เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 58971 ราชาศัพท์ที่แปลว่า "ถึงแก่กรรม"
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 03:42

 ตามความคิดเห็นของดิฉัน ความเป็นประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษของอดีตนายกรัฐมนตรี (ที่มาจากสายทหาร) น่าจะเทียบได้กับ "สมเด็จเจ้าพระยา"

แต่ถ้าพิจารณาราชาศัพท์ที่ใช้กับการ ถึงแก่กรรม ของบุคคลในระดับนี้ในปัจจุบัน ก็น่าจะใช้ ถึงแก่อสัญกรรม เพราะท่านไม่ได้มีเชื้อเจ้าของหัวเมืองประเทศราชที่จะใช้ ถึงแก่พิราลัย นะคะ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 10:23

 สวัสดีครับ ขออนุญาตเสียมารยาท(รอผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านที่ว่า)ครับ
1. ที่คุณออตโต้บอกว่า
"1.ทูลกระหม่อมพ่อของพระองค์จุลเป็นเจ้าฟ้าที่ได้รับพระมหากรุณาเป็นพิเศษให้ใช้ทิวงคต ซึ่งมีอีกองค์ที่ใช้คำว่าทิวงคตเหมือนกันแต่จำพระนามไม่ได้ คุ้นๆว่าน่าจะเป็นเจ้าฟ้าภาณุฯตามประวัติศาสตร์มีเพียง 2 องค์เท่านั้นที่ได้โปรดพระราชทานเป็นพิเศษ ผมขอเดานะครับว่าที่กรมหลวงพิษณุโลกได้พระราชทานอาจด้วยเพราะพระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นรัชทายาทสืบต่อร.6 หากพระองค์ไม่ทรงมีพระโอรสตามพระราชพินัยกรรม"

สมเด็จเจ้าฟ้าที่ใช้คำว่าทิวงคตได้ มี เท่าที่ทราบมีทูนกระหม่อมเล็ก(สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกฯ) และทูลกระหม่อมเอียดเล็ก(สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา)ครับ
อนึ่ง ทั้งสองพระองค์ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ ๖
ผมคิดว่าผู้ที่ใช้คำว่า ทิวงคตได้ก็มีอีกครับ คือ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (ปัจจุบันให้ถือว่าวังหน้าทุกพระองค์ใช้ ทิวงคต หมด แทนที่จะเป็นสวรรคต แต่เรื่องนี้ผมไม่มั่นใจ คงต้องให้ทั้ง 3 ท่านชี้แจงความกระจ่างอีกคราวครับ)
แต่วังหลังใช้ทิวงคตหรือไม่ ผมไม่แน่ใจอีกเหมือนกันครับ
2. จากความเห็นที่ 7 ของคุณ B
สมเด็จเจ้าพระยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มี 3 ท่านครับ ได้แก่
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
สมเด็จเจ้าฟ้าบรมมหาพิชัยญาติ
และ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(สถาปนาในรัชกาลที่ 5 )
ทั้งสามท่าน มาจากสกุลบุนนาค มีศักดินาสูงกว่าเจ้านายทรงกรมสมเด็จพระ(ต่อมา ในสมัย ร. ๖ จึงมีการปรับเจ้านายกรมสมเด็จพระ เป็นสมเด็จกรมพระและสมเด็จกรมพระยา)
ผมคิดว่า อำนาจของสมเด็จเจ้าพระยาคงพอ ๆ กับท่านอ๋องในราชสำนักจีน นำมาเทียบกับสมัยปัจจุบันไม่ได้ครับ
นอกจากนี้ เจ้าคุณจอมมารดาให้ใช้คำว่า พิราลัยได้เช่นกัน เช่น เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ เป็นต้น
3. ผมเคยได้ยินว่า ประธานรัฐสภาและประธานศาลฎีกาน่าจะใช้ ถึงแก่อสัญกรรม
ประธานาธิบดี ให้ใช้คำว่า ถึงแก่อสัญกรรมครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 16:36

 ไปค้นเพิ่มมานิดหน่อยครับ เรื่อง ทิวงคต

พจนานุกรมบอกว่า ทิว- แปลว่า วัน ก้ได้ เช่น ทิวา และแปลว่า เทวโลก ก็ได้ ดังนั้น ทิวงคต ก้แปลว่าไปเทวโลกแล้ว

ขอบพระคุณคุณครูเทาชมพูครับ พีระ เทียบ สุระ แปลตรงว่าผู้กล้าทั้งคู่ และใช้ในความหมายแปลว่า เทวดา ทั้งคู่ ดังนั้น พิราลัย คือ สุราลัย แปลว่า เมืองสวรรค์ โลกเทวดา และแปลกจริงๆ เสียด้วยที่เผอิญไปตรงกับวัลฮัลลาของฝรังยุโรปเหนือได้อย่างน่าอัศจรรย์

(ผมสังเกตว่า ในที่นี้ - หรือที่จริงก็ต้องเรียกว่า ในภาษาตามปกติ - สุราลัย แปลว่าที่อยู่ของ สุระ หรือที่อยู่เทวดา ไม่ยักแปลว่าโรงเบียร์หรือบาร์เหล้าอันเป็น "ที่อยู่ของสุรา" นะครับ...)

ในชุดคำชุดนี้ มีคำที่เป็นคำศัพท์กวีหน่อยๆ อีกคำหนึ่งคือ เสด็จสู่สวรรคาลัย ก็แปลว่า ตาย เหมือนกัน สวรรคาลัย แปลว่า ที่อยู่ที่เป็นสวรรค์
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 16:50

 ทั้งนี้และทั้งนั้น โดยเราเข้าใจกันเอง หรือให้เกียรติกันว่า ท่านผู้ใหญ่เจ้าใหญ่นายโตเหล่านั้น ตายไปแล้ว คงจะไปสวรรค์กระมังน่า ไม่ว่าตอนที่ยังอยู่จะประพฤติองค์หรือประพฤติตนอย่างไรก็ตาม

พระราชาบางสมัย บางประเทศ บางองค์ อย่างทรราชเผด็จการที่มีพระราชประวัติปรากฏในตำราประวัติศาสตร์โลกหลายองค์ (เช่น ซาร์อีวานผู้โหดร้าย ของรัสเซีย) ตายไป ภาษาไทยก็ให้เป็น สวรรคต เหมือนกัน คำว่า "นรกคต" ดูจะยังไม่มีการกำหนดให้ใช้ในภาษานะครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 17:32

คำกลางๆ แต่ไม่เป็นศัพท์บัญญัติให้ใช้ เป็นแต่คำของกวีคำหนึ่ง ซึ่งแปลว่า ตาย เหมือนกัน เคยเห็นผ่านตาในงานพระนิพนธ์ของ น.ม.ส. ซึ่งบรรยายทำนองว่า ครั้นพระราชาในนิทานองค์นั้นตรัสสั่งเสียเสร็จแล้ว ก็ "เสด็จไปโดยมหาบถ คือ ทางใหญ่"

คือทรงไปตามทางที่มนุษย์เป็นอันมากได้ไปล่วงไปก่อนแล้ว และทุกคนที่ยังอยู่จะต้องก้าวไปบนทางนั้นสักวันหนึ่ง หนี "ทางใหญ่" เส้นนี้ไปไม่พ้นหรอก...

ที่ผมชอบใจว่าเป็นคำกลางๆ ก็คือว่า ไม่ได้บอกว่าเป็นทางสายใหญ่ที่ทอดไปสู่ที่ไหนครับ จะขึ้นข้างบนหรือลงข้างล่างก็ได้ สุดแต่กรรมนะโยม
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 19:34

 ภาษาอารบิก คำสุภาพใช้แก่คนที่ตายไปแล้ว เรียกว่า อัล มาร์ฮุม อันแปลว่า "ผู้ไปสู่พระกรุณาของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว"

มีกระทู้แถวๆ นี้อันหนึ่ง ถามเรื่องเต็งกู ซะฟียะห์ นัยว่า เป็นเจ้าจอมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งผมก็ยังไม่รู้ว่าท่านผู้นี้เป็นใครเหมือนกัน รู้แต่ว่าถ้าดูจากชื่อเต็มของท่านที่คุณ Nuchana ไปค้นมา เต็งกูซะฟียะห์ เป็นธิดา (Binti ถ้าเป็นบุตร มลายูเรียก Bin) ของสุลต่านองค์หนึ่ง ทรงพระนามโมฮัมมัด แห่งเมืองอะไรก็ไม่ได้ระบุไว้

สุลต่านองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว (แน่ละครับ ตั้งเป็นร้อยปีมาแล้วนี่ครับ) จึงมีคำนำหน้าชื่อว่า อัล-มาร์ฮูม ปรากฏในข้อมูลที่คุณ NUchana ค้นมานั่นเอง
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 11:07

 ที่ถามว่า "พระองค์จุลฯ ทรงเขียนตอนหนึ่งว่า... ทูลกระหม่อมอาแดงทรงสิ้นพระชนม์เมื่ออายุเท่ากับ
ทูลกระหม่อมพ่อของข้าพเจ้าเสด็จทิวงคต.... ในเมื่อทูลกระหม่อมฯทั้งสองเป็นเจ้าฟ้าชั้นสูง
เหมือนกัน ทำไมถึงไม่ใช้ราชาศัพท์คำเดียวกันคะ
(อ้อ..เมื่อจะทิวงคต ใช้ทรงทิวงคตได้ไหม ทำไม่ต้องเสด็จด้วยคะ)"

ประเด็นที่ว่า "...ในเมื่อทูลกระหม่อมฯทั้งสองเป็นเจ้าฟ้าชั้นสูง
เหมือนกัน ทำไมถึงไม่ใช้ราชาศัพท์คำเดียวกันคะ..."

ถึงแม้ว่าทั้งสองพระองค์จะทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อมเหมือนกัน  แต่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถนั้นทรงเป็นรัชทายาทในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  และได้รับพระราชทานเฉลิมพระยศเมื่อสิ้นพระชนม์แล้วเป็น สมเด็จพระอนุธิราช ซึ่งเป็นพระอิสริยศักดิ์พิเศษสำหรับพระรัชทายาทเทียบได้กับสมเด็จพระมหาอุปราชในสมัยโบราณ  จึงโปรดให้ใช้ทิวงคตแทนสิ้นพระชนม์  พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระยศพิเศษยังมีอีก ๒ พระองค์ คือ
๑) สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสีมา ซึ่งได้ทรงเป็นพระรัชทายาทต่อจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
๒) สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพัณธุวงศ์วรเดช  พระบรมวงศ์พระองค์นี้ทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาร่วมพระราชชนีกับพระยาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเฉลิมพระยศเป็นจอมพล จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นที่สุดสำหรับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แล้วแล้ว  ถึงรัชกาลที่ ๗ จึงทรงเฉลิมพระยศเป็น สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข  ซึ่งเทียบเท่ากรมพระราชวังสถานภิมุข หรือกรมพระราชวังหลัง เป็นการเพิ่มพระเกียรติยศพิเศษ
ทั้งสองพระองค์นี้  ใช้เสด็จทิวงคต  และที่ไม่ใช้ทรงทิวงคตนั้น  เพราะ "ทิวงคต" เป็นราชาศัพท์ที่แสดงกิริยาว่า "ตาย" จึงไม่ใช้ทรงซ่อนราชาศัพท์  แต่ใช้ว่าเสด็จทิวงคต แทน

ส่วนคำว่า "พิราลัย" นั้น  แต่เดิมจะใช้กับ พระเจ้าหรือเจ้าประเทศราช  และขุนนางไทยที่ได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏเป็นสมเด็จเจ้าพระยา เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ในรัชกาลที่ ๔  และ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในรัชกาลที่ ๕  นอกจากนั้นยังมี เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ  บุนนาค) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเกียรติยศพิเศษเสมอด้วยสมเด็จเจ้าพระยาอีกท่านหนึ่ง

คำว่า "อสัญกรรม" นั้น  ในสมัยก่อนใช้กับท่านที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และเครื่องยศชั้น "เจ้าพระยา" ต่อมาได้ใช้กับผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า  เพราะตามธรรมเนียมเดิมนั้นผู้ที่ได้เป็น เจ้าพระยานั้นจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าเป็นเครื่องยศด้วย  (แต่ในปัจจุบันผมก็ไม่ทราบว่า กองพระราชพิธี  สำนักพระราชวัง ท่านถือธรรมเนียมอย่างไรจึงใช้อสัญกรรมกับรัฐมนตรีที่เสียชีวิตในระหว่างดำรงตำแหน่งแม้จะมิได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า  แต่อดีตรัฐมนตรีที่ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า เช่น ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล ท่านลงในหมายรับสั่งว่า อนิจกรรม)  นอกจากนั้นยังใช้อสัญกรรมกับเจ้าจอมมารดาในพระมหากษัตริย์ด้วย

ตรงนี้ขออนุญาตออกนอกเรื่องหน่อยครับ คือ เจ้าจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นเจ้าจอมมารดาในสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรี พระเทวี ถึงแก่กรรมนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรับพระราชธุระจัดการศพโดยตลอดและโปรดให้ใช้ถึงแก่พิราลัย แต่เมื่อเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ในรัชกาลที่ ๔ (ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้สถาปนาอัฐิขึ้นเป็น สมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา) ซึ่งทรงเป็นเจ้าจอมมารดาของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ในรัชกาลที่ ๕ ถึง ๓ พระองค์ และทรงเป็นพระอัยกี หรือยายของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ถึงสองพระองค์  ได้กราบถวายบังคมลาถึงแก่กรรมนั้น  ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว  หาได้มีพระราชกระแสให้จัดการศพใดๆ เหมือนคราวเจ้าจอมมารดาสำลี  สมเด็จพระเจ้าบรมว.ศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่และทรงเป็นพระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทั้งสามพระองค์  จึงได้ทรงมีลายพระหัตถ์ในนามเจ้าคุณจอมมารดาขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาไปสู่ปรโลก  แทนถวายบังคมลาถึงแก่พิราลัยหรืออสัญกรรมตามเกียรติยศ    

ส่วนคำว่า "อนิจกรรม" นั้นสมัยก่อนท่านให้ใช้กับผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา  แม้จะมิได้รับพระราชทานพานทองเป็นเครื่องยศก็ให้ใช้อนิจกรรมได้เหมือนกันหมด  ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการใช้คำว่าอนิจกรรมกับผูที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายหรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ซึ่งได้รับพระราชทานโต๊ะทองเป็นเครื่องยศ  ทั้งนี้โดยเทียบตามเกณฑ์สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ผู้ที่จะได้รับพระราชทานสายสะพายหรือโต๊ะทองเครื่องยศนั้นต้องได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาแล้ว  อีกประการในช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้นช้าราชการที่จะมีสิทธิได้รับพระราชทานสายสะพายนั้นเห็นจะมีเฉพาะระดับอธิบดีที่เป็นข้าราชการชั้นพิเศษเท่านั้น  รองอธิบดีและผู้ว่าราชการจังหวัดประเทศยังเป็นเพียงข้าราชการการชั้นเอกอยู่เลย  แต่ถ้าเอาเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้กับปัจจุบันที่มีข้าราชการ ซี๙ ๑๐ ๑๑ เต็มบ้านเต็มเมืองก็ดูจะเฝทิไปสักหน่อย

ข้ออนุญาตออกนอกเรื่องอีกทีครับ  สำหรับข้าราชการชั้นเอกที่ได้รับพระราชทานสายสะพายที่ผมรู้จักและเป็นผู้ใหญ่ที่ผมเคารพ  เห็นจะมีชอยู่ท่านเดียวละครับ คือ คุณเศวต  ธนประดิษฐ์ อดีตที่ปรึกษาสำนักพระราชวังซึ่งเพิ่งถึงอนิจกรรมไปไม่นานมานี้  สิริอายุของท่านได้ ๙๗ ปี ท่านผู้นี้ได้รับราชการในกรมพระราชพิธี กระทรวงวังมาแต่ต้นรัชกาลที่ ๖  จนเกษียณราชการในรัชกาลปัจจุบัน  แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่ออายุราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ สำนักพระราชวัง  เรื่อยมาจนถึงแก่อนิจกรรม  เมื่อก่อนที่ท่านจะถึงอนิจกรรมนั้นผมยังเคยล้อท่านว่า  ถ้ามีหนังสือขึ้นไปกราบบังคมทูลว่า ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาถึงแก่อนิจกรรม  แล้วเกิดไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาตจะทำอย่างไร  เพราะเสียดายความรู้ท่ท่านสั่งสมเอาไว้  ท่านก็ได้แต่หัวเราะ
ท่านผู้นีเมื่อเกษียณราชการนั้นเป็นข้าราชการในพระองค์ชั้นเอก  ได้รับพระราชทานประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนก็เป็นพระยาพานทองแล้วครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 12:00


.
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 00:39

 ส่วนในตำนานต่าง ๆ ที่กล่าวถึง "พระญา" เจ้าเมือง มักจะเรียกว่า "จุติ"

เหมือนการตายของเทวดาเลยครับผม หรือว่านั่นเป็นการนับถือกษัตริย์ว่าเทียบเท่าเทวดา?ครับ
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 04:31

 ขอบคุณคุณหลวงนิลฯเรื่อง แดหวา-เทวา และคุณศรีปิงเวียงเรื่อง สมเด็จเจ้าพระยา ค่ะ

Valhalla บางครั้งก็เรียก Valholl ค่ะ ดิฉันเข้าใจว่าถึงแม้จะมีความหมายว่า ที่อยู่ของผู้กล้า เหมือนกัน แต่ พิริยาลัย เป็นราชาศัพท์ใช้กับบุคคลต่างๆทั้งหญิงและชายดังที่คุยกันไว้ข้างบน แต่ วัลฮัลลา เป็นที่อยู่ของวีรบุรุษหรือ heroic dead ที่เป็นนักรบ ตรงกับความหมายของ ผู้กล้า จริงๆนะคะ

สันนิษฐานเองต่อว่าวัลฮัลลาน่าจะมีแต่นักรบผู้ชายค่ะ...แต่จะมีสาวๆแบบเพลง ออกศึกข้านึกแต่รบๆ เสร็จศึกข้านึกแต่รักเจ้าเท่านั้น...หรือเปล่าก็ไม่ทราบนะคะ

จุติ คือการตายเพื่อไปเกิด เป็นลักษณะการตายหรือการละจากภพหนึ่ง ไปยังอีกภพหนึ่ง เป็นลักษณะการตายของเทวดาใช่ไหมคะ ดิฉันเข้าใจถูกหรือเปล่าคะ อาจารย์เทาชมพู?

คุณศศิศ ความเชื่อตั้งแต่สมัยอยุธยา (รับมาจากขอม?) ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพอยู่แล้วนี่คะ ดังนั้นการใช้ราชาศัพท์ที่เทียบเท่ากับเทวดาจึงเป็นไปได้อยู่แล้ว คงมีอีกหลายคำ แต่ตอนนี้นึกไม่ออก (กำลังมึนค่ะ เมื่อคืนนอนสามชั่วโมงเท่านั้น)
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 08:11

 ขออนุญาตมาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง  "พิราลัย" ครับ

ผมเข้าใจว่าตำแหน่ง  "นายกรัฐมนตรี"  ไม่ได้มีศักดิ์เทียบเท่ากับขุนนางชั้น  "สมเด็จเจ้าพระยา"  นะครับ  แต่น่าจะอนุโลมได้กับตำแหน่งสมุหนายก  หรือสมุหพระกลาโหม  อัครมหาเสนาบดีในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ที่มีบรรดาศักดิ์เป็น  "เจ้าพระยา" ครับ  ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงถึงแก่กรรมจึงใช้คำว่า  "พิราลัย"  ไม่ได้

และดังที่เข้าใจกันว่าในปัจจุบันบุคคลที่ได้รับพระราชทาน  "นพรัตน์ราชวราภรณ์"  มีศักดิ์เท่ากับ  "สมเด็จเจ้าพระยา"  ก็ไม่ได้ใช้คำว่า  "ถึงแก่พิราลัย"  แต่อย่างใด  เช่น  จอมพลสฤษดิ์  ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง  ทั้งยังได้รับพระราชทานนพรัตน์ฯ  แม้จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวที่งานศพได้รับพระราชทานเกียรติยศสูงสุด  แต่ก็ไม่ได้ใช้คำว่าพิราลัยแต่อย่างใดครับ

อย่างไรก็ตามมีขุนนางท่านหนึ่ง  ซึ่งถึงแม้จะมีบรรดาศักดิืเป็นเพียง  "เจ้าพระยา"  แต่ก็โปรดให้ใช้คำว่า  "พิราลัย"  เพราะท่านเป็นที่สมเด็จเจ้าพระยาวังหน้าครับ  ขุนนางท่านนี้ก็คือ  "เจ้าพระยาอภัยราชา  (ปิ่น)

สำหรับบุคคลล่าสุดที่ได้ใช้คำว่า  "พิราลัย"  เมื่อถึงแก่ความตาย  คือ  หม่อมหลวงบัว  กิติยากร  พระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถครับ  ทั้งนี้เพราะทรงมีศักดิ์เสมอด้วย  "เจ้าจอมมารดา"  ในฐานะที่ทรงเป็นขรัวยายเจ้าฟ้าครับ
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 10:54

 ดูสิดิฉันพิมพ์ พิริยาลัย แทนที่จะเป็น พิราลัย ขอแก้ไขนะคะ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 11:03

 ผมกำลังคิดอยู่ว่าจะตั้งกระทู้ใหม่เรื่องเครื่องราชฯดีหรือไม่....แต่เอาเป็นว่าขอร่วมเสวนาในกระทู้นี้ก่อนนะครับ....

สืบเนื่องจากคุณ V_Mee และคุณหยดน้ำให้ข้อมูลมา ผมสรุปได้ว่า

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคล นพรัตน์ราชวราภรณ์ มีศักดิ์เทียบกับระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ "สมเด็จเจ้าพระยา"

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ขึ้นไปมีศักดิ์เทียบกับระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ "เจ้าพระยา" (มีสองชั้นคือ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ กับ ปฐมจุลจอมเกล้า)

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ขึ้นไปมีศักดิ์เทียบกับระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ "พระยา" (มีสามชั้นก่อนเลื่อนเป็น เจ้าพระยา คือ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ทุติยจุลจอมเกล้า และ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ)

ดังนั้นเมื่อผมทำการค้นคว้าข้อมูลนิดหน่อย ....ผลปรากฎว่า

พณฯ ท่านประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคล นพรัตน์ราชวราภรณ์ ซึ่งเทียบชั้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยา .....เพราะสามารถเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์ได้ เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญระบุให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการ ในกรณีที่บัลลังก์ว่างลง และเป็นประธานเสนอให้รัฐสภา กราบบังคมทูลรัชทายาทหรือผู้มีศักดิ์และสิทธิ์ขึ้นสืบบัลลังก์ต่อไป

พณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ดร. ทักษิน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดคือ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ซึ่งมีศักดิ์เทียบเป็นพระยา (ชั้นสุดท้ายก่อนเป็นเจ้าพระยา)

ผมถามคำถามไว้เอง...แล้วคุณ B กรุณามาช่วยตอบ ร่วมกับท่านผู้รู้ที่ผมเอ่ยถึงข้างบน......สรุปก็คือ ผมได้คำตอบแล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 11:09

 จุติ   (บาลี และสันสกฤตใช้ตรงกันว่า  จฺยุติ)
พจนานุกรมของราชบัณฑิตฯ ให้ความหมายว่า
"เคลื่อน, เปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีกกำเนิดหนึ่ง
มักใช้แก่เทวดา"
ค่ะคุณ B
สุขสันต์วันวาเลนไทน์นะคะ

ป.ล. ปิดคอมพ์แล้วไปนอนเอาแรงเสียเถอะค่ะ  เดี๋ยวจะผอมยิ่งกว่านี้
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 11:48

 อ่านคำว่า พิริยาลัย แล้ว ชวนให้นึกถึงชื่อโรงเรียนสำคัญในมณฑลพายัพหรือภาคเหนือของเราในเวลานี้ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อไว้คือ

จ.ลำปาง - โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย มาจากนาม เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

จ.ลำพูน  - โรงเรียนจักรคำคณาธร  มาจากนาม เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย

จ.แพร่    - โรงเรียนพิริยาลัย  มาจากนาม เจ้าพิยเทพวงศ์  เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย  สำหรับนามนี้มีข้อน่าสังเกตว่า เมื่อพระราชทานนามโรงเรียนประจำจังหวัดแพร่นั้น  เมืองแพร่ไม่มีเจ้าผู้ครองนครแล้ว  เพราะเจ้าพิริยเทพวงศ์ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่หลวงพระบางกว่า ๑๐ ปีแล้ว  ตั้งแต่คราวกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ พ.ศ.๒๔๔๕



แต่ที่เมืองเชียงใหม่เวลานั้น เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองนคร  ทั้งได้อุทิศที่ดินและไม้จากโรงละครเก่าของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ที่เพิ่งพิราลัยให้ไปสร้างโรงเรียนตัวอย่างประจำเมืองนครเชียงใหม่  แต่เมื่อพระราชทานนามโรงเรียนนี้กลับพระราชทานว่า "โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย"  อันมีความหมายว่า เป็นโรงเรียนของสมเด็จพระยุพราช คือ รัชกาลที่ ๖ ซึ่งเวลาน้นยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร  และพร้อมกันนั้นยังได้พระราชทานชื่อโรงเรียนของมิชันนารีอเมริกันให้มีความหมายเดียวกันว่า "The Prince's Royal College"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง