เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 11076 การบัญญัติศัพท์ใหม่
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


 เมื่อ 01 ก.พ. 06, 22:53

 เรียนถามอ.เทาชมพูหน่อยนะครับ เวลาจะบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นมาใช้นี่มันมีขั้นตอนอย่างไรบ้างหรอครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 02:27

 ขณะที่รอ คุณเทาชมพู ผมขอออกความเห็นตามประสบการณ์แล้วกันนะครับ

การบัญญัติศัพท์ใหม่ ของคุณนทีสีทันดร คือ สร้างคำใหม่ขึ้นมาใช้เองหรือเปล่าครับ เช่น สร้างขึ้นมาเพื่อเขียนบทความ เขียนงานวิจัย

ผมมองว่าโดยมากจะเป็นการแปลมาจากภาษาอังกฤษ ดังนั้น อันดับแรก ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนครับว่า มีใครเคยบัญญัติไว้หรือยัง อันดับแรกคือ ราชบัณฑิตยสถาน อันดับต่อมาคือ พจนานุกรมศัพท์เฉพาะ อันดับต่อมาคือ งานวิจัย และบทความที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราจะบัญญัติ

ถ้าตรวจดูแล้ว เราเห็นว่าคำที่มีคนบัญญัติไว้นั้น เราไม่เห็นด้วย หรือ ยังไม่มีใครบัญญัติ เราก็สามารถบัญญัติขึ้นมาใช้เองได้ครับ แต่ในบทความของเราต้องอธิบายให้ดีว่า คำที่เราสร้างขึ้นมาใหม่นี้หมายความว่าอย่างไร

-----------------------------
ส่วนขั้นตอนการบัญญัติของคุณนทีสีทันดร หมายความว่า มีกระบวนการเลือกคำและความหมายอย่างไร หรือเปล่าครับ ฮืม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 02:46

 ตัวอย่างศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานที่ผมไม่เห็นด้วยครับ

lithology วิทยานิ่ว (แพทยศาสตร์)
lithology วิทยาหิน (ธรณีวิทยา)

ทั้งสองคำนี้ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมเอาคำว่าวิทยามาอยู่หน้า

ถ้าเป็นผมนะครับ ผมเห็นว่า วิทยานิ่ว ควรใช้เป็น นิ่ววิทยา หรือ นิ่วศึกษา หรือ ถ้าจะให้ดีทำไมไม่ใช้ภาษาสันกฤต-บาลีไปเลยว่า "เมหวิทยา" (เม-หะ-วิด-ทะ-ยา) เมห คือ นิ่ว

เพราะว่าอย่าง Dermatology ราชบัญฑิตยสถานยังบัญญัติว่า "ตัจวิทยา" เลยครับ ไม่ยักเป็น "วิทยาหนัง" (จริงๆ ผมก็ไม่เห็นด้วยกับ ตัจวิทยา อ่าน ตัด-วิด-ทะ-ยา ครับ ผมว่าต้องแก้เป็น ตจวิทยา อ่าน ตะ-จะ-วิท-ทะ-ยา จะไพเราะกว่า)

Geology ว่า ธรณีวิทยา ไม่ยักเป็น "วิทยาแผ่นดิน"

Archaelogy ว่า โบราณคดี ไม่ยักเป็น "วิทยาเก่า"

หรือทางธรณีวิทยา ที่ว่า "วิทยาหิน" ผมก็ไม่เห็นด้วยเพราะถ้าใช้เป็น "ศิลาวิทยา" ก็ไม่เห็นแปลก และสื่อความหมายได้มากกว่า

นี่แหละครับ ราชบัญฑิตยสถาน ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ครับ แต่ก็เป็นสถาบันแรกที่ควรนึกถึง หลังจากนั้นก็ค่อยว่ากันอีกที อิอิ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 07:36

 ขอบคุณ คุณ Hotacunus มากๆครับ
เพื่อนๆชาวเรือนไทย ที่รู้จักพวกศัพท์ที่บัญญัติขึ้นมาใหม่ แปลกๆ มาช่วยเล่าสู่กันฟังอีกนะครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 08:47

 ผมมีความรู้สึกว่า ราชบัณฑิตสาขาการแพทย์ ชอบเอาวิทยาขึ้นหน้าครับ เหมือนมีคำว่า วิทยาโรคระบาด อีกคำ (ซึ่งแต่ก่อนเคยเห็นใช้ว่า ระบาดวิทยา)

ความเข้าใจส่วนตัวผมเอง ไม่ทราบว่าเป็นเหตุผลที่ถูกต้องของผู้บัญญัติศัพท์หรือไม่ คือ ถ้าเป็นรูปบาลีสันสกฤตทั้งคู่ เช่น พยาธิ+วิทยา เป็น พยาธิวิทยา อย่างนี้ได้ แต่ถ้าคำหนึ่งเป็นภาษาไทย เช่น นิ่ว + วิทยา ดูเหมือนราชบัณฑิตจะไม่ชอบว่าผิดหลักภาษาบาลี (ซึ่งที่จริงก็ผิดจริงๆ) จึงเปลี่ยนเป็น วิทยาหิน วิทยานิ่ว แทนที่จะเป็น นิ่ววิทยา หินวิทยา นั่นคือ เรียงลำดับคำแบบไทย โดยสมมติเอา หรือไม่ถือว่า "วิทยา" เป็นคำแขกในที่นี้) อันนี้เดาล้วนๆ ครับ

นอกเสียจากว่า จะแปลคำว่านิ่ว ว่าหิน เป็นศัพท์บาลีไปเลยก็จะสมาสกับ -วิทยา ได้สนิท แต่ราชบัณฑิตอาจจะรู้สึกว่าบางทีศัพท์บาลีที่เป็นคำแปลของนิ่ว หิน ฯลฯ อาจฟังดูประหลาดก้ได้ อันนี้ก็เป็นแต่การเดาของผมผู้ไม่ใช่บัณฑิต (และบางครั้งก็เผลอเป็นพาลบ้างด้วย) ราชบัณฑิตตัวจริงท่านใดว่าอย่างไรบ้างครับ

ผมยังติดใจเป็นอันมากอยู่คำหนึ่ง ไม่ชอบเลย ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานเหมือนกัน วิชาด้านจิตวิทยา เรียกว่า "คนพาหิรวัตน์" แปลว่า extrovert เห็นไหมครับว่า อ่านศัพท์บัญญัติหนแรกไม่รู้เรื่อง ต้องย้อนไปอ่านคำแปลภาษาอังกฤษใหม่อีกหนจึงรู้เรื่อง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 08:56

 คำบางคำที่ใช้มานานมากจนติดไปแล้ว ก็ใช้กันไป แม้ว่าว่าที่จริงจะผิดหลักภาษาบาลีแท้ๆ แต่ก็หยวนๆ ราชบัณฑิตคงจะเห็นว่าค้านไม่ไหวแล้วเลยปล่อยไป

ตัวอย่างจากสาขาการแพทย์อีก คือหมอดมยา หมอให้ยาสลบ รวมทั้งชื่อเรียกวิชาการสาขานี้ เรียกกันว่าวิสัญญีวิทยา วิสัญญีแพทย์ ก็เรียกกันมาตลอด จนปัจจุบันก็ดูเหมือนจะเรียกเช่นนี้อยู่

วิสัญญี น่ะแปลว่าสลบจริงครับ แต่ผมเคยได้ยินท่านผู้รู้ท่านอื่นที่ไม่ใช่ผม ท่านเล่าให้ฟังว่า หมอที่ทำให้คนอื่นสลบน่ะ ถ้าเอาตามไวยากรณ์บาลีแท้ๆ ควรจะเรียกว่าวิสัญญิกแพทย์ ไม่ใช่วิสัญญีแพทย์ เพราะถ้าเขียนรูปนั้นน่ะจะแปลว่า "หมอที่กำลังสลบอยู่" (ฮา...)

จริงเท็จอย่างไรผมก็ไม่ทราบ ไม่เคยเรียนบาลีครับ

ทียังงี้ ราชบัณฑิตไม่ยักรู้สึกว่าผิดหลักภาษาบาลี (เหมือนที่ผมเดาว่าเป็นเหตุให้ใช้ วิทยาหิน วิทยานิ่ว)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.พ. 06, 08:37

 ทราบแต่ว่ามีคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ ของราชบัณฑิตยสถาน ทำงานด้านนี้ค่ะ
คงจะมีหลายสาขา
เพราะเท่าที่รู้มีสาขาวิทยาศาสตร์ อยู่ ๑ สาขาละ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 00:32

 อิอิ ผมชอบคำว่า "หมอที่กำลังสลบอยู่" จังเลยครับ  

ขอบคุณครับ คุณนิลกังขา สำหรับคำแปลกๆ

ขอแก้ Archaelogy ครับ สะกดผิด
ที่ถูกคือ Archaeology อิอิ พิมพ์ตก
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 09:39

 ตามมาอ่านค่ะ น่าสนใจ

เลยมาเจอ "ราชพาล" บัญญัติศัพท์เก๋ ๆ อีกแล้ว
"หมอที่กำลังสลบอยู่" ยิ้มกว้างๆ
(ดิฉันขำกลิ้งมาแล้ว จาก "ประเทศเพิ่งพัฒนามาเดี๋ยวเดียว" ทู้นู้นแน่ะค่ะ)

ฮ่า ๆ ราชบัณฑิตปลอมตัวมาหรือเปล่าคะนี่ ?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 13:29

 โอ๊ย...

ผมไม่ได้เป็นทั้งราชบัณฑิตและราชพาลแหละครับ

อาจจะเป็นได้แต่ ราษฎร์พาล แปลว่า ประชาชนคนธรรมดาที่บางทีก็เกเร แฮ่ะๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง