เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
อ่าน: 59876 ขออนุญาตถามเรื่องงี่เง่าๆหน่อยครับ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 13:00

 ข้อความนี้ ตั้งใจคุยกะคุณหมูน้อยครับ อย่าเพิ่งเผ่นไปใหนนะครับพี่ท่าน ยังมีเชิงชั้นในวัฒนธรรมของเรา รอท่านมาขุดคุ้ยอีกมากมายมหาศาล ผมก็เผอิญไม่ได้มานั่งเล่นที่ห้องนี้ หาไม่จะค้านเสียแต่แรกแล้วละครับ

ความเห็นคุณ ไม่ใช่เรื่องบ้องตื้นเป็นอันขาด แต่ออกจะปัญญาแข็งน่ะครับ คือแข็งจนไม่กระดิก เพราะมันดันไปเกี่ยวกับคติความเชื่อ อันมีสายสนกลใน โยงใยลึกล้ำกลับเข้าไปยังประวัติศาสตร์ของเราเอง

ผมไม่เล่นรามเกียรติ์ เพราะรามเกียรติ์ไม่ใช่ของเล่น อย่างในทีวีทำเรื่องหนุมานชาญสมรนั่นผมก็ไม่ชอบ
สำหรับสายงานที่ผมเรียนมา ของหลายอย่าง "เล่น" ไม่ได้ครับ เราเรียนรู้ อ้างถึง เคารพนับถือ ทำได้ แต่ห้ามเล่น เอาง่ายๆ นะครับ มาทำตัวเป็นสิบแปดมงกุฏนั้น ครูบาอาจารย์ของผม ห้ามเด็ดขาด  เวลาไหว้ครู บนแท่นบูชา มีหัวโขนสารพัด ทั้งเทพ ทั้งยักษ์ ทั้งมนุษย์ จำไม่ได้หมด ท่านห้ามแม้แต่จะเดินกรีดกรายเฉียดไกล้ทีเดียว (อันนี้คือความต่างกันทางคติความเชื่อครับ สายวิชาชีพอื่น ก็มีต่างกันออกไป อย่างอาชีพขอทาน เขาก็ไหว้ชูชก ลังกาบางภาคเขาก็ไหว้ราพณ์)

บางเรื่อง เราก็ต้องลากเด็กขึ้นที่สูงครับ ไม่ใช่ดึงรูปปฏิมาลงมาเป็นตุ๊กตาให้เด็กเล่น
แต่การหาชิ้นส่วน หารายละเอียดในตำนานเดิมมาประลองปัญญานี่ "เล่น" ได้ครับ โบราณเขาก็ทำกัน อย่างสัตว์หิมพานต์เป็นต้น แม้แต่อาหารหรือขนม เขายังแบ่งเป็นระดับ เป็นชั้นป็นเชิง

ยิ่งคิด ยิ่งใช้ ก็ยิ่งงอกงามครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 13:40

 อ่านของคุณพิพัฒน์ข้างบนนี้แล้วอึ้งไปเลย
ถ้ามีใครสักคนในที่นี้ "บ้องตื้น"  เห็นจะเป็นดิฉันเองละค่ะ   คุณหมูน้อยฯนั้นไม่ใช่แน่นอน
คุณหมูน้อยฯอย่าเพิ่งร่วมวง  นั่งเอกเขนกบนเสื่อสาดปูบนนอกชาน จิบชาจีนไปก่อน   ขอคิวดิฉันพูดก่อน

ดิฉันเรียนรามเกียรติ์มา โดยไม่เคยนึกว่าเป็น "ของสูง" แตะต้องลิงในเรื่องไม่ได้
จริงละ ก็รู้อยู่ว่าบางถิ่นในอินเดียเขานับถือหนุมานเป็นเทพเจ้า   เวลาหนังอินเดียทำเรื่องรามเกียรติ์   คนดูนั่งชักลูกประคำสวดกันอยู่หน้าจอ ตอนพระรามพระลักษณ์ออกมา
แต่เมื่อมาถึงไทย  รามเกียรติ์กลายเป็นของไทยในอีกลักษณะหนึ่งไปแล้ว    เป็นละครใน ๑ ใน ๔ เรื่อง ผู้หญิงเล่นล้วนๆ  เล่นกันแต่ในพระบรมมหาราชวัง

ในรัชกาลที่ ๑ เอามาเล่นเฉลิมพระนคร กันที่ท้องสนามหลวง  เพราะเหตุการณ์ตอนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์สอดคล้องกับในเรื่องตอนพระรามพระลักษณ์ชนะศึกลงกา   คืนกลับกรุงอโยธยาพอดี

กรุงเทพรัตนโกสินทร์ก็เทียบได้กับกรุงอโยธยาของพระราม  มีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า คือพระราม  กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท เทียบได้กับพระลักษณ์

พระราชนิพนธ์ รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๑ ก็ระบุไว้ในตอนท้ายว่า

อันพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์
ทรงเพียรตามเรื่องนิยายไสย
ใช่จะเป็นแก่นสารสิ่งใด
ดั่งพระทัยสมโภชบูชา

ใครฟังอย่าได้ใหลหลง
จงปลงอนิจจังสังขาร์
ซึ่งอักษรกลอนกล่าวลำดับมา
โดยราชปรีชาก็บริบูรณ์

จบ...เรื่องราเมศมล้าง............อสุรพงศ์
บ.....พิตรธรรมิกทรง.............แต่งไว้
ริ......ร่ำพร่ำประสงค์..............สมโภช พระนา
บูรณ์..บำเรอรมย์ให้...............อ่านร้องรำเกษม

พวกอักษรฯ ซึ่งเรียนในทางเนื้อหาและภาษา  ก็เจริญรอยไปตามพระราชอัธยาศัย  คือเห็นเรื่องรามเกียรติ์มีเอาไว้ "อ่านร้องรำเกษม" เพื่อความบันเทิงรื่นเริงใจ
ไม่ได้เห็นเป็นเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์

ดิฉันไม่ทราบว่าคุณหมูน้อยฯเรียนมาทางไหน   แต่เชื่อว่าก็คิดในทำนองเดียวกัน    โดยมิได้มีเจตนาลบหลู่สิ่งที่เป็นที่เคารพนับถือในอีกสาขาวิชาหนึ่ง

ดิฉันเข้าใจว่าความเคารพนั้น ถ้าเป็นนาฏศิลป์ก็คือโขน ซึ่งมีขึ้นในรัชกาลที่ ๖  เคารพบูชาหัวโขนว่าเป็นของสูงและสิ่งขลัง  เป็นเรื่องของการมีครูต้องเคารพนบไหว้ทั้งทางนาฏศิลป์และดนตรี  เอามาเฮฮากันไม่ได้
ส่วนทางจิตรกรรมไทย  เขานับกันยังไงไม่ทราบ    คาดเดาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระแก้ว ตามระเบียงห้องต่างๆ ก็น่าจะมีไว้เพื่อความรู้และความบันเทิงทางใจในเรื่องรามเกียรติ์   มากกว่าเอาไว้เป็นส่วนหนึ่งของความเคารพบูชาอย่างภาพพุทธประวัติ

แต่ในเมื่อเป็นเรื่องที่คุณพิพัฒน์เห็นว่าซีเรียส   ดิฉันก็ไม่อยากหักหาญน้ำใจผู้ที่เห็นรามเกียรติ์เป็นเรื่องที่มีความหมายมากกว่าความบันเทิงเริงรมย์  
ดิฉันก็อยากฟังความเห็นคนอื่นๆประกอบด้วย เพื่อจะตัดสินว่าจะทำยังไงถึงจะเป็นทางออกดีที่สุด
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 13:58

 ด้วยความเคารพครับคุณพิพัฒน์
ผมยังไม่หนีหายไปไหน ง่ายๆหรอกครับ ผมโตมาจากไหนได้เรียนรู้จากที่ใดก็จะยังผูกพันกันที่นั้นๆอยู่ไม่คลาย อีกอย่างก็ยังติดตามอ่านเรื่องขรัวอินโข่ง และ สำรวจกรุภาพเก่ายังไม่อิ่มดี จะหนีไปก็อดได้ความรู้ความสนุกน่ะสิครับ อีกทั้งอาจารย์เทาฯก็สัญญาไว้ว่าจะมีเรื่องใหม่ที่มันไม่แพ้เรื่องลิซซี่บอร์เดนให้ฟัง ผมก็คอยฟังอยู่ด้วยใจจดจ่อ คงยังไม่ไปไหนตอนนี้


เด็กอย่างผมจำได้ว่าเริ่มนิยมชมชอบหนุมานมา ก็ตั้งแต่เป็นฮีโร่ในหนังภาพยนต์ คอยปกป้องโบราณสถานของไทย คู่กับอุลตร้าแมน แม้นว่าจะเป็นเรื่องที่บางท่านไม่ชอบเพราะเหมือนเป็นการนำเอาหนุมานมา "เล่น"
แต่หนังเรื่องนี้ก็สามารถจุดประกายทำให้เด็กไทยจำนวนไม่น้อย เริ่มรู้สึกรักและสนใจตัวหนุมานขึ้นมา    ลองถามเด็กๆดูว่ารู้จักองคต สุครีพ ไหม แล้วเทียบกับ หงอคง เบจิต้า ไอ้มดแดง อย่างไหนจะรู้จักมากกว่ากัน



ถ้าเช่นนั้นเทพ หรือเทพีคู่กายที่เคย ทำกันมาก่อนนั้นก็ยิ่งไม่ควรนำมา "เล่น"กันยิ่งกว่าหรือครับ และดังนั้นตัวละครอื่นๆในวรรณคดีไทยก็ไม่สมควรอย่างยิ่งๆๆๆ ที่จะนำมาเล่น ไม่ว่าจะเป็น อิเหนา พระลอ พระอภัยมณี ฯลฯ 108พันเก้า ทั้งนี้เพราะตัวละครนั้นถูกแต่งให้เป็นกษัตริย์หรือเชื้อกษัตริย์แทบทั้งนั้น

ทั้งนี้ผมอยากให้พิจารณาที่เจตนาครับ


กราบขออภัยคุณพิพัฒน์นะครับ ผมหาได้ตั้งใจเถียงหรือกร้าวร้าวใดๆทั้งสิ้นเพียงแต่อยากอธิบาย ถึงเจตนาที่แท้จริงเท่านั้น
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 13:59

 อ้าว..ขอโทษครับ ไม่ทันดู โพสมาก็ชนกับของอาจารย์เสียแล้ว ขออภัยครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 16:16

 เรื่องนี้เปรียบไปแล้วก็เหมือนสบู่ยี่ห้อหนึ่ง "ตาบู"

สิ่งใดมีประวัติการ มีเพศสภาวะ มีอายุ มีพิธีกรรม ....ไม่จำเป็นก็อย่าเข้าไปกระทำทำก้ำเกิน
ผมโดยเสด็จพระราชอัธยาศัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ไม่ไหวครับ พระองค์ทรงสุขุมคัมภีรภาพ ไตรตรองลึกซึ้งเกินปุถุชนอย่างผมจะตามทัน อาจารย์หวนกลับไปดูลายเส้นฝีมือครูเลิศในกระทู้ขรัวอินโข่งอีกทีนะครับ ที่ความเห็น 97, 98, 99 หน้าพระ นาง และปกสมุด ท่านปิดทองไว้ ก็คือแสดงความเคารพบูชา แม้ผมจะไม่ใช่ศิษย์ที่เคร่งครัดต่อประเพณีและคำสอนนัก แต่ถ้าครูนับถือขนาดนี้ ผมก็นับถือตาม เวลาเราไหว้ครู ซึ่งไม่เคยสืบเหมือนกันว่า ทำอย่างนี้มานานหรือยัง รู้แต่ว่า อยากเข้าสำนักนี้ ท่านจัดให้ไหว้ ก็ต้องไหว้ รู้สึกเหมือนมีอะไรคุ้มกระลาหัวอยู่เสมอ อบอุ่นดีครับ

เมื่อตอนที่ผมแย้งการใช้ตัวละคอนเหล่านี้มาเป็นตุ้งติ้งประจำตัว ก็ไม่ประสงค์จะเอาสิ่งที่เป็นคติในสกุลช่างมาอวดอ้างนะครับ เล่าให้คุณหมูน้อยฟัง จะได้นึกออกว่า เรื่องความเชื่อ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ตามใจกันได้ ไม่หักหาญน้ำใจกันจนเกินไป ก็ยอมปฏิบัติ เหมือนที่อาจารย์เทาชมพู ปรามมิให้สมาชิกเรียกท่านอย่างสูงส่งเกินไปว่า อาจารย์กรุณา...โน่นนี่ มากเกินไป จะเกร็งเสียเปล่าๆ ผมก็ทำตามนะครับ (แต่ไม่เชื่อครับ)
กลับกันนิดหน่อย ในกรณีพระราชนิพนธ์ ฯ คือผมเชื่อครับ แต่ไม่ทำตาม

เมื่อผมยังเด็ก พี่สาวพาเข้าวัดพระแก้วหนแรก เห็นจิตรกรรมฝาผนังที่นั่น ตกตะลึงพูดไม่ออก ความตื่นตาตื่นใจฝังอยู่ในสมอง ติดหูติดตามาเป็นสิบๆ ปี ทั้งวัด จำได้แต่รูปรามเกียรติ์
มาถึงรุ่นลูก ผมแค่ให้เขาดูสมุดภาพรามเกียรติ์เล่มหนึ่ง มันก็หลงไหล เดี๋ยวนี้จะรู้เรื่องมากกว่าผมเสียอีก แปลว่าเทพปกรณัมนี้ มีเสน่ห์กับเด็กจริงๆ ไม่ต้องเอาท่านมาทำให้ง่าย เด็กก็ติด ขอแต่ให้โอกาสเขาได้สัมผัสเถิด แล้วของที่มีพลังอำนาจทางวัฒนธรรม มีศักยภาพในทางครอบงำสำนึกเยาวชนมากขนาดนี้ ทำให้สูญค่าไป เหมือนที่เฮียสมโพธิ แสงเดือนฉาย เอามาประชันกับยอดมนุษย์ กลายเป็นไอ้ตัวตลกบ้าบิ่นอะไรไปสักอย่าง
แล้วก้อใหนๆ พูดแล้ว ก็ขอพูดให้ถึงที่สุดเลยว่า การทำให้รามเกียรติ์กลายเป็นจำอวดกรมศิลป์นี่ ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะทำให้วัฒนธรรมไทยรุ่งเรืองขึ้นมาสักกี่มากน้อยเลย  มันเกินสัดส่วนที่เหมาะสม เหมือนรุ่นพี่ที่โรงเรียนผมคนหนึ่ง เขียนเรื่องจิตรกรรมไทยเป็นอยู่ตอนเดียว คือกามสังวาส นั่นก็ยาสลายวัฒนธรรมอย่างร้ายแรงเลย ลามไปถึงคุณอะไรที่เคยว่าการ กบข. พิมพ์สมุดจิตรกรรมไทยเล่มเล็กๆ น่ารักออกมา ผมเห็นชื่อคนทำก็ดีใจ รีบซื้อให้ลูก
โอ้พระเจ้า.....ไม่เอา เปลี่ยนใหม่ นรกรับประทาน
รูปแรกในเล่ม เป็นรูปสังวาสครับ ทิ้งขยะเกือบไม่ทัน
นี่คือผลของการ “เล่น” มากเกินไปได้กระมัง

ผมขอโดยเสด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน ทรงพระอุตสาหะ ฉายรูปฝีพระหัตถ์จิตรกรรมพระระเบียงคตอย่างประณีต พิมพ์เป็นเล่มสมุด อาจารย์คงจะเคยเห็น  เข้าข่ายปฏิบัติบูชาอย่างอ่อนได้กระมัง อะไรที่เคร่งครัดแล้วไม่เสียหาย ขอแนะนำให้ทำครับ (แต่ผมก็ทำได้ไม่เสมอไปหรอกนะครับ)

แต่ "อิเหนา พระลอ พระอภัยมณี ฯลฯ 108 พันเก้า " นั่น ไม่มีความเชื่อฝังอยู่ อยางน้อยก็สำหรับตัวของกระผม อยากเล่นยังไงคงไม่มีใครมาแอบอ้างเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ กรรมอยู่ที่กุสุมรสเจตนาของตัวผู้เล่น

เอวงก่มีแต่ปการฉนีแล
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 16:37

 เข้าใจและเห็นใจคนมีครูครับ

แต่ก็เสียดายโอกาสที่จะรักษาของเก่าๆเอาไว้

หากเป็นไปได้ ขยับขยายไปทำกรอบเล็กๆด้านข้างได้ไหมครับ ขึ้นแบบสุ่มก็น่าจะเหมาะ

อยากดู อยากเห็น และอยากให้เด็กๆได้เห็นด้วยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 16:56

 สวัสดี ทุก ๆ ท่านครับ
คุณอ๊อฟ ท่านให้เพศกระทู้แบบ สุ่ม แล้วครับ
กลายเป็นว่า บางกระทู้ก็เป็นอากาศพาหน บางกระทู้ก็เป็นขุนกระบี่พญาวานร บางกระทู้ก็เป็น เทพีปกรณัมเกรโก-โรมัน-ดีดมติกครับ

เรื่องทำของที่เชื่อว่า สูง ให้(เหมือนกับ)ลงมาต่ำ นี้ เป็นปัญหาพอสมควร เพราะแต่ละคนมองไม่เหมือนกัน
(มีต่อครับ)
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 18:22


.
คุณหมูฯ เปิดห้องใหม่ "รามเกียรติ์ศึกษา" ฉบับหมูน้อยพัฒนา
ขนทั้งกลอน เรื่อง รูป เกร็ด เปรียบเทียบ คติสอนใจ ความบ้องตื้น ความเพี้ยน ฯลฯ......
เอาให้สมอยาก

อย่าเอาพระเป็นเจ้าประดับตัว เอาตัวเราประดับพระเจ้าดีฝ่า
รูปข้างบน คือยักษ์ที่งามสุดในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ฟ้าผ่าพังไปแล้ว
มอบให้เป็นสินน้ำใจ  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 18:25


.
แถมให้อีกมุม
ตนใหนชื่อไร ตอบได้บ่  
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 18:41

 คุณพิพัฒน์นี่ก็ใจดีไม่เปลี่ยนเลย

มีโอกาสเมื่อไหร่คงต้อง  ขออนุญาตไปรบกวนขอปันความรู้"ถึงที่" อีกสักครั้งหนึ่งแล้วล่ะครับ

เนื่องด้วยผมมีความรู้เรื่องรามเกียรติ์ยังไม่ลึกซึ้งเท่าที่ควร จึงยังรู้สึกตะขิดตะขวงใจอยู่ที่จะเปิดกระทู้ที่ว่านั้นเสียเอง (ทั้งที่อยากให้มีกระทู้ที่ว่ามาตั้งนานแล้ว)

ไม่ใช่ว่าอยากโบ้ยปัดเรื่องให้ใครนะครับ แต่ไม่รู้จะขึ้นหัวข้อยังไงดี  ยังไงต้องขอรบกวนท่านอื่นเปิดกระทู้เสียแล้วล่ะครับ รับรองผมจะติดตามอ่านและเข้าไปร่วมวงสนทนามิให้ขาดเลยทีเดียว

ปล.เห็นภาพเขียนลายไทยรามเกียรติ์ที่คุณพิพัฒน์ นำมาลงในกระทู้ ขรัวอินโข่ง แล้วอดชื่นชม และปลื้มใจไม่ได้
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 18:52

 อ้า...เป็นบุญตาที่ได้เห็นภาพหาดูยากอย่างนี้
ยักษ์ ที่ว่านั้นต้องใช้มดไต่ชมภาพดู อาจรู้ว่าเป็นยักษ์ชื่ออะไร เสียดายไม่เห็นสีสรร ชัดเจนไม่งั้นคงเดาได้ไม่ยาก แต่เชื่อเหลือเกินว่าในบ้านนี้คงมีคนตอบคำถามนี้ได้แน่ทีเดียว

สำหรับผมออกตัวว่าความรู้น้อยจริงๆครับคุณพิพัฒน์ (นี่ไม่ได้แกล้งถล่มตัวเลยจริงๆ ) หากแต่รู้อย่างเดียวว่า 2ตนนั้น ไม่ใช่ ทศกัณฐ์ ,ชิวหา , พิเภก , ยักษ์ผู้หญิง ,ทหารหรือเสนายักษ์  เพราะดูจากการแต่งกาย และมงกุฎแล้วคงเป็นยักษ์ชั้นผู้ใหญ่

พูดก็พูดเถอะครับ รบกวนคุณพิพัฒน์ ตั้งกระทู้ใหม่เสียเลยจะดีไหมครับเนี๊ย    
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 18:55

 ดูอีกทีชักไม่แน่ใจแฮ่ะ
ยักษ์ตัวที่ยืนอยู่ไกลๆนั้น ปั้นมงกุฎเหมือนทศกัณฐ์ เลยนะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 21:10

 ระดับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะสร้างยักษาเฝ้าพระอารามหลวงของพระราชบิดา ต่ำกว่าพญายักษ์ เห็นจะไม่ทรงยอม
สหัสะเดชะแลทศกัณฐ์

ดูเอาเหอะ ฝ่ายมาร ปักหลั่นขนาดนี้ ขุนกระบี่ต้องมีฤทธาเพียงใด จึงพิชิตได้ คงไม่กระหยองก๋องแก๋งแบบที่เขาทำให้เราดู

นั่นมันลิงถูกเห็บ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 21:38

 อุ๊ย ดีจัง เฟื่องเป็นสุครีพ ลูกพระอาทิตย์ รักความยุตืธรรม

แต่คราวหน้า ขอเป็นแมวแร็กดอล นะคะ นะคะ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 21:42

 เอาแล้วไง ยายเฟื่อง เขียนผิดค่ะ

เฟื่องมีขุนกระบี่คู่กายเป็นสุครีพ คราวหน้าขอเป็นแมวคู่กายนะคะ อิอิ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง