เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 10662 พระองค์เจ้าปฤษฎางค
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
 เมื่อ 16 พ.ย. 00, 00:00

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์  ประสูติเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธุ์ พศ
๒๓๙๔ (จาก มล มานิจ ชุมสาย

จากเอกสารของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์  
กับกิจกรรมทางการทูตในยุโรป ปี พศ ๒๔๒๓ ถึง ๒๔๒๙)  
/>
ในพระองค์เจ้าชุมสาย ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่(ตามลำดับวัย)  ใน ร๓  
หลังประสูติได้สองเดือน  ร๓

ก็ทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ ๒
เมษายนของปีเดียวกัน



เมื่อ ร๕ ทรงครองราชย์  ในช่วง ๕
ปีแรก  ได้ทรงเสด็จไปสิงคโปร์  กร้อมกับกระอนุชาอีกหลายพระองค์  
/>
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นพระอนุชา(ลูกพี่ลูกน้อง) องค์์หนึ่ง  
ซึ่งประทับต่อในสิงคโปร์เพื่อการศึกษา  

ทรงศึกษาได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง
  และได้เสด็จต่อไปยังประเทศอังกฤษเพื่อศึกษาวิชาวิศวกรรม  
/>
ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาจบจาก Western University  
/>
ทรงได้รับเกียรติและรางวัลที่หนึ่งมากมายจากหลายวิชา  เมื่อทรงรับปริญญาจาก
King's College

หนังสือพิมพ์ไทมส์ก็ได้ลงเรื่องราวเป็นเกียรติ  
ในฉบับวันที่ ๗ กรกฎาคม พศ ๒๔๑๙ (คศ ๑๘๗๖)  หลังจากนั้น  
/>
ทรงกลับมาเยือนประเทศไทยระยัหนึ่ง  
แล้วเสด๊จกลับประเทศอังกฤษเพ่ือฝึกงานด้านวิศวกรรมกับบริษัทอังกฤษ
/>


ในปี ๒๔๒๒  พระปรีชา ซึ่งมาจากสกุล อมาตยกุล  
ซึ่งมีตำแหน่งที่มีอิทธิพลมากด้วยเป็นพระสหายส่วนพระองค์  
/>
ถูกกล่าวหาโดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่า  ฉ้อฉลเงินแผ่นดิน  
พระปรีชารีบแต่งงานกับ แฟนนี่ น็อกซ์ (Fanny

Knox) บุตรสาวของ  
Thomas Knox กงสุลใหญ่อังกฤษประจำไทย  เพื่อหวังอาศัอิทธิพลอังกฤษเพื่อหลบภัย  


มิสเตอร์น็อกซ์ต้องการช่วยปกป้องผลประโยชน์ของบุตรีซึ่งกำลังท้องอยู่
  ได้เข้าเผ้า ร๕  

แต่เหตุการณ์ก็ไปใหญ่โตแล้ว  
พวกอมาตยกุลหลายคนถูกจับ  พระปรีชามอบเงินทองทั้งหมดให้นางแฟนนี่ภรรยา  
/>
นายทอมัส น็อกซ์กล่าวหาว่าเป็นแผนของสกุลบุนนาค  
และประกาศว่าจะอยู่ข้างฝ่าย ร๕  
/>
และพร้อมที่จะสั่งเรือรบอังกฤษเข้ามาช่วยคุมสถานการณ์  แต่ ร๕ ทรงปฏิเสธ  
ในที่สุด

ทางรัฐบาลอังกฤษที่ลอนดอนก็เรียกตัว ทอมัน น็อกซ์ กลับ  
แทนที่จะส่งเรือรบมาตามที่ท่านกงสุลคาดหวังไว้


/>
ก่อนหน้านั้นไม่นาน  เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (ผล บุนนาค) ได้มาที่อังกฤษ  
เพื่อเซ็นสาธิสัญญาเกี่ยวกับเชียงใหม่  
/>
และได้พบพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ที่นั่น  
ท่านเจ้าพระยาฯได้อาศัยพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ในการแปลเอกสาร  
/>
และทรงทำหน้าที่เป็นเลขาส่วนตัวเป็นที่พึงพอใจแก่ท่านเจ้าพระยาฯเป็นอย่างยิ่ง
  ต่อมา นางแฟนนี่ น็อกซ์

กลับมาอยู่ที่ปารีส  ก็ต้องการร้องเรียนว่า
  เงินทองที่พระปรีชาทิ้งไว้ให้ก็ถูกเพื่อนของพระปรีชาโกงไปจนหมด  
/>
นางต้องตกระกำลำบาก  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ทรงเป็นล่ามช่วยแปลให้  
แต่ผลสรุปยังไม่ทันตกลงกัน  

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์  
ก็เสด็จกลับมารับราชการในประเทศไทย  ต่อมาอีกไม่นาน  
/>
สกุลบุนนาคก็อาศัยพระองค์ท่านในการแปลสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  
และเป็นสื่อกลางกับรัฐบาลอังกฤษ  

จนประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง  
จนในปีต่อมา  คือ พศ ๒๔๒๔  
/>
ก็ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นทูตเชื้อสายไทยพระองค์แรกประจำที่ลอนดอน
 

โดยได้รับความเห็นชอบจากตระกูลบุนนาคด้วยดี  จึงนับเป็นโอกาสแรกที่
ร๕

ทรงมีพระราชโอกาสได้ทรงวางตำแหน่งข้าราชการสำคัญ  
ด้วย"คนของพระองค๋เอง"  ไม่ใช่มาจากสายบุนนาค



ต่อมาในปี พศ
๒๔๒๘ ข่าวที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ  
ตามด้วยการที่เวียตนามตกเป็นของฝรั่งเศส  

เป็นที่วิตกกังวลต่อ ร๕
เป็นยิ่งนัก  จึงทรงโปรดให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทูลถวายคำแนะนำว่า  
/>
ประเทศไทยควรแก้ไขอย่างไร  เพื่อมิให้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งต่างชาติ  

/>
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถวายสารมาทูลว่าไม่มีความสามารถพอที่จะทูลถวายคำแนะนำได้
 

แต่ความเห็นส่วนพระองค์อาจเป็นที่ระคายเคืองได้  แต่ ร๕
ทรงยืนยันให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทูลเสนอมา  
/>
แต่กลับทรงแปลกพระทัยและทรงกริ้วเป็นอย่างมาก  
เมื่อการสนทนาซึ่งเข้าพระทัยว่าเป็นการส่วนพระองค์นั้น  
/>
นำมาซึ่งสารยาว ๖๐ หน้า  ลงพระนามและชื่อโดย ๑๑ คน  
ซึ่งรวมทั้งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์

และพระอนุชาอีกสามพระองค์ คือ
พระองค์เจ้านเรศฯ พระองค์เจ้าสวัสดีโสภณ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต  
/>
และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อีก ๗ ท่านที่ประจำอยู่ในอังกฤษในเวลานั้น
/>


เอกสารนั้น  เป็นการทูลเสนอข้อวิเคราะห์เกี่ยวกับ  
ระบบการเมืองและวัฒนธรรมที่ปฏิบัติอยู่ในประเทศไทย  
/>
และทูลเสนอการปฏิรูป ดังนี้



"No means diplomatic,
militaristic, buffer-state dependent, or treaties reliant, would suffice to
save

the country from being colonized (Manich:254-Sumet Jumsai).
And so it was "mandatory" for the

country to reform itself
internally, in addition to reforms that had already been instituted but so
far

not adequate (Manich:255-Sumet Jumsai). These additional
reforms included: "the change from

absolute to constitutional
monarchy", the more "clearly defined" Law of succession of the reign, the


"eradication of corruption in official circles", "freedom of the
press", the establishment of "the law of

equality" that would
"guarantee equal justice for all", the institution of a "fair system of
taxation", a

"gradual phasing-in of universal suffrage", the
administrative system based on merit and not birth-right
/>
(Manich:255-257-Sumet Jumsai). "



ซึ่งจะขอแปลคร่าวๆ
และอาจจะไม่ถูกต้องนักดังนี้

"ไม่ว่าเราจะพึ่งการทูต การทหาร
หรือการเป็นเมืองกันชน  หรือสนธิสัญญาใด  
/>
ก็ไม่พอเพียงที่จะป้องกันมิให้เราตกเป็นเมืองขี้นไปได้  
หากเราต้องปฏิรูปจากถายในด้วยตัวเราเอง  
/>
นอกเหนือไปจากการปฏิรูปที่เราได้กระทำมาแล้วแต่ยังไม่เพียงพอ  
การปฏิรูปที่เราต้องทำต่อไปอีกก็คือ  
/>
การเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น
ระบอบรัฐธรรมนูญที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ,
/>
กำหนดกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ให้ชัดเจนขึ้น,  
ขจัดการฉ้อโกงโดยข้าราชบริพาร,  

เสรีภาพของสื่อมวลชน,
ตั้งกฏหมายว่าด้วยความเท่าเทียมกัน
/>
อันจะประกันความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคสำหรับทุกคน,  
การเก็บภาษีอย่างเท่าเทียมกัน,  
/>
การให้สิทธิในการเลือกตั้งต่อประชาชนโดยค่อยเป็นค่อยไป, และ
/>
ระบบการบริหารบ้านเมืองที่ตั้งอยู่บนความสามารถ  มิใช่ชาติกำเนิิด"
/>


หลังจากนั้น  
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังได้ทูลถวายสารเป็นการส่วนพระองค์  วิจารณ์ practice of
polygamy ของ

ร๕  
อันทำให้ทรงโกรธกริ้วพระองค์เจ้าปฤษฎางค์อย่างสุดประมาณ  (Brailey, Nigel)
/>


ในปีต่อมา  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ถูกเรียกตัวกลับประเทศไทย  
พร้อมกับพระองค์เจ้านเรศ

พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต(ซึ่งทรงเป็นข้าราชการ)
  และพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ(ซึ่งมีพระชนม์เพียง ๑๙
/>
และต้องลาจากการศึกษากลับมา)  
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้งานเป็นผู้อำนวยการองค์การโทรเลขและไปรษณีย์  ในปี
/>
พศ ๒๔๓๓ ขณะที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับรัฐมนตรีกลาโหม  
ก็เสด็จหนีไปลงที่ศรีลังกา  

เอกสารทางราชการปรากฏว่า  
ทรงทิ้งลูกเมียตามผู้หญิงฮ่องกงไป  ในอัตชีวประวัติส่วนพระองค์  ข้อเขียนจำนวน


๖ หน้าที่กล่าวถึงเรื่องนี้  หายสาบสูญไป  
เราจึงคงไม่มีโอกาสได้รู้เรื่องจริงว่าเกิดอะไรขึ้น


/>
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงประทับที่ศรีลังกาโดยบวชเป็นสงฆ์  
ชาวอังกฤษผู้หนึ่งไปพบท่านเข้า  
/>
และโน้มน้าวให้ทรงเขียนประวัติส่วนพระองค์ไว้  ในปีพศ ๒๔๕๔  
/>
ทรงเสด็จกลับประเทศไทยเพื่อมาเคารพพระบรมศพ ร๕  
/>
แต่ถูกกรมพระยาดำรงฯบังคับให้สึกก่อนที่จะได้เข้าถวายเคารพพระบรมศพ  
พระองค์ก็ปฏิบัติตาม  

แต่กลับไม่ได้รับสถานสงฆ์กลับคืน  
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงทำงานในฐานะบรรณาธิการ Siam Observer
/>
(ไม่แน่ใจว่าจะเป็น สยามสมัย รึเปล่านะคะ ~ พวงร้อย)  
แต่ไม่นานก็ทรงถูกไล่ออก



ร ๖ ก็ไม่ทรงโปรด
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์  พระองค์ท่านก็ทรงผูกสัมพันธ์กับพระองค์เจ้ารพีฯ  
/>
หลังจากนั้นไม่นานก็เสด็จไปประทับที่ประเทศญี่ปุ่น  
และสิ้นพระชนม์ที่นั่นในปี พศ ๒๔๗๘ เมื่อมีพระชนมายุได้  ๘๔
/>
ชันษา



พระองค์มิใช่บุคคลไทยท่านแรก  
ที่ด้วยความรักประเทชาติ  กล้านำเสนอในสิ่งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  


ด้วยความซื่อสัตย์ต่อบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง  
จะถูกภัยคุกคามบีบบังคับให้ต้องออกจากประเทศ  วีรกรรมที่ถูกลืม  
/>
ยังมีอยู่มากที่เราควรค้นคว้านำมาศึกษาถึงความสามารถในการมองการณ์ไกลของคนไทยในอดีต
/>


เรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเว็บไซต์

href='http://www.geocities.com/RainForest/Vines/8769/Prisdang.htm'
target='_blank'>http://www.geocities.com/RainForest/Vines/8769/Prisdang.htm
/>


ของคุณ สุพรรณิการ์ รองโสภา  
ซึ่งเขียนขึ้นด้วยความร่วมมือจากอาจารย์ธงชับ วินิจกุล, อาจารย์ ฉลอง
/>
สุนทรวานิช และท่านอื่นๆอีก  โดยอาศัยข้อมูลจาก

Brailey, Nigel.
"Two Views of Siam on the Eve of the Chakri Reformation". Whiting Bay,
Scotland:

Kiscadale Publication, 1989.


/>
M.L.Manich Jumsai. "Prince Prisdang's Files on His Diplomatic
Activities in Europe, 1880-1886".

Bangkok: Chalermnit, 1977.
/>


Praworawongter Praongjao Julajakrapong. "Jao Cheewit".
Bangkok: Riverbook Press, 2536.



Prince Pritsdand
Chumsai. "Autobiography". B.E.2472.



Terwiel, B.J. "A
History of Modern Thailand 1767-1942". St.Lucia, Queensland: University of


Queensland Press, 1983.


/>
หน้าหลักของคุณสุพรรณิการ์อยู่ที่

href='http://www.geocities.com/RainForest/Vines/8769/menucol.htm'
target='_blank'>http://www.geocities.com/RainForest/Vines/8769/menucol.htm
src='http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai180x00.gif'>
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 04:21

ขออภัยพิมพ์ตกค่ะ  ในย่อหน้าสุดท้าย  "พระองค์ท่านทรงเป็นคนไทยท่านแรก  แต่ไม่ใช่ท่านสุดท้าย ... "
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 08:57

ขอบคุณมากค่ะคุณพวงร้อย  เป็นเรื่องน่าศึกษามากทีเดียว

คนอย่างท่าน ถือว่าเกิดมาผิดยุคสมัย  .

คนร่วมสมัยจึงไม่ค่อยเข้าใจวิธีการคิดของท่าน  โดยเฉพาะเมื่อความคิดนั้นขัดกับธรรมเนียมและค่านิยมที่เชื่อถือกันอยู่

ศิลปินและนักปราชญ์จำนวนมากก็เป็นอย่างนี้

ถ้าท่านเกิดในยุคนี้ก็คงเป็นที่ยอมรับกัน ไม่แปลกอะไร

น่าเสียดายจริงๆ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai180x2.gif'>
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 09:30

เห็นด้วยครับกับคุณเทาชมพู ในสมัยก่อนที่ King เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดนั้น ขุนนางจะต้องใช้ไหวพริบ ในการกราบทูล เสนอแนะเป็นอย่างมาก ไม่ว่า King นั้นจะมีพระเมตตาหรือความสามารถเพียงใด เพราะว่าในสมัยนั้นท่านคือเจ้าชีวิต อำนาจทุกอย่างอยู่ที่ท่าน ดังนั้น ถ้าทำให้ท่านไม่พอใจก็จะลำบากแก่ตัวขุนนางนั้นเอง
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 พ.ย. 00, 23:26

ด้วยความยินดีค่ะ  ดิฉันเองก็ไม่เคยได้ยินพระนาม  หรือประวัติศาสตร์ช่วงนี้มาก่อนเลย  เพิ่งได้มาทราบเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง  เมื่อไปเจอเว็บนี้เข้า  
ไม่เคยเห็นหรือได้ยินหนังสือที่ มล มานิจ ชุมสาย รวบรวมเกี่ยวกับพระองค์ท่านด้วยซำ้  
ดิฉันก็สนใจประวัติศาสตร์เกี่ยวกับหนทางไปสู่ประชาธิปไตยในสังคมไทยบ้าง  แต่ไม่เคยทราบว่าจะย้อนหลังไปนานถึงขนาดนี้เลยค่ะ   น่าเสียดายมาก  
ที่หนังสือเก่าๆดีๆหาได้ยากเหลือเกิน  เดี๋ยวนี้สำนักพิมพ์ก็ไม่กล้าพิมพ์หนังสือมากในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้  เป็นที่น่าเสียดายจริงๆค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 00:00

ว่างๆจะขอหนังสือเก่าๆจากอาจารย์มาอ่าน  แล้วถ้าเจอเรื่องที่คุณสนใจ จะเข้ามาคุยด้วยนะคะ
เส้นทางประชาธิปไตยของเรามีอะไรหลายอย่างที่ต้องการการค้นคว้า และตีความ อีกมาก
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 00:51

ทราบจากพี่ที่เคยทำงานอยู่สถานทูตไทยในศรีลังกาว่า วัดที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ฯ สมัยทรงผนวข ที่ลังกา ยังมีอยู่จนเดี๋ยวนี้ และในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาของลังกาก็ยังพูดถึงท่านไว้ด้วย
ผมไม่ทราบชัดเจนว่ามีความขัดแย้งอะไรในพระราชวงศ์ ตามข้อมูลของคุณพวงร้อย ที่เป็นสาเหตุถึงขนาดจะไม่ให้ลูกได้เห็นศพพ่อ แต่คลับคล้ายคลับคลาว่า เคยอ่านที่ไหนว่า ท่านไม่ได้ถวายความเคารพพระบรมศพเป็นครั้งสุดท้ายจนแล้วจนรอด หรือในที่สุดจะได้เข้าเฝ้าพระบรมศพเมื่อสึกจากพระแล้วก็ไม่แน่ใจ แต่จะอะไรก็ตามแต่ ก็ทำให้ท่านโทมนัสน้อยพระทัยมาก ถึงขนาดทรงอธิษฐานไว้ (มีบันทึกมาจนถึงคนรุ่นหลังเช่นผมได้อ่าน) ทำนองว่า เกิดชาติหน้าฉันใดขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลกระหม่อมพ่ออีกโดยใกล้ชิด อย่าให้มีเหตุต้องถูกกีดกันใดๆ อีกเลย -
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 01:05

ขอโทษครับชักมึน น้องเคารพศพพี่ สินะครับ ไม่ใช่ลูกกับพ่อ เป็นพี่กับน้อง และเจ้าชีวิตกับข้าแผ่นดินอีกนัยหนึ่งด้วย
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 02:12

ดีเลยค่ะ คุณเทาชมพู  น่าจะนำมาเผยแพร่กัน  เพราะประวัติศาสตร์ระยะใกล้ของเราในช่วงนั้นนี่  กระจัดกระจายกันมาก  ถ้านำมาเผยแพร่ช่วยกันรักษามิให้สูญหายไปกับกาลเวลาก็จะเป็นที่น่ายินดีมากค่ะ

ที่เว็บไซต์ที่ว่าไม่ได้กล่าวไว้ว่าพระองค์ท่านได้เข้าเผ้าพระบรมศบหรือไม่  พอคุณนิลกังขายกมาดังนี้ดิฉันก็เพิ่งนึกได้  ว่าดูเหมือนจะเป็นในเรื่อง เจ้าชีวิต มังคะ  ที่พระองค์จุลฯบอกว่า  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์  แม้จะทรงยินยอมสึกจากเพศบรรพชิตตามคำเรียกร้อง  เพียงเพื่อให้ได้เข้าเฝ้าแล้ว  ก็ยังไม่ได้รับอนุญาติให้เข้าเฝ้าอีก  เหมือนๆกับทรงถูกหลอกนะคะ  ฟังแล้วสะท้อนสะท้านใจจังเลยค่ะ  ว่าคนดีที่มีแต่ความซื่อตรงงอย่างพระองค์ท่านต้องรับทุกข์ได้ยากถึงปานนี้
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 03:19

เห็นจะอาภัพมาตั้งแต่ชื่อครับ
ทำไมท่านถึงได้รับการตั้งพระนามว่า ปฤษฎางค์ ก็ไม่รู้นะครับ ชื่อนี้แปลว่าหลัง ข้างหลัง นี่ครับ เลยไม่ต้องก้าวหน้าไปไหน ปิดทองหลังพระ อยู่ลับหลังไปตลอด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 07:45

เส้นทางประชาธิปไตยของเรา เริ่มจากรัชกาลที่ ๕ ในกรณีพระองค์เจ้าปฤษฎางค์  แล้วมาอีกทีในรัชกาลที่ ๖ กบฎรศ. ๑๒๐
แต่จะเรียกว่าประชาธิปไตยได้เต็มปากหรือไม่ต้องมาวิเคราะห์กันอีกที   เพราะจุดมุ่งหมายไม่ใช่เห็นว่าควรเปลี่ยนมาเป็นระบอบที่ให้ประชาชนมีสิทธิ์ออกเสียง
แต่เกิดจากความไม่พอใจระบบ และตัวบุคคลในขณะนั้น
รวมทั้งเรื่องเสือป่าของรัชกาลที่ ๖ ด้วย เป็นประเด็นสำคัญ

ความไม่พอใจบุคคล และนโยบายของบุคคล นี่เอง เป็นเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕  
แต่ดิฉันยังสงสัยว่า  ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงเพราะมีความคิดว่าประชาชนทั่วไปควรมีสิทธิ์ในการปกครองบ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตย
เรื่องนี้พูดกันได้ยาวววววค่ะ   เผลอๆคุณนิลกังขาสามารถพูดได้แบบเดี่ยวไมโครโฟนด้วยซ้ำไป
เพราะเป็นเรื่องของนักรัฐศาสตร์   ดิฉันอาจจะได้เป็นผู้นั่งฟังซะเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 07:48

นับรศ.ผิดเสียแล้ว  กบฏในรัชกาลที่ ๖ ร.ศ. ไหนคะ?
บันทึกการเข้า
ปอ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 11:18

ร.ศ.๑๓๐ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 พ.ย. 00, 20:47

าคุณปอจำได้ช่วยเล่าหน่อยนะคะ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 พ.ย. 00, 21:55

ขออภัยที่ไม่ได้มาแวะหลายวันนะคะ  

เอ จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า  จะมีเหตุการณือะไรตอน รศ ๑๑๒ รึไงนี่ค่ะ  ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับนายเหล็ง ศรีจันทร์  กับอีกคนหนึ่ง  
แล้วนายเหล็งก็ถูกจับ  ความว่านายทหารหนุ่มๆถวายฎีกาให้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองใช่มั้ยคะ  
แล้วกรมหลวงพิษณุโลกมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เหตุการณ์สงบลง  อันเป็นเรื่องมาทีหลังว่า  
อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระองค์ต้องสิ้นพระชนม์ลงอย่างปัจจุบันทันด่วน  และการสิ้นของพระองค์ก็มีการสงสัยว่าทรงถูกวางยา  จำไม่ค่อยได้  
และไม่มีเวลาค้นน่ะค่ะ  ต้องกลับไปเขียนบทความต่อ  ใครพอจะทราบเรื่องหรือมีข้อมูลให้ค้นบ้างมั้ยคะ  ช่วยเล่าด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง