เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8
  พิมพ์  
อ่าน: 58974 ราชาศัพท์ที่แปลว่า "ถึงแก่กรรม"
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 09:58

 คุณ Nuchana ลองจำประโยคนี้ไปใช้สิครับ เผื่อจะช่วยคลายความสับสนได้

"เทวดาจุติลงมาอุบัติเป็นมนุษย์"
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 10:24

 คห 73.....อยากให้คนมีบุญ "จุติ" ลงมาในครรภ์

มาจากเรื่องสองฝั่งคลองค่ะ ตอนที่สงครามมา คุณลานทำงานพิเศษกลับบ้านค่ำๆ และทับทิมยังไม่มีบุตรน่ะค่ะ

***
ขอเรียนถามคูณ UP หน่อยค่ะ ว่าตัวจริงรู้จักกับคุณ V_MEE หรือเปล่าค่ะ Both share sth in common, very knowledgable in King Rama 6 history ka.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 10:34

 ประโยคนั้นในหนังสือ เขียนผิดค่ะ
ที่ถูกต้อง ต้องเป็น อยากให้คนมีบุญ จุติลงมาเกิดในครรภ์
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 11:00

 จุติ ในพจนานุกรม มีความหมายเดียว

มีนักการเมืองคนหนึ่งชื่อ จุติ ไกร... คำว่าจุติ ในที่นี้จะแปลเป็นอื่นได้ไหมคะ เพราะไม่น่าเชื่อว่า
ใครจะตั้งชื่อบุตรหลานให้มีความหมายไปทางมรณังสังขารน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 13:46

 ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมเห็นว่าประโยคที่ว่า อยากให้ "ผู้" มีบุญจุติลงมาในครรภ์ นั้นก็ไม่ใคร่จะเป็นความผิดร้ายแรงครับ เพราะผมเห็นว่า "ผู้มีบุญ" นั้นหมายถึงเทวดาหรือบุคคลผู้อยู่ในสุคติภูมิก็น่าจะพอได้  อยากให้ผู้มีบุญตายจากคติภพที่ท่านอยู่ แล้วลงมาในครรภ์ (โดยละคำว่าเกิดไว้) ก็พอฟังได้ไม่ผิดครับ

***

ขอตอบเรื่องที่คุณ Nuchana ถามมาเป็นการส่วนตัวนะครับ

ผมกับท่านผู้ใช้นามแฝงว่า V_Mee นั้น แท้จริงแล้วก็เคยพบปะกันอยู่หลายครั้ง หากจะนับย้อนไป ครั้งแรกที่พบกันก็ร่วมทศวรรษมาแล้ว แต่โอกาสวิสาสะนั้นก็อาศัยช่องทางอินเทอร์เนตนี้อยู่เนืองๆ อย่างไรก็ดี ผมนับถือคุณ V_Mee อย่างยิ่ง ในฐานะผู้ใหญ่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องราวในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนผมนั้นเทียบชั้นไม่ติดหรอกครับ ผมเป็นผู้สนใจ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ

แต่เข้าใจว่าคุณ V_Mee และผม มีเจตจำนงร่วมกัน คือมุ่งหมายจะเผยแผ่พระเกียรติคุณที่ยังหลบเร้นอยู่ให้แพร่หลาย ตลอดจนเล่าเรื่องราวข้อเท็จจริงที่ได้ฟังหรืออ่านมาตามมุมมองที่อาจยังไม่มีผู้ทราบหรืออาจลืมเลือนไปแล้ว หรือชี้แจงทรรศนะส่วนตัวเป็นตัวเลือกทางความคิดของผู้อ่าน เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายบ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 22:24

 ขอเดินแยกซอยจากกระทู้ คุยกับคุณ UP
ต่อจากค.ห. 70

นอกจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณาภรณ์   ศิลปินแห่งชาติทุกสาขาได้รับพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  
และปีนี้  ถือว่าโชคดีเป็นล้นพ้น ได้รับพระราชทานเข็มวิศิษฎ์ศิลปิน อีกด้วย

ความเป็นมาของพระราชสมัญญา  "วิศิษฎ์ศิลปิน"

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยใน ภาษาไทยเป็นอย่างมาก และได้ทรงศึกษาอย่างจริงจังต่อเนื่อง รวมทั้งภาษาบาลี และสันสกฤต จึงทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาไทย ทั้งที่เป็น ภาษาโบราณและภาษาปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง นอกจากนี้แล้วยังทรงพระราชนิพนธ์ คำประพันธ์ร้อยกรองต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งคำฉันท์ดุษฎีสังเวยและ กาพย์ขับไม้ ที่ใช้อ่านและขับกล่อมในพระราชพิธีรับ และขึ้นระวางช้างสำคัญ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ขนาดยาวในรูปแบบฉันทลักษณ์ กอปรด้วย ภาษาที่ประณีตงดงาม ทรงคุณค่าเชิงวรรณศิลป์

ทานด้านโบราณคดีนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยมิใช่แต่เฉพาะจากตำราเท่านั้น หากโอกาสอำนวยจะเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงศึกษาจนถึงที่เกือบทุกแห่ง ในประเทศไทย นอกจากนี้แล้วทรงสนพระราชหฤทัย ในเรื่องงานช่างไทย ทุกแขนงเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้ว่าโปรดการวาดรูป ปั้นรูป และ งานประดิษฐ์ ทางช่างมาแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงมีพระทัยห่วงใยวิชาช่างของไทยเป็น อย่างยิ่ง มีพระราชดำริให้เปิดสอนเพื่อฟื้นฟูวิชาช่างสิบหมู่ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีส่วนสำคัญ ทางด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยเป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้อำนวยการ บูรณะตกแต่ง พระที่นั่งวิมานเมฆ การบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และ พระบรมมหาราชวัง การซ่อมบูรณะบุษบกทรงพระแก้วมรกต และงานสร้างพระเมรุมาศถวายพระเพลิง พระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทรา- บรมราชชนนี รวมทั้งการซ่อมบูรณะปฏิสังขรณ์ ศาลาไทยที่เมือง บัดฮอมบวร์ก เยอรมนี ซึ่งทุกอย่างสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย สวยงาม และทรงคุณค่า ทางสถาปัตยกรรมไทย

ส่วนทางด้านดนตรีไทย สามารถทรงได้ทั้งซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ย รวมทั้ง ระนาดเอก และทรงขับร้องเพลงไทยเดิมได้อย่างไพเราะ นอกจากนี้แล้วยังได้ พระราชนิพนธ์เนื้อร้องเพลงไทยเดิมไว้เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ก็ทรงสนพระราชหฤทัยในเพลงลูกทุ่ง ทั้งในด้านการขับร้องและ พระราชนิพนธ์เนื้อเพลงลูกทุ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปในเพลง ส้มตำ ด้วยทรงเห็นว่าเพลงลูกทุ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ และจากการที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราช หฤทัยในศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้ขอพระราชทานพระราชานุญาต ถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ ท่านว่า วิศิษฏ์ศิลปิน ผู้มีฝีมือทางการช่างเป็นเลิศ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ

โอภาส เสวิกุล เรียบเรียง
 http://www.thaisnews.com/prdnews/50_princess/25.htm  
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 23:02

 รู้สึกยินดีด้วยเป็นทวีคูณสำหรับศิลปินแห่งชาติที่ได้รับพระราชทานเครื่องหมายแห่งเกียรติยศที่ได้รับเป็นตรีคูณครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 25 ก.พ. 06, 23:13

 อาจารย์ช่วยกรุณาเฉลยปริศนาด้วยนะคะ

ต้นจะเกรง=?
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 26 ก.พ. 06, 09:52

 ผมกับท่านผู้ใช้นามแฝงว่า V_Mee นั้น แท้จริงแล้วก็เคยพบปะกันอยู่หลายครั้ง หากจะนับย้อนไป ครั้งแรกที่พบกันก็ร่วมทศวรรษมาแล้ว แต่โอกาสวิสาสะนั้นก็อาศัยช่องทางอินเทอร์เนตนี้อยู่เนืองๆ อย่างไรก็ดี ผมนับถือคุณ V_Mee อย่างยิ่ง ในฐานะผู้ใหญ่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องราวในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนผมนั้นเทียบชั้นไม่ติดหรอกครับ ผมเป็นผู้สนใจ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ

ขอบพระคุณอย่างยิ่งที่กรุณายกยอผมเสียเลิศเลอ  โดยที่จริงแล้วผมก็ยังไม่ถึงกับผู้ใหญ่หรอกนะครับ  เพียงเป็นรุ่นพี่ของเพื่อนสนิทของคุณUP ท่านหนึ่ง  อีกประการที่กล่าวอ้างว่า ผมเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องราวในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  ก็คงจะไม่ถึงขั้นนั้นหรอกครับ  เพียงแต่ว่าได้มีโอกาสอ่านและได้ฟังท่านผู้ใหญ่ที่เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณในเบื้องพระยุคลบาทหลายสิบท่านได้บอกเล่าเอาไว้  และโดยที่ท่านเห็นว่าผมเป็นเด็กที่ควรจะต้องรับทราบเรื่องราวเก่าๆ ไว้ ท่านเลยช่วยกันเล่าให้ฟังพร้อมกำชับให้ผมเป็นผู้รับถ่ายทอดคเรื่องราวจากท่านซึ่งนับวันมีแต่จะล่วงเลยไป  ผมก็ได้รับฟังและจดจำไว้แหละครับ  จนบัดนี้ท่านผู้ใหญ่ที่เคยเมตตาผมเกือบร้อยท่านนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ไม่ถึง ๑๐ ท่าน

แต่เข้าใจว่าคุณ V_Mee และผม มีเจตจำนงร่วมกัน คือมุ่งหมายจะเผยแผ่พระเกียรติคุณที่ยังหลบเร้นอยู่ให้แพร่หลาย ตลอดจนเล่าเรื่องราวข้อเท็จจริงที่ได้ฟังหรืออ่านมาตามมุมมองที่อาจยังไม่มีผู้ทราบหรืออาจลืมเลือนไปแล้ว หรือชี้แจงทรรศนะส่วนตัวเป็นตัวเลือกทางความคิดของผู้อ่าน เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายบ้าง
สำหรับประเด็นนี้  ขอสนับสนุนความเห็นของคุณUPครับ  เพราะในแวดวงประวัติศาสตร์ไทยนั้นมักจะทราบกันแต่เพียงว่า พระทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นทรงมีพระราชกรณียกิจสำคัญแต่เรื่องโขนละคร  หากได้ศึกษาถึงพระราชจริยาวัตรโดยละอียดแล้ว จะทราบว่าได้ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติสุดที่จะพรรณา  จึงเป็นหน้าที่ของผมในฐานะที่เป็น "เด็กในหลวง" คนหนึ่งที่จะต้องสนองพระเดชพระคุณในทุกวิถีทางที่จะทำได้ตราบจนลมหายใจสุดท้าย

พระราชกรณียกิจสำคัญที่ถูกบิดเบือนอย่างมากเรื่องหนึ่ง คือการที่มีฝรั่งคนหนึ่งซึ่งในตอนปลายรัชกาลได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาการคลังได้กล่าวไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้วว่า เป็นโชคดีของประเทศสยามที่พระมหากษัตริย์พระองค์นี้เสด็จสวรรคตเสียได้มิฉะนั้นประเทศสยามจะถึงคราวล่มจมเป็นแน่  จากคำวิจารณ์นี้ในแวดวงวิชาการไทยมักจะหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างกันจนไม่มีท่านผู้ใดสนใจที่จะศึกษาแนวพระราชดำริให้ชัดเจน  ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผมกลับมีมุมมองที่ตรงข้าม  การที่ที่ปรึกษาการคลังชาวอังกฤษได้กล่าวไว้เช่นนั้นเพราะในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น  ประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ที่เรียกว่าน้ำท่วมปีมะเส็ง  นาข้าวล่มหมดทั้งประเทศ  ต่อจากนั้นเกิดฝนแล้งติดต่อกันสามปี  ผลผลิตข้าวไม่พอที่จะส่งออก  เมื่อไม่มีข้าวส่งออกผลกระทบที่ตามมาคือ รายได้แผ่นดินจากอากรส่งออกก็ขาดไป  ประจวบกับก่อนหน้านั้นโปรดให้เลิกบ่อนเบี้ยซึ่งทำให้ขาดอากรการพนันไปอีกหลายล้านบาท  ในขณะที่ทรงมีพรราชดำริว่า ประเทศชาติจะเจริญได้ต้องมีการลงทุน  เมื่อจำเป็นต้องลงทุนก็ต้องมีการกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายเพื่อให้งบประมาณแผ่นดินได้ดุล  เข้าตำรา ขาดทุนเพื่อกำไร ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเคยมีพระราชกระแสไว้เมื่อหลายปีก่อน  เมื่อมีการลงทุนแล้วย่อมมีผลตอบแทนกลับคืนซึ่งก็สามารถส่งใช้เงินกู้ยืมนั้นได้  ถ้าลองตรวจสอบกันจริงๆ แล้ว  อาจจะเป็นไปได้ว่าทรงเป็นผู้ริเริ่มการทำงบประมาณแบบขาดดุลเป็นคนแรกของโลก  ก่อนที่นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษดูเหมือนจะชื่อ จอห์น  อดัมส์ (ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ) จะตั้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคว่าด้วยการทำงบประมาณขาดดุลขึ้นภายหลังจากที่เสด็จสวรรคตไปแล้วหลายปี  แล้วนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกก็พากันรับเทฤษฎีงบประมาณขาดดุลไปใช้สืบมาจนทุกวันนี้  ไม่เห็นมีใครบอกว่าการกู้ยืมเงินมาปิดดุลงบประมาณเช่นที่พระเจ้าอยู่หัวทรงทำมาก่อนนั้นจะทำให้ประเทศชาติล่มจมเลยสักคนเดียว
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 26 ก.พ. 06, 10:51

 คุณ V_Mee หมายถึง Adam Smith ใช่ไหมคะ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 26 ก.พ. 06, 11:24

 ตอบคุณนุชนา
ต้นจะเกรง= ต้นเหงือกปลาหมอ
ค่ะ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 26 ก.พ. 06, 11:29

 เดี๋ยวจะกลายเป็นกระทู้เรื่องเศรษฐกิจไปเสีย แต่ขอต่อนิดเดียวครับว่าผมก็เห็นเหมือนที่คุณ V_Mee กรุณาเล่ามา

น่าเสียดายที่นโยบายเรื่องเศรษฐกิจการคลังในรัฐบาลสมัยต่อมานั้นอยู่ภายใต้อำนาจของบุคคลบางท่านที่มีอคติต่อการบริหารงานและตัวบุคคลในแผ่นดินก่อน

ได้อ่านปาฐกถาของบางท่านพบว่าแม้แต่เรื่องหนี้สินส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น หากจะนำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในบัญชีรัชกาลที่ ๖ เอง มาชำระก็สามารถทำได้เพียงพอ แต่บุคคลในรัฐบาลใหม่ไม่ยอมให้ทำเช่นนั้น โดยอ้างว่าการให้รัฐบาลในรัชกาลที่ใหม่ชำระหนี้รัชกาลเก่า จะเป็นพระเกียรติยศต่อพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ (..ทำนองว่าสร้างพระเกียรติยศให้แผ่นดินใหม่ โดยวิธีการตำหนิแผ่นดินเก่า) ...อ่านแล้วเศร้าใจจริง
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 26 ก.พ. 06, 18:56

 คุณ V_Mee หมายถึง Adam Smith ใช่ไหมคะ?

ชื่อที่ว่านี้ผมไม่เคยจำได้สักที  ถ้านักเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นคนนี้ก็คิดว่าน่าจะใช่แล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 27 ก.พ. 06, 09:14

 ตอบความเห็น 86 ของคุณ UP

อ่านแล้วทำให้นึกถึงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอนหนึ่งที่ว่า
"เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ
จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย..."

ดิฉันเชื่อว่า กฎแห่งกรรม ครอบคลุมได้ทั่วถึงกว่ากฎหมาย  ใครทำอะไรก็ย่อมรู้กันอยู่  คนอื่นไม่รู้ตัวเองก็ย่อมรู้
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 27 ก.พ. 06, 15:01

 ดิฉันเรียนรัฐศาสตร์ค่ะคุณ V_Mee

รัฐศาสตร์ทางด้านนโยบายสาธารณะต้อง
เรียนพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์มหภาคด้วยน่ะค่ะ    
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.167 วินาที กับ 19 คำสั่ง