เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 81942 เมื่อริจะเป็นนักกลอนอย่านอนเปล่า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 11:10

 ........ หาเอ๋ยหาฝัน
ลิตเติ้ลซันสตรีมีเป้าหมาย
แสวงหาความรู้มาคู่กาย
คุณธรรมเพริดพรายมากไมตรี
อุดมการณ์มีอยู่คู่ดวงจิตร
กำลังใจมิ่งมิตรมารศรี
ขอสมหวังตั้งใจให้จงดี
ให้มั่งมีมากสุขทุกวันเอย
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 29 เม.ย. 06, 15:43

 ...ล่าเอยล่าฝัน
จงมุ่งมั่นก้าวไปให้เต็มที่
หากเหน็ดเหนื่อยหน่ายนักพักสักที
พอแรงมีรีบมุ่งหน้าคว้าธงชัย

เมื่อใจใฝ่ในฝันอันบรรเจิด
ก้าวไปเถิดให้ถึงซึ่งจุดหมาย
หมู่มวลมิตรขอเป็นกำลังใจ
จงมีชัยในฝันนั้นเถิดเอย
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 29 เม.ย. 06, 19:43

 ขอบพระคุณอาจารย์นิรันต์ และคุณ จิตแผ้วนะคะ
ลิตเติ้ลอยากขอบคุณด้วยบทกลอนแต่เกรงว่าจะ
ไพเราะค่ะ
ขออนุญาตเล่านืดนึงนะคะว่าธรรมะให้อะไร และทำไม
ุถึงต้องหันมาสนใจธรรมะ

เอาประเด็นหลังก่อนนะคะ ลิตเติ้ล เหงาและเศร้าง่ายจึงทุกข์ใจ
เลยต้องหาทางออกให้ตัวเอง ด้วยการเข้าหาธรรมะ แล้วลิตเติ้ล
ก็พบว่าการอ่านหนังสือรรมะอย่างเดียวไม่ได้ทำให้เราทุกข์ น้อยลงเลย นอกจากเราจะลงมือปฏิบัติเท่านั้น พระท่านเปรียบว่า เหมือนคนที่รู้แต่ทฤษฎืการว่ายน้ำแต่ไม่เคยฝึกว่ายน้ำเลย
แล้วจะว่ายได้อย่างไร จากนั้นก็ฝึกค่ะ แค่มีสติรู้อยู่กับปัจจุบันก็เป็นอันว่าใช้ได้ในระดับหนึ่งแล้ว คนเราส่วนมากมักไม่คอยอยู่กับปัจจุบันค่ะ มีคนเคยบอกว่า เราชอบนั่งรถไฟความคิดไปในอดีต หรือไม่ก็อนาคต เก็บเรื่องเหล่านั้นมาคิดทำให้ทุกข์ใจ
นี่เป็นแค่สาเหตุหนึ่งของการเกิดทุกข์ค่ะ ทุกข์มันเกิดที่ใจเรานี่เอง ใจเราอยาก ไม่รู้จักพอ ก็ทุรนทุราย เป็นทุกข์เมื่อไม่ได้อย่างต้องการ พระหุทธเจ้าท่านตรัสว่าเราทุกข์เพราะความไม่รู้   เราหลงไปยึดสิ่งนั้น สิ่งนี้ว่าเป็นของเรา หากสนใจศึกษาลิเติ้ลขอแนะนำ
 http://santidharma.com/
http://dungtrin.com/

แล้วลิตเติ้ลได้อะไรจากธรรมะ คำตอบคือ ทุกข์ใจน้อยลง
เบิกบานใจมากขี้น เห็นแก่ตัวน้อยลง  เข้าใจผู้อี่นมากขี้น
แต่กิเลสยังมีอยู่ เพราะเพิ่งหัดเดินทางนี้
บันทึกการเข้า
เจ้าสำราญ
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 30 เม.ย. 06, 19:06

 เรื่องกลอนนี่ไม่ค่อยถนัดครับ  ขอเปลี่ยนเป็นกาพย์บ้าง
กาพย์ยานี 11 ชมไม้ในวรรณคดีครับ (แต่งไว้หลายปีแล้วครับตั้งแต่อยู่ม.ปลาย)

เฟื่องฟ้าฟ้าใดเฟื่อง        ฟ้าลือเลื่องเมืองสยาม
ทั่วถิ่นแผ่นดินคาม        พฤกษงามชูช่อไสว
นมแมวแก้วเจ้าจอม        มณฑาหอมชื่นเย็นใจ
นางแย้มแย้มยิ้มให้        สุขฤทัยหาใดปาน
หอมรินกลิ่นประยงค์        ต้นตันหยงชบาบาน
ราตรีทิวาวาร               ทิวางามทุกคืนวัน
พิกุลกุลนารี                แดงชาดสีพนมสวรรค์
พุดซ้อนซ้อนต้นจันทร์        สร้อยระย้าราชาวดี
ยี่เข่งดอกแดงสด            ดูงามงดต้นส่าหรี
นางนวลเหลืองนวลดี        โน่นจำปีนี่โยทะกา
พรรณไม้ดูชื่นชุ่ม            แลชอุ่มพุ่มพฤกษา
ดับร้อนผ่อนวิญญาณ์        พาสดชื่นรื่นอารมณ์

ต้องขอออกตัวก่อนว่า ผมเป็นมือสมัครเล่นน่ะครับ
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 07:27

 และพระสูตรจากพระไตรปิฎก

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

(ปฐมเทศนา แสดงอริยสัจ๔) มหาสติปัฏฐานสูตร

 
Paitoon Inthavong (Instructor)

Fresno Adult Community Education Center

2500 Stanislaus Street

Fresno, California 93721-1223

Tel: 559-457-6000....E-Mail:  Pinthavong@Fas.Edu

็ ถึง Littlesun เพื่อนของผมตามที่อยู่ข้างต้นจะช่วยเหลือได้มากเรื่องธรรมะ
และขอแนะนำ Dhammahome.com ของ อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ หนทาง
เดินสู่แดนนิพพานมีอยู่ ใช่หรือไม่? หนทางสายนี้มีคนใช้เดินอยู่ใช่หรือไม่? ถ้าใช่ย่อมมีคนไปถึงทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตจนกว่าศาสนาพุทธจะไม่มีความหมาย
สำหรับคนซึ่งบาปหนาขึ้นทุกวันก็ประมาณอีกสองพันกว่าปี
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 17:54

 กราบขอบคุณ คุณจิตแผ้วนะคะ ที่แนะนำกัลยานิมิตร
ทางธรรมและเว็บดีๆให้หนู หนูเคยฟังบรรยายของ
อาจารย์ทางวิทยุบ้างค่ะ ชื่นชมท่านมาก
ขอให้คุณจิตแผ้วเจริญในธรรมนะคะ
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 03 พ.ค. 06, 00:21

 ..... สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ
ก็เพราะริรักกลอนไม่นอนเฉย
จึงได้คบพบสหายได้ภิเปรย
ปากอยู่เฉยใช้เว็บบอร์ดพลอดคำแทน
ล้วนแต่มีคติธรรมนำชีวิต
พามิ่งมิตรพบทางสว่างแสน
ล้ำเลิศกว่ามอบสิ่งใดในดินแดน
ธรรมะแม่นตรงประตูสู่นิพพาน
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 03 พ.ค. 06, 06:55

 กลอนนำพาพานพบประสบมิตร
ผู้มีจิตใฝ่ธรรมล้ำเลิศเหลือ
แม้มิใช่ญาติสนิทแนบชิดเชื้อ
เหมือนว่านเครือเดียวกันมั่นในธรรม

รู้ธรรมะ มักชนะในผู้อื่น
มิรู้ตื่นจากหลับใหลใจถลำ
สู่หุบเหววิบากจากผลกรรม
คนมีธรรมชนะในใจตนเอง
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 03 พ.ค. 06, 23:20

 เชื่อพระพุทธเจ้าเถิด

 http://www.thai-freelance.com/dhammasound/allsinger/Kati-Track08.wma

ชาวพุทธ

 http://www.thai-freelance.com/dhammasound/dhammathai/02chaobud.wma
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 04 พ.ค. 06, 00:05

 See if you can listen to the dhamma audio below:

[         เกิดมาเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร (366 KB)

[         บทที่ ๑ - ใครเป็นผู้รู้แจ้งเรื่องกรรม (2.3 MB)

[         บทที่ ๒ - เหตุใดจึงเกิดเป็นมนุษย์ (2.5 MB)

[         บทที่ ๓ - เหตุใดจึงเกิดเป็นหญิงเป็นชาย (2.5 MB)

[         บทที่ ๔ - เหตุใดจึงเกิดเป็นผู้มีรูปงาม (4.6 MB)

[         บทที่ ๕ - เหตุใดจึงมีฐานะร่ำรวย (4.2 MB)

[         บทที่ ๖ - เหตุใดจึงมีสติปัญญามาก (3.2 MB)

[         สรุปปฐมบรรพ (276 KB)

[         ทุติยบรรพ - ตายแล้วไปไหนได้บ้าง (589 KB)

[         บทที่ ๗ - สัจจะเกี่ยวกับความตาย (6.8 MB)

[         บทที่ ๘ - สภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ในภพภูมิต่างๆ (4.4 MB)

[         สรุปทุติยบรรพ (222 KB)

[         ตติยบรรพ - ยังอยู่แล้วควรทำอะไรดี (394 KB)

[         บทที่ ๙ - คำถามที่น่ากลัวที่สุดในชีวิต (1.8 MB)

[         บทที่ ๑๐ - วิชารู้ตามจริง (3.5 MB)

[         สรุปตติยบรรพ (281 KB)

[         บทส่งท้าย (219 KB)
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 04 พ.ค. 06, 00:18

 (ธรรมแห่งเครื่องตรัสรู้)

                       และพระสูตรจากพระไตรปิฎก

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

(ปฐมเทศนา แสดงอริยสัจ๔) มหาสติปัฏฐานสูตร

(แสดงการใช้สติในการปฏิบัติ)    
อนัตตลักขณสูตร

(แสดงอนัตตลักษณะ)       อาทิตตปริยายสูตร

(แสดงสิ่งที่เป็นของร้อน)      
อานาปานสติสูตร

(แสดงการฝึกสติโดยการพิจารณาลมหายใจ)     กายคตาสติสูตร

(แสดงการใช้สติพิจารณากาย)      
โลกวิปัตติสูตร

(แสดงโลกธรรม๘ - ธรรมชาติของโลก อันเป็นของคู่โลก)        ชราสูตร

(แสดงธรรมชาติพระไตรลักษณ์ ต่อสังขาร)  
มรณัฐสติ สูตรที่ ๑

(แสดงมรณานุสติสูตรที่๑) มรณัฐสติ สูตรที่ ๒

(แสดงมรณานุสติสูตรที่๒ และความเพียร)
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 05 พ.ค. 06, 02:20

 อนุโมทนากับคุณจิตแผ้วด้วยนะคะที่เอาลิงค์มา
แนะนำ
อาจารย์ นอรันด์ กับคุณ จิดแผ้ว แต่งกลอนได้ดีทุกครั้ง
เลยนะคะ
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 05 พ.ค. 06, 06:29

 เพิ่งได้รับคำแนะนำจาก"หมูน้อย"ว่าก่อนส่งข้อความควรPREVIEWดูแลความถูกต้องเสีย
ก่อนนับว่าเป็นประโยชน์มากเลยอยากบอกต่อ อาจารย์นิรันดร์ ขึ้นชั้นระดับปรมาจารย์
เรายังห่างจากท่านหลายหมื่นลี้ แต่อบอุ่นใจมากที่สุดที่ท่านหมั่นมาเยือนเป็นการให้ความรู้
ไปด้วยมิได้ขาดนี่ก็กำลังหัดเปิด "พจนานุกรมไทย"อยู่ครับ มีกลอนมาฝากเช่นเคย

การที่ได้พานพบประสบมิตร
จะใกล้ชิดสนิทแนบฐานะไหน
สิ่งหนึ่งต้องจดจำให้ขึ้นใจ
คนนั้นไซร้เป็นสิ่งมีชีวิต

พฤติกรรมไม่ว่าบวกหรือลบ
มีอยู่ครบในคนนั้นมั่นสนิท
อย่าตั้งใจกับใครเกินความคิด
เรามิใช่เจ้าชีวิตของใครใคร

ใครอยากเป็นต้นเหตุความล้มเหลว?
คนแสนเลวก็ไม่รับอย่าสงสัย
อย่าคาดหวังกับคนมากเกินไป
ไม่มีใครเป็นทุกอย่างดั่งต้องการ

ทุกคนอยากมีเวลาเป็นส่วนตัว
ไว้ยิ้มหัวร้องไห้ไว้ไขขาน
อย่าให้เวลากับคนจนเกินนาน
สิ่งเคยหวานอาจพาลขมตรมฤทัย

เกิดเป็นคนมิควรเปลี่ยนแปลงคน
แสนสุดทนคนอาจรับไม่ไหว
หากว่าคนเปลี่ยนแปลงคนมากเกินไป
จะเหลือใครให้เป็นตนของคนนี้

อย่าควบคุมชีวิตคนจนเกินงาม
ขวากหนามขวางก็ตามจักหลบหนี
คนจะทำทุกทางทุกวิธี
เพื่อออกจากกฏที่กำหนดคน

อย่าบังคับคนหนึ่งคนมากกว่านี้
หากคนหลุดจากที่แม้เพียงหน
คนจะหันหลังให้คนบังคับคน
แม้นวายชนม์คนมิให้ใครบงการ

เธอจงมองดูฉันนั้นจงดี
ฉันก็มีลมหายใจให้เล่าขาน
ใช่ภาพวาดสวยสดตลอดกาล
ฉันก็มีสองด้านปานทุกคน

อยากรู้จักผู้ใดให้เรียนรู้
อย่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงเสียทุกหน
หากคบใครให้รู้ในใจของคน
มีหรือคนชอบให้ใครเปลี่ยนแปลง
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 05 พ.ค. 06, 06:38

 ถึง ลิตเติ้ลซันแลผองมิตร
ลิงค์บางอันมันไม่เวอร์คผมก๊อปจากอีเมล์ที่กัลยาณมิตรส่งมาให้เป็นธรรมทานขอความ
กรุณาให้อภัยแก่ความผิดพลาดผมเพิ่งหัดให้ ไอ ที นี้มาปีกว่า "หมูน้อย"เพิ่งแนะนำการเอารูปภาพมาประกอบไปหยกๆแล้วจะพยายามทดลองทำดู
บันทึกการเข้า
จิตแผ้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 169


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 06 พ.ค. 06, 00:32

 เรื่องเกี่ยวกับพระศรีอารย์

ขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์

นั
บตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าที่ทรงทำนายพระสมณโคดมพุทธเจ้า เป็นครั้งแรกว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า (พระพุทธองค์ตรัสรู้ด้วยปัญญาบารมี ใช้เวลา 4 อสงไขย แสนกัลป์) สำหรับพระทีปังกรพุทธเจ้าซึ่งเป็น พระพุทธเจ้าพระองค์ แรกที่ทรงทำนายว่าพระสมณโคดม พุทธเจ้าของเราทั้งหลาย ในปัจจุบัน จะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแน่นอนนั้น ทรงอุบัติเป็น พระพุทธเจ้า พระองค์ที่ ๔ ในกัปที่มีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ โดยพระพุทธเจ้า อีก ๓ พระองค์ก่อนหน้าในกัปเดียวกัน กับพระทีปังกรพุทธเจ้า พระองค์แรกทรงพระนามว่า พระตัณหังกรสัมพุทธเจ้า พระองค์ที่ สองทรงพระนามว่า พระเมธังกรสัมพุทธเจ้า และพระองค์ที่สามทรงพระนามว่า พระสุรณังกรสัมพุทธเจ้า


อานนท์! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะนั้น ย่อมรู้ว่า ข้อนี้มิใช่ ฐานะ ข้อนี้มิใช่โอกาสที่จะมี คือข้อที่ในโลกธาตุอันเดียว จะมี พระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ สององค์ เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ก่อน ไม่หลังกัน. นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.

ส่วนฐานะ อันมีได้นั้น คือข้อที่ใน โลกธาตุอันเดียว มีพระตถา คต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะองค์เดียว เกิดขึ้น. นั่นเป็นฐานะที่ จะมีได้.

๑. บาลี พหุธาตุกสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๑๗๑/๒๔๕. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่เชตวัน.

พระพุทธเจ้า: ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว,ผู้รู้อริยสัจจ์ ๔ อย่างถ่องแท้ ตามอรรถกถาท่านแบ่งเป็น ๓ คือ

๑. พระพุทธเจ้า ท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตาม (บางทีเรียกพระสัมมาสัมพุทธะ)
๒. พระปัจเจกพุทธะท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว มิได้สั่งสอนผู้อื่น
๓. พระอนุพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า (เรียกอีกอย่างว่าสาวกพุทธะ);
สำหรับรายละเอียดก็ลองอ่านดูในพระไตรปิฎกก็แล้วกันนะครับ โดยเฉพาะใน 2 สูตรนี้คือ
1. พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตร
2. พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ พุทธปกิรณกกัณฑ์
พระพุทธเจ้า ๒๕

(๑) พระทีปังกรพุทธเจ้า (กัปอันประมาณมิได้นับจากกัปนี้ย้อนไป) ปิปผลิ - ควงไม้ซีก
(๒) พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ไม้สาละ
(๓) พระมงคลพุทธเจ้า ต้นกระทิง (กากะทิง)
(๔) พระสุมนพุทธเจ้า ควงไม้กากะทิง
(๕) พระเรวตพุทธเจ้า ควงไม้กากะทิง
(๖) พระโสภิตพุทธเจ้า ควงไม้กากะทิง
(๗) พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ต้นกุ่ม
(๘) พระปทุมพุทธเจ้า ไม้อ้อยช้างใหญ่
(๙) พระนารทพุทธเจ้า ไม้อ้อยช้างใหญ่
(๑๐) พระปทุมมุตรตรพุทธเจ้า (แสนกัป) ไม้สน
(๑๑) พระสุเมธพุทธเจ้า (๓๐๐๐๐ กัป) ต้นสะเดา
(๑๒) พระสุชาตพุทธเจ้า ไม้ไผ่ใหญ่
(๑๓) พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (๑๘๐๐ กัป) ต้นกุ่มสันทก
(๑๔) พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า จำปา
(๑๕) พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ติมพชาละ (มะพลับ)
(๑๖) พระสิทธัตถพุทธเจ้า (๙๔ กัป) กรรณิการ์
(๑๗) พระติสสพุทธเจ้า (๙๒ กัป) ไม้ประดู่
(๑๘) พระปุสสพุทธเจ้า ไม้มะขามป้อม
(๑๙) พระวิปัสสีพุทธเจ้า (๙๑ กัป) ไม้แคฝอย
(๒๐) พระสิขีพุทธเจ้า (๓๑ กัป) บุณฑริก (ไม้กุ่มพก)
(๒๑) พระเวสสภูพุทธเจ้า ไม้อ้อยช้างใหญ่
(๒๒) พระกุกกุสันธพุทธเจ้า (ภัทรกัปนี้) ไม้ซีก - ไม้ชีก
(๒๓) พระโกนาคมนพุทธเจ้า ไม้มะเดื่อ
(๒๔) พระกัสสปพุทธเจ้า นิโครธ
(๒๕) พระโคตมพุทธเจ้า ควงไม้อัสสัตพฤกษ์ (โพธิ์)
(๒๖) พระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้า (ในอนาคตข้างหน้า)

ภัทรกัปนี้ อันถือว่าเป็นกัปที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะว่าในสังสารวัฏนี้ จะมีกัปจำแนก ตามการอุบัติหรือ การมีขึ้นของพระพุทธเจ้า ก็จะจำแนกได้เป็น ๖ คือ
(๑) สุญญกัป - กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้ามีตรัสรู้
(๒) กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๑ พระองค์ (จำศัพท์ไม่ได้ครับ)
(๓) กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๒ พระองค์
(๔) กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๓ พระองค์
(๕) กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๔ พระองค์
(๖) ภัทรกัป - กัปที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๕ พระองค์

ภัทรกัป หรือ ภัททกัปป์ นี้ เคยอ่านเจอรู้สึกจะในพระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า ถือเป็นกัปป์ ที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะมีพระพุทธเจ้า มาตรัสรู้ได้มากที่สุดแล้วคือ ๕ พระองค์ใน กัปป์เดียวกัน
A.   พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันได้ตรัสเอาไว้ว่า ในกัปนี้จะมีพระพุทธเจ้า อุบัติขึ้นทั้งหมด 5 พระองค์ (เพราะฉะนั้นกัปนี้จึงได้ชื่อว่าภัทรกัป) คือ
1. พระกุกกุสันธะพุทธเจ้า   2. พระโกนาคมนะพุทธเจ้า
3. พระกัสสปะพุทธเจ้า   4. พระโคตมพุทธเจ้า (องค์ปัจจุบัน)
5. พระเมตไตรย์พุทธเจ้า (พระศรีอารย์)
กัป
ขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับ

ลกเกิดขึ้นและถูกทำลายไปนับครั้งไม่ถ้วนแล้วระยะเวลา1คาบของโลกคืออายุขัย ของโลกตั้งแต่โลกเริ่มก่อตัวใหม่ๆยังไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆอยู่เลยจนเริ่มมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาจนกระทั่งโลกถูกทำลายไปแล้วเริ่มก่อตัวขึ้นมาใหม่จนอยู่ในสภาพเดิมอีกครั้ง 1 รอบเช่นนี้เรียกว่า1กัปของโลก

กัป,กัลป์(lifeSpan):กาลกำหนด,ระยะเวลายาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง(ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม)ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วนกว้างยาวสูงด้านละ๑โยชน์ทุก๑๐๐ปีมีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่งจนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไปกัปหนึ่ง"ยาวนานกว่านั้น";กำหนดอายุของโลก;กำหนดอายุเรียกเต็มว่าอายุกัปเช่นว่าอายุกัปของคนยุคนี้ประมาณ๑๐๐ปี

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตมีมากมายนับไม่ถ้วนในบางกัปของโลกก็ไม่มีพระพุทธ เจ้าอุบัติขึ้นมาเลยบางกัปก็มีพระพุทธเจ้า1,2,...,5พระองค์เป็นอย่างมากโดยที่คำสอนของ พระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนสิ้นสูญไปแล้วพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่จึงจะอุบัติขึ้น
พระไตรปิฎก เล่มที่ 11

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพ ยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความ
คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ
บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความ
อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพราน
เนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า
อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
     [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัป
สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้ง
หลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคม
นั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี
ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้น
เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้
และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้
ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด
๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ
ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม
ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
ถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระ
นั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน
กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศล
ธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง
จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตร
ของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
เจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่า
กระนั้นเลย เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจาก
อทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้น
จากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาท
ควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม
อย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบ
ในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
ตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดา
ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ
อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะ
เหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย
วรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคน
ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุ
เจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตร
ของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี
จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง
๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตร
ของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี บุตรของคนมีอายุ
๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี
จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญ
ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ
     [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี
อายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑
ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จัก
มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไป
ด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก
เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คน
คับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี
ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักร
พรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรง
ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑
ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น
ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง
ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรง
พระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้
เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง
โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้
แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ
พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
เมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหาร
ภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่
พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญ
ทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จัก
ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรง
ผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์อรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ใน
ทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ฯ
     [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มี
ธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไรเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่
พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างนี้แล ฯ
     [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย
อันสืบมาจากบิดาของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร
ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ
จักเจริญทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิปธาน
สังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน
สังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท
๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องวรรณะ
ของภิกษุ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มี
ความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายใน
เรื่องสุขของภิกษุ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่
ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ
มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก
สถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิต
ประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิต
ประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน
กัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตา
อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่
ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง
เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ
เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะ
ของภิกษุ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว
เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้
แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้
อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
     พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ

จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓




เจริญในธรรม

ไพฑรูย์ อินทวงศ์

ปารถนาเป็นพุทธเจ้า ปรารถนาเป็นปัจเจกพุทธเจ้า ปรารถนาเป็นอัครสาวกเบื้องขวาเบื้อง ซ้าย ปรารถนาเป็นมหาสาวก(พระอเสติ) ปรารถนาเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญา 6 หรือมีปฏิสัมภิทา 4 สุดท้ายปรารถนาให้ถึงพระนิพพานโดยเร็ว ชาวพุทธส่วนมากเกือบ 100 % ปรารถนาดังที่กล่าวมา
        พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ กับความยาวนานของอวิชาอันน่ากลัว
    ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นความยาวนานของอวิชา ที่ไม่รู้ว่าเริ่มต้นแต่เมื่อ ใด ? หาเบื้องต้นไม่ได้ ถ้ายังมีอวิชชาต่อไป ก็ไม่รู้ว่าจะอีกยาวนานเท่าใดจึงจะถึงที่สุด เพราะหาที่สุดไม่ได้ มีแต่ ปัญญาเท่านั้นที่จะชำละอวิชชา ให้ยุติ ตัดขาดจากวัฏฏะสงสาร หมายเหตุ ผมเอาเรื่อง สัพเพเหระ ขึ้นมา เพื่อทำให้การเสวนาธรรมมีสีสรร แตกต่างไปบ้าง โดยการวิเคราะห์ ประมาณเอา ไม่มีเจตนาให้ผู้หนึ่งผู้ใดไปปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า และไม่เจตนาที่ทำให้ผู้ ปรารถนาอยู่แล้วคลายความปรารถนา เพียงแต่ตีแผ่ให้เห็นเท่านั้น
    พระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่ปรารถนาเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1.พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า
อนิยตะโพธิสัตว์  ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้ม ความปรารถนาเมื่อไรก็ได้
    2.พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิยตะโพธิสัตว์
ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติ อย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยียมยอด  ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้ แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ  จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์
    พระพุทธเจ้า คือผู้ที่เป็นศาสดาเอกในพุทธศาสนา แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็น 3 ประเภท
      1.ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการ สร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือปารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ ครั้งแรก  เหลืออีก 4 อสงไขย กับเศษแสนมหากัป  เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
    2. ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการ สร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือปารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก  เหลืออีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
     3. วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการ สร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากับล์ คือปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นออกปากกล่าววาจาต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64 อสงไขย และได้เป็นพระนิยตะโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก  เหลืออีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ช้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน
    วิเคราะห์ผลบุญและบารมีของพระโพธิสัตว์  ที่มีผลในพุทธภูมิของท่านเองเมื่อท่านตรัสรู้
การวิเคราะห์ต้องแยกเรื่องบารมี กับผลบุญออกจากกัน เพื่อทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
           บารมีนั้นสามารถอธิบายได้ว่า มีผลต่อการเป็นพระพุทธภูมิของท่านตั้ง แต่เริ่มปรารถนาแล้ว ถึงแม้พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอนเกิดล้มเลิกความตั้งใจ ปรารถนาเป็นพระสาวกบารมีก็ยังส่งผลให้ท่านมีคุณสมบัติบางประการที่อำนวยประโยชน์ต่อผู้อื่นอยู่ โดยไม่ขาดตกบกพร่อง แต่คุณประโยชน์ต่อสรรพสัตว์อันยิ่งใหญ่หาได้เกิดขึ้น ในอนาคต
    ผลของบุญของพระโพธิสัตว์สามารถอธิบายแยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
    1. ผลบุญขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาอยู่ในใจ (ไม่ได้กล่าววาจาปรารถนา ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า แต่อาจกล่าวกับบุคคลทั่วไป) ซึ่งบุญบารมียังอ่อนอยู่มาก และยังห่างไกลมาก จึงไม่สามารถส่งไปถึงสมัยที่ท่านตรัสรู้ เพราะผลบุญนั้นจะส่งผล ในระหว่างทางหมดเสียก่อน
    2. ผลบุญขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์ที่กล่าววาจาปรารถนา ต่อพระพักตร์พระพุทธ เจ้า(บารมีที่ปรารถนาอยู่ในใจ สมบูรณ์แล้วจึงจะสามารถกล่าววาจาออกมาต่อพระพักตร์ของ พระพุทธองค์ได้) ซึ่งเป็นบุญบารมีอย่างกลาง และยังไกลจากสมัยที่จะเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ และจะล้มเลิกความตั้งใจเมื่อไรก็ได้ ดังนั้นจึงไม่ปรากฏชัดเจนในพุทธภูมิที่จะบังเกิดหรือ ไม่เกิดในอนาคต ดังนั้นผลบุญที่ทำก็จะอำนวยผลในช่วงเวลานั้นเสียมากกว่า ที่จะส่งเก็บสะสมในพุทธภูมิ
    3. ผลบุญที่พระโพธิสัตว์ได้รับพยากรณ์แน่นอนแล้ว ซึ่งเป็นบุญที่ทำอย่างยิ่งผล บุญเหล่านั้นจะส่งผลในปัจจุบันและอนาคตอันใก้ลพอประมาณ เพื่อให้ทรงสร้างบารมีต่อ แต่ผลบุญส่วนมากจะไปปรากฏในพุทธภูมิของท่านเสียมากกว่า ดังนั้นพระโพธิสัตว์ ที่เทียงแท้แน่นอน ท่านจึงมีอุปนิสัยในการสร้างบุญบารมีอย่างต่อเนื่อง และถ้าท่านได้สร้าง บุญบารมีกับพระพุทธเจ้ามากเท่าไร หรือพระพุทธศาสนาก่อนมากเท่าไร ผลบุญบารมีที่จะ รากฏในสมัยพุทธภูมิของท่านมากขึ้นเท่านั้น ถึงระยะเวลาจะห่างไกลถึง 4 อสงไขย หรือ 8 อสงไขย หรือ 16 อสงไขย ไม่ได้เป็นอุปสรรค์ เพราะผลบุญไม่ส่งก่อนเวลาเป็นแน่นอน   จะรออยู่ในอนาคตสมัยพุทธภูมิของท่าน และพระนิยตโพธิสัตว์มีแต่จะสร้างบุญบารมีเพิ่ม มากขึ้นไปเสียอีก ตามที่สามารถหาโอกาสที่อำนวยให้ได้ จึงจะเห็นว่าพระนิยตโพธิสัตว์ ไม่ค่อยจะอยู่เสวยสุขบนสวรรค์นานนัก ต้องมีใจปรารถนาลงมาเกิดบนมนุษยโลกอยู่เป็น ประจำและถ้านิยติโพธิสัตว์ได้สร้างบุญบารมีกับพระพุทธเจ้า  หรือกับพระพุทธศาสนา มากเท่าไร พุทธภูมิที่ท่านจะตรัสรู้ก็จะมีความบริบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น ดังที่ได้มีข้อมูล การเปรีบเทียบพุทธภูมิของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ในพระไตรปิฏก
           แต่การที่เราท่านทั้งหลายจะตำหนิว่า พระพุทธเจ้าองค์นี้สร้างบารมีบกพร่องไม่ดีกว่า พระพุทธเจ้าองค์โน้นในอดิต  หรือในอนาคต นั้นย่อมไม่ได้เป็นอันขาด  เนื่องจากไม่ ใช่ความผิดของพระองค์ เป็นเพราะโอกาสที่จะอำนวยให้พระองค์สร้างบารมี เมื่อตอนเป็นนิยตโพธิสัตว์ มีไม่เท่าเทียมกันตามกฎกระแสแห่งกรรม และบุญบารมีที่เด่นๆ ก็ต่างต่างกัน หาได้เหมือนกันทั้งหมดไม่ ที่ทรงมีเหมือนกันอย่างไม่ผิดเพี้ยนแม้แต่น้อยนิด คือสัมมาสัมโพธิญาณ และธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอน
        พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก(ผมยังไม่มั่นใจ เพราะมีได้ หลายกรณี) ต้องสร้างบารมีต่อไปอีก ถึง 2 อสงไขย ก่อนได้รับพุทธพยากรณ์ อาจจะสร้าง บารมีมาหลายอสงไขยมาก่อนแล้วก็ได้
        พระอัครสาวกเบื้องขวาหรือเบื้องซ้าย เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์ เป็นครั้งแรก ก็ต้องสร้าง บารมีต่อไปอีก ถึง 1 อสงไขยเศษแสนมหากัป แต่ก่อนที่ท่านได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้ง แรกนั้นไม่รู้ว่าท่านสร้างบารมีมายาวนานเท่าไร อาจเป็นหลายอสงไขยมาก่อนแล้วก็ได้
     พระอเสติที่เป็นเอตทัคคะหรือพระมหาสาวก เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก ต้องสร้างบารมีต่อ อีก หนึ่งแสนมหากัป เป็นอย่างน้อย แต่ก่อนหน้านั้นท่านอาจ สร้างบารมีมานานมากแล้วก็ได้ ดังมีในพระไตรปิฏก บางท่านสร้างบารมีนานถึง 4 อสงไขยเศษแสนมหากัป บางท่านสร้างบารมีนานถึง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง