เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 52485 สมุนไพรเด้อคับ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 14:29


.






ชนิดนี้เรียกว่ามหาพรหมครับ
ดอกสีขาว - ม่วง สวยมาก (เป็นหนึ่งในพืชในวงศ์นี้ที่ผมชอบที่สุดเลยล่ะครับ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitrephora winitii นะครับ
สูงราวๆซัก 10 เมตรได้ กระจายตัวอยู่บนเทือกเขาหินปู 100 - 150 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 14:33

 ชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ เพิ่งค้นพบได้ไม่นานนัก
หน้าตาต่างจากดอกด้านบนเล้กน้อย
เรียกว่ามหาพรหมราชินี
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 14:34


ภาพหลุดนะครับ ลองเทียบกันดูใหม่อีกรอบครับผม
บันทึกการเข้า
ศนิ
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95

- The Ultimate Aim of Education is the Development of Charactor -


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 17:12

ไม่มีภาพ สมุนไพรมาฝาก
เลยเอาภาพแมว มาฝากแทนค่ะ
บันทึกการเข้า
Vivi
อสุรผัด
*
ตอบ: 5

เรียน


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 11 มี.ค. 06, 11:38

 เรียน คุณ จขกท
1) ขอเรียนให้ทราบฮะ คุณหยิบรูปจากพันทิปมา 5-6 รูป  หากกระทู้คนละลักษณะ
แม้นหยิบรูปมามากอาจไม่เป็นไรฮะแต่หากกระทู้เรื่องเดียวกัน การหยิบรูปมามาก แม้คุณจะอ้างอิง ก็ผิดหลักการนะฮะ

2) โปรดช่วยกันรณรงค์ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง โดยเฉพาะชื่อกระทู้ ถ้าเป็นนักเรียนมัธยม พออภัยได้ฮะ
สมุนไพรครับ....จะน่าฟังกว่าคับ คับ คับ คับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 11 มี.ค. 06, 17:40

 เรียนคุณ Vivi ครับ

ขอบพระคุณครับ ที่ช่วยท้วงติงผมมา
ขออนุญาตชี้แจงทั้ง 2 ข้อนะครับ

ข้อแรก กระทู้ในพันทิปกระทู้นี้เป็นกระทู้ที่ผมอ่านอยู่เมื่อหลายเดือนที่แล้ว
เมื่อจะตั้งกระทู้นี้ผมได้กลับเข้าไปดูอีกครั้ง แต่ปรากฏว่ากระทู้ไม่ได้มีส่วนให้แสดงความคิดเห็นเสียแล้ว เนื่องจากกลายเป็นกระทู้ในคลังกระทู้เก่าไป (ลองอ่านดูในความเห็นที่ 33 ได้นะครับ)
การหยิบภาพมา หรือ quote ข้อมูลบางส่วนจากในกระทู้ เพื่อความสบายใจของผมเอง ผมจึงใช้วิธีเน้นสี และอ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ได้มากที่สุด
แม้แต่การหยิบข้อมูลหรือภาพ จากเวบไซต์หรือเวบบอร์ดอื่นๆผมก็ทำเช่นเดียวกัน ถ้าเห็นว่าไม่ใช่เวบที่ลงภาพไว้ประกอบธุรกิจ
สำหรับกระทู้นี้เพราะเห็นว่าการจะไปเปิดกระทู้ขออนุญาต หรือ ขออนุญาตในกระทู้อื่นดูจะเป็นเรื่องไม่สมควรสำหรับผม
ถ้าคุณ Vivi เห็นสมควรอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

ส่วนเรื่องชื่อกระทู้ ตอนตั้งผมไม่ได้ใส่ใจครับ
ผมถือว่าชื่อกระทู้ เป็นคำโปรยชนิดหนึ่ง อาจมีลักษณะทางภาษาที่ใช้เพื่อให้ดึงดูดใจผู้อ่านได้
ถ้าชื่อไม่ได้มีความหมายก้าวร้าว - เบี่ยงประเด็นจากข้อมูลของกระทู้ หรือ ใช้คำพูดไม่เหมาะสม ผมก็พออะลุ่มอล่วย
แต่ถ้าคุณเห็นว่าไม่สมควร เกณฑ์ในการตัดสินความเหมาะสมของเราคงไม่เท่ากันมั้งครับ

ลองอ่านดูในกระทู้นะครับ ถ้ามีคับๆๆๆๆ ติดกัน รบกวนคุณquoteข้อความมาแล้วกันนะครับ ผมจะได้ขออนุญาตให้ทางทีมวิชาการเข้ามาช่วยแก้ไข
เพราะแม้แต่คำหลายคำ ที่เด็กวัยรุ่นจำนวนมากพูดกันจนติดปาก ผมก็เห็นว่าไม่สมควรให้มีแทรกอยู่ในภาษากึ่งทางการในการตอบกระทู้ของผมแต่อย่างใด



ปล. รอหญ้าหนวดแมวอยู่นะครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 11 มี.ค. 06, 19:02




มาโพสต์ตามสัญญาครับ เมื่อวานกลับดึกไปหน่อยเลยไม่มีเวลาค้นข้อมูล

หญ้าหนวดแมว (Cat's Whisker หรือ Java Tea) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orthosiphon aristatus เป็นพืชในวงศ์ LABIATAE  เช่น เดียวกับ โหระพา กระเพรา แมงลัก ต้อยติ่ง หรือแม้แต่ตำแยแมวและ Catnip อย่างที่ได้กล่าวมาในความเห็นข้างต้น หญ้าหนวดแมวนี้แม้จะเรียกว่าหญ้าแต่ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพืชในตระกูลหญ้าเลย (พืชตระกูลหญ้าคือพืชที่อยู่ในวงศ์  GRAMINACEAE ได้แก่ ข้าว ไม้ไผ่ หญ้าพันธุ์ต่างๆ ซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว) เหตุที่เรียกว่าหญ้า คงเป็นเพราะคนไทยจะเรียกวัชพืชที่เกิดรวมๆกันในพงหญ้าป่าละเมาะว่า “หญ้า” กันทั้งหมด  โดยไม่สนใจถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางวิวัฒนาการ (evolution) หรือแม้แต่รูปพรรณสัณฐาน (morphology) หญ้าหนวดแมวก็เป็นหนึ่งในวัชพืชที่เกิดแซมตามพงหญ้าแถวป่าละเมาะเช่นกัน ส่วนที่มาของชื่อพืชก็ได้จากลักษณะของดอกที่มีเกสรยื่นออกมาเหมือนหนวดแมว ดังรูป (ที่มาของรูป www.kanchanapisek.or.th)
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 11 มี.ค. 06, 19:06


หญ้าหนวดแมวมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ มีโพแทสเซียมสูง ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง ลดการตกตะกอนของกรดยูริกในปัสสาวะ มีการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ โดยใช้กิ่งและใบแห้งขนาด 4 กรัม กับน้ำเดือด 750 ซี.ซี. ดื่มต่างน้ำตลอดวัน นาน 1-6 เดือน พบว่านิ่วหลุดหายเองร้อยละ 40 และคนไข้มีอาการปวดขัดลดลงร้อยละ 20 ของผู้ป่วยทั้งหมด  http://medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/orthosip.html
เนื่องจากมีฤทธิ์ที่พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ด้วยเหตุนี้จากวัชพืชธรรมดาจึงกลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งซึ่งทำเงินได้เช่นกัน มีการนำมาเตรียมเป็นยาสมุนไพรทั้งในรูปของแคปซูลหรือทำเป็นชาชงขายดาษดื่นทั่วไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นพืชสมุนไพรแต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยในการบริโภคร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูงจึงต้องระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจ การรับประทานยาสมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบันควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรด้วยทุกครั้ง
บันทึกการเข้า
Vivi
อสุรผัด
*
ตอบ: 5

เรียน


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 11 มี.ค. 06, 19:36

 ตอบ ค.ห. 35

1) ก็ได้แต่เตือนฮะ ไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่านี้ การหยิบภาพและเรื่องมาประกอบเรื่องของตนเอง
ทั้งๆที่ขออนุญาต ก็ยังอาจผิดหลักวิชาการบ้างฮะ เช่น
-โควต มากเกินไป ลองคุณเขียนวิทยานิพนธ์แล้วอ้างอิงซอร์สใดซอร์สหนึ่งมากเป็นพิเศษ ก็เข้าข่าย "เกินงาม" ฮะ
-การขออนุญาต ไม่ได้ทำให้ สิ่งที่ไม่เหมาะสม กลายเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ขึ้นมาฮะ เช่น ในท้องตลาด
มีคนเขียนเรื่องเที่ยวเขมรไว้แล้ว หากคุณจะเขียนเรื่องเที่ยวเขมรอีก ก็ไม่ควรอ้างอิงหรือหยิบภาพของเขามาใช้หลายภาพ
แต่ถ้าคุณเอาภาพเขมรไปใช้ในหนังสืออื่นที่มิใช่ท่องเขมร จะโอเคมากกว่าฮะ

ก็ไม่ได้ติเตียนอะไร เพียงแต่นักศึกษาบางครั้งไม่ทราบฮะ

2) คิดว่าชื่อกระทู้ควรจะใช้ภาษาให้เรียบร้อยเป็นพิเศษฮะ แล้วคำบรรยายต่อจากนั้นจะใช้ภาษาอย่างไร ถึงผิดจะไม่เด่นชัดเท่า
การดึงดูดความสนใจโดยจงใจใช้ภาษาที่ผิดสำหรับหลายๆคน ไม่น่านิยมฮะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 11 มี.ค. 06, 21:52


ขออนุญาตนำภาพมาเสริมข้อมูลของพี่ pharmaceutical scientist นะครับ
เพราะเท่าที่จำได้หญ้าหนวดแมวมี 2 สี คือขาวและม่วง เหมือนที่กะเพรามีทั้งขาวและแดงไงครับ
ความเห็นเพิ่มเติมนี้ผมก้เลยขออนุญาตนำภาพหญ้าหนวดแมวสีม่วงมาลงไว้แล้วกันนะครับ




สำหรับคุณVivi นะครับ
อย่างที่บอกคุณViviไปแล้ว เกณฑ์ในการตัดสินความไม่เหมาะสมของเราสองคนคงไม่ตรงกันหลายประการมั้งครับ

เพราะถ้าเป็นผม ถึงจะทราบมาอย่างแน่ชัด ว่ามีคนตัดเอาคำพูดของผมส่วนไหนไปเขียนอ้างอิงลงในรายงาน หรือวิทยานิพนธ์ของตัวเองเพื่อกล่าวอ้างสนับสนุนงานเขียนของเขา
ผมจะภูมิใจ ว่างานเขียนของผมเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมได้
และที่กล้าพูด ก็เพราะเคยพบกับตัวเองมาแล้ว ทั้งในลักษณะของการอ้างอิง การลอกเลียน หรือแม้กระทั่งนำไปเสนอว่ามีจุดบกพร่องในส่วนไหน ทั้งภาพและข้อเขียน

อย่างไรก็ตาม ขอบคุณนะครับ ที่หวังดีสมัครสมาชิกเรือนไทย เพื่อกรุณาเข้ามาเตือนผมว่าถ้าผมยังอ้างอิงในลักษณะนี้ต่อไป ผมอาจถึงขั้นชุบมือเปิบเข้าสักวัน
บันทึกการเข้า
Vivi
อสุรผัด
*
ตอบ: 5

เรียน


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 มี.ค. 06, 11:52

 ตอบ ค.ห. 39
"อย่างที่บอกคุณViviไปแล้ว เกณฑ์ในการตัดสินความไม่เหมาะสมของเราสองคนคงไม่ตรงกันหลายประการมั้งครับ"

-ตรงนี้คิดว่าคุณ จขกท คงพูดผิดฮะ การ "หยิบยืม" นั้นมีกฎเกณฑ์สากลเป็นที่ยอมรับทั่วไปฮะ ที่ติติงขึ้นมา
เพราะคิดว่านักศึกษาบางครั้งไม่ทราบ หรือมองข้ามไปฮะ มันไม่ใช่กฎเกณฑ์ "ของท่าน" "ของฉัน" หรือ "ของเขา" ฮะ

---------------

"เพราะถ้าเป็นผม ถึงจะทราบมาอย่างแน่ชัด ว่ามีคนตัดเอาคำพูดของผมส่วนไหนไปเขียนอ้างอิงลงในรายงาน
หรือวิทยานิพนธ์ของตัวเองเพื่อกล่าวอ้างสนับสนุนงานเขียนของเขา ผมจะภูมิใจ ว่างานเขียนของผมเป็นที่ยอมรับ
ของคนในสังคมได้"

อย่าตะแบงจนผิดประเด็นสิฮะ

1) การ "ขอยืม" มีขอบเขตจำกัดฮะ ถ้า "สมน้ำสมเนื้อ" ไม่มีใครว่าได้ฮะ

2) ที่ จขกท โควตมา ยอมรับได้ในบางส่วนฮะ ไม่ทุกส่วนเพราะคุณไม่ได้บอกว่าเขาโควตไปแค่ไหน

3) ตอบคำถามนี้สิฮะ หากคุณเรียนวิชา "การเขียนรายงาน" หรือวิชาที่ต้องทำสารนิพนธ์ คุณใช้แหล่งอ้างอิงเพียง 3 แหล่ง
รับรองว่าอาจารย์ที่ปรึกษาจะไม่ปล่อยให้คุณผ่านขั้นตอน "ใช้แหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม" แต่จะ "กัก" ให้คุณ
หาแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมฮะ

คุณเขียนกะทู้เหมือนพันทิป ก็เพียงแต่หารูปเอง หรือเท็กซ์เอง ก็หมดเรื่องฮะ ถ้าต้อง "ขอยืม" ก็ดูให้สมน้ำสมเนื้อ เท่านี้เองฮะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 12 มี.ค. 06, 16:15


ต้องขอบคุณคุณVivi นะครับ อุตส่าห์เข้ามาตอบกระทู้ผมถึง 3 ครั้งเชียว (และมั่นใจว่าหลังจากที่ผมโพสต์ โพสต์นี้ไปแล้ว คงมีครั้งต่อๆไปอีก)

อย่างที่บอกล่ะครับ "เกณฑ์ในการตัดสินความเหมาะสมของเราคงต่างกันมากจริงๆ"
เพราะความหมายของผมทั้งในความเห็นที่ 39 และความเห็นนี้ไม่ได้หมายความถึงแค่เรื่องการขอหยิบขอยืม
แต่หมายรวมถึงวิธีการโต้ตอบ หรือคำพูดต่างๆในกระทู้ด้วย เช่นที่เราคุยกันไปแล้วบ้างผ่านความเห็นเพิ่มเติมที่ 35 และ 38 ตามลำดับนะครับ

ส่วนเรื่องอื่น ผมไม่คิดว่าจะต้องอธิบายอะไร เพราะสำหรับกระทู้นี้ในเนื้อกระทู้เอง ที่ผมหยิบเรื่องตำแยแมวขึ้นมาเป็นเรื่องแรก ก็บอกอยู่เต็มๆ ว่านำกระทู้ไหนมาเล่าใหม่
หรือบางกระทู้ที่ผมตั้ง ผมก็อ้างอิงไว้แล้วว่าที่เปิดเพราะเข้าฟังบรรยายที่ไหน ชมนิทรรศการอะไร ทำไมถึงมีแรงบันดาลใจมาเปิดกระทู้
กระทู้นี้แต่แรกอย่างในเนื้อกระทู้ก็ไม่ได้ตั้งใจเปิด เพียงแต่คิดว่าถ้าจะนำกระทู้นี้ไปเล่าใหม่ในกระทู้อื่นที่ไม่ได้มีหัวเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร
ก็จะทำให้เนื้อหากระทู้ถูกเบี่ยงประเด็นไปได้ เลยนำมาเปิดไว้เป็นกระทู้ใหม่
และได้พี่ pharmrceutical scientist ซึ่งมีความรู้ในด้านสมุนไพรหลายชนิดมากกว่าผมเข้ามาช่วยเป็นธุระ เล่าเรื่องราวต่างๆ และแก้ไขข้อมูลที่ผมพิมพ์ผิดพลาดไปด้วย (ต้องขอบคุณพี่ที่น่ารักไว้ด้วยนะครับ อิอิ)
ถ้าคุณจะคิดว่าผมนำเอาข้อความของผู้อื่นมาทำเป็นสมบัติส่วนตัว ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของคุณในการ "คิด" นะครับ


เปลี่ยนมาคุยกันเรื่องอื่นดีกว่าครับ
เดี๋ยวกระทู้สมุนไพรจะกลายเป็นกระทู้ที่ผมคุยกับ คุณVivi ไปเปล่าๆ

วันนี้ผมมาเล่าเรื่องพืชในวงศ์กระดังงาแล้วกันครับ (วงศ์โปรดผมอ่ะ อิอิ)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 12 มี.ค. 06, 16:43

 เล่าง่ายๆละกันนะครับ (แต่ถ้ามีศัพท์ยากๆ ไม่เข้าใจก็ถามกันนะครับ)

วงศ์กระดังงา หรือจะวงศ์น้อยหน่าก็ได้ (แต่คนไทยส่วนใหญ่เห็นติดปากว่าวงศ์กระดังงา)

เรามาเริ่มจากลักษณะคร่าวๆประจำวงศ์ก่อนดีกว่าครับ


พืชในวงศ์กระดังงาเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ในอันดับ Ranales ซึ่งมีอยู่หลายวงศ์
เช่น วงศ์จำปี-จำปา(Magnoliaceae) วงศ์อบเชย(Lauraceae) วงศ์จันทน์ป่า จันทน์แดง(Myristicaceae) เป็นต้น

ดังนั้น ลักาณะร่วใของอันดับ จึงพอจะเห็นได้อยู่บ้างนะครับ

เช่น ดอกส่วนมากเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีวงกลีบดอกจำนวนมาก กลีบดอกและกลีบเลี้ยงแยกออกจากกันไม่ชัดเจน และมักแยกออกจากกัน มีจำนวนน้อยที่เชื่อมติดกันเป็นอันเดียว

เช่นในภาพ เป็นดอก Magnolia จากวงศ์ Magnoliaceae แสดงให้เห็นกลีบดอกซึ่งซ้อนกันหลายวง และแยกออกจากกลีบเลี้ยงได้ยาก
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 12 มี.ค. 06, 16:55

 โคลสอัพอีกซักภาพ ว่ากลีบดอกและกลีบเลี้ยงของพืชในอันดับนี้มักแยกออกจากกันได้ยากครับ
เพราะอย่างที่เห็น นอกจากใบประดับที่มีขนๆที่โคนดอกแล้ว ส่วนที่เกิดจากกลีบดอกและกลีบเลี้ยงรวมกันก็แทงออกจากใบประดับมาประกอบเป็นดอกเลย
มีศัพท์วิทยาศาสตร์เรียกรวมๆกันว่า tepal หรือภาษาไทยใช้คำว่า "กลีบรวม" นะครับ หมายความว่ากลีบดอกและกลีบเลี้ยงแยกออกจากกันได้ไม่ชัดเจน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 12 มี.ค. 06, 16:58


หลุดนะครับ เอามาลงใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง