Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 20 ก.พ. 06, 10:14
|
|
ไว้วันหลังค่อยเฉลยก็ได้ค่ะ ขอถามก่อนว่าศาสนาพุทธเกิดในประเทศเนปาล/อินเดีย แต่ทำไมศาสนานี้จึงมีอิทธิพลไม่มากเท่าไรในชมพูทวีป กลับมี impact มากใน SEA
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
HotChoc
มัจฉานุ
 
ตอบ: 62
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 20 ก.พ. 06, 22:15
|
|
เห็นด้วยครับว่าบทความนี้พยายามยัดเยียดให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นคาร์ลมาร์กซ์ยุคโบราณ เผอิญว่าหลักคำสอนของพระองค์ไม่แบ่งแยกวรรณะอยู่แล้ว เลยถูกตู่เอาว่าเป็นการพยายามทำลายระบบวรรณะได้ง่ายๆ
แต่เรื่องที่ทางพราหมณ์ลุกขึ้นมาต่อต้านก็อาจจะจริงนะครับ แต่คงไม่ถึงกับลอบสังหารด้วยยาพิษล่ะมั้ง เคยได้ยินว่าหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ทางฮินดูก็กลืนพุทธไป เห็นว่าสอนกันว่าพระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์น่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 21 ก.พ. 06, 21:12
|
|
ขอบคุณคุณHotChoc ที่แวะเข้ามาช่วยอธิบายค่ะ พระพุทธเจ้าไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ เพราะมนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏได้เช่นกัน ไม่เลือกว่าต้องอยู่ในวรรณะนั้น ส่วนวรรณะนี้ไม่มีสิทธิ์ พระสงฆ์ในพุทธศาสนาก็มาจากทุกวรรณะ
กลับมาเรื่องเดิม ความพยายามบรรลุถึงการพ้นทุกข์ทำกันมามากแล้วก่อนพุทธกาล หรือแม้แต่สมัยพุทธกาลก็มีลัทธิและศาสนาอื่นอีกหลายแห่งที่มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน
แต่สัจจธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ ก็คือ อริยสัจจ์ ๔ คือความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง
เรียงลำดับได้ตามนี้ ๑) ทุกข์ ได้แต่ความทรมาน ลำบาก เจ็บปวดกายและใจซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องประสบ พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงความทุกข์ไว้ 10 ประการคือ - สภาวทุกข์ คือทุกข์ที่มีประจำในสสารทุกประเภท คือทุกข์เพราะการเกิด แก่ เจ็บ และตาย - ปกิณณทุกข์ คือทุกข์ที่ประสบเป็นครั้งคราว เช่น ความเศร้าโศกเสียใจ ความเจ็บปวด - นิพัทธทุกข์ คือทุกข์ที่เกิดประจำวัน คือร้อน หนาว หิวกระหาย เป็นต้น -พยาธิทุกข์หรือทุกขเวทนา เช่น มีโรคภัยเบียดเบียน - สันตาปทุกช์ คือทุกข์ที่เกิดจากความเร่าร้อน เพราะราคะ โทสะ และโมหะ - วิบากทุกข์ คือทุกข์เพราะถูกลงอาญา ถูกลงโทษจากภัยพิบัติต่าง ๆ - สหตคทุกข์ คือทุกข์ที่มาพร้อมกับความสุข เช่น มียศก็มีเสื่อมได้ -อาหารปริเยฏฐิทุกข์หรืออาชีวทุกข์ คือทุกช์ที่เกิดเพราะการหาเลี้ยงชีพ - วิวาทมูลทุกข์ คือทุกข์ที่เกิดจากการทะเลาะวิาท ชกต่อยกัน - ทุกขขันธ์ คือทุกข์รวมยอด ได้แก่ทุกข์เพราะการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
๒) สมุทัย คือสาเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหาหรือความอยาก 3 ประการคือ - กามตัณหา คือความอยากหรือต้องการในกามคุณ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธรรมรมณ์ ได้แก่ ความรัก ความใคร่ ความชอบใจ ความปรารถนา เป็นต้น - ภวตัณหา คือ ความกระหายอยากเป็น เช่นอยากมีเงินทอง ชื่อเสียงและเกียรติยศมาก ๆ -วิภวตัณหา คือความรังเกียจไม่อยากเป็น เช่น ไม่อยากจน ไม่อยากเจ็บป่วย ไม่อยากแก่ ไม่อยากตาย
๓) นิโรธ แปลว่าดับ ได้แก่การดับเชื้อที่ก่อให้เกิดทุกข์ ซึ่งได้แก่ตัณหาต่าง ๆ โดยอาศัยการบำเพ็ญคุณธรรมให้สูงขึ้น ละกิเลสลงไปได้ตามลำดับ จนถึงสุดท้ายคือตัดกิเลสโดยสิ้นเชิง บรรลุพระอรหันต์
๔) มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับกิเลส คือการปฏิบัติตัวให้ถึงความดับทุกข์ได้สิ้นเชิง เป็นทางสายกลาง ไม่หย่อนหรือตึงจนเกินไป มี ๘ อย่างด้วยกัน ประกอบด้วย 1. สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง เห็นว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือเหตุแห่งทุกข์ สภาวะเช่นใดคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ วิธีการใดคือทางปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ คือ ดำริในการออกจากความลุ่มหลงทางโลก ออกจากความพยาบาท ออกจากความเบียดเบียนผู้อื่น 3. สัมมาวาจา - วาจาชอบ คือ งดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ 4. สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ หรือ ประพฤติชอบ (ทางกาย) คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม 5. สัมมาอาชีวะ - เลี้ยงชีพชอบ คือ การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรม 6. สัมมาวายามะ - ความเพียรชอบ คือ 1.) เพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น 2.) เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว 3.) เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น 4.) เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้มั่นคงต่อไป 7. สัมมาสติ - มีสติรับรู้ได้ถูกต้อง คือ รู้ความเป็นไปของกาย เวทนา จิต และธรรม 8. สัมมาสมาธิ - ตั้งใจมั่นในทางที่ควรทำ ได้แก่ แน่วแน่มั่นคงเพื่อการกำจัดกิเลส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 21 ก.พ. 06, 21:17
|
|
เรื่องพระพุทธเจ้าทรงถูกสารหนู( บอกเป็นนัยว่าเป็นการวางยาพิษ ) ก็ไม่ตรงกับพระไตรปิฎก ไม่ทราบว่าเจ้าของบทความอ้างจากไหน พระไตรปิฎกกล่าวว่าเสวยอาหารที่ประกอบด้วย สุกรมัทวะ เข้าไป แต่อาหารชนิดนี้เป็นอะไรกันแน่ก็ยังเถียงกันอยู่ บางท่านว่าเป็นเนื้อหมู บางท่านว่าเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่หมูชอบกิน หลังจากนั้นอาการอาพาธกำเริบขึ้น ประชวรหนักและเสด็จปรินิพพาน ก็ไม่เห็นมีตรงไหนบอกว่าเป็นสารหนู ถ้าหากว่าเป็น กษัตริย์ทั้งหลายที่ทรงนับถือพุทธศาสนา ก็คงไม่ยอมให้เรื่องเงียบหายไปง่ายๆ คงจะต้องมีการไต่สวนซักฟอกกันเป็นการใหญ่จนกว่าจะหาตัวต้นเหตุได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 23 ก.พ. 06, 11:01
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|