พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธุ์ พศ
๒๓๙๔ (จาก มล มานิจ ชุมสาย
จากเอกสารของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์
กับกิจกรรมทางการทูตในยุโรป ปี พศ ๒๔๒๓ ถึง ๒๔๒๙)
/>
ในพระองค์เจ้าชุมสาย ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่(ตามลำดับวัย) ใน ร๓
หลังประสูติได้สองเดือน ร๓
ก็ทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ ๒
เมษายนของปีเดียวกัน
เมื่อ ร๕ ทรงครองราชย์ ในช่วง ๕
ปีแรก ได้ทรงเสด็จไปสิงคโปร์ กร้อมกับกระอนุชาอีกหลายพระองค์
/>
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นพระอนุชา(ลูกพี่ลูกน้อง) องค์์หนึ่ง
ซึ่งประทับต่อในสิงคโปร์เพื่อการศึกษา
ทรงศึกษาได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง
และได้เสด็จต่อไปยังประเทศอังกฤษเพื่อศึกษาวิชาวิศวกรรม
/>
ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาจบจาก Western University
/>
ทรงได้รับเกียรติและรางวัลที่หนึ่งมากมายจากหลายวิชา เมื่อทรงรับปริญญาจาก
King's College
หนังสือพิมพ์ไทมส์ก็ได้ลงเรื่องราวเป็นเกียรติ
ในฉบับวันที่ ๗ กรกฎาคม พศ ๒๔๑๙ (คศ ๑๘๗๖) หลังจากนั้น
/>
ทรงกลับมาเยือนประเทศไทยระยัหนึ่ง
แล้วเสด๊จกลับประเทศอังกฤษเพ่ือฝึกงานด้านวิศวกรรมกับบริษัทอังกฤษ
/>
ในปี ๒๔๒๒ พระปรีชา ซึ่งมาจากสกุล อมาตยกุล
ซึ่งมีตำแหน่งที่มีอิทธิพลมากด้วยเป็นพระสหายส่วนพระองค์
/>
ถูกกล่าวหาโดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่า ฉ้อฉลเงินแผ่นดิน
พระปรีชารีบแต่งงานกับ แฟนนี่ น็อกซ์ (Fanny
Knox) บุตรสาวของ
Thomas Knox กงสุลใหญ่อังกฤษประจำไทย เพื่อหวังอาศัอิทธิพลอังกฤษเพื่อหลบภัย
มิสเตอร์น็อกซ์ต้องการช่วยปกป้องผลประโยชน์ของบุตรีซึ่งกำลังท้องอยู่
ได้เข้าเผ้า ร๕
แต่เหตุการณ์ก็ไปใหญ่โตแล้ว
พวกอมาตยกุลหลายคนถูกจับ พระปรีชามอบเงินทองทั้งหมดให้นางแฟนนี่ภรรยา
/>
นายทอมัส น็อกซ์กล่าวหาว่าเป็นแผนของสกุลบุนนาค
และประกาศว่าจะอยู่ข้างฝ่าย ร๕
/>
และพร้อมที่จะสั่งเรือรบอังกฤษเข้ามาช่วยคุมสถานการณ์ แต่ ร๕ ทรงปฏิเสธ
ในที่สุด
ทางรัฐบาลอังกฤษที่ลอนดอนก็เรียกตัว ทอมัน น็อกซ์ กลับ
แทนที่จะส่งเรือรบมาตามที่ท่านกงสุลคาดหวังไว้
/>
ก่อนหน้านั้นไม่นาน เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (ผล บุนนาค) ได้มาที่อังกฤษ
เพื่อเซ็นสาธิสัญญาเกี่ยวกับเชียงใหม่
/>
และได้พบพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ที่นั่น
ท่านเจ้าพระยาฯได้อาศัยพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ในการแปลเอกสาร
/>
และทรงทำหน้าที่เป็นเลขาส่วนตัวเป็นที่พึงพอใจแก่ท่านเจ้าพระยาฯเป็นอย่างยิ่ง
ต่อมา นางแฟนนี่ น็อกซ์
กลับมาอยู่ที่ปารีส ก็ต้องการร้องเรียนว่า
เงินทองที่พระปรีชาทิ้งไว้ให้ก็ถูกเพื่อนของพระปรีชาโกงไปจนหมด
/>
นางต้องตกระกำลำบาก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ทรงเป็นล่ามช่วยแปลให้
แต่ผลสรุปยังไม่ทันตกลงกัน
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์
ก็เสด็จกลับมารับราชการในประเทศไทย ต่อมาอีกไม่นาน
/>
สกุลบุนนาคก็อาศัยพระองค์ท่านในการแปลสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
และเป็นสื่อกลางกับรัฐบาลอังกฤษ
จนประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง
จนในปีต่อมา คือ พศ ๒๔๒๔
/>
ก็ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นทูตเชื้อสายไทยพระองค์แรกประจำที่ลอนดอน
โดยได้รับความเห็นชอบจากตระกูลบุนนาคด้วยดี จึงนับเป็นโอกาสแรกที่
ร๕
ทรงมีพระราชโอกาสได้ทรงวางตำแหน่งข้าราชการสำคัญ
ด้วย"คนของพระองค๋เอง" ไม่ใช่มาจากสายบุนนาค
ต่อมาในปี พศ
๒๔๒๘ ข่าวที่พม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
ตามด้วยการที่เวียตนามตกเป็นของฝรั่งเศส
เป็นที่วิตกกังวลต่อ ร๕
เป็นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทูลถวายคำแนะนำว่า
/>
ประเทศไทยควรแก้ไขอย่างไร เพื่อมิให้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งต่างชาติ
/>
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถวายสารมาทูลว่าไม่มีความสามารถพอที่จะทูลถวายคำแนะนำได้
แต่ความเห็นส่วนพระองค์อาจเป็นที่ระคายเคืองได้ แต่ ร๕
ทรงยืนยันให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทูลเสนอมา
/>
แต่กลับทรงแปลกพระทัยและทรงกริ้วเป็นอย่างมาก
เมื่อการสนทนาซึ่งเข้าพระทัยว่าเป็นการส่วนพระองค์นั้น
/>
นำมาซึ่งสารยาว ๖๐ หน้า ลงพระนามและชื่อโดย ๑๑ คน
ซึ่งรวมทั้งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์
และพระอนุชาอีกสามพระองค์ คือ
พระองค์เจ้านเรศฯ พระองค์เจ้าสวัสดีโสภณ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
/>
และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อีก ๗ ท่านที่ประจำอยู่ในอังกฤษในเวลานั้น
/>
เอกสารนั้น เป็นการทูลเสนอข้อวิเคราะห์เกี่ยวกับ
ระบบการเมืองและวัฒนธรรมที่ปฏิบัติอยู่ในประเทศไทย
/>
และทูลเสนอการปฏิรูป ดังนี้
"No means diplomatic,
militaristic, buffer-state dependent, or treaties reliant, would suffice to
save
the country from being colonized (Manich:254-Sumet Jumsai).
And so it was "mandatory" for the
country to reform itself
internally, in addition to reforms that had already been instituted but so
far
not adequate (Manich:255-Sumet Jumsai). These additional
reforms included: "the change from
absolute to constitutional
monarchy", the more "clearly defined" Law of succession of the reign, the
"eradication of corruption in official circles", "freedom of the
press", the establishment of "the law of
equality" that would
"guarantee equal justice for all", the institution of a "fair system of
taxation", a
"gradual phasing-in of universal suffrage", the
administrative system based on merit and not birth-right
/>
(Manich:255-257-Sumet Jumsai). "
ซึ่งจะขอแปลคร่าวๆ
และอาจจะไม่ถูกต้องนักดังนี้
"ไม่ว่าเราจะพึ่งการทูต การทหาร
หรือการเป็นเมืองกันชน หรือสนธิสัญญาใด
/>
ก็ไม่พอเพียงที่จะป้องกันมิให้เราตกเป็นเมืองขี้นไปได้
หากเราต้องปฏิรูปจากถายในด้วยตัวเราเอง
/>
นอกเหนือไปจากการปฏิรูปที่เราได้กระทำมาแล้วแต่ยังไม่เพียงพอ
การปฏิรูปที่เราต้องทำต่อไปอีกก็คือ
/>
การเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น
ระบอบรัฐธรรมนูญที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ,
/>
กำหนดกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ให้ชัดเจนขึ้น,
ขจัดการฉ้อโกงโดยข้าราชบริพาร,
เสรีภาพของสื่อมวลชน,
ตั้งกฏหมายว่าด้วยความเท่าเทียมกัน
/>
อันจะประกันความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคสำหรับทุกคน,
การเก็บภาษีอย่างเท่าเทียมกัน,
/>
การให้สิทธิในการเลือกตั้งต่อประชาชนโดยค่อยเป็นค่อยไป, และ
/>
ระบบการบริหารบ้านเมืองที่ตั้งอยู่บนความสามารถ มิใช่ชาติกำเนิิด"
/>
หลังจากนั้น
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังได้ทูลถวายสารเป็นการส่วนพระองค์ วิจารณ์ practice of
polygamy ของ
ร๕
อันทำให้ทรงโกรธกริ้วพระองค์เจ้าปฤษฎางค์อย่างสุดประมาณ (Brailey, Nigel)
/>
ในปีต่อมา พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ถูกเรียกตัวกลับประเทศไทย
พร้อมกับพระองค์เจ้านเรศ
พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต(ซึ่งทรงเป็นข้าราชการ)
และพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ(ซึ่งมีพระชนม์เพียง ๑๙
/>
และต้องลาจากการศึกษากลับมา)
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้งานเป็นผู้อำนวยการองค์การโทรเลขและไปรษณีย์ ในปี
/>
พศ ๒๔๓๓ ขณะที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับรัฐมนตรีกลาโหม
ก็เสด็จหนีไปลงที่ศรีลังกา
เอกสารทางราชการปรากฏว่า
ทรงทิ้งลูกเมียตามผู้หญิงฮ่องกงไป ในอัตชีวประวัติส่วนพระองค์ ข้อเขียนจำนวน
๖ หน้าที่กล่าวถึงเรื่องนี้ หายสาบสูญไป
เราจึงคงไม่มีโอกาสได้รู้เรื่องจริงว่าเกิดอะไรขึ้น
/>
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงประทับที่ศรีลังกาโดยบวชเป็นสงฆ์
ชาวอังกฤษผู้หนึ่งไปพบท่านเข้า
/>
และโน้มน้าวให้ทรงเขียนประวัติส่วนพระองค์ไว้ ในปีพศ ๒๔๕๔
/>
ทรงเสด็จกลับประเทศไทยเพื่อมาเคารพพระบรมศพ ร๕
/>
แต่ถูกกรมพระยาดำรงฯบังคับให้สึกก่อนที่จะได้เข้าถวายเคารพพระบรมศพ
พระองค์ก็ปฏิบัติตาม
แต่กลับไม่ได้รับสถานสงฆ์กลับคืน
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงทำงานในฐานะบรรณาธิการ Siam Observer
/>
(ไม่แน่ใจว่าจะเป็น สยามสมัย รึเปล่านะคะ ~ พวงร้อย)
แต่ไม่นานก็ทรงถูกไล่ออก
ร ๖ ก็ไม่ทรงโปรด
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระองค์ท่านก็ทรงผูกสัมพันธ์กับพระองค์เจ้ารพีฯ
/>
หลังจากนั้นไม่นานก็เสด็จไปประทับที่ประเทศญี่ปุ่น
และสิ้นพระชนม์ที่นั่นในปี พศ ๒๔๗๘ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๘๔
/>
ชันษา
พระองค์มิใช่บุคคลไทยท่านแรก
ที่ด้วยความรักประเทชาติ กล้านำเสนอในสิ่งที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ด้วยความซื่อสัตย์ต่อบ้านเมืองเป็นที่ตั้ง
จะถูกภัยคุกคามบีบบังคับให้ต้องออกจากประเทศ วีรกรรมที่ถูกลืม
/>
ยังมีอยู่มากที่เราควรค้นคว้านำมาศึกษาถึงความสามารถในการมองการณ์ไกลของคนไทยในอดีต
/>
เรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเว็บไซต์
href='
http://www.geocities.com/RainForest/Vines/8769/Prisdang.htm'
target='_blank'>
http://www.geocities.com/RainForest/Vines/8769/Prisdang.htm/>
ของคุณ สุพรรณิการ์ รองโสภา
ซึ่งเขียนขึ้นด้วยความร่วมมือจากอาจารย์ธงชับ วินิจกุล, อาจารย์ ฉลอง
/>
สุนทรวานิช และท่านอื่นๆอีก โดยอาศัยข้อมูลจาก
Brailey, Nigel.
"Two Views of Siam on the Eve of the Chakri Reformation". Whiting Bay,
Scotland:
Kiscadale Publication, 1989.
/>
M.L.Manich Jumsai. "Prince Prisdang's Files on His Diplomatic
Activities in Europe, 1880-1886".
Bangkok: Chalermnit, 1977.
/>
Praworawongter Praongjao Julajakrapong. "Jao Cheewit".
Bangkok: Riverbook Press, 2536.
Prince Pritsdand
Chumsai. "Autobiography". B.E.2472.
Terwiel, B.J. "A
History of Modern Thailand 1767-1942". St.Lucia, Queensland: University of
Queensland Press, 1983.
/>
หน้าหลักของคุณสุพรรณิการ์อยู่ที่
href='
http://www.geocities.com/RainForest/Vines/8769/menucol.htm'
target='_blank'>
http://www.geocities.com/RainForest/Vines/8769/menucol.htm![]()
src='
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/reurnthai180x00.gif'>