ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 03 มี.ค. 06, 21:24
|
|
เข้ามาตามไล่อ่านกระทู้ครับอาจารย์ กว่าจะสอบเสร็จได้ เหงื่อตกน่าดู
วันนี้มีทั้งสอบ ทั้งส่งงาน ทั้งนำเสนองานหน้าห้อง รวมกัน 5 อย่าง ไม่ต้องไปไกลถึงเชียงใหม่นิสิตทั้งคณะก็เดินกันว่อนเป็นแพนด้าซะแล้วล่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เฟื่องแก้ว
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 03 มี.ค. 06, 22:47
|
|
อยากเห็นบรรยากาศมีทติ้งด้วยคนค่ะ คงสนุกมากๆ เลยนะคะ อุ่นเครื่องไว้ในหลาย ๆ กระทู้แล้ว อิจฉาจังค่ะ อาจารย์ (แต่คงไม่กล้าไปเองค่ะ ยังอายอยู่ แหะๆ)
คุณออโถ ฯ ดิฉันนับถือผู้รู้ในวิชาการ ฯ เป็นครูเป็นอาจารย์ผู้ให้ความรู้ทุกท่านเลยนะคะ แน่นอนโดยเฉพาะอาจารย์เทาชมพู และคุณพระนิล ฯ นอกจากมีความรู้กว้างขวางแล้ว ยังเล่าเรื่องสนุกด้วยซีคะ
คุณติบอ เรียนอะไรคะ ทำไมทั้งคณะมีแต่แพนด้า คงน่ารักนะคะ อย่างนี้ ไม่ต้องสั่งมาจากจีนอีกแล้ว อยากเห็นแพนด้า กรุณาแจ้งติบอ อิอิ . .
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 04 มี.ค. 06, 12:46
|
|
ปณิธานด้านศาสนาของพระราชาพลัดถิ่นนับว่ามั่นคงน่าสรรเสริญ อย่างน้อยก็ไม่หักหาญจิตใจพันธมิตรใหญ่คือพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และพระสันตปาปาแห่งโรมที่อุดหนุนจุนเจือมาตลอด แต่ในทางการเมืองแล้วกลับตาลปัตรเป็นผลร้ายกับพระองค์
เพราะการเมืองเปรียบได้กับกังหันต้องลมหมุนวน ไม่รู้กี่หนต่อวัน นโยบายที่เห็นว่าดีงามถูกต้องที่สุดในวันนี้อาจพลิกผันเป็นเลวที่สุดในวันพรุ่งนี้ ศัตรูที่แยกเขี้ยวเล่นงานกันชนิดไม่เผาผีอาจจะจับมือกลายเป็นมิตรกันด้วยดี อะไรที่เป็นไปไม่ได้ก็เป็นไปได้ทั้งนั้นในด้านการเมือง
นักการเมืองที่ช่ำชองอย่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๒ ย่อมเรียนรู้ข้อนี้ดี ถึงได้ทรงเอาตัวและประเทศรอดมาได้จนตลอดรัชกาล ไม่เพลี่ยงพล้ำเสียทีใคร แต่ว่าพระเจ้าเจมส์ที่ ๒ พระอนุชาและหลานเธออย่างพระราชาหนุ่ม ที่ประวัติศาสตร์ขนานนามให้ภายหลังว่า The Old Pretender หมุนตามลมไม่ทัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 04 มี.ค. 06, 12:55
|
|
เมื่อถึงปี ๑๗๑๔ เป็นปีที่ราชบัลลังก์อังกฤษเปลี่ยนไปสู่มือเจ้านายเยอรมัน ในปีนั้น ฝรั่งเศสแพ้สงคราม ต้องจำยอมทำสนธิสัญญาประนีประนอมกับอังกฤษ ข้อตกลงข้อหนึ่งที่เป็นการมัดมือชกพระเจ้าหลุยส์คือพระองค์ต้องเนรเทศพระเจ้าเจมส์ที่ ๓ ออกจากฝรั่งเศส ไม่ให้การสนับสนุนอีก
เมื่อสถานการณ์ชักคับขัน ขบวนการผู้สนับสนุนพระราชาอังกฤษสายพระเจ้าเจมส์ ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "พวกจาโคไบท์" ก็แสวงหาขุมกำลังใหม่ที่จะช่วยเกื้อหนุนให้พระราชาของพวกเขาได้กำลังไปทำศึกกับพระเจ้าจอร์ชที่ ๑ จากฮันโนเวอร์ที่เสด็จมาครองอังกฤษ คือเล็งไปที่สกอตแลนด์ ถิ่นเดิมของราชวงศ์สจ๊วต พระเจ้าเจมส์ที่ ๓ ก็เสด็จออกจากฝรั่งเศสไปที่นั่น
สกอตแลนด์แบ่งเป็น clan เยอะแยะ จะเรียกว่าเผ่าก็จะฟังเหมือนอินเดียนแดงไป คือพวกนี้มาจากตระกูลต่างๆในสกอตแลนด์ที่รวมกันอยู่กับประมุข ดูไปก็คล้ายกับในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นที่มีปราสาทนั้นปราสาทนี้ของขุนนางตระกูลต่างๆอยู่เหมือนกัน
พวกจาโคไบท์พยายามรวบรวมหัวหน้า clan ต่างๆในสกอตแลนด์ ก่อกบฎ เพื่อรวมรวมพลเข้าด้วยกันเป็นหมวดหมู่เดียว เป็นกองทัพให้พระราชา แต่ก็ล้มเหลว ทำไม่สำเร็จ พระเจ้าเจมส์ก็จำต้องต้องบ่ายหน้าจากสกอตแลนด์กลับไปฝรั่งเศสอีกครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 07 มี.ค. 06, 09:02
|
|
การกลับไปฝรั่งเศสอย่างผู้ปราชัยในครั้งนี้ ชะตากรรมที่รอคอยอยู่ยิ่งเลวร้าย เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ สุริยราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ได้ดับแสงสิ้นรัชกาลลงไปแล้ว รัฐบาลของฝรั่งเศสรังเกียจพระราชาไร้บัลลังก์ ไม่ประสงค์จะรับไว้เป็นภาระ เพราะมีแต่เสีย ไม่มีได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาสักอย่าง จึงบีบให้พระเจ้าเจมส์ที่ ๓ ออกไปจากอาณาจักร แต่ในเมื่อพระองค์เป็นคาทอลิค สันตปาปาแห่งโรมจึงอ้าแขนต้อนรับด้วยดี เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจ๊วต หรือพระเจ้าเจมส์ที่ ๓ เสด็จไปพำนักอยู่ที่โรมจนสิ้นอายุขัย แต่ศึกสายเลือดก็ยังไม่จบอยู่ดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 07 มี.ค. 06, 09:19
|
|
พระราชาไร้บัลลังก์นั้นเมื่อพระชนม์มากขึ้นก็ยิ่งหมดสภาพที่จะกลับไปกอบกู้ราชบัลลังก์คืนมา ทรงกลายเป็นคนอารมณ์ร้ายชอบทะเลาะวิวาทกับคนอื่นๆแม้แต่ลูกเมีย เป็นผลจากความระทมขมขื่นในความล้มเหลว ทรงเจ็บปวดที่ใครต่อใครตั้งสมญาพระองค์ว่า Mr. Misfortune หรือเรียกอย่างชาวบ้านก็คงเป็น "ท่านโคตรซวย" อารมณ์ขึ้นๆลงๆนี้ก็ติดตัวไปจนตลอดพระชนม์ชีพ แต่ก็ไม่ย่อท้ออยู่เรื่องหนึ่งคือความฝันที่จะกลับไปครองอังกฤษได้อีกครั้ง
สภาพแวดล้อมนับว่าเป็นใจให้เจ้าชายชาลี สันตปาปาแห่งกรุงโรมให้การอุปถัมภ์เจ้าชายด้วยดี ทรงเติบโตขึ้นมาแบบเจ้าชายทุกกระเบียดนิ้ว ส่วนประเทศอื่นๆที่นับถือคาทอลิคก็เล็งว่าบอนนี่ ปรินซ์ ชาร์ลี เหมาะสมจะกลับคืนสู่บัลลังก์อังกฤษอีกครั้ง ถ้าหากว่าทำได้ พวกนี้ก็จะได้อังกฤษเป็นพันธมิตรที่ยิ่งใหญ่ของตน และนอกจากนี้หลายประเทศก็ไม่ชอบเจ้าเยอรมันที่ส้มหล่นได้ครองอังกฤษอีกด้วย
เจ้าชายถูกปลูกฝังให้ถือว่าหน้าที่และภารกิจสำคัญคือนำราชบัลลังก์อังกฤษกลับคืนมา พระบิดาทรงส่งพระโอรสไปรับการฝึกหัดอย่างทหารตั้งแต่พระชนม์ยังน้อยๆ เมื่อเจริญวัยขึ้นเป็นหนุ่ม เจ้าชายก็เป็นนายทหารที่มีฝีมือคนหนึ่งเสียด้วย
พระเจ้าเจมส์ที่ ๓ ทรงลอบติดต่อกับฝรั่งเศส(ซึ่งกังหันหมุนกลับมาให้การสนับสนุนพระราชาราชวงศ์สจ๊วตอีกครั้ง) ให้พระโอรสได้เข้าไปเป็นผู้บังคับบัญชากองทหารหน่วยรบนอกประเทศของฝรั่งเศส เพื่อจะยกทัพไปรุกรานอังกฤษโดยเฉพาะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
OrThoMorPheUs!
อสุรผัด

ตอบ: 6
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 07 มี.ค. 06, 19:49
|
|
ข้อยซื่อ"ออร์โธฯ" บ่ไซ่"ออโถ"ดอก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 08 มี.ค. 06, 09:54
|
|
ทางด้านอังกฤษ ราชวงศ์ฮันโนเวอร์ที่เข้ามาครองบัลลังก์ก็ใช่ว่าจะผาสุกนัก ราชาเยอรมันคือพระเจ้าจอร์ชที่ ๑ ตรัสภาษาอังกฤษไม่ได้ ทรงขลุกขลักไปเสียเกือบทุกเรื่องแม้แต่จะสั่งการมหาดเล็กในวัง ผลคือข้าราชสำนักอังกฤษแอบพากันหัวเราะเยาะลับหลัง ไม่ค่อยจะยำเกรงเจ้าเหนือหัว เพราะเห็นว่าเป็นไทต่างด้าวท้าวต่างแดน
ส่วนการบริหารบ้านเมืองก็ต้องทรงพึ่งเซอร์โรเบิร์ต วอลโพล อัครมหาเสนาบดีให้เป็นผู้พิจารณาตัดสินในเรื่องสำคัญๆ เพราะพระองค์ไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นอยู่ในอาณาจักรอังกฤษ
รวมความแล้วอำนาจก็ไม่ค่อยจะอยู่ในพระหัตถ์กี่มากน้อย ส่วนใหญ่ก็เลยไม่ค่อยจะเสด็จมาอยู่ในอังกฤษ แต่ประทับอยู่ในถิ่นเดิมที่เยอรมัน ที่พระองค์ปลอดโปร่งโล่งพระทัยมากกว่า
ในสมัยนี้จึงเป็นสมัยแรกที่อำนาจของรัฐสภาและคณะเสนาบดีโดยมีอัครมหาเสนาบดีเป็นประธาน เริ่มฟอร์มตัวได้แข็งแกร่งในการบริหารประเทศ โดยที่พระราชาเป็นฝ่ายโอนอ่อน รัฐสภาจึงไม่ต้องพึ่งหรือขัดแย้งกับกษัตริย์อย่างเมื่อก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|