เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 28596 ราชาเจ้าสำราญ : ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (2)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 09:54

 ราษฎรรักพระเจ้าชาร์ลส์   แม้ว่าตอนกลางๆ และปลายๆรัชกาล มีมรสุมทางการเมืองหลายครั้งกระหน่ำบัลลังก์สะเทือน
แต่ราษฎรสนับสนุนพระราชามากกว่านักการเมือง  พระเจ้าชาร์ลส์ก็เลยเป็นฝ่ายชนะ

พระองค์เป็นคนที่มีบุคลิกมีเสน่ห์ พระนิสัยร่าเริงเป็นกันเองง่าย  ไม่ถือพระองค์  
ทรงปกครองประเทศอย่างผ่อนคลายไม่ตึงเครียด  ไพร่ฟ้าก็หน้าใสกันพอประมาณ  ไม่ต้องหน้าบึ้งตึงถมึงทึงอย่างสมัยครอมเวลล์

Restoration เป็นยุคของสีสันบันเทิง ไม่ว่าเรื่องละคร เพลง แต่งกาย ล้วนฟู่ฟ่า หรูหรา  สนุกสนาน  
(ดูฉลองพระองค์ของพระเจ้าชาร์ลส์และชุดของบรรดานางในราชสำนักเป็นตัวอย่างสิคะ)  

ศีลธรรมจรรยาก็ค่อนข้างหย่อนยาน  และยืดหยุ่นง่ายกว่าสมัยก่อนๆ  
คนชั้นสูงสมัยนี้มักมองเรื่องผิดศีลธรรมด้วยอารมณ์ขันมากกว่าจะซีเรียส เอาเป็นเอาตาย

ละครแนวสุขนาฏกรรม(comedy) ในสมัยนี้เฟื่องฟูสูงสุด     ถ้าดูละครพวกนี้จะสะท้อนเห็นค่านิยมของคนชั้นสูงในยุคนั้น ว่าเขาอยู่กันเฮฮา สนุกสนาน โต้ตอบกันด้วยปฏิภาณไหวพริบเฉียบคม

มีคำในวรรณคดีและการละครคำหนึ่ง
ที่เรียกได้ว่าเป็นคำแทนยุค Restoration คือ คำว่า wit
เป็นวิเศษณ์ใช้ว่า witty

wit แปลว่าเชาวน์ ปฏิภาณ อะไรทำนองนี้   แต่ wit ในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ มีมากกว่านั้น
คือความเฉียบแหลมคมคายในด้านความคิด การพูดจา อารมณ์ขัน รื่นเริง
มองโลกด้วยความเข้าใจทุกเหลี่ยมมุมของความไม่ดีไม่งาม
แต่ไม่เอาเป็นเอาตายกับมัน   กลับเห็นเป็นเรื่องเอามาล้อเลียนเฮฮาร่าเริงกันได้

ตัวอย่างบทละครที่แสดงให้เห็น wit ของตัวละครชัดๆก็อย่างเรื่อง School for Scandals และ The Rivals ของ Sheridan
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลงเป็นเรื่องไทย ชื่อ นินทาสโมสร และ ชิงนาง
ทรงดำรง wit ในเรื่องไว้ได้อย่างครบถ้วนและคมคาย
น่าจะไปเสาะแสวงหามาอ่านค่ะ  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 12:24

 ยามศึกเรารบ ยามสงบของพระราชามีแต่เรื่องในมุ้งนะคะ 555+
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 09:51

ไม่ละมั้งครับคุณพี่ ผมคิดว่าพระเจ้าชาร์ลคงทำอย่างอื่นด้วยครับ (ไม่กล้าพิมพ์)
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 10:17

 คุณศรีปิงเวียงตอบคุณนุชนา เหมือนกับว่าพระเจ้าชาร์ลส์เองก็ทรงทำคุณงามความดีอย่างอื่นด้วย ไม่ใช่มีแต่เรื่องในมุ้ง
เลยมางงกับข้อความในวงเล็บ  ถ้าเป็นเรื่องดีทำไมไม่กล้าพิมพ์ล่ะคะ
หรือว่าทรงทำอะไรที่เสียหายหนักกว่านี้
*********************************************
แม้ว่าพระเจ้าชาร์ลส์เป็นที่รักของประชาชน   แต่ก็มีอยู่เรื่องหนึ่งที่หลายฝ่ายในบ้านเมืองรู้สึกกังวลเกี่ยวกับพระองค์มากขึ้น ตามวันเวลา  

พระเจ้าชาร์ลส์มีพระชนม์สูงขึ้นทุกที   ย่างเข้าวัยชรา   และทรงปฏิเสธที่จะหย่าขาดจากพระนางแคทเธอรีน  ก็เท่ากับว่าทรงปิดประตูที่จะมีเจ้าฟ้าที่เป็นรัชทายาทอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ปัญหาที่พระญาติพระวงศ์ เสนาบดี และราษฎรหันหน้ามาถามกันและกันก็คือ...ใครจะสืบราชบัลลังก์ต่อไปเมื่อสิ้นรัชกาลแล้ว

ความตึงเครียดก่อตัวขึ้นเมื่อบุคคลที่อยู่ในข่าย  มี 2 คนด้วยกัน ทำให้เสียงสนับสนุนแตกเป็น 2 ฝ่าย

ฝ่ายแรกคือสนับสนุนพระอนุชาของพระเจ้าชาร์ลส์ คือเจ้าชายเจมส์ ดยุคแห่งยอร์คขึ้นเป็นกษัตริย์    
เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ไม่มีโอรสธิดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็เท่ากับไม่ทรงมีโอรสธิดาเลยสักคน  ราชบัลลังก์ย่อมสืบทอดไปสู่น้องชายของพระองค์ตามประเพณี
พระเจ้าชาร์ลส์เป็นฝ่ายนี้    ทรงสนับสนุนพระอนุชาให้ครองราชย์ต่อจากพระองค์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 10:28

 พระรูปเจ้าชายเจมส์

เจ้าชายเจมส์ทรงอาภัพอย่างหนึ่งคือไม่เป็นที่นิยมของราษฎร  ไม่ใช่เพราะทรงเป็นบุรุษเจ้าสำราญหรือว่าประพฤติองค์เสียหายยังไง
แต่เป็นเพราะทรงนับถือคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิค ซึ่งเป็นนิกายที่ราษฎรส่วนใหญ่ซึ่งเป็นโปรแตสแตนท์ไม่ชอบเอามากๆ

ฝ่ายที่กลัวว่าเจ้าชายเจมส์ขึ้นครองราชย์แล้วจะสนับสนุนให้คาทอลิคมีอำนาจเหนือโปรแตสแตนท์  
ก็มองผ่านเจ้าชายเจมส์ไปเล็งที่พระโอรส(นอกกฎหมาย)คนใหญ่ของพระเจ้าชาร์ลส์
เขาคือลูกชายของลูซี วอลเตอร์  ชื่อเจมส์ มีบรรดาศักดิ์เป็นดยุคแห่งมอนมัธ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 10:32

 ดยุคแห่งมอนมัธเป็นชายหนุ่มหน้าตาหล่อเหลา บุคลิกสง่างาม  มีกิริยามารยาทน่าชมสมกับที่ได้รับการอบรมมาอย่างผู้ดีตั้งแต่เล็ก    
ซ้ำยังเป็นทหาร เคยรบชนะข้าศึกมาแล้วอีกด้วย
ทำให้ขุนนางหลายคนเช่นเอิร์ลแห่งแชฟท์เบอรี่พยายามจะเกลี้ยกล่อมพระเจ้าชาร์ลส์ให้ทรงรับโอรสคนนี้เป็นพระโอรสถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเขาจะได้มีสิทธิ์สืบราชบัลลังก์
แต่พระองค์ก็ไม่ทรงคล้อยตาม

ข่าวลือเรื่องพวกคาทอลิคพยายามลอบปลงพระชนม์พระราชาเพื่อจะยกเจ้าชายเจมส์ขึ้นครองราชย์  
ทำให้พระเจ้าชาร์ลส์เนรเทศทั้งพระอนุชาและโอรสคนนี้ไปอยู่ในยุโรป จนกระทั่งเรื่องสงบลง การสอบสวนแสดงผลออกมาว่าไม่ใช่เรื่องจริง
แต่เมื่อมอนมัธกลับมาอังกฤษโดยไม่ได้รับพระราชานุญาต พระราชาก็กริ้ว ทรงห้ามไม่ให้เหยียบเข้ามาในราชสำนัก
แต่มอนมัธกลับได้รับความนิยมจากชาวลอนดอนและประเทศตะวันตกอื่นๆมากกว่าเจ้าชายเจมส์เสียอีก  
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 14 ก.พ. 06, 19:14

ไม่ได้เข้ามาอ่านซะนาน อ่านรวดเดียวจบ สนุกมากครับ ขอบคุณอาจารย์จริงๆ
ผมมายืนยันว่าฝรั่งบางคนมีตาที่เปลี่ยนสีได้ตามมุมจริงๆอย่างที่อาจารย์เล่า เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นชาวสเปน เวลาเธอมองเราก็จะเห็นเป็นสีน้ำตาล แต่พอเธอมองคนอื่น หรือเรามองตาเธอจากด้านข้าง ตาเธอจะเป็นสีเขียวน้ำทะเล
นัยน์ตาฝรั่งนี่ มองจังๆทำให้ระทวยไปได้เหมือนกัน มิน่าเล่าเราถึงเสียดุลบุคลากรให้แก่ฝรั่งตาน้ำข้าวมานักต่อนัก หึหึหึหึ


อ่านเรื่องสนมพระเจ้าชาร์ลส์แล้ว  ผมว่ามันบอกอะไรเหมือนกันนะ ถ้าเรามองในเชิงชีววิทยา คนที่มีอารมณ์ความใคร่สูงมักจะเป็นคนที่มีพลังชีวิตเข้มข้น มักใหญ่ใฝ่สูง ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ และมักจะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต
ดูสิ บรรดากวี นักดนตรี นักปราชญ์ ฯลฯ ต่างมีจุดเริ่มต้นมาจากแรงขับดันทางเพศทั้งนั้น จึงไม่แปลกที่พระเจ้าชาร์ลส์จึงสามารถเป็นทั้งยอดคนและยอดนักรักได้ในเวลาเดียวกัน

อ้อ อาจารย์ครับ อาจารย์อธิบายความหมายของคำว่า witty ได้โดนใจมากๆครับ สำหรับผมผู้หญิงที่ witty นี่มีเสน่ห์มากๆครับ ถ้าได้อยู่ใกล้ๆไม่เคยเบื่อเลย ถ้าเป็นเพื่อนเพศเดียวกันก็จะเป็นไอ้เกลอกันเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 ก.พ. 06, 10:04

 ถ้าคุณนุชนาเข้ามาอ่านที่คุณศรีปิงเวียงชี้แจงแล้ว  ช่วยบอกด้วยค่ะ ดิฉันจะได้ลบคห. ที่ถามตอบกันออกไป

เมื่อวานเป็นวันวาเลนไทน์ ไม่รู้ว่าคุณ paganini ได้ส่งกุหลาบแดงให้สาว witty คนไหนหรือยัง
ถ้ายังหาไม่เจอ   ก็ขออวยพรให้ได้สบตาพาระทวยก่อนวาเลนไทน์ปี 2007 นะคะ
***********************************
มาต่อเรื่องมอนมัธ
แรงสนับสนุนมอนมัธนำไปสู่แผนที่มีชื่อว่า  Rye House Plot คือมีบุคคลกลุ่มหนึ่งวางแผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์และเจ้าชายเจมส์
ขณะเสด็จไปตามเส้นทาง ผ่าน Rye House ในแคว้นเฮิร์ดฟอร์ดเชียร์ ตามเส้นทางถนนจากนิวมาร์เก็ตไปลอนดอน

คนที่วางแผนคือลอร์ดแชฟท์เบอรี่ผู้สนับสนุนมอนมัธ   ขั้นต่อไปกล่าวกันว่าจะยกมอนมัธขึ้นมาแทน
แต่เกิดความผิดพลาด พระเจ้าชาร์ลส์เกิดไม่ได้เสด็จในวันนั้น  แผนแตกขึ้นมา
ทำเอาลอร์ดวิลเลียม รัซเซล หัวหน้าพรรควิกและอัลจีนอน ซิดนีย์นักการเมืองสำคัญถูกจับไต่สวนและตัดสินประหาร
ในฐานะผู้มีส่วนรู้เห็นทั้งๆไม่ใช่ตัวการลงมือ    ส่วนมอนมัธต้องลี้ภัยไปอยู่ที่เนเธอร์แลนด์

ภาพวาดนี้คือพระเจ้าขาร์ลส์และเจ้าชายเจมส์ เสด็จไปด้วยกัน
.
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 ก.พ. 06, 10:08

 บรรยากาศในตอนปลายรัชสมัยเข้าสู่ความอึมครึมทางการเมือง   คลายจากความร่าเริงบันเทิงใจอย่างเมื่อตอนต้นและกลาง
พระเจ้าชาร์ลส์เสด็จสู่สวรรคาลัยในอีก 2 ปีต่อมา   ในเดือนก.พ. 1685 ด้วยอาการแทรกซ้อนหลังเส้นเลือดในสมองตีบ   ไม่กี่นาทีสุดท้ายทรงทำสิ่งที่ปรารถนามาตลอดชีวิตคือรับศีลแสดงตนเป็นคาทอลิค   ไม่ใช่โปรแตสแตนท์   แต่ได้ทรงประวิงเวลามาตลอด
เพื่อความมั่นคงของราชบัลลังก์และป้องกันการจลาจลในแผ่นดิน

แล้วรัชสมัยที่ชาวอังกฤษต่อๆมา เรียกว่า Merry Ole England ก็จบสิ้นลง  เพียงแค่นั้น  
สิ่งที่ก่อตัวขึ้นคือความน่าสะพรึงกลัวและความยุ่งยากทางการเมืองที่มีผลยืดเยื้อต่อมายาวนานเกินกว่าใครจะคาดคิด

ป.ล. คำว่า ole เป็นภาษาเก่าของคำว่า old ค่ะ  
Merry Ole England มีนัยคล้ายกับคนไทยเรียกกรุงศรีอยุธยาในยุคก่อนเสียกรุงครั้งที่สองว่า "เมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี"

ภาพข้างบนนี้คืออนุสาวรีย์พระเจ้าชาร์ลส์ อยู่ที่ Figure Court of the Royal Hospital Chelsea.  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 ก.พ. 06, 10:16

 เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับสมัย Restoration

- ชื่อนคร New York แต่เดิมคือ New Amsterdam มาเปลี่ยนเป็นนิวยอร์ค ตามพระนามของเจ้าชายเจมส์ ดยุคแห่งยอร์ค พระอนุชาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2
- พระราชินีแคทเธอรีนทรงเป็นผู้นำประเพณีการดื่มน้ำชา มาสู่อังกฤษจนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย   คนอังกฤษ อะไรๆก็ต้องดื่มชา  เหนื่อยกลับบ้านก็ดื่มน้ำชา  พบปะเพื่อนฝูงก็เลี้ยงน้ำชา   หนุ่มสาวจีบกันก็นัดไปดื่มน้ำชา   ฯลฯ
- เจ้าหญิงไดอาน่า ทรงสืบเชื้อสายมาจากโอรสนอกกฎหมายสองคนของพระเจ้าชาร์ลส์  
คือดยุคแห่งกราฟตัน ลูกชายของเลดี้คาสเซิลเมน และดยุคแห่งริชมอนด์  ลูกชายของหลุยส์ เดอ คารูอาล,

ถ้าใครอยากทราบว่าสืบกันมาเป็นทอดๆยังไงกรุณาค้นหาในกูเกิ้ลเอง   ดิฉันไปหามาแล้วได้รายชื่อมายาวเหยียดซึ่งไม่เป็นที่รู้จักของคนไทย   เอามาลงก็จำไม่ได้อยู่ดี  
สรุปง่ายๆว่าท่านดยุคทั้งสองต่างก็มีลูกหลานเหลนสืบสายมาไม่ขาด จนถึงปัจจุบัน
ดังนั้นเจ้าชายวิลเลียม หากได้ขึ้นครองราชย์ ก็จะเป็นกษัตริย์อังกฤษพระองค์แรกที่สืบเชื้อสายราชวงศ์สจ๊วต ผ่านทางพระมารดา
- Restoration เป็นยุคแรกที่นำผู้หญิงมาเล่นละครเป็นละครชายจริงหญิงแท้  ก่อนหน้านั้นมีแต่ผู้ชายเหมือนละครนอกของเรา

- พวกพิวริตัน (คือผู้นับถือคริสตศาสนานิกายเดียวกับโอลิเวอร์ ครอมเวลล์) เกลียดพระเจ้าชาร์ลส์มาก
เห็นว่าทรงเป็นปรปักษ์ตัวร้ายของหลักการสมรสที่ควรอยู่กันแบบคู่ผัวตัวเมียอย่างซื่อสัตย์    
พวกนี้อึดอัดมากกับการอยู่ในสังคมโปรแตสแตนท์ของอังกฤษ  จึงอพยพ
มาอยู่ที่อเมริกา   ตั้งถิ่นฐานอยู่มากทางนิวอิงแลนด์ มีศูนย์กลางที่บอสตัน
ประพฤติตัวเคร่งครัดในศาสนาอย่างมาก    ไม่มีการยืดหยุ่น    
สิ่งนี้นำไปสู่กรณีโศกนาฏกรรมสำคัญ คือการพิพากษาโทษผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดในคดีแม่มดแห่งซาเล็ม  
อาเธอร์ มิลเลอร์ นักเขียนบทละครชาวอเมริกัน นำไปแต่งบทละครเรื่อง The Crucible
อาจารย์ผู้สอนวิชาวรรณคดีอเมริกันนำมาให้นิสิตอักษรศาสตร์อย่างดิฉันอ่านด้วยความทรมานใจพอสมควร เพราะตอนนั้นไม่รู้ภูมิหลังสังคมอเมริกัน
- แม้ได้ชื่อว่าเป็น Merry Ole England  รัชสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ก็ใช่ว่าร่าเริงบันเทิงใจอยู่ตลอด  มีภาวะประสบภัยอย่างหนักอยู่ 2 เรื่อง  
คือกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ทำเอาคนล้มตายกันไปครึ่งค่อนเมืองในปี 1665 บางสัปดาห์จำนวนผู้ตายมีมากถึง 7000 กว่าคน
ว่ากันว่าเกิดจากหนูกับหมัดที่ติดมากับเรือสินค้าจากฮอลแลนด์  มาแพร่เชื้อในเมือง  
ปีต่อมา   คือ ค.ศ. 1666   ก็เกิดเคราะห์ซ้ำกรรมซัด  ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน
แม้ว่าไฟครั้งนี้ช่วยกวาดล้างกาฬโรคให้หมดไปจากลอนดอนก็จริง
แต่ก็เผาผลาญบ้านเรือนไปประมาณ 13200 หลังคาเรือนและโบสถ์อีก 87 แห่งรวมทั้งโบสถ์เซนต์พอลด้วย
ดังภาพวาดที่นำมาลงให้ดูกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 ก.พ. 06, 10:32

 ก่อนจบกระทู้นี้ ขอทำลิ้งค์ เรื่องราวเกี่ยวกับ Restoration
ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของกระทู้  เพื่อให้ท่านที่สนใจได้ไปค้นคว้าต่อ
นอกจากนี้ ดิฉันรวบรวมจากความทรงจำด้วย จากความรู้ในห้องเรียนบ้าง
เจอในหนังสือเล่มโน้นบ้างเล่มนี้บ้าง  ดูหนังดูทีวีบ้าง
ใส่ชื่อไม่ไหว มันหลายต่อหลายเรื่อง
วันหนึ่งอาจจะเอามาแก้ไขขัดเกลาใหม่แล้วทำเป็นบทความให้วิชาการดอทคอม ถ้ามีเวลาพอ

ขอสงวนลิขสิทธิ์  ค่ะ  
เนื่องจากอ่านในเว็บไซต์ต่างๆแล้วเห็นว่าวิธีการ copy&paste มันระบาดรวดเร็วเหลือเกิน
ไม่ใช่แค่เด็กนักเรียนเอาไปส่งครูเป็นการบ้านเท่านั้น แต่เอาไปพิมพ์ขายหาเงินเข้ากระเป๋าโดยไม่ลงแรงอีกด้วย
ขอให้เห็นใจคนที่เขาอุตส่าห์รวบรวมมาให้อ่านฟรีบ้าง

แหล่งที่มา
 http://www.newsday.com/community/guide/lihistory/ny-history-
hs321,0,788035.story
target="_blank">http://en.wikipedia.org/wiki/Barbara_Villiers,_
1st_Duchess_of_Cleveland
target="_blank">http://www.britannia.com/history/charmist.html
target="_blank">http://www.answers.com/topic/catherine-of-braganza
http://en.wikipedia.org/wiki/Charles_II_of_England#The_children_of_Charles_II
target="_blank">http://encyclopedia.laborlawtalk.com/Charles_II_of_England
target="_blank">http://en.wikipedia.org/wiki/Louise_de_Keroualle
target="_blank">http://images.google.co.th/imgres?
imgurl=http://www.historicalportraits.com/SHOWIMG.ASP%3FID%
3D53212sChh4jSI87Ne7RBSlZ6Zm7tUGYw&imgrefurl=http://www.historicalportraits.com/s1.asp%3Fcat%3D17%26type%
3Ds&h=65&w=56&sz=14&tbnid=YO6V1tSPQRpjrM:&tbnh=64&tbnw=55&hl=th&start=19
&prev=/images%3Fq%3DMoll%2BDavis%26svnum%3D10%26hl%3Dth%26lr%3D%26sa%3DG
target="_blank">http://72.14.203.104/search?q=cache:W7LxgMdJIBUJ:www.historic-uk.com/HistoryUK/England-
History/Nell.htm+Lady+Castlemaine&hl=th&gl=th&ct=clnk&cd=1
target="_blank">http://www.gwu.edu/~klarsen/actors.html#ng
target="_blank">http://en.wikipedia.org/wiki/Nell_Gwyn
target="_blank">http://www.britainexpress.com/History/Cromwell_and_Restoration.htm
target="_blank">http://www.queensroyalsurreys.org.uk/queen_of_reg/catherine.html
target="_blank">http://www.britannia.com/history/monarchs/mon48a.html
target="_blank">http://en.wikipedia.org/wiki/Roger_Palmer%
2C_1st_Earl_of_Castlemaine
target="_blank">http://www.englishmonarchs.co.uk/stuart_3.htm  

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 ก.พ. 06, 08:30

ถ้าใครอยากฟังต่อถึงรัชสมัยพระเจ้าเจมส์และดยุคแห่งมอนมัธ
ช่วยมาลงชื่อด้วยค่ะ
ถ้าไม่มี ก็ขอจบเรื่องประวัติศาสตร์ราชวงศ์สจ๊วตเพียงแค่นี้
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 ก.พ. 06, 08:48

สวัสดีครับ อ. เทาชมพู มาลงชื่อด้วยคนครับ ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ใช้แหล่งอ้างอิงมากที่สุดเรื่องหนึ่ง
ผมเห็นว่า ถ้าไม่ฟังต่อ เราก็ไม่เข้าใจการเมืองอันวุ่นวายต่อไปครับ
ผมเห็นด้วยกับคำกล่าวของอาจารย์ที่ว่า สมัยนี้ การลากมาแปะวาง  copy&paste ระบาดไปไกลแม้แต่การแต่งหนังสือครับ
ส่วนจะตั้งเรื่อพระเจ้าเจมส์เป็นกระทู้ใหม่ ขัดเกลาเป็นบทความหรือไม่ สุดแต่กรณีครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
เรียมเอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 ก.พ. 06, 09:18

 เรียน อ. เทาชมพู
ดิฉันมาลงชื่อค่ะ ติดตามอ่านมาตลอด แต่ไม่ได้สำแดงตน
กลัว อ.จะ "จบเรื่องประวัติศาสตร์ราชวงศ์สจ๊วต"
มีอีกหลายคนอ่านอยู่แต่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนกลัวสอบตกมังคะ
เขียนต่อนะคะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 ก.พ. 06, 11:39

 เรื่องนี้ก็อยากฟังค่ะ แต่ถ้าตาม pecking order แล้ว อยากฟังเรื่องหวานๆของพระนางวิคตอเรียกับ
เจ้าชายอัลเบริ์ต มากกว่าค่ะ ใครเล่าสำนวนก็คงหวานสู้สำนวนอาจารย์ไม่ได้ค่ะ...อุ๊ย มดมาแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง