เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 15495 growth spurt ทางภาษา... อิอิ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


 เมื่อ 18 ก.พ. 06, 21:39

 ที่จริงกระทู้นี้ควรจะไปเปิดอยู่ในห้องสุขภาพ แต่นายติบอขออนุญาตเอามาไว้ที่เรือนไทยนี่แหละ
สาเหตุเพราะหมอจำนวนหนึ่งที่นายติบอรู้จัก ก็บอกมาเองว่า "ปกติอยู่เรือนไทยซะมากกว่า มีอะไรให้อ่านเยอะดี"
เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการพี่หมอมาช่วยตอบ นายติบอเอากระทู้ไว้ที่นี่ซะจะดีกว่า จริงมั้ยครับ อิอิ


เอาล่ะ ก่อนอื่น ถ้าท่านผู้อ่านท่านไหนสงสัยว่าอะไรคือ growth spurt ก็ขอให้ท่านนึกย้อนเวลาซะหน่อย
เอาไปช่วงหนึ่งของวัยเด็ก ซัก 10 กว่าขวบเห็นจะได้ แต่จะ 10 เท่าไหร่ก็ต่างกันออกไปตามเพศ และกรรมพันธุ์ของแต่ละคน
ในช่วงวัยนี้ของท่าน ท่านมักจะรู้สึกว่ารซุ่มซ่ามบ่อยมาก เดี๋ยวก็หน้าแข้งกระแทก นิ้วเท้าเตะไปโดนโน่นโดนนี่
และอาการพวกนี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำ โดยเฉพาะในเด็กซนๆ ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าจะเกิดขึ้นแทบไม่เว้นอาทิตย์
(ถ้าใครเกิดมาแขนขาสั้น นึกไม่ออกผมก็ขอโทษด้วยล่ะครับ ฮี่ฮี่)


ไอ้เจ้าอาการซุ่มซ่ามผิดปกติ บางทีหกล้ม บางทีหน้าแข้งเขียวเพราะกระแทกกับขั้นบันได้พวกนี้หนะ
เกิดมาจากการที่แขนขาของเจ้าของตัวยาวขึ้นอย่างรวดเร็วจนเจ้าของแขนขาเองก็กะความยาวไม่ถูก มันเลยไปชนนู่นกระแทกนั่นอยู่บ่อยๆไงครับ
แต่แล้ว ซักพัก อาการที่ว่าก็จะหายไป พร้อมกับความสูงที่ไม่เพิ่มขึ้นอีกแล้ว (แปลง่ายๆว่าแก่)
ถึงตอนนี้ร่างกายก็จะเริ่มรู้จักขอบเขตของตัวเองมากขึ้น และใช้แขนขาได้อย่างเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น อาการซุ่มซ่ามก็จะหมดไปในที่สุดครับ


เอาเป็นว่าจากตรงนี้ หลายๆท่านคงพอเข้าใจคำว่า growth spurt ได้อย่างคร่าวๆ แล้วนะครับ
แต่ growth spurt ที่ว่าหนะไม่ได้เกี่ยวอะไรกับชื่อกระทู้เท่าไหร่หรอกครับ ยกมาไว้ให้เข้าใจว่าอะไรคือ growth spurt แค่นั้นเองครับ อิอิ


อยากรู้ว่ากระทู้จะเป็นยังไง คอยติดตามอ่านนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ก.พ. 06, 21:45

 ก่อนจะจากไป แวะมาเล่าต่ออีกซักหน่อย ว่าโดยทั่วไปแล้ว พัฒนาการเด็กจะถูกจัดแบ่งออกเป็น 3 หรือ 4 ด้านก็ได้
(ผมชินกับอ.ที่สอนว่ามี 4 ด้านนะครับ)

คือ

1 ด้านกล้ามเนื้อและกระดูก
2 ด้านการทำงานประสานสัมพันธ์กัน (ระหว่างการรับสัมผัสและระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ)
3 ด้านภาษา
4 ด้านสังคม


เรื่องที่กระทู้นี้อยากเปิดถึง คิดว่าน่าจะอยู่ในด้านที่ 3 และ 4 รวมๆกัน
(ที่จริงน่าจะ 4 แต่ก็ไม่เป็นไร ยังไงๆพัฒนาการพวกนี้มันก็เกิดไปพร้อมๆกันแหละครับ อิอิ)
แต่ที่เอาเรื่องของพัฒนาการด้านที่ 1 มาพูดถึงเพราะเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดกว่า และพอจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายกว่าครับ


วันพฤหัสนี้ผมสอบเรื่องนี้ด้วยสิ ยังจำไม่ค่อยได้เลยขอตัวหมดเวลาแค่นี้ไปอ่านหนังสือต่อนะครับ อิอิ  
บันทึกการเข้า
เนยสด
ชมพูพาน
***
ตอบ: 153



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 ก.พ. 06, 23:23

 อิอิ โชคดีทำข้อสอบได้นะครับ...
ผมสอบสัปดาห์หน้าแล้ว
สู้ๆ สู้ตาย...
บันทึกการเข้า

ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ก.พ. 06, 03:30

 รูปใน คหพ ที่ 1 นั่น ดูแก่เกินวัยดีจัง
สงสัยรูปเฒ่าทารกซะกระมังคะนั่น
อิอิ
   
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ก.พ. 06, 10:27

 
ยืมคำคุณเนยสดมาอวยพรละกันครับ
ผมจะสอบประมาณ 2 สัปดาห์ถัดไป แต่การบ้านมาทางไหนก็ไปทางนั้นอยู่(ห้ามลอกเลียนแบบ)
ดังนั้น ขอฝากว่า อย่าลืมล้าง(clear)การบ้านก่อนสอบนะจ๊ะ
ป.ล. ถ้าคนเราแก่ตัวลง ทำไมไม่เกิดภาวะตรงข้ามกับ growth spurt
สังเกตดู ทางภาษาก็ growth spurt เหมือนกัน แต่น่าจะซับซ้อนกว่า
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ก.พ. 06, 15:55

 หลังจากไปตอบกระทู้อื่นๆมาหลายกระทู้ (โดยไม่มาเล่าเรื่องของตัวเองต่อ) วันนี้ก็หาโอกาสมาเล่าต่อหน่อยครับ

เริ่มจากพัฒนาการทางการพูดแล้วกันนะครับ

ก่อนจะเริ่มพูด นอกจากเด็กจำเป็นจะต้องมีทั้งส่วนที่ "รับ" และ "ส่ง" ภาษาที่สมบูรณ์แล้ว
ยังต้องมีความสมบูรณ์ของส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงทั้งสองส่วนเข้าหากันด้วยครับ

ส่วนที่ทำหน้าที่รับ เช่น เด็กต้องมีความสามารถในการฟัง ดู สิ่งต่างๆได้
ส่วนที่ทำหน้าที่ส่ง เช่น เด็กจะต้องส่งเสียงอ้อแอ้ และกักกั้นลมให้เกิดเสียงต่างๆได้เสียก่อน

และส่วนที่ทำหน้าที่ "เชื่อมโยง" สี่งที่รับเข้ามาและส่งออกไปที่มีความพร้อม (อยู่ในสมองหนะแหละ ครับ)

ซึ่งถ้าระบบทั้งหมด ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ช้าเกินไป เด็กก็จะสามารถสื่อสารกับคนใกล้ตัวได้
เช่น ใช้เสียงร้องที่ต่างๆกันออกไปเพื่อแสดงความต้องการต่างๆ เช่น เสียงร้องเวลาถ่าย จะต่างจากเวลาหิวเป็นต้น
หรือในเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อย แต่ยังไม่สามารถพูดได้บางคนจะใช้วิธี "ชี้" เพื่อบอกความต้องการต่างๆของตัวเอง ครับ

หลังจากพัฒนาการทีละเล็กทีละน้อยของเด็กขึ้นมา เด็กก็จะเริ่มพูดได้ทีละคำ หรือเข้าใจความหมายในสิ่งต่างๆมากขึ้น
เริ่มผสมคำที่มีความหมายต่างๆเข้าเป็นประโยคสั้นๆได้ เช่น ปวดอึ หรือ ไปไหน ไงครับ
แล้วเวลาก็ผ่านไป เด็กจะเริ่มโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นมีความสามารถมากขึ้นในการถาม - ตอบ สิ่งต่างๆก่อนจะเข้าสู่วัยต่อไปคือวัยเรียนครับ  
บันทึกการเข้า
เนยสด
ชมพูพาน
***
ตอบ: 153



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 ก.พ. 06, 20:18

 รู้สึกว่าตัวผมจะ spurt มากๆ เลยครับ
ตอนนี้ศัพท์มั่วตีกันเต็มหัวไปหมด
สงัสยต้องไปล้างสมองก่อน อิอิ
บันทึกการเข้า

เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 ก.พ. 06, 21:49

สงสัยดิฉันยังไม่พ้นวัยพัฒนาทางการพูดเลยค่ะ

พูดมาหลายปีแล้ว ยังไม่ค่อยเข้าหูคนเสียที

เฮ้อ อยากโตไวๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ก.พ. 06, 22:07

 แวะมาเล่าต่อครับ หลังจากที่หายไปนานเพราะมัวแต่ไปสนใจกระทู้อื่นอยู่ (ผมยังไม่ลืมกระทู้นี้นะครับ รับประกัน)

หลังจากที่เด็กเริ่มพูดได้คล่อง และรู้สถานภาพของตัวเองในสังคมที่บ้านบ้างแล้ว
เช่น การประพฤติปฏิบัติตัวต่อผู้ใหญ่ พี่ๆน้องๆ เป็นต้นนะครับ
วัยถัดไปของเด็กคือ "วัยเรียน" ครับ ซึ่งเด็กจะรู้จักเพื่อน และปรับตัวเข้ากับสังคมที่ใหญ่ขึ้น
ตามประสาสัตว์สังคมที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต ต้องมีหน้าที่และบทบาทแตกต่างกันไป

จนในที่สุด จุดที่ผมอยากพูดก็มาถึง คือ "เมื่อเด็กเป็นวัยรุ่น" ไงครับ  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 ก.พ. 06, 22:20

 เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู้วัยรุ่น การปรับตัวเข้าสู่สังคมก็เปลี่ยนไป อย่างที่หลายๆท่านคงทราบจากประสบการณ์ของชีวิตตัวเอง
ว่าวัยนี้อาการ "ติดเพื่อน" เริ่มเป็นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน กลับถึงบ้านก็อยากคุย มีโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือต้องโทรหาเสียให้ได้
(จนเจ้าของโทรศัพท์ร่ำรวยกันไปตามๆกัน จากน้ำภักดิ์น้ำแรงของคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายที่หาเงินมาจ่ายค่าโทรศัพท์คุณลูกๆ)

ซึ่งจากการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันในหมู่เพื่อน เด็กวัยรุ่นซึ่งเริ่มรู้จักสังคมใหม่ๆก็มักคะนองอย่างที่วัยอื่นๆไม่มีวันกล้า
ซึ่งความคะนองจะมากจะน้อยก็แตกต่างกันไปตามแต่ละคน ซึ่งไม่เคยเหมือนกันในสังคม  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 ก.พ. 06, 22:27

 อีริคสันซึ่งเป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการในกลุ่มนีโอฟรอยเดียน (Neo Freudian) ที่เชื่อหลักจิตวิเคราะห์แนวใหม่ ได้กล่าวไว้ว่า

ช่วง 6 – 12 ปี (หรือช่วงวัยรุ่นตอนต้นของชีวิต) เป็นช่วงของ Industry v.s. Inferiority คือเป็นระยะที่เด็กเริ่มพัฒนาความขยันหมั่นเพียรหรือความรู้สึกด้อย
โดยเด็กจะเริ่มเข้าสังคมที่กว้างมากขึ้นจากสังคมภายในครอบครัว เนื่องจากเด็กเริ่มไปโรงเรียน, มีเพื่อนเล่นมากขึ้น เด็กที่มีพื้นฐานดีจากในขั้นที่แล้วจะมีนิสัยขยันขันแข็ง มีความสนใจตั้งใจในการเรียนและการร่วมกิจกรรมต่างๆ
แต่ถ้าเด็กรู้สึกกลัว หวาดระแวง เด็กจะยิ่งมีพัฒนาการในความรู้สึกด้อย ไม่เชื่อมันในความสามารถของตนเอง และอาจทำอะไรผิดพลาดไม่ประสบความสำเร็จได้

แปลง่ายๆก็คือ เด็กจะโตขึ้นมาอย่างกล้า หรือ หงอย ก็อยู่กับช่วงวัยนี้ของชีวิตล่ะครับ  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 24 ก.พ. 06, 22:31


อีริคสันยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ช่วง 12 – 18 ปีของชีวิต จัดเป็นช่วงของ Identify and Repudiation v.s. Identity
ซึ่งเป็นขั้นที่มนุษย์เริ่มพัฒนารู้จักและเข้าใจตนเอง หรือความรู้สึกสับสนไม่เข้าใจตนเอง
โดยเด็กจะเริ่มพัฒนาเป็นตัวของตัวเอง ต้องการความยอมรับจากเพื่อนเพศเดียวกัน และเพศตรงข้าม ต้องการความเป็นอิสระจากผู้ใหญ่ โดยเด็กที่เติบโตขึ้นมาโดยเชิงลบจะยิ่งมีความสับสนเกิดขึ้นมากในช่วงนี้ของชีวิต

และแน่นอนครับ เด็กที่โตขึ้นมาด้วยความกล้ากลุ่มหนึ่ง จะกลายเป็นคนก้าวร้าวได้
หรืออาจจะมีบางคนที่ทั้งกล้า ทั้งสับสนในชีวิตก็มี เพราะพัฒนาการของชีวิตแต่ละคนก็แตกต่างกันไป
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 ก.พ. 06, 22:37

 ส่วนเจ้าของทฤษฎีจิตวิเคราะห์คนแรกอย่างฟรอยด์
ได้กล่าวถึงชีวิตวัยรุ่นเป็น 2 ช่วงวัยไม่ต่างจากทฤษฎีใหม่ของอีริคสันที่อ้างอิงทฤษฎีของเขาเท่าไหร่นัก

โดยตามทฤษฎีของฟรอยด์แล้ว ชีวิต 2ช่วงวัยนี้แบ่งได้เป็น 2 ช่วงพัฒนาการคือ
ขั้นแฝง (Latency Stage)
อยู่ในช่วงอายุประมาณ 5 – 12 ปีของชีวิต โดยจัดอยู่ในระยะที่เด็กมีความรู้สึกเก็บกดกับความต้องการทางเพศ
และเป็นระยะสำคัญในการพัฒนามาตรฐานความประพฤติของตัวเด็กเอง
สังเกตง่ายๆ ถ้าใครมีลูก มีหลาน มีน้อง เขาก็มักจะเริ่มพูดคำหยาบโลน ทะลึ่งลามก ก็ช่วงนี้แหละครับ

และขั้นที่ส่วนของร่างกายที่เด็กให้ความสำคัญอยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ (Genital Stage)
เป็นช่วงที่มีพัฒนาการมากขึ้น ความต้องการทางเพศของมนุษย์มีความพอใจที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศขยายขอบข่ายจากครอบครัวไปสู่แวดวงภายนอกมากขึ้น
หรือพูดง่ายๆก็ช่วงที่เริ่มมีแฟนเป็นตัวเป็นตน หนุ่มเริ่มจีบสาว สาวเริ่มแอบ "ปลื้ม" หนุ่มอยู่ลับๆ
ส่วนจะ "จีบติด" หรือจะ "แห้ว" ก็ขึ้นกับพัฒนาการขั้นที่ผ่านๆมานะครับ (เทคนิคการเข้าสังคมส่วนบุคคลแหละครับ)

วันนี้เอาแค่นี้ก่อนดีกว่า เดี๋ยวใครอ่านพัฒนาการแล้วงง
สัญญาว่าพรุ่งนี้จะโพสต์เรื่องอื่นที่ไม่ใช่จิตวิทยาพัฒนาการแล้วล่ะครับ
มีตัวอย่างประกอบด้วย อิอิ (อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลหรอกครับ อยากรู้ว่าเป็นใครคอยดู ผมขออนุญาตไว้แล้วครับ)  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 00:06

 คุณติบอ
1) โพสต์แล้วไม่ต้องโทรมาขอโทษอีกนะ
2) ขออะไรไว้ เขียนให้ตรงนะ
3) รับผิดชอบข้อเขียนตัวเองนะ กล้าทำ-กล้ารับนะ
4) อย่าก้าวร้าวนะ
5) ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบนะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 07:12

 แหม พี่นุชอย่าเพิ่งหงุดหงิดครับ คนกลัวหมด แหะๆ
ใจเย็นๆครับ เรื่องที่ผมจะขออนุญาตขอในกระทู้นี้เชื่อว่ามีอีกเยอะแน่ๆครับ

แต่ก่อนอื่น เข้ามาคุยกันต่อดีกว่า

-----------------------------------------

มาต่อกันดีกว่าครับ
เริ่มตรงที่วัยรุ่นหัดเข้าสังคมดีกว่า บางคนรู้จักปรับตัวเข้าสู่สังคมอื่นๆตั้งแต่ยังเป็นเด็กอยู่ก็ไม่มีปัญหาอะไร
แต่คคนอีกจำนวนมาก จนเรียนจบไปแล้วก็ยังไม่เคยเข้าสังคมใหม่ๆ
ซึ่งแน่นอนว่าหลายครั้งการเพิ่งเข้าไปในสังคมใหม่ๆสำหรับเขา อาจจะวางตัวไม่ถูกอยู่พักใหญ่
เช่น การเข้าทำงานในบริษัทหลังเรียนจบแล้ว บางคนด้วยความเป็นวัยรุ่นก็อาจจะไม่ได้รับการคัดเลือกเข้าตั้งแต่สมัครงาน ฝึกงาน หรือสอบสัมภาษณ์งาน ก็มี
(ลองเรียนถามสมาชิกระดับผู้ใหญ่ในนี้ดูได้ครับเชื่อว่ามีหลายท่านที่เคยไม่พอใจเด็กที่เข้ามาสอบสัมภาษณ์แน่ๆ)
เพราะบางครั้ง คนจำนวนหนึ่งก็ไม่ได้รู้ตัว ปรับตัว หรือวางตัวให้เข้ากับระบบงานเดิมๆของบริษัท
ผมถึงเรียกอาการแบบนี้ว่า growth spurt ทางภาษาไงครับ เพราะเหตุเกิดจากการปรัยตัวเข้าสู่สังคมใหม่ได้ไม่ดีนัก
เพราะขอบเขตของบุคคล สิ่งที่ต้องพบปะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
แต่เชื่อเถอะครับ หลังจากเดินกันจนรองเท้าสึกกันไปหลายคู่แล้ว วัยรุ่นเหล่านี้จะหางานทำได้เองทุกคน พร้อมกับวุฒิภาวะทางอารมณ์ สังคม และความเป็นผู้ใหญ่ที่เพิ่มขึ้นไปด้วย
เพราะเขาต้องเรียนรู้เองว่าถ้าสิ่งที่เขาปฏิบัติลงไป เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมจนทำให้เขาไม่ได้งาน เขาก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองซะ
(ถ้าไม่เปลี่ยนก็ไม่มีเงินเดือนสิครับ)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง