เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 52544 สมุนไพรเด้อคับ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 09 มี.ค. 06, 13:49

 ขอบคุณมากครับพี่ ที่เข้ามาช่วยกันเล่าเรื่องสมุนไพร (หลังจากขอบคุณหลังไมค์ไปแระเนอะ อิอิ)


เดี๋ยวผมรับหน้าที่ผุ้ช่วยหาภาพดีกว่าครับ เพราะที่เรียนอยู่ตอนนี้ไมได้ใช้อะไรเกี่ยวกับยาซักเท่าไหร่
ความรู้ ปี 1 เทอม 1 ก็เลยคืน อ. ไปเรียบร้อยซะแล้วล่ะครับ จำอะไรสลับกันไปหมด

ขนาดที่เพิ่งจะสอบผมยังจำผิดจำถูกเลยครับ
วันก่อนยังเผลอเขียน periosteal hemorrhage เป็น peritoneal hemoffhage เลยครับ เอิ๊กๆ
จนออกจากห้องสอบไปแล้วแหละครับ ถึงได้นึกขึ้นได้ว่าเขียนผิด อ่ะจึ๋ย ตายแหน่ๆ



อ่ะ แมวครับ แต่คงไม่ได้เมาตำแยแมว หรือ Catnip ที่ไหนนะครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 09 มี.ค. 06, 16:47

 คุณนักวิทยเภสัชศาสตร์ครับ ทำไมสมัยนี้เราไม่เคยเห็น(ต้น)นมแมวเลยครับ(นอกจากในหนังสือ)
เห็นว่าจะมีสมุนไพรแปลก ๆ มาลงที่นี่ ก็เลยแวะมาดู เห็นว่าน่าสนใจดีครับ(ติดใจแมวเมาเบียร์ในกระทู้นี้ครับ)
ป.ล. ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกฮอล์ ยกเว้นเวลาสี่ทุ่มถึงตีห้าครับ
น่าจะเซ็นเซอร์กระป๋องเบียร์ครับ เดี๋ยวเขาหาว่าโฆษณาแฝง กลัวเด็กเห็นแล้วมันปาก อยากกินบ้าง(ซึ่งไม่เกี่ยวกับกระทู้นี้ และคนดื่มเพราะการชักชวนครับ)    
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 มี.ค. 06, 23:06


สวัสดีครับ คุณศรีปิงเวียง
เรื่องที่ถามว่าทำไมเราไม่ค่อยเห็นต้นนมแมวปลูกกันซักเท่าไหร่นั้น คงเป็นเรื่องของค่านิยมตามยุคสมัยนั่นแหละครับ ว่าแล้วก็เล่าเรื่องต้นไม้ต้นนี้ประเดิมเป็นปฐมฤกษ์ซะเลย แต่เดิมนั้นต้นนมแมวเป็นไม้หอมที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำขนม (อาจเคยได้ยินกลิ่นนมแมวที่นำมาเติมในขนมไทยๆนะครับ สมัยนี้มีแต่ใช้กลิ่นสังเคราะห์ ไม่รู้ว่ายังมีใครนำดอกนี้มาอบขนมอยู่บ้าง) และใช้เป็นเครื่องหอม
นมแมวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rauwenhoffia siamensis อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE  (อ่านว่า แอนโนนาซี่ ชื่อวงศ์ต้องเขียนตัวใหญ่ทั้งหมดครับ) เมื่อเห็นชื่อท้ายแล้ว (specific epithet) ก็ควรจะภูมิใจนะครับว่าเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในสยามประเทศ ต้นนมแมวนี้เป็นญาติใกล้ชิดกับ กระดังงา ลำดวน ซึ่งจัดได้ว่าเป็นไม้ให้ดอกกลิ่นหอมด้วยกันทั้งนั้น นอกจากนี้ยังใกล้ชิดกับน้อยหน่าซึ่งเป็นผลไม้ไทยๆอีกด้วย แม้น้อยหน่าจะไม่มีกลิ่นหอม แต่ใบของมันมีกลิ่นฉุน นำใบของมันมาขยี้หมักผมกำจัดเหาได้ดีนักเชียว
ลักษณะของนมแมวนั้นเป็นไม้เลื้อย เถา อาจเป็นพุ่ม(ในรูป) ดอกคล้ายลำดวน แต่จะไม่บานเป็นแฉกสวยเท่าดอกลำดวน สีของดอกเป็นเหลืองอมเขียว ออกดอกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกแข็ง
ถิ่นที่พบได้แก่ บริเวณภาคใต้ไปจนถึงมาเลเซีย และบริเวณภาคกลางบางส่วน
ข้อสังเกตของคุณศรีปิงเวียงว่าทำไมไม่ค่อยพบเห็นต้นนี้ปลูกกันทั่วไป อาจเพราะต้นมีการใช้ประโยชน์เฉพาะในการทำให้เกิดกลิ่นหอม ตัวต้นและดอกไม่สวยงามพอที่จะทำเป็นไม้ประดับ เมื่อเราไม่ทำขนมหรือเครื่องหอมเองแล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะปลูก เมื่อเทียบกับไม้ดอกไม้ประดับอื่นๆ ความนิยมจึงค่อยๆหมดไป ถ้าอยากเจอต้นจริง อาจแวะมาคณะเภสัชฯ หรือสวนพฤษศาสตร์ในเชียงใหม่ก็น่าจะมีปลูกไว้ อย่างต้นข้างบนก็อยู่ที่เภสัชฯ จุฬาฯ ครับ
สำหรับประโยชน์ทางยา ตามการแพทย์แผนไทย ได้แก่ เนื้อไม้ แก้ไข้หวัด แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้ไข้ทับระดู ไข้กลับ ราก แก้ไข้หวัด แก้ไข้ มีเสมหะ แก้ไข้ทับระดู แก้ผอมแห้งเนื่องจากอยู่ไฟไม่ได้ ไม่ระบุส่วน แก้ไข้ทับระดู แก้ไข้หวัด แก้ไข้เหนือ แก้ไข้เรื้อรัง ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวกับการลดไข้ทั้งนั้น
การศีกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ยังไม่มีแพร่หลาย ทราบแต่ว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase ซึ่งเป็นเป้าหมายในการรักษาเอดส์ (ทำการศึกษาในหลอดทดลองเท่านั้น) ยังไม่มีการศึกษาสารสำคัญภายในต้นนี้ คงอาศัยแต่การเทียบเคียงสารที่พบในวงศ์เดียวกันมาอ้างอิง
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 มี.ค. 06, 23:22


เมื่อมาโพสต์ในห้องเรือนไทยแล้วจะไม่เขียนเรื่องราวของนมแมวกับวรรณคดีก็เห็นจะไม่ได้

ถึงห้วยอีร้าและระย้าล้วนสายหยุด
กะมองกระเม็งนมแมวเป็นแถวไป
  ดอกนั้นสุดที่จะดกดูไสว
ล้วนลูกไม้กลางป่าทั้งหว้าพลอง

                                                                                                              นิราศเมืองแกลง สุนทรภู่

    นางแย้มสาวหยุดพุทธชาด
พุดซ้อนซ่อนกลิ่นจำปี
  เบญจมาศหลายอย่างต่างสี
มะลุลีสุกรมนมแมว

                                                                                                                  บทละครเรื่องพระศรีเมือง

ดอกพะยอมผิยอมกู้
นมแมวฉิแมวมอง
นะและกูจะตรึกตรอง
ระสัททะดัสกรฯ

เฉลิมเกียรติกษัตรีคำฉันท์  พระนิพนธ์ในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 มี.ค. 06, 23:32


ขนมที่ยังใช้กลิ่นนมแมวมาปรุงแต่ง (แม้จะเป็นกลิ่นสังเคราะห์ก็ตามที) ได้แก่ ขนมปุยฝ้าย ขนมสาลี่
มีสูตรมาให้ลองทำส่วนผสม ดังนี้ครับ

ไข่เป็ด 5 ฟอง
แป้งเค้ก 2.5ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1.5ถ้วยตวง
กลิ่นนมแมว 1/2 ช้อนชา
น้ำ1/2ถ้วยตวง
น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
สีผสมอาหาร
กระดาษไข

วิธีทำ
1. ร่อนแป้ง 1-2 ครั้ง
2. ตีไข่ให้ฟูเล็กน้อย ใส่น้ำตาลทั้งหมด ตี 3 นาที ใส่น้ำ 2 ช้อนโต๊ะ ตีต่อไป
3. ใส่น้ำมะนาวตีจนขึ้นเต็มที่ ใส่กลิ่นนมแมวตีให้เข้ากัน ตีต่อไปอีก 6 นาที
4. ใส่แป้งสลับกับน้ำที่เหลือ ใส่สีให้เป็นสีอ่อน ๆ ตะล่อมเบาๆ
5. ตัดกระดาษไขรองก้นพิมพ์ เทขนม 1/2ของพิมพ์ กระแทกพิมพ์กับพื้น 2-3 ครั้งไล่ฟองอากาศ
6. นึ่งไฟแรง 25 นาที ยกลง เอาออกจากพิมพ์ พักไว้บนตะแกรงให้เย็น

ข้อเสนอแนะ
1. อย่าตีไข่นานจะทำให้เนื้อขนมเหนียว
2. เมื่อผสมเสร็จควรนึ่งทันที
3. ใช้กระดาษฟางกรุรังถึงให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหยดบนขนม

ลักษณะอาหารที่ได้
หน้าขนมเรียบ เนื้อละเอียด ฟูเบา ไม่เหนียว มีกลิ่นหอม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 00:34

 เดี๋ยวนี้เจ้ากลิ่นนมแมวที่ใช้ในขนม
ร้อยละร้อยจุดห้า เป็นกลิ่นสังเคราะห์เสียแล้วล่ะครับ
ขอแค่กลิ่นเหมือนซะหน่อยก็ถือว่าใช้ได้ ไม่ต้องใช้ของจริงหรือเหมือนเปี๊ยบจนต้องเอาของจริงมาใช้

ต้นนมแมวก็เลยตกหล่นสูญหายไปตามกาลเวลาจากบ้านทั้งหลาย ด้วยความที่ต้นก็ไม่ได้สวยงาม ถ้าร่มมากไปหรือแดดมากไปก็มักเลี้ยงไม่รอด

แต่ผมเชื่อว่าตามตลาดต้นไม้ใหญ่ๆ มีต้นนมแมวขายแน่นอนครับ ถ้าคุณศรีปิงเวียงสนใจลองไปเดินหาดูได้ครับ  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 00:42

 ขนมไทยอีกชนิดนึงที่ผมพอนึกออกว่าใช้กลิ่นนมแมว น่าจะเป็น "ขนมกลีบลำดวน" นะครับ
แต่พูดก็พูดเถอะ ผมคนนึงล่ะที่ไม่เคยชอบกลิ่นนมแมวในอาหารแบบเข้ากระดูกดำเลย
ดมตอนเป็นดอกไม้ก็หอมใช้ได้ แต่ทำไมเวลาเป็นขนมขึ้นมาต้องเลี่ยงไปกินอย่างอื่นก็ไม่ทราบ

ตั้งแต่ปุยฝ้าย หรือสาลี่ เห็นสีชมพูแล้วเดาว่าเป็นกลิ่นนมแมวก็ไม่กินจะดีกว่า
(บางทีเปิดออกมา... อ้าวกลิ่นสตรอว์เบอร์รี่ กลิ่นสละ ก็มี) - เดี๋ยวนี้คนทำขนมไทยมีพัฒนาการเยอะนะครับ อิอิ  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 00:52


หลายเดือนก่อน ผมไปเดินเล่นที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง แล้วไปเจอขนมกลีบลำดวน "สมัยใหม่" เข้า เลยอยากเอามาเล่าให้ฟังครับ

แต่ก่อนจะบอกว่าสมัยใหม่ยังไง ขอเล่าก่อนว่าเวลาผสมแป้งทำขนมกลีบลำดวนก็คล้ายๆการผสมแป้งทำคุ้กกี้แหละครับ
ทำเสร็จแล้วก็ปั้นแป้งเป็นลูกกลมๆ เอามีดผ่าซะให้เป็น 4 แฉก แล้วดึงเอาแฉกนึงออกมาปั้นเป็นลูกกลมเล็กๆอีกรอบ
จากนั้นจับ 3 แฉกที่เหลือมาชนกัน แล้วเอาลูกกลมๆที่ปั้นไว้ใส่ลงไปตรงกลาง จะได้เหมือนดอกลำดวน
หรือใครจะเอาลูกกลมๆเล็กๆที่ว่ามาผ่าแล้วทำเป็น 3 แฉกอีกรอบก็ได้ (เหมือนในภาพที่เอามานี่แหละครับ)
เพราะดอกลำดวนของจริงมีกลีบ 2 ชั้น ชั้นละ 3 แฉก

แต่เจ้ากลีบลำดวนสมัยใหม่ที่ผมไปเห็นเข้าเนี่ยะ คนทำเขาผ่า 4แฉกแล้วจับเอาลูกกลมๆลูกเล็กๆยัดใส่ลงไปเลย
เลยกลายเป็นดอกลำดวนที่มี 4 แฉก (แต่เห็นแล้วผมก็ซื้ออยู่ดีแหละ รสชาติก็ใช้ได้ แถมไปชิมเขาอีก ไม่ซื้อพ่อแม่ที่บ้านอาจจะโดนอวยพรเอา)


พอซื้อเสร็จ เอามาฝากพี่ชายที่บ้าน แล้วก็ขอโทษว่าถ้ามันมี 4 แฉกก็อย่าว่านะพี่
พี่แกดันตอบผมมาว่า "ไม่เป็นไรหรอก ตำราเรียนชีวะวิทยา ม.ปลายเขาสอนว่าพืชใบเลี้ยงคู่มีกลีบดอกที่เลข 4 หรือ 5 หารลงตัว คนทำคงเรียนหนังสือมาแต่ไม่เคยเห็นดอกลำดวนจริงๆมั้ง"
ฟังแล้วเลยหยุดบ่นได้ครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 00:54

ก่อนที่กระทู้สมุนไพรจะกลายเป็นกระทุ้ขนมไทยมากกว่านี้ ผมขอเอารูปดอกลำดวนมาให้ดูกันดีกว่า
แล้วค่อยมาคอยฟังพี่ pharmaceutical scientist เล่าเรื่องหญ้าหนวดแมว หรือ กกธูป ต่อไปนะครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 01:22


เอาภาพ "ผล" นมแมวมาฝากกันครับ

พืชในวงศ์กระดังงาที่พี่ pharmaceutical scientist พูดถึง ผมเข้าใจว่าหลายสกุลติดผลแบบนี้นะครับ เช่น นมแมว (Rauwenhoffia) หรือ ลำดวน (Melodorum) เป็นต้นนะครับ - จำชื่อสกุลผิดหรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจครับ แหะๆ

ขอย้อนกลับไปอ้างอิงจากหนังสือชีวะวิทยาเล่มเก่าเขรอะ ที่นิสิตยุคนี้อาจจะไม่ได้ใช้แล้ว
คือหนังสือ ของ อ.เชาว์ และ อ. พรรณี เล่มที่ 3 หน้า 278 ที่กล่าวถึงผลกลุ่ม (Aggregate Fruit) นะครับ

แล้วไหนๆก็ยกมาอ่านให้ฟัง ผมอ่านคร่าวๆพอแล้วกันครับ ว่า
ผลกลุ่ม หรือ Aggregate Fruit (มาจากภาษาละตินว่า ad + gregate นะครับ) คือผลที่เกิดจากการรวมกลุ่มของรังไข่หลายรังในดอกเดียว
ซึ่งแต่ละรังไข่จะกลายเป็นผลย่อยๆ 1 ผล แต่เนื่องจากอยู่อัดกันแน่น จึงทำให้ดูคล้ายผลเดียวได้ เช่น ผลน้อยหน่าครับ
แต่บางชนิดก็ไม่ได้อยู่อัดกันแน่นครับ เช่น ผลนมแมว  (ดูในภาพครับ)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 01:31

 เสริมนิดนึงนะครับ ว่าผมเข้าใจว่าใบและเปลือกของพืชในวงศ์กระดังงา มักมีกลิ่นฉุน
เหมือนอย่างที่พี่ pharmaceutical scientist เล่าไว้ว่าใบน้อยหน่านำมาใช้กำจัดเหาได้นะครับ
หรือยอดมักมีขนอ่อนๆละเอียดสีเหลือง หรือน้ำตาลปกคลุมอยู่ เป็นต้น


ปล. เข้าใจว่ากลอน และกาพย์ในความเห็นที่ 18 ที่พี่pharmaceutical scientist โพสต์ไว้ เรียงลำดับจากวรรค "สดับ - รอง - รับ - ส่ง" แทนที่จะเป็น "สดับ - รับ - รอง - ส่ง" นะครับ

ปล.2 พยายามหารูป "ผลลำดวน" อยู่ครับ แต่หาไม่พบ ไม่ทราบว่าที่โต๊ะประวัติศาสตร์จะพอหาได้มั้ย ใครผ่านไปรบกวนช่วยหาให้ทีครับ เอิ๊กๆ

ปล.3 ลองเดากันดูมั้ยครับ ว่าภาพนี้ดอกอะไร อิอิ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 07:57

 ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงทั้งสองท่านครับ
ดอกในความเห็นที่ 25 น่าจะเป็นดอกกระดังงา
ป.ล. ผมชอบขนมกลีบลำดวนอย่างเก่ามากกว่าครับ แบบที่พี่ติบอเอามาให้ไม่เคยเห็นครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 09:25

 ต้องขออภัยเรื่องกาพย์กลอนที่เกิดข้อผิดพลาดในการเรียงลำดับด้วยครับ    ลืมไปว่าการพิมพ์ข้อความในกระทู้ไม่เหมือนกับในเวิร์ด พอ copy&paste มาเลยเลื่อนไปหมด
ขอแก้ไขใหม่ดังนี้

ถึงห้วยอีร้าและระย้าล้วนสายหยุด  ดอกนั้นสุดที่จะดกดูไสว
กะมองกระเม็งนมแมวเป็นแถวไป   ล้วนลูกไม้กลางป่าทั้งหว้าพลอง

นิราศเมืองแกลง สุนทรภู่

นางแย้มสาวหยุดพุทธชาด เบญจมาศหลายอย่างต่างสี
พุดซ้อนซ่อนกลิ่นจำปี       มะลุลีสุกรมนมแมว

บทละครเรื่องพระศรีเมือง

ดอกพะยอมผิยอมกู้ นะและกูจะตรึกตรอง
นมแมวฉิแมวมอง ระสัททะดัสกรฯ

เฉลิมเกียรติกษัตรีคำฉันท์ พระนิพนธ์ในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 09:41

 หุหุ น้องศรีปิงเวียงคงไม่ค่อยได้เห็นดอกไม้ในวรรณคดีเป็นแน่ กระดังงาดอกเป็นอย่างนี้ครับ

ที่น้องติบอนำมาให้ดูนั้น คือดอกลำดวน ของจริงครับ

มาต่อเรื่องลักษณะของผลกันอีกสักนิด สำหรับผลที่เกิดจากรังไข่ของดอกหลายๆดอกในช่อเดียวกันมาฟิวส์รวมกัน เราเรียกว่า "ผลรวม" (multiple fruit) ได้แก่ ขนุน ผลของมัน 1 ผล เกิดจากช่อ 1 ช่อ ส่วนที่เรารับประทานกันคือรังไข่ ส่วนที่เป็นเส้นริ้วๆ (จำไม่ได้ว่าเรียกอะไร) คือเกสรตัวผู้ครับ

ค่ำๆ ดึก เดี๋ยวจะมาเล่าเรื่อง หญ้าหนวดแมว หญ้าที่ไม่ใช่หญ้า กันต่อครับ  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 10 มี.ค. 06, 14:23


มาเฉลยความเห็นเพิ่มเติมที่ 25 เพิ่มเติมจากที่พี่pharmaceutical scientistได้เฉลยไว้นะครับ
ว่าโดยทั่วไปแล้ว คนมักจะเข้าใจว่าพืชในวงศ์กระดังงา (Annonaceae) ต้องมีดอกสีเหลืองอ่อน ส้ม เขียว หรือขาว
แต่ที่จริงมีต้นไม้จากวงศ์นี้อีกหลายชนิดนะครับ ที่ให้ดอกสีชมพู แดง ม่วง หรือมากกว่า 1 สีก็มี

หรือบางชนิด พืชจะมีสีที่แตกต่างกันมากตามแต่ละต้นด้วย เช่น ดอกลำดวนที่ผมยกมาให้ดูนี่ล่ะครับ


ปล. เดี๋ยวผมอาจจะมาเล่าเรื่องพืชวงศ์กระดังงาต่อนะครับ อิอิ

ปล. 2 เอาที่สีแปลกๆมาให้ชมกันครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 19 คำสั่ง