นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 90 เมื่อ 27 ก.พ. 06, 19:20
|
|
ขออนุญาตย้อนกลับไปสงสัย
ต้น "อเนกคุณ" = ต้นตำแย หรือเป็นศัพท์ที่กำหนดให้ใช้หมายความว่า ตำแย
เอาละผมยอมรับตามที่กำหนด แต่ผมสงสัยต่อว่า ที่มาที่ไปยังไงหนา ตำแยจึงได้ชื่อว่ามีคุณเยอะแยะไปได้?
มีใครรู้สรรพคุณทางยา หรืออะไรทำนองนั้นของต้นตำแยมั่งไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 91 เมื่อ 27 ก.พ. 06, 19:41
|
|
เช็ดตัวแห้งแล้วหรือคะ คุณนิลฯ
เข้าใจว่าเป็นการตั้งชื่อแก้เคล็ดมังคะ ในเมื่อตำแยไม่มีประโยชน์อะไร (นอกจากในเรื่องศรีธนญชัย ที่เมื่อป่นแล้ว เอาไปโรยไว้ พอคุณเธอทั้งหลายมาปัสสาวะละอองตำแย หรือหมามุ่ยก็ไม่ทราบ ก็ปลิวฟุ้งตลบร่มผ้า) ก็เลยตั้งให้มีความหมายว่ามีคุณร้อยแปด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เฟื่องแก้ว
|
ความคิดเห็นที่ 92 เมื่อ 02 มี.ค. 06, 02:13
|
|
มาลงชื่อนั่งฟังค่ะ
สงสัยถ้าเขียนร่วมแบ่งปันความรู้เป็นร้อยครั้งแบบนี้ ทางวิชาการ อาจจะให้เทพีประจำกายเป็น นางตานี หรือ นางหมามุ่ยก็ได้นะคะ ฮืออ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 93 เมื่อ 09 มี.ค. 06, 04:05
|
|
ย้อนกลับไปถึง "ต้นจะเกรง" ที่แปลว่าต้นเหงือกปลาหมอ ทำให้คิดถึงตำบล "บางจะเกร็ง" อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นท้องที่ที่ผมคุ้นเคยอยู่พอสมควร แต่ก็ไม่ได้ไปนานแล้วเหมือนกัน
ตอนเด็กๆ เคยติดสอยห้อยตามผู้ใหญ่ไปดูที่ดินแถวนั้น พบว่าต้นเหงือกปลาหมออยู่มากจริงๆ จำได้ว่าเห็นต้นเหงือกปลาหมอ หรือต้นจะเกร็ง ครั้งแรกก็ที่บางจะเกร็งนี่
เมื่อเห็นว่าชื่อ "จะเกร็ง" นั้นยังเป็นชื่อบ้านชื่อบางมาแต่โบร่ำโบราณได้เช่นนี้ ก็เข้าใจว่าคำนี้คงไม่ใช่คำใหม่ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นอย่างคำจำพวก ต้นอเนกคุณ ผักรู้นอน ผักทอดยอด อะไรทำนองนั้น
หากแต่ "จะเกร็ง" น่าจะเป็นอีกคำเรียกหนึ่งของต้นเหงือกปลาหมอ ตามภาษาในอีกท้องถิ่นหนึ่ง คือภาษามอญ เพราะบ้านบางจะเกร็งนั้นมีชาวมอญอยู่มาก (คำว่าจะเกร็งก็ฟังออกไปทางภาษามอญอยู่ ลองพูด เกรงงง..มีเสียง ง. ขึ้นจมูกหน่อย)
มีที่สงสัยนิดหน่อยครับ ตรงที่คุณเทาชมพูกรุณานำมาลงไว้นั้น สะกดว่า "จะเกรง" แต่เมื่อผมลองค้นดูในพจนานุกรมฯ พบว่ามีไม้ไต่คู้ด้วย คือ "จะเกร็ง" ซึ่งแปลว่าต้นเหงือกปลาหมอเหมือนกัน
จึงไม่ใคร่แน่ใจว่าที่จริงแล้วควรมีไม้ไต่คู้หรือไม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 94 เมื่อ 09 มี.ค. 06, 04:07
|
|
 ต้นเหงือกปลาหมอ หรือจะเกร็ง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 95 เมื่อ 09 มี.ค. 06, 04:30
|
|
ส่วนสรรพคุณทางยาของตำแย ที่คุณนิลกังขาสงสัยนั้น ผมก็ค้นจากสมุนไพรดอทคอม ได้ความมาได้เพียงเท่านี้เองครับ
พิกัดสัตตะปะระเมหะ จำกัดจำนวนตัวยาแก้เสมหะมีกลิ่น ๗ อย่าง (ตำแย ก้นปิด วาน รัก กระดูก สัง) สรรพคุณ ชำระมนทินโทษให้ตกไป แก้อุจจาระธาตุลามก ชำระเมือกมันในลำไส้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 96 เมื่อ 09 มี.ค. 06, 09:00
|
|
ในหนังสือราชาศัพท์ สะกดว่า "จะเกรง "ไม่มีไม้ไต่คู้ ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 97 เมื่อ 09 มี.ค. 06, 10:12
|
|
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบเรื่องตัวสะกดของ "จะเกรง" ในหนังสือราชาศัพท์ครับ
เปิดพจนานุกรมดู พบว่าต้นจะเกร็งนั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "อีเกร็ง"
ทำให้ผมคิดไปว่า "บางนางเกรง" ที่สมุทรปราการ เดิมคงชื่อ "บางอีเกรง" นั่นเอง ต่อมา "อี" กลายเป็นคำไม่สุภาพ หลวงท่านเลยเปลี่ยนอีเป็น "นาง" เสียเสร็จสรรพ
กลายเป็นไม่เหลือเค้าอะไรที่หมายถึงต้นเหงือกปลาหมอเลย ทั้งๆ ที่บางจะเกร็ง กับบางนางเกรง จริงๆ แล้วก็คงเป็นบางเหงือกปลาหมอเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 98 เมื่อ 09 มี.ค. 06, 10:26
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 99 เมื่อ 09 มี.ค. 06, 10:29
|
|
 ที่จริงสมุนไพรต่างประเทศ ก็มีอยู่บางชนิดนะครับที่เกิดปฏิกิริยากับแมว เหมือนเจ้าตำแยแมวในรูปที่ผมจิ๊กมาจากพันทิปให้ดูกัน
แต่ขอเวลาอ่านแป๊บนึงครับ เดี๋ยวเข้ามาเล่าต่อ (เบี่ยงกระทู้น่าดูเลยผม เปิดกระทู้ใหม่ดีกว่า) |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 100 เมื่อ 09 มี.ค. 06, 17:15
|
|
กระทู้ที่พี่ติบอตั้งใหม่ (จากความเห็นที่ 99) ดูได้ที่นี่ครับ http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=20&Pid=47436แปลกแต่จริง วิฬาร์เมาตำแยแมว  ครับ ผมขอย้อนมาที่ความเห็นที่ 38 ผมคิดว่า บางกรณีไม่น่าจะใช้คำว่า ทิวงคต เช่น ประเทศที่มีคตินิยมเรื่องกษัตริย์เป็นสมมติเทพ และประเทศที่มีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ น่าจะใช้คำว่า สวรรคต แทน แต่ผมมาคิดดูว่า ถ้าเราใช้คำราชาศัพท์ ไม่ตรงกับที่บัญญัติไว้ จะมีผลอย่างไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
ออกญาธรรมาธิกรณ์
อสุรผัด

ตอบ: 24
|
ความคิดเห็นที่ 101 เมื่อ 31 มี.ค. 06, 22:40
|
|
ในความคิดผม ประเทศที่เป็นระบอบกษัตริย์ คือเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า สมเด็จพระราชาธิบดี นั้นใช้ สวรรคต นะครับ
เอ อย่างพระเจ้ากรุงเบลเยี่ยม ก็ใช้สวรรคต พระบรมศพ นะครับ คาดว่า ในหลวงเราถวายพระเกียรติให้ใช้คำนี้ก็เป็นได้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ช่อม่วง
อสุรผัด

ตอบ: 7
มัธยมปลายช่วงชั้นที่ 4 ปีที่ 2
|
ความคิดเห็นที่ 102 เมื่อ 07 เม.ย. 06, 22:36
|
|
ไม่ถนัดเรื่องนี้เลย ช่วงนี้กำลังใช้เวลาศึกษาอยู่ค่ะ เลยไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอะไรได้มากนัก (แย่จัง คนไทยแท้ๆ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เจ้าสำราญ
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 103 เมื่อ 08 เม.ย. 06, 15:47
|
|
สวัสดีครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ครับ จะขอลองตอบดู 1. ข้อนี้ตามความคิดของผมนะครับ คือสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษฯ ท่านทรงมีพระชันษาสูงกว่า และทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระบรมราชินี แม้จะทรงเป็นยเจ้าฟ้าชั้นเอกเหมือนกัน แต่พระองค์จุลฯ ท่านก็อาจทรงใช้คำต่างระดับกันได้ 2. ส่วนข้อนี้ ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ แต่อาจเป็นการใช้เป็นการลำลองก็เป็นได้ 3. เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นประมุขของประเทศเหมือนพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีครับ และโดยธรรมเนียมแล้วคำว่า "พิราลัย" นั้นมักใช้กับราชวงศ์หรือผู้ที่ราชวงศืยกย่องเป็นกรณีพิเศษ (เช่น ม.ล.บัว กิติยากร) 4. น่าจะเป็นข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไป ซึ่งถือว่าเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 104 เมื่อ 08 เม.ย. 06, 21:41
|
|
คุณเจ้าสำราญครับ,
คำถามข้างต้นนี้มีผู้ตอบไว้แล้วในความเห็นแรกๆ ลองกดดูความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อยู่ในหน้า ๑ อ่านดูนะครับ
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น "สมเด็จพระอนุชาธิราช" ในฐานะพระรัชทายาท เมื่อเสด็จทิวงคตแล้ว จึงใช้ "ทิวงคต" สูงกว่าเจ้าฟ้าอื่นๆ ครับ
อนึ่ง ก่อนพุทธศักราช ๒๕๑๓ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอัฐิ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ใช้ราชาศัพท์ที่แปลว่าตายว่า "สิ้นพระชนม์" หลังจากสถาปนาพระอัฐิเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ แล้ว ใช้ "สวรรคต"
ส่วนการใช้ "เสด็จ" นำหน้าคำกริยานั้น ต่างจากการใช้ "เสด็จพระราชดำเนิน" (สำหรับเจ้านายชั้นสมเด็จพระบรมราชกุมารีขึ้นไป) หรือ "เสด็จ" (สำหรับเจ้านายชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมา) ในความหมายว่า การเดินทางไปมาโดยยานพาหนะ โดยกระบวน ลองนึกภาพดูจะมีลักษณะของการเคลื่อนที่อย่างชัดเจนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
การใช้ “เสด็จ” นำหน้าคำกริยานั้นเป็นการย้ำกริยาแท้ที่อยู่ตามหลังคำว่าเสด็จ ตัวอย่างเช่น เสด็จประทับ เสด็จสถิต เสด็จขึ้น เสด็จลง เสด็จเข้า เสด็จออก เสด็จประพาส เสด็จเถลิง เสด็จสิ้นพระชนม์ เสด็จทิวงคต เสด็จสวรรคต เป็นต้น
กริยาหลักที่เป็นเนื้อความอยู่ที่คำหลังทั้งสิ้น การใช้เสด็จ ในรูปแบบนี้ พอเทียบได้กับคำว่า "ทรง" ที่เติมลงหน้ากริยาต่างๆ นั่นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|