เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 19689 บ้านพระยาสาทร เป็นอย่างใรบ้างครับ และอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับขุนนางในรัชกาลที่5
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


 เมื่อ 05 ก.พ. 06, 09:29


กรณี บ้านพระยาสาทร ที่เห็นสมัยก่อนมีกรณีพิพาศกันว่าจะทุบหรือไม่ทุบ เพิ่งได้ทราบข่าวมาว่าขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติไปแล้ว เลยรอดจากการถูกทำลายไป

อยากทราบว่าขณะนี้ได้รับการบูรณะอะใรหรือยังครับ

และอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับบ้านพระน้ำพระยาพอสังเขปเท่าที่พวกท่านทราบก็ช่วยมาโพสถ์ลงหน่อยครับเพราะในอินเตอร์เน็ตปราศจากขอมูลเลยครับ

อย่างเช่น บ้านสุริยานุวัฒน์ บ้านพิบูลธรรม หรือบ้านพระยาท่านอื่นๆที่ถูกลืมไร้การบูรณะ มีภาพประกอบได้ยิ่งดีครับ  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ก.พ. 06, 10:30

 อย่างใร, อะใร...... ใช้ไม้มาลัย
พิพาศ...................พิพาท
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ก.พ. 06, 13:35

 พิมพ์ผิดนิดหน่อยครับ ขออภัย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ก.พ. 06, 19:14

 ชื่อที่ถูกต้องคือหลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร)ค่ะ ไม่ใช่พระยาสาทร

ถ้าคุณมาจากยมราช ข้ามสะพานลอยตรงไปทางถนนเพชรบุรี  ก่อนถึงทางเลี้ยวไปเจริญผล
คุณจะเห็นตึกเก่าแก่หลังหนึ่งทางขวามือ   ถูกบังด้วยต้นไม้ใหญ่เกือบมิด แต่ก็พอมองเห็นได้จากถนน
เป็นตึกสวยมาก ก่ออิฐถือปูน ฉาบสีส้ม  ด้านหน้ามีมุขแปดเหลี่ยมยื่นออกมา
หน้าต่างยาวจดพื้นกั้นด้วยลูกกรงปูนปั้น   เช่องโค้งบนผนัง
เดิมเป็นบ้านพระยาพรหมทัตศรีพิลาส    ต่อมาตกเป็นสมบัติของคุณหญิงฉลวย สุทธิอรรถนฤมนตรี
แต่ไม่ทราบว่าเจ้าของปัจจุบันคือใคร  เหตุใดจึงทิ้งบ้านไว้ในสภาพปิดร้าง
สถาปนิกผู้ออกแบบคือพระสาโรชรัตนนิมมานก์

อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ถนนคอนแวนต์ ค่อนไปทางถนนสาทร อยู่ทางขวามือเลยสำนักชีมืด
ปัจจุบันทำเป็นร้านอาหาร   มี 2 หลัง  หลังแรกเป็นตึก
หลังที่ลึกเข้าไปเป็นบ้านไม้ 3 ชั้น แบบยุโรป หลังคาซ้อน 2 ชั้น  ทำด้วยไม้สักทั้งหลัง
ตีฝาไม้ทางนอนซ้อนเกล็ด
เป็นการประยุกต์บ้านแบบยุโรปเข้ากับอากาศเมืองร้อนแบบไทยๆ
เดิมเป็นบ้านคุณหญิงถนิม ณ เชียงใหม่ ภรรยาเจ้ากาวิละวงศ์  
เมื่อถึงแก่กรรม ทายาทได้ขายให้คุณเล็ก ภรรยาหลวงชาติตระการโกศล อดีตอธิบดีกรมตำรวจ  ปัจจุบันมีผู้มาเช่าทำร้านอาหาร
ผู้ออกแบบคือหลวงบุรกรรมโกวิท

บ้านทั้งสองหลังเป็นสถาปัตยกรรมรุ่นปลายรัชกาลที่ 6 หรือไม่ก็รัชกาลที่ 7  ซึ่งหายากขึ้นทุกที ควรจะหาโอกาสไปดูถ้ามีเวลา
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 00:00

 หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม) กรมท่าซ้าย  เกิดเมื่อ พ.ศ.2400  ภรรยาชื่อริ้ว เป็นบุตรพระยาพิสณฑ์-
สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม) และ (ขรัวยาย) ปราง มาจากสกุลสมบัติศิริ (หลวงสาทรฯ เป็นน้องของ
เจ้าจอมมารดาอ่วม และพี่ของเจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 5) ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ 1 ชั่ง
ป่วยเป็นอหิวาตกโรคมาตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ร.ศ.114 ได้หาหมอฝรั่งมารักษา อาการหาคลายไม่
จึงเปลี่ยนให้หมอพุดเชลยศักดิ์รักษา อาการทรุดหนักลง รุ่งขึ้นวันที่ 1 พฤษภาคม หลวงสาทรฯ
ถึงแก่กรรม อายุได้ 38 ปี พระราชทานน้ำอาบศพ หีบเชิงชายเป็นเกียรติยศ

พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม) เป็นผู้ขุดคลองภาษีเจริญ และเจ้าของเรือเมล์ไปสิงคโปร์
เมื่อเจ้าสัวยิ้มถึงแก่กรรม นายยมได้สืบต่องานขุดคลอง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกอมปนีขุดคลองแลคูนามสยาม
และเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจากรัชกาลที่ 5 ในการจัดหาสิ่งของต่างๆ สำหรับใช้ในการก่อสร้าง
พระราชวังบางปะอิน จนเมื่อการก่อสร้างสำเร็จลงแล้ว ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และราชทินนามว่า
หลวงสาทรราชายุตต์

กิจการอื่นๆที่เจ้าสัวยมทำต่อจากบิดาคือการเดินเรือ การรับจ้างขนสินค้าจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังเกาะสีชัง
และจากเกาะสีชังไปสิงคโปร์ การค้ากับเมืองจีนโดยสั่งสินค้าจำพวกเครื่องมุก ลายคราม กระดาษฟาง
เข้ามาขาย แต่เจ้าสัวยมถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง 30 ปีเศษในขณะลูกๆ ยังมีอายุน้อย กิจการทั้งหมด
จึงตกอยู่ภายใต้การดูแลของ นายถมยา หรือ หลวงจิตรจำนงวานิช บุตรเขยที่มาแต่งงานกับนางสาวแช่ม
ธิดาคนโตของหลวงสาทร
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 00:05

 เมื่อหลวงจิตรจำนงวานิช ต้นสกุล รงควนิช เข้ามาสืบทอดกิจการแล้วก็ได้คิดลงทุนทำกิจการโรงสี

ตามแบบเจ้าสัวอื่นๆ นางแช่มเป็นเจ้าของนาหลายพันไร่ แถวรังสิต มีเรือขนข้าวเป็นของตระกูล

 หลวงจิตรจำนงวานิช จึงคิดทำโรงสีซึ่งมีเกือบ 10 โรง ในระยะแรก กิจการประสบความสำเร็จมาก

 โรงสีข้าวต้องทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน และความต้องการกรรมกรของโรงสีมีมากถึงขนาด

ต้องเอาเรือของห้างไปรับกรรมกรถึงเกาะไหหลำเป็นประจำเลยทีเดียว



จากนี้ หลวงจิตรจำนงก็เพิ่มกิจการทำโรงงานทำอิฐ ซื้อที่ดิน สนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารจีน-สยาม

 สนับสนุนบริษัทเดินเรือจีนสยาม และคิดทำการค้าข้าวใหญ่โต หลวงจิตรจำนงนับเป็นพ่อค้าข้าวคนแรก

ที่บุกเบิกตลาดข้าวไทยในยุโรป แต่การทำธุรกิจค้าข้าวทำได้ไม่นานก็เกิดปัญหาเนื่องจากค้าผ่านเอเยนต์

ซึ่งต้องทำสัญญาขายข้าวกันล่วงหน้าด้วยระยะเวลาที่นานเกินไป



ช่วง พ.ศ.2453 หลวงจิตรจำนงซึ่งเคยมีฐานะมั่งคั่งและมีชื่อเสียงในระดับแนวหน้าของวงการ กลับกลายเป็น

ลูกหนี้คนสำคัญ มีหนี้สินต้องจ่ายให้แก่แหล่งเงินต่างๆเช่นพระคลังข้างที่ ธนาคารจีนสยาม ฯลฯ

รวมกันแล้วถึงล้านกว่าบาท และแล้วกิจการของหลวงจิตรจำนงก็ต้องถึงแก่ 'ล้มละลาย'  



ทรัพย์สินของหลวงจิตรจำนงที่จำนองไว้กับพระคลังข้างที่คือโรงสี 2 โรง ที่ดินและบ้านอันโอ่อ่า

ณ ถนนสาทร (ต่อมากลายเป็นสถานทูตรัสเซีย) ตลอดจนทรัพย์สินต้างๆ ของตระกูลพิศลยบุตร

ต้องพลอยสูญสิ้นไปกับการล้มละลายครั้งนี้เอง




(เนชั่น 11-17 พ.ย. 45)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 00:13

 เอ...สับสนหน่อยค่ะ หลังนี้ไม่ใช่ที่อยู่แถวสาทร ตัดนราธิวาสฯ เหรอคะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 10:55


Luang Sathorn Mansion/Russian Embassy Site
ประวัติการขุดคลองสายต่างๆของหลวงสาทรในมือมียาวเหยียด
ขอเวลาอ่านยามว่างก่อนค่ะ แต่กังขาในอีกประเด็นหนึ่ง หลวงสาทรถึงแก่กรรมในปี พ.ศ 2438
แต่อาคารหลังนี้สร้างราวปี พ.ศ. 2457 แล้วจะเรียกว่า "คฤหาสน์หลวงสาทร" ได้อย่างไรคะ  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 11:02


ตึกใหญ่ ด้านหน้า
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 11:03


โถงใหญ่
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 11:05


สภาพตึกที่ถูกทิ้งร้าง หลังสถานทูตรัสเซียย้ายออกไป
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 11:06


ด้านหลัง มุมหนึ่ง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 11:09


ด้านหลังคฤหาสน์
ภาพชุดนี้มี 20 กว่ารูป จะลงหมดก็ยาวเกิน หากคุณ vun สนใจ ติดต่อหลังไมค์ค่ะ
(ขอเวลาหา link ก่อน ว่า save มาจากที่ใด)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 12:40


Another panoramic view in the back. ตึกอายุ 100 ปี หลังใหญ่ขนาดนี้ คงน่ากลัวพิลึกยามค่ำค่ะ
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 21:51

 ขอบพระคุณมากนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.036 วินาที กับ 19 คำสั่ง