เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 12670 ....คนไทย
เอ๋อคุง
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

เรียน


 เมื่อ 15 มี.ค. 06, 23:34

ทำไมคนไทยถึงทำตัวเป็นพวกเด็กหัวนอก

ในประเทศไหยมีภาษาใช้เป็นสิบภาษาทำไมไม่เรียน
ภาษาท้องถิ่นก็มี เรียนกันเข้าไปดิ
มัวแต่เห่อภาษาพวกที่เข้ามาปล้นแผ่นดินไทย เจริญพร...
ช่วยกันรักษาภาษาท้องถิ่นไว้ดิ
ภาษาที่ปู่ย่าตายายช่วยกันรักษามากะแผ่นดินไทยอ่ะ

ประเทศไทยมันล้าหลัง ล้าสมัยมากรึไง แห่กันไปเรียนเมืองนอก

....ใครมีเหตุผลเพียงพอช่วยตอบหน่อยคับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 00:10

 เอาไงดีล่ะ

มันเป็นธรรมชาติของคน "สยาม" มาตั้งแต่อยุธยาตอนกลางเป็นอย่างน้อย

ของใช้ทุกชนิด ต้องสั่งเข้ามาใช้จากต่างประเทศ ตั้งแต่ของใช้ในชีวิตประจำวัน จาน ชาม กับข้าว ขนม ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ถึงได้มีชื่อแปลกๆ แปลเป็นภาษาไทยก็ไม่ได้ นักประวัติศาสตร์ต้องมานั่งแปลแล้วแปลอีก สันนิษฐานกันไปต่างๆนานา

จนรัตนโกสินทร์ การเดินทางสัญจรยิ่งดีขึ้น ผู้ชายก็ตัดเสื้อตามแขก เรียกซะว่า "ราช แพทเทิร์น" ตั้งเสาโทรเลขก็เรียก "เตเลแกรม" มีวิศวะกรก็เรียก "อินจิเนีย" แต่พูดไม่ชัดซักคำ มันก็เลยออกมาเป็น ราชแปตแตน ตะแล๊บแก๊บ อินทาเนีย เหมือนที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้

แล้วคุณเจ้าของกระทู้จะบ่นทำไมครับ ถ้าวัยรุ่นไทยอยากรับวัฒนธรรมต่างชาติบ้าง ทีสมัยอยุธยาคนไทยยังใส่เสื้อญี่ปุ่นเป็นแพรหนามขนุนได้ แล้วทำไมคนไทยวัยทีนจะแต่งตัวตามสาวญี่ปุ่น นุ่งกระโปรงเหมือนผ้าขี้ริ้ว ใส่รองเท้าบู๊ตสูงๆ ใส่ถุงเท้าหลวมๆ ทำผมทรงหลังจุดสุดยอด หรือพูดไทยคำต่างประเทศคำไม่ได้ล่ะครับ คุณเจ้าของกระทู้



ปล. ตอบกระทู้ซะแรงเชียวผม
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 04:08

 ไม่มีเวลาพูดประเด็นอื่น เพราะกำลังทำหน้าที่ของนักเรียน (นอก) ตามความต้องการของรัฐบาลไทย

ขอพูดประเด็นเดียวว่า ถ้าคุณ รักและรักษ์ ภาษาไทยอย่างที่คุณแสดงท่าทีออกมา เริ่มจากตัวคุณเองก่อนดีไหมคะ ก่อนที่จะมีหน้าไปวิจารณ์คนอื่น?

ดิ อ่ะ คับ นี่ ไม่น่าจะเป็นภาษาเขียนของคนที่ประกาศตัวว่าต้องการรักษาภาษาของปู่ย่าตายายนะคะ คุณเอ๋อคุง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 08:29

คำว่า เอ๋อคุง นี่ภาษาถิ่นไหนของไทยคะ  

คุณรู้ไหมว่าชื่อจริงและนามสกุลจริงของคุณ ไม่ใช่ภาษาไทย
เป็นภาษาแขกทั้งหมดทุกคำเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
i'm boring
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 09:32

เรื่องภาษานะครับ ผมคิดว่าที่คุณว่าภาษานอกน่าจะหมายถึงภาษาอังกฤษ แต่อย่าลืมไปนะครับว่าภาษาไทยยังมีคำที่มาจาก บาลี สันสกฤษ ภาษาจีน และอื่นๆ เต็มไปหมด
สำหรับผม รู้สึกว่าคำของภาษาลาวนั้นเรียบง่าย ให้ความรู้สึกของไทยแท้มากกว่าภาษาไทยอีก พอดีมีโอกาสฟังภาษาลาวจากช่องทีวีลาว

ส่วนเรื่องเรียนนอกนะครับ นโยบายของรัฐ และค่านิยมของสังคม ปีปีหนึ่งรัฐบาลให้ทุนส่งคนไปนอกเยอะมากเพื่อเรียน ปริญาโท ปริญาเอก เสียเงินเสียทองไปมาก บางหน่วยงานก็เอาจำนวนทุนที่ให้นี้เป็นผลงานมันงี่เง่ามั้ยครับ ให้เงินคนไปเรียนยังเรียนไม่จบไม่ได้มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอันก็อ้างว่าเป็นผลงานของหน่วงงานเรา ปีนี้เราสามารถส่งเด็กไปเรียนนอกได้กี่คน
ผมอยากยกตัวอย่างการศึกษาในบางประเทศ เช่นประเทศญี่ปุ่น นักวิชาการมักจะจบการศึกษาขั้นสูงในประเทศ เช่นระดับปริญญาเอก หลังจากนั้นคนจำนวนหนึ่งก็นิยมไปทำงานหาประสบการณ์ในต่างประเทศด้วยการทำงานวิจัยหลังปริญญาเอก จะเห็นว่าประเทศชาติมิต้องสูญเสียเงินออกในรูปค่าเรียนแล้วและยังไม่ต้องเสียเงินให้ฝรั่งในการสอบโทเฟิลที่ต้องสอบแล้วสอบอีก แถมยังได้เงินเข้าประเทศในรูปแรงอีกด้วย หลังจากทำงานหาประสบการณ์อยู่หลายปีก็กลับมาสร้างสรรคผลงานให้กับประเทศชาติได้เลยเพราะประสบการณ์มาแล้ว และผลิตนิสิตนักศึกษาที่มีคุณภาพให้กับประเทศรุ่นต่อๆไป
ต่างกับประเทศไทย รัฐบาลชอบเสียเงินให้ทุนเรียน พอจบปริญาเอกกลับมาก็ต้องทำงานใช้ทุนเลย ต้องทำงานสอน หรือทำวิจัยกันเลย โดยมิได้มีการหาประสบการณ์ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกเหมือนนักวิชาการต่างประเทศ เงินเดือนบ้านเรามันก็น้อยไม่พอใช้จ่าย ดังนั้นต้องหาเวลาพิเศษไปรับงานนอกจึงไม่สามารถทำงานในตำแหน่งได้เต็มที่ ทำให้ไม่สามารถผลิตนิสิต นักศึกษา ในระดับสูงที่มีคุณภาพ ได้พอแก่การต้องการ
นี่เป็นเพียงเหตุผลหนึ่งนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 09:59

 เดี๋ยวคุณจ้อ ก็อาจจะเข้ามาตอบ     คุณภูมิก็อาจจะแวะเข้ามาด้วย  
ดิฉันเองขอตอบย่อๆว่าเรื่องที่คุณน่าเบื่อพูดนั้น ไม่จริง
หรือจริงเพียงส่วนเดียวก็แล้วกัน  แต่ไม่ใช่จริงทั้งหมด
บันทึกการเข้า
บัวอื่น
อสุรผัด
*
ตอบ: 39


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 10:45

 เอ๋อคุง ถ้าคุณจะเป็นห่วงการใช้ภาษาไทยก็พอเข้าใจ แต่เอาน่า อย่าเกรี้ยวกราดนัก และเท่าที่ฟังไม่ใช่แค่ภาษาหรอกที่คุณต่อต้าน

ภาษาหรือสิ่งที่ดีๆมีมานานมันก็ควรรักษาหรือเห็นค่า แต่มันต้องขนาดไหนกันรึ คุณต้องการให้เค้าต้องแสดงออกต่อการเป็นไทย เอ่อ การใช้ภาษาไทยนั้นล่ะ มากขนาดไหน

มันมีการเปลี่ยนแปลง อะไรๆมันก็ไม่เที่ยง ไปบังคับให้ได้อย่างใจคุณไม่ได้หรอก

เห็นคุณถามหาเหตุผล สักข้อจากเรานะ ถ้ารู้ภาษาต่างชาติมากๆ มันช่วยให้เราทำลายกำแพงของการเรียนรู้ได้นะ ถ้าจะรู้ภาษาพวกนั้นแล้วไม่ได้ทำให้ไทยเสื่อมมันก็ทำได้นี่นา

ว่าแต่ขอเหตุผลคุณหน่อยซิว่า ไปเรียนภาษาอื่นๆ มันมีอะไรเสียหายนักในความคิดคุณ
       เอาน่า...โอเลี้ยงสักเเก้วมั๊ย
บันทึกการเข้า
i'm boring
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 11:00

 สำหรับความเห็น 5
ไม่ทราบผมเข้าใจภาษาไทยถูกหรือไม่ครัย ว่า "ไม่จริง" กับ "จริงส่วนเดียว" มันต่างกันครับ ถ้าเข้าใจผิดก็โปรดสั่งสอนด้วยครับ

และก็อย่างที่ผมบอกและครับนั่นเป็นเพียงเหตุผลหนึ่งเท่านั้นเอง เหตุผลงี่เง่าอย่างอื่นที่ทำให้ไม่พัฒนามีอีกมาก ผมคงสาธยายได้ไม่หมดครับ และตัวอย่างที่ผมยกมา ก็เป็นเพียงมุมมองของผมที่มีต่อนักวิชาการไทย แต่ก็คงไม่ใช่ทุกคนที่เป็นแบบนี้หรอกครับ เพราะถ้าทุกคนเป็นแบบนี้ประเทศชาติก็ล่มจมไปแล้วครับ เพียงแต่ผมเห็นคนจำนวนมากที่เป็นแบบนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 11:34

 ที่ตอบไปว่า"จริงส่วนเดียว"คือตอบอย่างอะลุ้มอล่วย ถนอมน้ำใจ    ที่จริงอยากจะบอกว่า ไม่จริง มากกว่า ค่ะ
เพราะเห็นว่าถึงคุณออกความเห็นอะไรที่น่าเบื่อหลายอย่าง (ในความคิดดิฉัน)แต่ก็ยังน่าสนทนาด้วย เพราะรู้จักขอโทษและใช้ถ้อยคำสุภาพในตอนท้ายบ้าง
รอคนอื่นก่อนนะคะว่าเขามีความเห็นว่ายังไง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 12:30

 1) .......บางหน่วยงานก็เอาจำนวนทุนที่ให้นี้เป็นผลงานมันงี่เง่ามั้ยครับ ให้เงินคนไปเรียนยังเรียนไม่จบ

ไม่ได้มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอันก็อ้างว่าเป็นผลงานของหน่วงงานเรา ปีนี้เราสามารถส่งเด็กไปเรียนนอกได้กี่คน



พันธกิจของบางองค์กรระบุชัดว่า "จะต้องสร้างคน" ดังนั้น KPI ของการสร้างคนก็คือ จำนวนทุน Ph.D. or Master's

เพื่อหวังให้มหาบัณฑิต หรือ ดร. ทั้งหลายกลับมาสอน/และหรือทำงานวิจัย ควบคู่กัน คุณคงรู้จัก "Multiplier effects"

ลงทุนซื้อเทียน 1 เล่ม เพื่อให้เทียนเล่มนี้ไปต่อเชื้อให้เทียนอีก 1 พันเล่ม สว่างขึ้นมา



การคัดเลือกคนไปเรียน นอกจากจะคัด "มันสมอง" แล้ว ก็ยังทดสอบ "ทัศนคติ" ผ่านแบบสอบถาม

และการสัมภาษณ์ เพื่อหวังให้ได้บุคคลากรที่จิตวิญญาณมากที่สุด แต่อย่างว่า คนเรารู้หน้า ไม่รู้ใจ

 คัดแทบเป็นแทบตาย บางครั้งยังได้คนฉลาดแต่ขายชาติ ขายแผ่นดิน หลงเข้ามา ถ้าเราคัดคนเข้ามา 100 คน

 เจอดีๆ 95 คน ก็น่าพอใจแล้ว



2) การทำ Postdoc นั้น อาจไม่ต้องทำทันทีหลังเรียนจบ บางที young scientist ก็เรียนรู้จาก Sr scientists

ในห้องแลบที่ทำงานเหมือนกัน นี่ก็เป็น postdoc อย่างหนึ่ง ที่ทราบเพราะที่ทำงานมีนักวิทยาศาสตร์

จบ Ph.D. 600 คน



3).......จะเห็นว่าประเทศชาติมิต้องสูญเสียเงินออกในรูปค่าเรียนแล้วและยังไม่ต้องเสียเงินให้ฝรั่ง

ในการสอบโทเฟิลที่ต้องสอบแล้วสอบอีก



คุณยกตัวอย่างญี่ปุ่นมา ก็ขอยกตัวอย่างญี่ปุ่นกลับ ในโลกไร้พรมแดน มนุษย์เราต้องติดต่อสื่อสารกัน

ด้วยภาษากลางที่เข้าใจกัน เช่น ภาษาอังกฤษ เห็นมานักต่อนัก แล้วคนญี่ปุ่นที่มาทำ Postdoc  ตอนแก่

เขาเขียนเปเปอร์ภาษาอังกฤษ เป็นก็จริง แต่เจรจาพาทีไม่รู้เรื่อง บางทีเคยสะกิดเพื่อนให้รีบวิ่งหนี เพราะญี่ปุ่น

คนหนึ่งเปิดประตูห้องออกมาทำท่าจะทักทาย ฟังเขาพูดไม่รู้เรื่อง หรือพูดประโยคเดียว 5 นาทีถึงจะฟังรู้เรื่อง

บางที อยากกระโดดตึกตายหากต้องไปฟัง presentation ที่คนญี่ปุ่นบางคนพูดอังกฤษ



ป่วยการ...รู้แล้ว present ให้คนอื่นฟังไม่ได้





.....และยังไม่ต้องเสียเงินให้ฝรั่งในการสอบโทเฟิลที่ต้องสอบแล้วสอบอีก



เอาเถอะค่ะในเมื่อเราต้องใช้ภาษาของเขา เราก็ต้องเคารพกฎเกณฑ์ คือสอบให้ผ่านเกณฑ์ของเขา

 การเสียเงินในการสอบเป็นการทำให้เงินตรารั่วไหลก็จริง แต่ก็คงไม่ทำให้ประเทศชาติเจ๊ง หากไป

 offset กับอย่างอื่นที่เรา gained คืนมา



4) คุณน่าเบื่อในมุมมองของดิฉัน เป็นคนพวกเดียวกับ Friedrich Nietzsche



ว่างๆอยากแนะนำให้อ่านหนังสือเรื่อง Lunar Park ค่ะ

Bret Easton Ellis: “I don’t want to talk about myself at all. I’m not going to offer up anything.

 I’m not smart or interesting. I’m boring. I’m tame.”
บันทึกการเข้า
i'm boring
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 12:32

 ขออภัยความเห็นที่ 8 นะครับ  ถ้าจะขอเขียนตรงๆนะครับ

ไม่ต้องมาถนอมน้ำใจหรอกครับ แค่แสดงความเห็นอย่างปราศจากอคติ และมาจากความคิดเห็นและตัวตนที่แท้จริง ผมก็พอใจแล้วครับ

ที่จริงผมเองพอใจกับคำว่าไม่จริงมากกว่า และผมอยากรู้ว่าเรื่องไหนไม่จริง

1 มีหน่วยงานเกี่ยวกับการให้ทุน เอาจำนวนเด็กที่ส่งไปเรียนเป็นผลงาน ไม่ทราบอันนี้จริงมั้ยครับ
2 คนจบปริญาเอกส่วนใหญ่กลับมาทำงานไม่ได้ทำงานหลังปริญาเอก เรื่องจริงมั้ยครับ
3 มีนักวิชาการจำนวนมาก รับงานนอก เป็นอาจารย์พิเศษตามที่อื่น เป็นที่ปรึกษาตามบริษัท หรือเปิดสอนพิเศษ จริงมั้ยครับ
4 หรือสุดท้าย ถ้าเรื่องทั้งหมดเป็นจริงมัน เรื่องพวกนี้ก็ไม่เห็นมีผลกระทบการศึกษาไทยตรงไหน ก็ยังมีคุณภาพดีอยู่

ถ้าจะกรุณาขอให้ตอบตามความเห็นอย่างแท้จริง ผิดก็ว่าผิด ถูกก็ว่าถูกครับ
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 12:33

 อืม...อ่านแล้ว ผมขอตอบตามนี้

ผมอาจจะต้องเล่นแร่แปรธาตุ ขอแยกประเด็นที่คุณ เอ๋อคุง กล่าวไว้ดังนี้

ประเด็นแรก "ทำไมคนไทยถึงทำตัวเป็นพวกเด็กหัวนอก" โดยที่คุณขยายความไว้ว่า

"ในประเทศไหยมีภาษาใช้เป็นสิบภาษาทำไมไม่เรียน
ภาษาท้องถิ่นก็มี เรียนกันเข้าไปดิ
มัวแต่เห่อภาษาพวกที่เข้ามาปล้นแผ่นดินไทย เจริญพร...
ช่วยกันรักษาภาษาท้องถิ่นไว้ดิ
ภาษาที่ปู่ย่าตายายช่วยกันรักษามากะแผ่นดินไทยอ่ะ"

ก่อนอื่นผมต้องขอถามว่า การเรียน "ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาไทย" นั้นเป็นการแสดงถึงความเป็นเด็กหัวนอกตรงไหน?

สิ่งที่เราควรจะทำความเข้าใจก่อนคือ "เด็กหัวนอก" หมายความว่าอะไร?

ในความเข้าใจส่วนตัวของผม ผมไม่เห็นว่า การไปเรียนต่างประเทศ หรือเรียนภาษาต่างปรระเทศ จะทำให้คนเป็นคน "หัวนอก" ผมมองว่าความ "หัวนอก" ที่คุณ เอ๋อคุง กล่าวอ้างถึง เป็นผลโดยตรงของกระบวนการเรียนแบบไร้สติ และหลงมองว่า ของคนอื่น นั้นดีกว่าของที่เรามีอยู่เสมอ
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ผมว่ามันไม่เกี่ยวกับการที่คนไทยจะสนใจเรียนภาษาต่างประเทศ หรือว่า การไปเรียนต่อต่างประเทศเท่าใดนัก

ผมไม่ขอแย้งว่า ในฐานะคนไทย เรานั้นควรให้ความสำคัญกับภาษาไทย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า
คนไทยไม่สามารถที่จะสนใจภาษาอื่นนะครับ

จากประสบการณ์ส่วนตัวผมมองว่าการที่เราได้เรียนรู้ถึงโลกภายนอกมากเท่าใด
เราก็ยิ่งที่นำความรู้นั้น ๆ (ซึ่งแน่นอนส่วนหนึ่งได้มาจากการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศไม่มากก็น้อย)มาเปรียบเทียบและสะท้อนให้เรา
มองเห็นสาระ ความเป็นไทยได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น

ด้วยสาเหตุนี้เอง ผมจึงมองว่า สิ่งที่คุณ เอ๋อคุง กล่าวนั้นเป็นคำพูดที่มองจากมุมมอง และโลกทัศน์ที่ค่อนข้างปิด แคบ และ แสดงให้เห็นว่าตัวคุณเองยังไม่เข้าใจว่านิยามของ "เด็กหัวนอก" คืออะไรและมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
 
ประเด็นที่สอง "ประเทศไทยมันล้าหลัง ล้าสมัยมากรึไง แห่กันไปเรียนเมืองนอก" สำหรับผมแล้ว ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการที่คุณ เอ๋อคุง ยัดเยียดว่าสาเหตุ และ แรงผลักดันของการไปเรียนต่อในต่างประเทศนั้นเป็นเพราะความ "ล้าสมัย" เนื่องด้วยความคลุมเครือ ความล้าสมัย อย่างที่ทุกท่านก็ทราบดีมีอยู่หลายอย่างและหลายรูปแบบ ณ ที่นี้ สำหรับการพูดคุยต่อไป ผมก็ต้องขอให้คุณ เอ๋อคุง ช่วยชี้แจงด้วยนะครับว่าคุณหมายความถึงความล้าสมัยในมิติไหน?

โดยส่วนตัว ในด้านที่ผมเรียนอยู่ตอนนี้ผมต้องขอกราบเรียนโดยตรงว่า "ในด้านความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการเมืองท้องถิ่นของสาธารณรัฐประชาชนจีน" ไม่ว่าในภาครัฐหรือเอกชนยัง "ไม่พร้อม" อยู่มาก เพราะว่า หนึ่ง ขาดคณาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ทางด้านนี้โดยตรง สอง ความขาดแคลนทางด้านหนังสือ และฐานข้อมูลต่าง ๆ ฯลฯ

ด้วยสาเหตุนี้ผมว่าเพื่อเพิ่มความเข้าใจในประเทศจีนให้มากขึ้น ผมมองว่า การที่ต้องไปเรียนต่างประเทศนั้นสำคัญ และจำเป็นมากครับ

ผมขอย้ำอีกครั้งนะครับว่า การไปศึกษาต่อในต่างประเทศมิได้มีสาเหตุมาจากความ "ล้าสมัย" หากแต่เป็นเพราะความ "ไม่พร้อม" ครับ นอกจากนั้นแล้วดั่งที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว การเรียนภาษาต่างประเทศของคน ๆ หนึ่งก็ใช่จะหมายความว่าคน ๆ นั้นไม่รักความเป็นไทยและเป็นพวก "เด็กหัวนอก"

นอกจากนั้นแล้วผมขอถามความเห็นของคุณเอ๋อคุงสักนิดหนึ่ง การใช้ภาษาไทยของคุณในกระทู้นี้ คุณเห็นว่ามันสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจ "ภาษาไทยที่ดี" ของคุณมากน้อยเพียงใด?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 12:57

 "ไม่ต้องมาถนอมน้ำใจหรอกครับ แค่แสดงความเห็นอย่างปราศจากอคติ และมาจากความคิดเห็นและตัวตนที่แท้จริง ผมก็พอใจแล้วครับ "

ฝูงชนกำเนิดคล้าย................คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ..........แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน...............กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง................อ่อนแก้ฤๅไหว

รอคนอื่นมาแสดงความคิดเห็นก่อนนะคะ   ตอนนี้ยังไม่อยากตอบคุณ
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 13:02

ต้องขอโทษที่พิมพ์ผิด หรือ ขาด ๆ เกิน ๆ บ้าง



ผมอ่านความคิดเห็นของคุณ  i'm boring แล้ว คำถาม สี่ ข้อที่ท่านถามนั้น ผมขอตอบดังนี้



ข้อหนึ่ง ผมไม่ทราบ แต่ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมก็รู้สึกเสียดายแทน



แต่ว่าสามารถถกเถียงกันได้ในประเด็นที่ว่า "ใครควรจะได้รับทุน"



โครงการหนึ่งทุนหนึ่งตำบลเป็นกรณีตัวอย่างดีว่าทุนการศึกษาของรัฐบาลนั้นควรจะให้กับบุคคลที่มีความสามารถมากที่สุด (โดยผู้ที่รับทุนจะต้องกลับมาทำงานก่อประโยชน์ให้กับประเทศไทยโดยผ่านกลไกของรัฐ)หรือว่าจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการกระจายทุนไปให้กว้างที่สุดทุก-ตำบล (โดยผู้ที่รับทุนมีข้อแม้ว่าเมื่อเรียนจบแล้วต้องกลับมาทำงานที่ประเทศไทย)



ข้อสอง ที่ท่านว่า "คนจบปริญาเอกส่วนใหญ่กลับมาทำงานไม่ได้ทำงานหลังปริญญาเอก" ผมขอให้ท่านช่วยขยายความหน่อยนะครับว่าท่านพยายามจะสื่ออะไร? เราจะได้พูดคุยกันได้อย่างไม่สับสน



ข้อสาม สำหรับข้อนี้ผมขอตอบว่าเป็นความจริง แต่ ผมขอย้ำในต่างประเทศ นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา และก็ใช่ว่าการทำเช่นนี้จะทำให้คุณภาพของงานของอาจารย์หลาย ๆ ท่านตกลง



ข้อสี่ คุณภาพของการศึกษาไทย ถ้าสามารถวัดได้โดยการตอบปํญหาสี่ข้อนี้ การแข้ไขปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ในภาคการศึกษาไทยคงง่ายกว่านี้เยอะ



ผมขอหยุดตรงนี้ก่อน ก่อนที่ผมจะออกทะเลไปไกลกว่านี้
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 มี.ค. 06, 13:05

 ไม่ได้แวะมาสักพัก ความเห็นนี้ก็ยาวเฟื้อยเสียแล้วครับ
ผมขอตอบทีละประเด็น ๆ
1. ประเด็นของคุณคนน่าเบื่อ
ผมมองว่า คุณมีความคิดนอกกระแส แต่ไม่ได้ถึงขนาด Friedrich Nietzsche เพราะคุณมักจะยกตัวอย่างประกอบเสมอ
ส่วนเรื่องอื่น ผมขอพูดคราวหลังครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง