึกษาเพิ่มเติม  ต้องทำตัวไม่ให้หยุดนิ่ง  ต้องรับรู้ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งใหม่ๆที่หมุนเวียนเข้ามา
แล้วทดลองทำ  ให้รู้ว่าเราก้าวไปพร้อมมันได้ไหม
ถือหลักว่า Learning is best when put into practice.
เรียนแล้วต้องปฏิบัติได้  

เห็นชอบยกข้อนี้เอามาโจมตีกันเหลือเกิน  เหมือนกับว่าวันๆนักวิชาการทั้งหลายพร้อมใจกันหิ้วกระเป๋าเดินออกจากที่ทำงานไปขายสินค้าไดเรคเซลล์   ไปทำสิ่งไม่สมควรต่างๆ
นั่นคือมองด้านเดียว
ก็เลยขอมองให้อีกด้านให้เห็นค่ะ
บันทึกการเข้า
i'm boring
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 14:47

 สำหรับเรื่องวิจัยหลังปริญาเอก ที่ผมแสดงความคิดเห็นแบบนั้นก็เห็นมาจากต่างชาตินะครับ ซึ่งผมคิดว่ามันน่าจะเป็นระบบที่ดี
ที่ต่างประเทศที่ผมเห็นมานะครับ การการทำงานวิจัยจะมีลักษณะเป็นกลุ่ม มี ศ.เป็นหัวหน้ากลุ่ม อาจจะมีตำแหน่ง รศ. หรือ ผศ เป็นผู้ช่วยทำงานในกลุ่ม ศ.เป็นผู้ที่ไปขอทุนต่างๆ บางท่านก็ทำวิจัยน้อยหน่อย ให้ รศ. หรือ ผศ. เป็นผู้ทำ หรือไม่ ศ. บางท่านก็ทำเองเกือบทั้งหมด และในกลุ่มนี้ ก็จะมี นักวิจัยหลังปริญาเอก หรือที่เรียกว่า post doc และก็ยังมี นร. ปริญญาเอก หรืออาจมีโท คนในกลุ่มก็จะทำงานวิจัยและดูแลกันเป็นทอดๆ คนที่เป็น รศ. หรือ ผศ. ก็มุ่งทำงานให้มีผลงานที่ดี เพราะเค้าต้องการตำแหน่ง ศ. คงไม่รอให้ ศ. คนเก่าออกก่อน ดังนั้นจึงพยายามทำผลงานเพื่อจะไปสมัคร ในตำแหน่ง ศ. ที่อื่นต่อไป ส่วน post doc ก็เหมือนกัน ก็พยายามทำผลงานให้ดีเพื่อไปในที่ตำแหน่งดีกว่า เพราะตำแหน่งที่ไม่ใช่ ศ. ไม่ค่อยมั่นคงเท่าไหร่
ต่างกับเมืองไทย ระบบราชการไทยๆ เป็นระบบฝังรากลึก
ส่วนเรื่อง post doc นั้นมาจากการที่มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยเล่าถึงประสบการณ์วิจัย ที่ท่านไม่เคยได้ทำ post doc มากก่อน ว่ามันลำบากมาก ต้องเริ่มงานวิจัยกันแต่ต้นถ้าได้ทำมาก่อนคงดีกว่านี้
ส่วนเรื่องที่เดี๋ยวนี้หลังเรียนจบทำ post doc ได้ ถูกก็แค่ส่วนเดียว ลองไปดู มติ ครม. เกี่ยว กับการทำ post doc ของคนที่ลาไปเรียนหลังจบปริญาแล้วกัน และการทำ post doc ได้เงินเดือนนะครับไม่น้อยด้วยถ้าเทียบกับเมืองไทย ไม่ได้ใช้ทุนของประเทศมากนัก
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 14:58

 ......คนที่เป็น รศ. หรือ ผศ. ก็มุ่งทำงานให้มีผลงานที่ดี เพราะเค้าต้องการตำแหน่ง ศ. คงไม่รอให้ ศ. คนเก่าออกก่อน
ดังนั้นจึงพยายามทำผลงานเพื่อจะไปสมัคร ในตำแหน่ง ศ. ที่อื่นต่อไป

                           
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 15:07

 อ่านแล้วชอบความคิดเห็น 23 ของ อ.เทาชมพูมากเลยครับ

ส่วนความเห็นที่ว่า "ว่าทำไมเมืองไทยถึงไม่สามารถผลิตนักศึกษาในระดับปริญาเอก ในสาขาที่บ้านเมืองต้องการได้ และทำไมถึงส่งไปต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน เกือบร้อยปีแล้วในแต่ละปียังถึงต้องส่งไปอีกจำนวนมากอยู่ทุกปี"

ก็เพราะเรายังอ้างอิงและรับความรู้ใหม่ๆจากนานาอารยประเทศอยู่นะสิครับ ถ้าเราปิดประเทศเมื่อไหร่ เราไม่ยุ่งกับใครเมื่อนั้นก็คงไม่ต้องส่งไปเรียน
ถามว่ากระทรวงการต่างประเทศต้องการผู้ชำนาญการภาษาและวัฒนธรรมจีน จะต้องส่งเขาไปเรียนที่ไหน เรียนในไทยเช่นนั้นหรือ? ยังไงเสียก็ต้องส่งไปเมืองจีน
ไม่ทราบว่าคุณรู้แค่ไหนว่า PhD ที่ผลิตเองในเมืองไทยมีน้อย ผมว่าไม่น้อยเลยนะ ลำพังในคณะที่ผมเรียนอยู่ก็มี PhD student อยู่ไม่ต่ำกว่า 50 คน เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งที่เราผลิตเองคือสิ่งที่เรามีองค์ความรู้พอแล้ว และก็เกิดจากการส่งอาจารย์ทั้งหลายไปเรียนเมืองนอกนี่แหละครับ
สำหรับส่วนที่จะต้องส่งไปนอก ก็คือส่งไปเรียนรู้เรื่องใหม่ๆแทบทั้งสิ้น ไม่ใช่ว่ารัฐบาลส่งคนไปสะเปะสะปะนะครับ
ต้องยอมรับการศึกษาในเมืองไทยอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ความไม่พร้อมของอุปกรณ์การเรียนการสอน เนื่องจากข้อจำกัด"ด้านการเงิน" ไม่ใช่ข้อจำกัดของทรัพยากรมนุษย์เลยแม้แต่น้อย ความคิดดีๆ งานวิจัยดีๆ คิดขึ้นมาได้แต่ก็ต้องพับไปเพราะเงินไม่พอ
ผมเองตอนโครงร่างวิทยานิพนธ์ วาดโปรเจคท์เสียสวยหรู แต่พอหันมามอง facility ที่มีก็ต้องถอนหายใจแล้วนั่งปรับแก้ให้ใช้ได้เท่าที่อุปกรณ์หรืองบมี

ขอแสดงความคิดเห็นเท่าที่นึกได้แค่นี้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า
รำเพย
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 15:08

 ขออนุญาตตอบเฉพาะข้อความที่เจ้าของกระทู้ (คุณเอ๋อคุง) ยกขึ้นมาถามนะคะ เพราะว่าไม่อยากแตกประเด็นออกไปจากเรื่องที่เจ้าของกระทู้ตั้งไว้ และตัวเองไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะโต้ในเรื่องอื่นได้ เพราะว่าเกินกว่าระดับปัญญาคนธรรมดาๆอย่างรำเพย

เจ้าของกระทู้ถามมา รำเพยก็ขอตอบเป็นประเด็นๆไปแล้วกันนะคะ

ทำไมคนไทยถึงทำตัวเป็นพวกเด็กหัวนอก

-ในฐานะที่เคยเป็นเด็กหัวนอก ทำหน้าที่ตามที่รัฐบาลไทยส่งให้ไปทำ ก็คงต้องบอกว่าไม่ได้อยากทำตัวเป็นเด็กหัวนอกหรอกค่ะ แต่ว่าคนเรามีหน้าที่ที่ต้องทำ ก็ต้องทำกันไป มีหน้าที่ไปเรียนตามที่ประเทศชาติต้องการ ก็ต้องเรียน ส่วนเด็กคนอื่นเค้ามีหน้าที่ไปเรียนตามที่พ่อแม่เค้าต้องการ (ก็คงไม่มีเด็กคนไหนเก่งกาจขนาดหาเงินไปเรียนเมืองนอกได้เองทั้งหมดหรอกนะ) พ่อแม่ย่อมต้องการให้ลูกได้โอกาสเรียนรู้ในสิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีกับลูก ดังนั้นจะถามว่า ทำไมคนไทยถึงทำตัวเป็นเด็กหัวนอกน่ะ คงตอบได้ยากค่ะ ต้องถามว่าทำไมพ่อแม่ถึงให้เงินลูกไปเรียนละคะ  .....ถ้าไม่ใช่เพราะว่ามันมีประโยชน์ สอนให้เด็กได้เห็นโลกกว้าง สอนให้ได้รู้จักช่วยตัวเอง รู้จักสังคมและวัฒนธรรมอื่นๆที่ต่างไปจากบ้านเรา รู้เพิ่มขึ้นย่อมได้เปรียบ จริงไหม

ในประเทศไทยมีภาษาใช้เป็นสิบภาษาทำไมไม่เรียน
ภาษาท้องถิ่นก็มี เรียนกันเข้าไปดิ
มัวแต่เห่อภาษาพวกที่เข้ามาปล้นแผ่นดินไทย เจริญพร...
ช่วยกันรักษาภาษาท้องถิ่นไว้ดิ
ภาษาที่ปู่ย่าตายายช่วยกันรักษามากะแผ่นดินไทยอ่ะ

ประเทศไทยมันล้าหลัง ล้าสมัยมากรึไง แห่กันไปเรียนเมืองนอก

....ใครมีเหตุผลเพียงพอช่วยตอบหน่อยคับ


-ถ้าคนเขาเรียนมา แล้วเขาไม่ได้ใช้ จะไปบังคับให้เขาเรียนก็คงใช่ที่  ..... ตัวคุณเอ๋อคุงเอง บอกว่าอยากรักษาการใช้ภาษาไทยไว้แล้วเหตุไฉนจึงได้ทำให้ภาษาเขียนมันวิบัติเองเล่าคะ

ตัวอย่างก็เช่นที่รำเพยทำตัวหนาไว้นั่นแหละ ให้เห็นง่ายๆ คำว่า อ่ะ แค่เขียนก็ผิดแล้ว ถ้าคุณคิดจะใช้ภาษาไทย รักษาภาษาไทย แต่ตัวเองยังสะกดผิดจะได้เรื่องหรือ .....  "อะ" เป็นอักษรกลางคำตาย รูปสามัญเสียงเอกอยู่แล้ว จะเติมรูปเอกไปทำไมกัน

ก่อนจะตักเตือนผู้อื่นเรื่องภาษา ย้อนดูสิ่งที่ตนเขียนก่อนก็คงจะดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 15:24

 สืบเนื่องจากค.ห. ของคุณ i'm boring



+ต่างกับเมืองไทย ระบบราชการไทยๆ เป็นระบบฝังรากลึก +

ช่วยอธิบายระบบศ./รศ./ ผศ. ในเมืองไทยที่อยู่ในระบบราชการ ตามความเข้าใจของคุณ ให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ

ดิฉันอยากรู้ว่าคุณเข้าใจระบบที่เรียกว่า "ราชการไทยๆ"มากน้อยแค่ไหน
บันทึกการเข้า
i'm boring
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 15:39

 กลับไปที่กระทู้ตั้งต้นนะครับ ไหนๆก็มีเรื่องเกี่ยวกับภาษาไทย
ผมคิดว่า เราควรที่จะพยายามใช้คำไทย ไม่ควรใช้ไทยคำอังกฤษคำถ้าคำเหล่านั้นสามารถใช้คำไทย ยกเว้นไม่สามารถหาคำไทยได้ตรงกับความหมาย เพราะผมเองก็ไม่ค่อยชอบพวกพูดไทยคำอังกฤษคำทั้งๆที่มีคำในภาษาไทยใช้อยู่แล้ว
และก็ขออภัยที่พิมพ์ ไทยกับอังกฤษ ปนกัน เพราะว่าขี้เกียจพิมพ์ ต่อไปนี้จะพยามไม่ใช้ภาษาอื่นถ้ามีคำไทยใช้อยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง