เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 10747 รายได้แผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 4
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


 เมื่อ 12 ก.พ. 06, 12:52

 ในสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงสยามได้ทำหนังสือสัญญาค้าขายกับฝรั่งต่างประเทศแล้ว การทำหนังสือสัญญาย่อมเป็นปัจจัยต่อการเก็บภาษีอากรเป็นสำคัญ ในสมัยนี้เอง ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเภทภาษีอากรต่างๆให้เหมาะสมแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคมสมัยนั้น เมื่อพูดถึงรายได้แผ่นดิน สังฆราชปาเลอกัวได้สืบค้นพบจำนวนรายได้ตามตาราง ใน ค.ห. 1

ดิฉันคัดมาฝากเผื่อมีผู้อ่านสนใจ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตเรื่องรายได้ดังนี้
1) ค่าแรงแทนการรับราชการเป็นรายได้เกือบกึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมด ซึ่งไม่ทราบว่าจะเหมือนไพร่ส่วยหรือไม่
2) รายได้จาก property taxes เรือกสวนไร่นาแปลงใหญ่ มีความสำคัญมาก ราว 20% ของแผ่นดินทีเดียว
3) รายได้จากนาแปลงน้อย หรือภาษีจากนวลน้องคณิกา (ซึ่งได้มากกว่าค่าภาคหลวงเหมืองทองที่บางสะพานเสียอีก) เมื่อไปอ่านบทความเรื่องนครโสเภณีของ อ. เทาชมพู ด้านหน้า จึงเข้าใจว่ามาม่าซังคงมีหลายสำนัก และกิจการคงจะเฟื่องฟูมาก จึงสามารถแบ่งเงินให้แผ่นดินได้เป็นกอบเป็นกำ
4) อากรหวย ก.ข. ก็ได้มากกึง 4 แสนบาท เมื่อเปรียบเทียบกับความนิยมของชาวพม่าที่ใจจดใจจ่อกับการออกหวยของราชสำนักพม่าในเรื่อง พม่าเสียเมือง จึงน่าจะสรุปได้ว่า ทั้งคนไทยคนพม่าเป็นนักเสี่ยงโชคตัวยง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 12:54


รายได้แผ่นดินในรัชกาลที่ 4 (จากหนังสือ พระจอมเกล้าฯ พระผู้เปิดประตูอารยธรรมสู่อารยประเทศ)
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 17:14

อืมมมม...

นึกถึง วัดใหม่ยายแฟง หรือวัดคณิกาผล ครับ

ผมขอเดาต่อว่า นั้นแปลว่าสมัยนั้น พรบ. ที่กำหนดให้การค้าประเวณีเป็นความผิด ยังไม่ออกใช้บังคับ ดูเหมือนจะมาถึงสมัยไม่ ร. 5 ก็ ร. 6 นั่นแหละจึงเริ่มมีการออก พรบ. ควบคุม/ จัดระเบียบ (เข้าใจว่ายังไม่ใช่ป้องกันปราบปราม เพราะดูยังไม่ถือว่าการค้าประเวณีเป็นความผิดอยู่ดี) ดูเหมือนมุ่งในแง่ของการควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะใช้คำเรียกชื่อพระราชบัญญัติว่า พรบ. ควบคุมหญิงสัญจรโรค หรืออะไรทำนองนั้นนะครับ "สัญจรโรค" ภาษาสมัยนั้น เรายุคนี้เรียกว่า โรคติดต่อครับ

เดี๋ยวนี้ตามกฏหมายบนกระดาษ ก็ดูเหมือนว่าการค้าประเวณีเป็นความผิดแล้ว แต่ในทางปฏิบัติก็ดูจะเอาผิดกันจริงไม่ค่อยได้เท่าไหร่

เรื่องอากรภาคหลวงเหมืองทอง ให้ผมเดาเหตุผลที่เป็นรายได้เข้ารัฐบาลกลาง น้อยกว่าภาษีจากน้องๆ หนูๆ เสียอีก นั้น ผมขอเดาว่า ก่อนการจัดตั้งกระทรวงการคลังและการจัดระบบภาษีสรรพากรสมัยใหม่ (และก่อนการพยายามจัดตั้งรัฐชาติสยามสมัยใหม่ ซึ่งเริ่มจริงจังในรัชสมัยในหลวง ร. 5) ดูเหมือนค่าภาษี ค่าอากร ค่าอะไรต่ออะไรนี่ ชาวบ้านหรือผู้ประกอบการจะจ่ายกันหลายทาง ทางหนึ่งแน่นอนก็จ่ายรัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ แต่อีกทางหนึ่งก็จ่ายทางการส่วนท้องถิ่นด้วย เพราะระบบการปกครองสมัยนั้นยังหลวมๆ กว่าสมัยนี้ เจ้าเมืองที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไป "กินเมือง" ในหัวเมืองข้างนอกนั้น คงจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เข้าจวนเจ้าเมืองได้ด้วย "หลวงท่าน" คือรัฐบาลกลางก็คงจะอนุญาต เพราะเข้าใจว่าสมัยนั้นข้าราชการ รวมทั้งพนักงานปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีเงินเดือน เบี้ยหวัดเงินปีก็อาจจะไม่กี่สตางค์ ดังนั้น เมื่อมีผลประโยชน์เกิดในพื้นที่เก็บภาษีอากรได้ ส่วนหนึ่งอาจจะเก็บส่งคลังหลวงที่กรุงเทพฯ ตามอัตราที่กำหนดไว้ อีกส่วนก็คงเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเมืองและเจ้าเมืองนั้นๆ

บางตะพานอยู่ลงไปทางประจวบคีรีขันธ์ใช่ไหมครับ ทองบางตะพานดังมาแต่โบราณ เหมือนมีในเสภาขุนช้างขุนแผนด้วย ก็คืออยู่นอกกรุงเทพฯ ออกไป รัฐบาลกลางจะเก็บค่าภาคหลวงเต็มเม็ดเต็มหน่วยนักก็จะไม่มีกลไกจะลงไปตามถอนขนห่าน ก็คงต้องถ้อยทีถ้อยอาศัย แบ่งให้ท่านเจ้าเมืองประจวบฯ บ้างกระมัง

ส่วนค่าภาษีนครโสเภณีนั้น ผมเดาเอาเองว่า ไม่ใช่เก็บจากน้องหนูอาชีพพิเศษทุกแห่งทั่วพระราชอาณาจักร (ที่จริงผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่า หัวเมืองนอกๆ ออกไป สมัยโน้น มีอาชีพนี้กันรึเปล่า เป็นล่ำเป็นสันขนาดไหน) แต่เอาเถอะสมมมติว่าถึงที่อื่นอาจจะมีธุรกิจนี้ (บ้าง แต่คงน้อย) ผมก็เชื่อว่า ภาษีตัวนี้เก็บเอาจากสำนักน้องหนูในพระนครนั่นแหละ ดังนั้นจึงถอนขนห่าน เอ๊ย เก็บได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ใกล้หูใกล้ตานี่ครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 17:17

 อ้อ - มีข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บภาษีอากรสมัยโน้นที่เก็บกับ แอมเพิล ริช ไหมครับ?
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 17:32

 คุณนิล ลองวิเคราะห์พฤติกรรมให้หน่อยซิคะ

เวลานางเอกบ้านทรายทอง เอากุหลาบไปเป็นกำลังใจที่ทำเนียบ พระเอกหันขวับมาพูดว่า "อิจฉาไหม"
พูดให้คนหมั่นไส้ทำไมน่ะ ไม่พูดเขาอาจจะไม่เกลียด แต่พอพูดแล้วมันรู้สึกเข้ากระดูกดำทันที
ทำไมผู้นำถึงมีวาทศิลป์ในการทำให้คนด่าได้รวดเร็วอย่างนี้

เคยเห็นลานจอดรถเขียนว่า ample parking แต่ไม่เคยเห็นคนเอาคำว่า "ample" มาตั้งชื่อบริษัท
เหมือนกับหาเรื่องให้ "วดด" โดยเฉพาะหลายๆกรณีกลิ่นมันโชยออก เออ...ถ้าเงินตัวบริสุทธิ์ละก็
ตั้งชื่อเช่นนั้นก็พลอยอนุโมทนาไปด้วย

รู้สึกว่าจะเป็นสิงห์ดำเหมือนกันนะคะ ที่ตะโกนว่า "ฉันไม่อิจฉาคุณ ฉันเกลียดคุณ" [polite version]
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 17:39

 สนใจรายได้ของแผ่นดินสมัยก่อนค่ะ เคยอ่านพบว่าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กรุงสยามต้องเสียค่าปรับให้ต่างชาติเป็นเงินก้อนโตมาก
(กำลังนึกอยู่ว่าเหตุการณ์ไหน) เรียกว่าแทบ broke the bank หรือขอดพระคลังกันเลยทีเดียว
อาศัยใบบุญจากการผูกสำเภาไปค้ากับต่างประเทศในรัชกาลก่อนๆ ทำให้มีเงินก้อนนั้นไว้ไถ่ประเทศ

รายได้ของแผ่นดิน มาจาก 2 ทางด้วยกันคือ
1. รายได้จากส่วยอากร เช่น

"ส่วยสัดพัทธนากร” ที่เก็บจากผู้ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์แรงงาน  
“ภาษีอากร" ผลประโยชน์ที่เก็บจากผู้ที่มีรายได้จากจากทรัพยากรของแผ่นดิน เช่น
ภาษีผ่านด่าน หรือจังกอบ เช่น สิบหยิบหนึ่ง
อากรค่านา เก็บจากผู้ประกอบอาชีพทำนา
อากรสมพัตสร เก็บจากผู้ปลูกพืชไร่ประเภทไม้ล้มลุก เช่น ข้าวโพด มันเทศ ถั่ว งา กล้วย
อากรค่าน้ำ เก็บจากผู้ประกอบอาชีพประมง
อากรบ่อนเบี้ย เก็บจากบ่อนการพนัน
อากรสุรา เก็บจากผู้ผลิตสุรา
อากรตลาด เก็บจากร้านค้า และผู้มาขายของในตลาด

2. รายได้จากการค้าของหลวงและผลประโยชน์จากพ่อค้าต่างชาติ
เช่น การผูกสำเภาไปค้าขายต่างประเทศ และซื้อของต่างประเทศกลับมาขายในกรุงสยาม
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 17:50

 ตอบ ค.ห. ที่ 3

Ample rich ในสมัยก่อน เห็นท่าจะเกี่ยวพันกับ อาชีพเสือนอนกิน เช่น อาชีพเก็บภาษีอากร
(ทำไม้...อาชีพนี้แสนงายแต้ๆ  แต่ต้องให้เจ๊กประมูลไปทำด้วยก็ไม่รู้ เช่น เทือกเถาคุณเปรม
ในเรื่องสี่แผ่นดิน ก็มีอาชีพเหมาเก็บภาษี)

นายอากรตลาด ทำหน้าที่เก็บภาษีพ่อค้าแม่ขาย ม.ล. ศรีฟ้าฯ ลดาวัลย์ เล่าว่า สมัยก่อนทั้งกรุงเทพฯ
และเมืองนนทบุรี มีกำนันตลาด ทำหน้าที่เก็บเงินคนเดียวกันตลอดมา คือท้าวเทพากร อันกำนันตลาดนี้
ได้ผลประโยชน์จากแผ่นดินโดยมิต้องลงทุนลงแรง จึงมั่งมีนัก

มีความปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ว่า เมื่อในรัชกาลที่ ๓ เวลาที่ท้าวเทพากร
ถึงแก่กรรมนั้น มีทรัพย์สมบัติมากมาย ลูกหลานต่างแย่งชิงทรัพย์มรดกเป็นความกันวุ่นวาย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงทรงพระราชดำริว่า ท้าวเทพากรมั่งมีก็ด้วยอาศัยทำตลาด
ได้ผลประโยชน์จากแผ่นดิน ลูกหลานจะมาแย่งกัน มรดกมากนัก ไม่ชอบ จึงโปรดฯให้เจ้าพนักงาน
พระคลังมหาสมบัติ ไปขนเอาเงินมาไว้ในพระคลัง ๑,๐๐๐ ชั่ง ที่เหลืออยู่อีกมากจึงโปรดฯให้แบ่งปันกัน
ตามผู้ใหญ่ผู้น้อย

และเงิน ๑.๐๐๐ ชั่งนี้ ถึงรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้นำออกมาใช้ขุดคลองมหาสวัสดิ์เชื่อมคลองบางกอกน้อย
ทะลุออกแม่น้ำท่าจีน
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 19:22

 ฮี่ๆๆๆๆ
... ไม่มีความเห็นครับ เดี๋ยวทั่นผู้นำจะหาว่าผมเป็นขาประจำด้วยอีกคน (ไม่ควรเปิดประเด็นเรื่องแอมเพิ่ล ริชเล้ย ตู...)
แต่ขอเรียนว่า คุณทักษิณทำอะไรดีๆ ไว้ก็มาก จริง แต่ตัวคุณทักษิณนั่นแหละกับพวกพ้องก็ทำอะไรไม่ดีไว้มาก ทำอะไรที่เป็นการขัดขาตัวเองไว้ก็มาก จนพอชั่งเทียบกันแล้ว ตาชั่งมติมหาชนชักจะแกว่ง ๆ ไปข้างหมั่นไส้ท่านมากขึ้นเรื่อยๆ อันนี้จะให้พวกเกล้ากระผมทำอย่างไรล่ะครับ ท่านทำตัวท่านเองนี่ครับ

กลับมาเรื่องในประเด็นต่อดีกว่า

ผมเข้าใจว่าคุณ จขกท. ในความเห็นที่ 5กำลังพูดถึงเรื่องของ "เงินถุงแดง" ที่ในหลวง ร. 3 พระราชทานไว้แก่แผ่นดิน ครับ

แต่เงินถุงแดงนั้น ไม่ใช่ภาษีอากรนี่? จำได้ว่า ตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ ร. 3 หรือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์สมัยนั้นท่านทรงเป็นพ่อค้า ค้าขายเก่ง สมัยนั้นก็แต่งสำเภาไปค้าเมืองจีนแหละเป็นหลัก อาจจะไปที่อื่นๆ ด้วย ท่านทรงค้าของท่านเป็นส่วนพระองค์นอกจากที่รับราชการมาจนกระทั่ง ร. 2 ซึ่งทรงเป็นเสด็จพ่อของท่าน ทรงเรียกล้อๆ ว่า "เจ้าสัว"

เมื่อสิ้นรัชกาล ร. 2 ที่ประชุมขุนนางเจ้านายต่างๆ พร้อมใจกันเชิญท่านเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็น ร. 3

ท่านก็รับรักษาแผ่นดิน รับบริหารราชการแผ่นดินมาจนสิ้นรัชกาลของท่าน และทรงตระหนักอยู่เสมอว่า ร. 2 มีพระโอรสอีกองค์หนึ่ง คือเจ้าฟ้ามงกุฏ ผู้ต่อมาจะได้เป็น ร. 4

เมื่อจวนจะสิ้นรัชกาล ในหลวง ร. 3 จึงพระราชทานแผ่นดินคืนแก่คณะเจ้านายขุนนาง มิได้ทรงกำหนดว่าบัลลังก์จะต้องเป็นของเชื้อสายของพระองค์เอง และได้พระราชทาน "เงินถุงแดง" อันเป็นเงินส่วนพระองค์ที่ทรงค้าขายหามาได้เอง ไว้ในพระคลังหลวงด้วย ทรงขอแบ่งไว้ปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ที่ทรงผุกพันด้วยไปเป็นส่วนน้อยเท่านั้น ส่วนใหญ่ท่านพระราชทานให้แผ่นดินไทยหมด มีรับสั่งราวกับจะทรงรู้ล่วงหน้าว่า เอาไว้เผื่อจะต้องใช้ไถ่แผ่นดิน

ล่วงมาจนถึงสมัย ร. 5 ก็เกิดเหตุจริงๆ ครับ คือวิกฤตการณ์ปากน้ำที่สยามปะทะกับฝรั่งเศส แล้วก็ถูกบังคับให้เสียค่าปรับมากมายก่ายกอง ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีกับตราดไว้เป็นประกันด้วย เราเป็นลูกแกะตอนนั้น เขาเป็นหมาป่า กำลังแข็งกล้ากว่าเราแยะ ในที่สุดเราก็ต้องยอม ดีกว่าเสียเอกราช

และส่วนหนึ่งของเงินค่าปรับทีเราเอาไปจ่ายให้เขา ก็คือเงินถุงแดง อันมาจากพระมหากรุณาธิคุณใน ร. 3 พระราชทานไว้ให้นั่นเอง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 20:18

อ๋อ...ที่พูดถึงไม่ได้ต้องการจะพูดว่าเงินก้อนนั้นเป็นเงินอากร แต่เป็นเงินกำไรจากการ
ผูกสำเภาไปขายกับต่างประเทศ

คุณนิลแน่ใจหรือคะว่า เงินนั้นเรียกว่า "เงินถุงแดง" ทำไมชื่อต้องมาพ้องกับถุงแดงที่เอาไว้
หุ้มร่างทุบด้วยท่อนจันทร์ (สะกดไม่ถูก) ตอนสำเร็จโทษเจ้านายด้วย

สัปดาห์ที่ผ่านมาไปงานสัปดาห์หนังสือที่รามาฯมาค่ะ ได้ถกเขมรของหม่อมคึกฤทธิ์มา และอีกเล่ม
หยิบขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ค่อยได้ยินชื่อ จึงวางลง ชื่อเกี่ยวกับฝรั่งศักดินาอะไรทำนองนี้ ใครเคยอ่านบ้างไหมคะ
*******

พูดถึง Ample Rich ผู้ใหญ่ในสมัยก่อนก็รู้จัก ‘ฉ้อราษฎร์บังหลวง’ หรือว่ากันเต็มๆก็ว่า
‘ฉ้อ (โกง) ราษฎรและ (เบียด) บังเงินหลวง’ กันแล้ว

ม.ล. ศรีฟ้าฯ เล่าว่าเรื่องโกงๆที่ดังๆอีกเรื่องหนึ่งคือ การออกรางวัลล็อตเตอรี่ปลายรัชสมัย ร.6
ไม่มีใครไม่รู้จักพระยานนทิเสน ซึ่งก็ไม่เชิงว่าเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงทีเดียวนัก แต่เป็นการล็อครางวัล
ให้คนบ้านตัวเองถูกรางวัลกันพรึบ โดนคาดหน้าตราชื่อตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เรื่องมีอยู่ว่า ในวันพระบรมราชสมภพ มีปวงข้าราชบริพารได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินสมทบทุน
ซื้อเรือรบหลวงอันทันสมัยตามพระราชดำริ ทุกคนก็ช่วยกันหาเงินด้วยวิธีต่างๆ รวมทั้ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงร่วมด้วย

           ในการหาเงินมีการออกสลากล็อตเตอรี่ โดยมีพระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี เป็นประธาน
เมื่อหวยออก  ปรากฏว่าคนในบ้านของพระยานนทิเสน ถูกล็อตเตอรี่กันทั้งบ้าน
หนังสือพิมพ์ ๒-๓ ฉบับ สมัยนั้น ต่างก็พากันพูดถึงการล็อคเลข
เมื่อคนพูดกันอื้ออึงไปทั้งเมือง ก็มีคนแต่งกลอนลำตัดด่า พิมพ์ออกมาขายดิบขายดี
คนจำกลอนท่องกันเกร่อทั่วบ้านทั่วเมือง เพื่อประนามคนโกง เห็นแก่ประโยชน์ของพวกพ้อง

แม้นเวลาจะผ่านไปหลายปี  คนรุ่นปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา ก็ยังพูดกันถึงพระยานนทิเสน
เรียกว่าเรื่องล็อตเตอรี่ครั้งนั้น ทำให้พระยานนทิเสนเปรอะเปื้อนมัวหมองจนลบไม่หาย
ใส่ตระกร้า ล้างน้ำ กันอย่างไร ก็ยังมีกลิ่นติด มีราคีสลัดไม่หลุด ลบล้างไม่ออก
เพราะคนในสมัยกระโน้น เขายกย่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นอันดับหนึ่ง ดังโคลง

           “สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง”

          ม.ล. ศรีฟ้าฯ สรุปว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นการ ‘คอรัปชั่น’ เสียทีเดียว  แต่เรียกว่าเอาประโยชน์
ให้ญาติพี่น้องบริวาร วงศ์วานว่านเครือตัวเอง คนโบราณเขาฉลาด รู้จักแยกแยะ และใช้เหตุผลในการวิเคราะห์

เรื่องล้อคหวยยังไม่จบแค่นี้ เคยได้ยินมาว่าในสมัยก่อนมีการล็อคเลขเวลาออกหวย โดยเอาหินไปแช่น้ำ
เวลาจะล้วงหิน ก้อนไหนเย็น ก็ให้คนหยิบหยิบก้อนนั้น มีใครจำรายละเอียดได้บ้างคะ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 20:27

 อยากทราบว่าเงินถุงแดงนี่มีมูลค่าสมัยร.3 สักเท่าไหร่หรอครับ แล้วเป็นลักษณะอย่างไร เงินเหรียญ หรือทองคำ ฯลฯ ใช้หมดไปแล้วหรือยัง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 20:40

 เอ...บทความอันนี้ของอาจารย์ มันลอยมาจากที่ใดคะเนี่ย ไม่เคยเห็นเลย



.....พระราชดำรัสนี้น่าประหลาดตรงที่เมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายสิบปี จนถึง ร.ศ. ๑๑๒   ก็เกิดเป็นความจริงขึ้นมา  

  เมื่อไทยถูกฝรั่งเศสปรับโทษเป็นเงิน ๓ ล้านบาท จนท้องพระคลังมีไม่พอ    ก็ได้ ' เงินถุงแดง '

 ส่วนนี้ไปสมทบ   ไถ่บ้านเมืองเอาไว้ได้จริงๆ  แสดงว่าเงินถุงแดงที่ทรงสะสมไว้ มีจำนวนมากมายทีเดียว


 http://vcharkarn.com/reurnthai/redbag.php  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 20:52

 ค.ห. 9 คุณนที อ่านบทความของอาจารย์อันนี้ด้วย ก็จะทราบทั้งหมดค่ะ



ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง... คงจะต้องบังคับขับไส : วิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒



ผลจากความเสียพระราชหฤทัย  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงกับทรงพระประชวรหนัก

  ถึงกับมีพระราชปรารภว่าจะสวรรคตเสียดีกว่าจะอยู่ดูบ้านเมืองตกเป็นของต่างชาติ อานิสงส์จากบรรพบุรุษ

และน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย    วิกฤติการณ์ครั้งนั้นจึงผ่านพ้นไปได้ในสภาพบอบช้ำแบบ

'ยอมสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต '  



ความเข็ดขยาดที่จะต้องตกในอำนาจของต่างชาติยังเป็นความรู้สึกต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖

ไม่มีใครลืมได้    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชนิพนธ์เตือนใจไว้ว่า



ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง.................คงจะต้องบังคับขับไส

เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป................ ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย

เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ............... จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย  

ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย.. ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา
 http://vcharkarn.com/reurnthai/crisis112.php



ดูซิ...ถ้าแปรรูป กฟผ. ไป แล้วเขาเอาไปขายให้สิงคโปร์อีก เราคนไทยอาจเหมือนถูก "ปิดประตูตีแมว"

เพราะเขาจะขึ้นค่าไฟอย่างไรก็ได้
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 09:55

เพิ่มเติมความเห็นที่ ๘ เรื่องลอตเตอรี่เสือป่าครับ

คดีเรื่องนี้สืบเนืองมาจากในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  มีพระบรมราโชบายที่จะหาเงินเพื่อจัดซื้ออาวุธให้เสือป่า  จริงๆ แล้วก็คือ การสร้างสมกำลังอาวุธไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินดังพระราชนิพนธ์ที่ว่า แม้หวังตั้งสงบ  จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ  สัตรูกล้ามาประจัญ  จะอาจสู้ริปูสลาย  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลเสือป่า พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี (แม๊ค  เศียนเสวี) เสนาธิการเสือป่าเป็นแม่กองออกลอตเตอรี่เสือป่า  ภายหลังจากที่มีการออกลอตเตอรี่แล้วปรากฏว่าผู้ถูกรางวัลล้วนเป็นคนในบ้านของท่านเจ้าคุณนนทิเสนฯ  จึงเกิดการร่ำลือกันว่า เวลาจะออกลอตเตอรี่นั้นท่านใช้วิธีเอาลูกปิงปองที่จะออกเบอร์นั้นไปแช่น้ำแข็งไว้ก่อน  เวลาหยิบเบอร์ออกมาจึงได้เบอร์ที่ท่านกำหนดไว้  เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณโปรดให้ต้งกรรมการศาลรับสั่งขึ้นชำระ  ได้ความตามสัตย์ว่า พระยานนทิเสนฯ ทุจริตจริง  จึงลงพระราชอาญาถอดออกจากยศบรรดาศักดิ์  ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และลงโทษจำคุกดูเหมือนจะสิบปี  ทั้งๆ ที่ท่านผู้นี้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและเป็นที่โปรดปรานมากคนหนึ่ง  แต่เมื่อทำผิดก็ต้องรับพระราชอาญาเต็มตามความผิดเหมือนกัน
หลังจากเกิดคดีนี้  บรรดาผู้ที่เคยใช้นายสกุลเศียนเสวีต่างก็เปลี่ยนไปใช้นามสกุลอื่นกันหมด  เพราะทนอับอายมิได้

ในเรื่องภาษีค่าภาคหลวงทองคำที่ว่าเก็บได้น้อยกว่าอากรชนิดอื่นนั้น  ขอให้ท่านผู้สนใจลองหาคำพิพากษาคดีพระปรีชากลการมาอ่านกันครับ  ในคำพิพากษาได้อธิบายถึงการบังหลวงไว้อย่างละเอียดทีเดียว

ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น  วิธีการเก็บภาษีอากรนั้นใช้วิธีแบบจีนที่พ่อค้าจีนนำเข้ามา  คือ วิธีประมูลผูกขาดอากรชนิดต่างๆ ในพื้นที่ที่กำหนดกัน  โดยผู้ประมูลเสนอเงินอากรให้แก่รัฐจำนวนหนึ่ง  แล้วรับสัมปทานไปเก็บอากรที่ตนประมูลได้  โดยเลือกตั้งอัตราเอาตามใจชอบ  และเพื่อให้การเก็บอากรนั้นได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย  นายอากรก็ต้องไปผูกสัมพันธ์ฝากเนื้อฝากตัวกับเจ้านายหรือขุนนางผู้ใหญ่  ต้องมีการส่งส่วยสาอากรให้แก่ผู้เป็นใหญ่  เพื่ออาศัยอิทธิพลของผู้เป็นใหญ่คุ้มครองมิให้มีคู่แข่ง  ในขณะเดียวกันนายอากรก็เลี้ยงอั้งยี่ไว้เป็นกำลังด้วย  ด้วยสาเหตุเหล่านี้นายอากรจึงมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก  รวมทั้งมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน ทำให้ยอดเงินอากรที่จะส่งพระคลังนั้นมักจะไม่ได้เต็มจำนวนตามที่ประมูลมา  นายอากรมักจะเป็นลูกหนี้ค้างส่งเงินอากร  สุดท้ายยอมล้มละลายกันเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนั้นเมื่อนายอากรนำเงินมาส่งแก่เสนาบดีจตุสดมถ์  ท่านเสนาบดีก็มิได้แยกเงินอากรซึ่งเป็นของรัฐกับทรัพย์สินส่วนตัวออกจากกัน  มีการใช้จ่ายปนเปกัน  จึงเป็นสาเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์  และยกเลิกระบบผูกขาดภาษีโดยนายอากร มาเป็นวิธีจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิตและศุลกากรดังเช่นทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 10:41

 ขอบคุณ คุณ V_Mee for insightful info ka.
เอ...แล้วทำไมนายอากรโดยมากเป็นคนจีนล่ะคะ ขุนนางไทยไม่กล้าเสี่ยงหรือคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 14:59

คุณ Nuchana น่าจะไปหานวนิยายเรื่อง "รัตนโกสินทร์" ของว.วินิจฉัยกุล มาอ่าน
คนละเรื่องกับ "รัตนโกสินทร์ "ของคุณปองพล อดิเรกสาร

แล้วจะเข้าใจบทบาทของนายอากรสมัยรัชกาลที่ 3 ค่ะ
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 คนจีนเข้ามาเป็นขุนนางไทยกันเยอะ    
จะแบ่งแยกเด็ดขาดว่านี่นายอากรจีน นั่นขุนนางไทย
ไม่มีเส้นคั่นเด็ดขาดยังงั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง