|
|
|
paganini
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 22 ก.พ. 06, 03:59
|
|
เรื่องตามคำขอ แต่มาอย่างเงียบๆ เกือบตกสำรวจเลย
มาลงชื่อนั่งฟังเป็นคนแรกครับ อิอิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 22 ก.พ. 06, 06:23
|
|
แวบเข้ามาลงชื่อกับพี่ปากกาด้วยคนนะครับ ขอบพระคุณ อ.เทาฯ มากครับ สำหรับกระทู้นี้
ปล. ใครเข้ามาแล้วมีกาแฟเย็นแจกนะครับ อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 22 ก.พ. 06, 10:24
|
|
มอนมัธยื่นฎีกาขออภัยโทษ แต่ไม่เป็นผล เขาถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะที่ หอคอยแห่งลอนดอน(Tower of London) เพชฌฆาตต้องใช้ขวานฟันถึง 8 ครั้งกว่าหัวของมอนมัธจะหลุดจากบ่า
ตุลาการที่พระเจ้าเจมส์เลือกมาตัดสินคดีกบฏ ชื่อจอร์ช เจฟฟรีย์ เขาตัดสินคดีกบฏครั้งนี้อย่างเหี้ยมโหดเป็นประวัติการณ์ของยุค นอกจากมอนมัธแล้ว มีผู้ถูกตัดสินประหารถึง 320 คน บางคนถูกประหารอย่างทารุณคือใช้ม้าลากไปตามถนน เอาขึ้นแขวนคอ แล้วเอาลงมาผ่าอกสับแขนขาเป็นชิ้นๆ มี 800 คนถูกเนรเทศออกจากประเทศไปทำงานเป็นทาสใน West Indies เท่ากับว่าเพียงไม่กี่เดือน พระเจ้าเจมส์ก็นั่งบนบัลลังก์อาบเลือดชุ่มโชก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 22 ก.พ. 06, 10:29
|
|
เกร็ดที่สองคือ มีเรื่องเล่าลือกันว่าอันที่จริงมอนมัธไม่ได้ตายจริงหรอก พระเจ้าเจมส์พระทัยไม่แข็งพอจะสั่งประหารหลานชาย ก็เลยสร้างฉากให้เขาถูกประหารในหอคอยแห่งลอนดอน ซึ่งเป็นที่มิดชิดไม่มีราษฎรเข้าไปเห็น แล้วประหารหลอกๆ กัน
ตัวจริงของมอนมัธถูกส่งไปขังคุกที่ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ พันธมิตรที่ดีของพระเจ้าเจมส์ จับสวมหน้ากากเหล็กเอาไว้ไม่ให้ความลับแตก อยู่ดีกินดีในคุกจนถึงแก่กรรมไปเอง ตามก๊อสสิปนี้ ดยุคแห่งมอนมัธก็คือ Man in the Iron Mask ตัวจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 23 ก.พ. 06, 08:00
|
|
กบฏมอนมัธคงจะทำให้พระเจ้าเจมส์ทรงหวั่นไหวอยู่ไม่มากก็น้อย แม้ว่ากองทัพหลวงบดขยี้ศัตรูได้ง่ายดายก็ตาม พระองค์จึงมีนโยบายปรับปรุงกองทัพด้วยการเลื่อนตำแหน่งนายทหารฝ่ายคาทอลิคให้มาคุมกำลังกันมากขึ้น พวกนี้ทรงไว้ใจได้ว่าจงรักภักดี นอกจากนี้ยังเป็นการคานอำนาจทางฝ่ายโปรแตสแตนท์ได้อีกด้วย ไม่งั้นก็คงต้องทรงหวาดหวั่นเรื่อยไป ไม่รู้ว่าพวกโปรฯ จะหันกลับมาต่อต้านพระองค์เมื่อใด
เหตุผลที่ทรงประกาศเป็นทางการ ก็คือทรงแบ่งความสำคัญให้คาทอลิคและโปรแตสแตนท์เท่าๆกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง รัฐสภาก็เริ่มไม่เป็นสุขละซีคะ เพราะอำนาจทางคาทอลิคมากขึ้นเท่าไร อำนาจของโปรแตสแตนท์ก็ถูกบั่นทอนลงเท่านั้น ในที่สุดก็นำมาสู่การขัดแย้งประท้วงกันรุนแรงกับพระเจ้าเจมส์ พระเจ้าเจมส์ก็ทรงทำอย่างที่พระบิดาและพระเชษฐาทำมาก่อน คือยุบสภามันเสียรู้แล้วรู้รอด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 23 ก.พ. 06, 08:10
|
|
พระเจ้าเจมส์อาจจะทรงลืม หรือไม่ก็ดูไม่ออกว่าพระองค์ยังขาดคุณสมบัติสำคัญของพระเชษฐาอีกมาก นั่นคือความเฉียบแหลมในการปกครองอาณาจักร รู้ว่าตอนไหนควรยืดหยุ่น ตอนไหนควรเด็ดขาด นอกจากนี้ ด้านคุณสมบัติส่วนพระองค์ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ก็เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ เป็นกันเอง เข้ากับคนง่าย ไม่ถือพระองค์ เรียกว่าทรง"รู้เขารู้เรา" สามารถชนะใจราษฎรได้เสมอมา ดังนั้นต่อให้รัฐสภามีมือเก่งๆแค่ไหน แต่ถ้าพระราชามีราษฎรหนุนหลังอยู่ อำนาจของพระองค์ในการจัดการกับรัฐสภาก็ทำได้แบบไม่ยากเย็น
พระเจ้าเจมส์ไม่เป็นที่นิยมของราษฎรเท่าใดนัก เพราะอยู่คนละนิกายกันอย่างหนึ่งละ นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระอุปนิสัยดื้อรั้นหัวชนฝาคล้ายๆพระบิดา(คือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1) หากเชื่ออะไรก็ตั้งหน้าตั้งตาจะทำตามนั้น เช่นทรงสนับสนุนคาทอลิคด้วยความเชื่อมั่นจากศรัทธาของพระองค์ ทรงไม่เห็นเป็นความผิดที่ตรงไหนที่จะมีขุนนางที่มีศรัทธาคล้ายคลึงกันเป็นมือเป็นแขนล้อมรอบราชบัลลังก์
จะว่าไป มันก็ไม่ผิดหรอกไม่ว่าเรื่องจริยธรรมหรือกฎหมาย เพียงแต่มันไปขัดต่อความรู้สึกของราษฎรส่วนใหญ่เท่านั้นเอง เมื่อราษฎรไม่เข้าข้าง พวกเขาก็ไม่ทำอะไรมาก เพียงแต่เย็นชาเฉยเมย ไม่ให้การสนับสนุนเมื่อถึงคราวคับขัน
พระเจ้าเจมส์เอาชนะเสียงในรัฐสภาไม่ได้ ก็ทรงตัดปัญหาด้วยการยุบสภา ให้มันรู้แล้วรู้รอด แทนที่จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเงียบหงอยหมดฤทธิ์ไปอย่างที่ทรงคิดว่าน่าจะเป็น มันก็เหมือนไปนั่งทับลูกระเบิดเอาไว้ รอเวลาระเบิดตูมขึ้นใน 3 ปีต่อมา
ก่อนจะมาถึงปลายรัชสมัยก็ต้องขอย้อนไปปูพื้นถึงเรื่องส่วนพระองค์ของพระเจ้าเจมส์สักหน่อยละค่ะ เพราะมันมีผลกระทบโดยตรง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เฟื่องแก้ว
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 24 ก.พ. 06, 05:07
|
|
มาลงชื่อเข้าเรียนก่อนค่ะ เดี๋ยววิ่งกลับไปอ่านแต่แรกใหม่
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 24 ก.พ. 06, 09:00
|
|
อาจารย์คะ มันเป็นแฟชันของราชวงศ์ยุโรปที่ชอบแต่งงานข้ามประเทศเหรอคะ (นึกเปรียบเทียบว่าถ้าเจ้าชายญี่ปุ่น ไปรับสะใภ้ต่างชาติเข้ามาบ้าง จะเป็นอย่างไรกัน)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|