เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 17155 ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 17 ก.พ. 06, 17:01

วัฒนามธรรม? ฟังแปลกๆ

ผมมีความรู้สึกว่า วัฒนธรรม ธรรมอันเป็นเครื่องหมายของความเจริญ อันเป็นคำที่ปราชญ์ไทย (พระองค์วรรณฯ) ทรงบัญญัติขึ้นใช้ในภาษาไทย เพื่อแทนคำว่า culture นั้น ไม่น่าจะฉีกคำแยกได้ ทั้งคำเป็นหน่วยเดียวคือ "วัฒนธรรม" นั้น คือ culture ถ้าไปฉีกแยกเป็น วัฒน + "X" + ธรรม  มันจะไม่แปลว่าวัฒนธรรมน่ะสิครับ

ถ้าจะเอากันจริงๆ "นามวัฒนธรรม" ยังจะดีเสียกว่า หมายความว่าดีกว่า "วัฒนนามธรรม" โดยเปรียบเทียบ แต่ผมก็ว่าคำว่า นามวัฒนธรรมก็ยังแปลก ๆ อยู่ดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 17 ก.พ. 06, 17:12

 ก็คงต้องย้อนกลับไปไล่ความดู เหมือนงูกินหาง
ว่า intangible หมายถึงนามธรรมจริงหรือเปล่าน่ะค่ะ
ดิฉันยังติดใจคำแปลของคุณ Andreas มากกว่า
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 18 ก.พ. 06, 20:40

ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูและคุณ นกข. นะคะ
ที่ช่วยอธิบายให้เฟื่องกระจ่างใจ
คือตอนแรกเห็นแล้วก็คิดว่า มันทะแม่งชอบกล
แต่ด้วยความที่ไม่รู้แน่ (คืนความรู้อาจารย์ไปหมดแล้ว)
จึงไม่กล้าวิจารณ์ ตามความเข้าใจงูๆ ปลาๆ ของตัวเอง
แต่คนคิดช่างคิดเหลือเกิน ผสมคำออกมาจนได้สิน่ะ
จริงๆ นึกขอบคุณเขาอยู่เหมือนกัน  
เพราะตอนโทรไปถามเขาไม่ได้ให้คำนี้มา
สงสัยจะผสมเองสดๆ ร้อน ๆ ตอนตัวเองต้องร่างหนังสือนั่นแหละ

เฟื่องเอง พอขียนรายงานเองยังไม่กล้าแปลเลยนี่คะ
นอกจากกำกับศัพท์เดิมไว้ และขยายความให้เข้าใจอีกหน่อย

เฟื่องทำงานคนละแวดวงงานกับคุณ นกข.ค่ะ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 19 ก.พ. 06, 09:36

พอกลับมาอ่านกระทู้นี้ทีไรผมก็หัวใจหวั่นไหวทุกทีครับ....มิใช่ว่าเพราะเกิดความรักดอกนะครับ.....แต่หวั่นไหวเพราะความประหลาดใจที่เกิดขึ้นครับ

พอคุณเฟื่องแก้วบอกว่า  intangible cultural heritage แปลว่าเป็น วัฒนามธรรม .....ผมขอเรียนตามตรงว่า ประหลาดใจมากครับ....เพราะไม่คิดว่าจะสรรหาคำออกมาได้...และผมยังไม่แน่ใจว่าจะแปลคำไทยนี้เป็นไทยได้อย่างไร

ผมจำได้ว่าอ่านเวปของนิตยสารสกุลไทย เป็นการอภิปรายในหัวข้อ “วรรณศิลป์ไทยในกระแสสังคมโลกาภิวัตน์” ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ในฐานะนักวิชาการทางวรรณกรรม ได้พูดไว้ว่า "เวลาลูกศิษย์เรียนจบ ประกาศรับแต่เอกอังกฤษ เอกเยอรมัน เอกฝรั่งเศส ไม่มีเอกภาษาไทย แต่พอรับไปสักพักหนึ่งก็โทรศัพท์กลับมาต่อว่ากันเกรียวกราว ลูกศิษย์เธอใช้ภาษาไทยไม่ได้เรื่อง เขียนหนังสือโต้ตอบ เขียนจดหมายโต้ตอบก็ไม่ได้ รับโทรศัพท์ก็ไม่รู้เรื่อง ดิฉันก็สงสัยว่า ทำไมเวลาประกาศรับ ไม่ประกาศรับเอกภาษาไทยล่ะคะ เพราะว่าเวลาไปทำงานแล้ว ไม่ได้ใช้หรอกค่ะ เอกโน่นเอกนี่ ที่ประกาศรับน่ะ"

ทำไมผมถึงยกประเด็นนี้ขึ้นมา....เพราะผมเห็นว่า ถ้าเป็นนักภาษาศาสตร์ที่มีพื้นภาษาไทยที่ดีแปลแล้ว...มิน่าจะใช้คำนี้ หรือแม้แต่คำว่า "นามธรรม" เพราะ intangible มิใช่นามธรรม แต่เป็นรูปธรรมชัดเจน เพียงแต่แฝงและฝังตัวอยู่ในชุมชนและสถานที่เล็กๆเท่านั้น..... (ทำไมคนแปลถึงมิได้เอาบริบทมาประกอบด้วย) อย่างในกรณีที่อาจารย์สุวรรณา ยกขึ้นมา....ก็เพราะหลายๆแห่งไม่รับเอกภาษาไทย..รับแต่เอกอื่น พอมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยโดยตรงแล้ว จึงมีปัญหาเกิดขึ้น......

ผมอาจจะไม่เข้าใจหลักการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเท่าไหร่ครับ เพราะจำได้ว่าถูกกีดกันจากภาควิชาภาษาอังกฤษ ตอนเรียนปริญญาตรี .....เนื่องจากว่า เค้าให้เฉพาะนักศึกษาที่เรียนเอกภาษาอังกฤษ หรือ นักศึกษาที่เรียนสายศิลป์ มีสิทธิ์เรียนได้ เนื่องจากสายวิทย์เรียนตัว Fundamental  English คนละตัวกับพวกสายศิลป์ เลยกระโดดข้ามไปเรียนตัวสูงๆของเอกอังกฤษไม่ได้..... นั่นคือเหตุผลที่ผมไม่สามารถลงทะเบียนเรียนวิชาการแปลได้ครับ....แต่ถึงกระนั้นด้วยโชคชะตาพาไป หลังจากเรียนจบจากคณะวิทยาศาสตร์ ต้องไปเป็นล่ามเฉพาะกิจให้กับทีมนักวิจัยทั้งวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์ ...และทำต่อไปเรื่อยๆกันกระทั่งจับผลัดจับผลูเป็นล่ามให้กับองค์กรข้ามชาติแห่งหนึ่ง....รวมทั้งสิ้นห้าปีทีเดียวครับ ..... ประสบการณ์ที่ผมได้รับมา ผมจึงไม่ทราบว่ามันจะเหมือนกับที่เรียนในห้องเรียนหรือไม่

สิ่งที่ผมทราบจากประสบการณ์คือ เวลาแปลออกมาแล้ว ต้องให้กระจ่างชัดถึงความหมาย ความเข้าใจ และตัวตนของภาษาเรา.....ผมไม่ชอบแปลจากอังกฤษเป็นไทย แล้วต้องแปลคำไทยนั้นเป็นภาษาไทยอีกทีให้ชาวบ้านเข้าใจ ..... และเวลาแปล ผมจะพิจารณาบริบท หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจากต้นฉบับหรือผู้สันทัดในสาขาวิชานั้นๆเสมอ..... เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน และทำให้ผมสื่อออกมาเป็นภาษาไทยได้ชัดเจนและตรงกับความหมายของคำภาษาอังกฤษ

หลายครั้งเพื่อนร่วมงานคิดคำหรูๆ ขึ้นมาและเอามาใช้กับชาวบ้าน...กับคนในท้องถิ่น ที่มิใช่นักวิชาการ.....ผลก็คือต้องมานั่งทำความเข้าใจภาษาไทยเป็นไทยอีกครั้ง.....

จริงๆประเด็นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากนะครับ....เราต้องยอมรับคนไทยในเมืองไทยเอง มีสองประเภทคือ คนไทยธรรมดา ที่อาจมีโอกาสเล่าเรียนหรือไม่ได้เล่าเรียนหนังสือ กับ พวกนักวิชาการ.....ถ้าในกรณีทีสนธิสัญญานี้มีการลงนามเข้าร่วมโดยประเทศไทย .....เราจะเลือกแปลให้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจ หรือ จะเลือกแปลให้เฉพาะนักวิชาการเข้าใจและถกเถียงกัน..... ผมมองว่า ถ้าเราต้องการให้คนส่วนใหญ่หันมาเห็นความสำคัญของ intangible cultural heritage เราก็ต้องแปลให้คนส่วนใหญ่เข้าใจใช่มัยครับ เพื่อให้เขาทราบว่า วัฒนธรรมในชนกลุ่มหรือท้องถิ่นของพวกเขากำลังได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และถือว่าต้องอนุรักษ์ไว้เพื่อความเป็นตัวตนของตนเอง....เด็กๆรุ่นใหม่เองจะได้ภมิใจ และยอมรับวัฒนธรรมนั้นโดยไม่ต้องคิดว่า มันล้าหลังและไม่ได้รับการยอมรับ

สำหรับแวดวงการทำงานของผมซึ่งเป็นสายวิทยาศาสตร์ ...ต้องยอมรับเช่นกันว่า พวกเราใช้ภาษาที่ยากแก่การเข้าใจและใช้ศัพท์เฉพาะเป็นหลัก....เวลานักวิจัยผลิตผลงานออกมา ผลปรากฏว่า น้อยคนนักที่จะอ่านรู้เรื่อง เพราะกำแพงภาษานั่นเอง..ทั้งๆที่รายงานเขียนเป็นภาษาไทย .....เมื่อเป็นอย่างนี้ แล้วประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร ถ้าคนส่วนใหญ่อ่านรายงานวิจัยหรืองค์ความรู้ใหม่ๆ แล้วไม่เข้าใจ

ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง เขาตระหนักเรื่องนี้มาก แม้ว่าเค้าจะมีอัตราคนมีความรู้มากกว่าคนไทย ...เค้าเองยังต้องมีหน่วย
ที่เรียกว่า Information Transfer Unit ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆที่เป็นภาษาที่เข้าใจยาก ให้กลายเป็นเรื่องอ่านสนุก และไม่เป็นอุปสรรคต่อการอ่านสำหรับคนทั่วไป แม้กระทั่งเด็กๆเอง .....

เดี๋ยวกับมาต่อครับ....ผมมีเรื่องสนุกๆกับการแปลแบบนี้มาเล่าให้ฟังอีกครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 19 ก.พ. 06, 10:12

 ดิฉันก็ค่อนข้างจะหนักใจกับการแปลศัพท์อย่างตรงตัวโดยไม่คำนึงถึงบริบท
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณไปเจอหนังสือเก่าเล่มหนึ่งเกี่ยวกับสังคมอินเดีย เจอคำว่า the Untouchables
ถ้าเปิดดิคฯ ก็ฟันธงลงไปเลยว่า อ๋อ  ผู้แตะต้องมิได้  
ต่อจากนั้นในเอกสารนั้นก็จะมีคำว่า ผู้แตะต้องมิได้ เต็มไปหมด  

อ่านแล้วรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ไม่สำคัญ เพราะแปลตามตัวมันยังงั้นนี่นา

แต่ถ้าเป็นหลักการแปลอย่างถูกต้องแล้วเขาจะต้องคำนึงถึงบริบทด้วยว่าหมายถึงอะไร หรือใคร
คำนี้หมายถึงพวกจัณฑาล ค่ะ
ถ้าแปลยังงี้ก็รู้เรื่องกันในนาทีแรก ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยกันให้เหนื่อยอีก  
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 19 ก.พ. 06, 21:26

 เห็นด้วยครับว่า บริบทสำคัญอย่างยิ่งในการแปล การที่สักแต่ว่าแปลมักจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 20 ก.พ. 06, 04:57

 สวัสดีค่ะ ดิฉันกำลังรู้สึกเดือดร้อน (ตัวฺ) นิดหน่อย
ไม่ควรพูดพาดพิงสถานทูตแต่แรกเลยค่ะ
คือ เกรงว่าจะกลายเป็นการกล่าวหากันไปน่ะค่ะ
ไม่ทราบว่า ที่นี่จะแก้ไขปรับปรุงข้อความที่โพสไปแล้วได้อย่างไรคะ
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 20 ก.พ. 06, 07:37

 เรียนคุณเฟื่องแก้ว

คงต้องรอให้คุณเทาชมพูกรุณาช่วยลบข้อความที่อ้างอิงถึง..... ออกครับ เพราะคุณเทาชมพูเป็นผู้ดูแลเรือนไทย ท่านลบข้อความได้ครับ

-----------------------

เห็นคุณเฟื่องแก้วเดือดร้อน(ใจ) ขึ้นมา....ผมก็เริ่มหวาดๆอยู่เหมือนกันครับ ...กะว่าจะเล่าเรื่องการแปลที่เคยเจอมา แล้วก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งทุกวันนี้ยังหาข้อสรุปกันไม่ได้.....แต่คิดอีกที ขอไม่อ้างถึงดีกว่าครับ เนื่องจากเพราะผมยังอยู่ในแวดวงของการวิจัยเรื่องดังกล่าวอยู่ พูดอะไรออกไป มันตามตัวกันได้ง่ายครับ...เลยเลือกที่จะเงียบก่อนดีกว่าครับ....เอาไว้รอให้ผมแก่อาวุโสกว่านี้หน่อย แล้วคงจะพอมีปากมีเสียงให้นักวิชาการรุ่นใหญ่ๆ หันมาฟังกันบ้างครับ.....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 20 ก.พ. 06, 07:58

 ดิฉันลบไปให้แล้วนะคะ  
คุณ Andreas ไม่ต้องกลัวหรอกค่ะ   คุณสามารถเอ่ยถึงได้โดยไม่ต้องระบุชื่อหน่วยงาน สถานที่  คณะกรรมการ หรือชื่อบุคคล
เราพูดกันถึงการทำงาน ที่ยังมีข้อติติงให้พัฒนามากกว่านี้ได้  
ไม่ได้โจมตีใครเป็นรายบุคคล
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 20 ก.พ. 06, 14:24

กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูค่ะ

บางทีดิฉันก็เรื่อยเปื่อยไปอย่างนี้เอง ไม่ได้ตั้งใจติใครเลยค่ะ
คือ มีเพื่อนเคยมีปัญหาคล้ายๆ อย่างนี้มาแล้วค่ะ
การติเพื่อก่อนี่แหละ จุดไฟเผาบ้านตัวเองแท้ๆ


อ้าว คุณAndreas เลยไม่เล่าแล้วหรือคะ เรื่องการแปล
ดิฉันไม่ค่อยอ่านเรื่องแปลแล้วช่วงหลัง ๆ
(อ่านแต่ตอนเด็กๆ ที่อ่านภาษาอังกฤษยังไม่แตกฉานค่ะ
ตอนนี้ อ่านได้และยังไม่แตกฉานอยู่นั่นแล้ว)
แต่เคยพบกระทู้ในห้องสมุดของพันทิพ
อ่านแล้วตกใจค่ะ ที่ผู้แปลบางคนแปลคำง่าย ๆ ออกมา
แบบไม่ระวังบริบท สถานการณ์ ของการใช้คำนั้น
หรือเลือกความหมายพ้องของคำมาใช้แปลผิดไปจากต้นฉบับก็มี
คนอ่าน อ่านภาคภาษาไทยของหนังสือเล่มนั้นเลยอ่านไปงงไปค่ะ
แปลไทยเป็นไทยอีกที

หนักกว่านั้น เคยมีเพื่อนมาเล่าให้ฟังนะคะ
ว่ามีโอกาสได้คุยกับนักเขียน/แปล ชื่อดังเชียวค่ะ
ที่แปลเรื่องออกมาแล้วดัดแปลงเนื้อเรื่องเอาเองดื้อๆ เลย
แถมบอกว่า ฉันแต่งตอนจบได้ดีกว่าคนเขียนเสียอีก
อย่างนี้ก็มีค่ะ

กรณีนี้คือ เขียนหนังสือและแปลได้ราบรื่นเสียจน
คนอ่านไม่ทราบว่า ผิดไปจากต้นฉบับเดิมอย่างไร
อันนี้ ดิฉันก็ว่าผิดจรรยาบรรณในการแปลนะคะ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 20 ก.พ. 06, 18:08

 เรื่องนินทา เอ๊ยติเพื่อก่อเหล่านี้ เล่ากันหลังไมค์ก็ได้ครับ ผมก็อยากฟัง แต่ก็เห็นใจเหมือนกันว่าถ้าเล่าตรงนี้ อาจก่อความกระทบกระเทือนได้ แม้เราจะมีแต่ความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้งก็ตามเถอะ แต่คนที่ถูกว่าเขาไม่ยอมถืออย่างนั้นด้วย...

... ผล ก็คือ น้ำใบบัวบกสำหรับคนที่ไปช่วย (หรือเรานึกเองว่าเป็นการช่วย) ชี้ที่ผิดให้เขาครับ

ชักซีเรียสไปหน่อยเฮะ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 20 ก.พ. 06, 18:12

 ในฐานะที่เรียนมาทางวิทยาศาสตร์เหมือนกันตอนมัธยม ผมจำคำๆ หนึ่งที่ ดร. ไอแซค อาซิมอฟยกมาได้ เป็นตัวอย่างว่าภาษาอังกฤษนั้นมันดิ้นได้ขนาดไหนสำหรับคนที่เรียนมาคนละสาขาวิชากัน

แกยกคำว่า Unionization แล้วแกก็อธิบายเสร็จว่า สำหรับนักฟิสิกส์อนุภาค เห็นคำนี้ อาจจะนึกว่า เป็นกระบวนการ Un + ionize คือทำไม่ให้เป็นไอออน (เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ ผมคืนวิชาฟิสิกส์ไปให้อาจารย์หมดแล้ว) แต่สำหรับนักแรงงานสัมพันธ์ อาจจะมองเป็น union + ization แล้วก็เลยแปลว่า กระบวนการทำให้เป็นสหภาพ เช่นสหภาพแรงงานเป็นต้น
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 20 ก.พ. 06, 19:36

อะแฮ้ม ดิฉันยังไม่ทันติ ไม่ทันก่อเลยนะคะ ท่านเคานต์
แค่อิงๆ พิงๆ นิดหน่อย กลัวน้ำใบบัวบกนี่แหละค่ะ
(แต่ใบบัวบกสด หม่ำกับผัดไทย อร่อย..)

ว่าแต่หลังไมค์นี่ ไมค์ ไทสันหรือเปล่าคะ
จะได้บังดิฉันมิด ตัวมิใช่เล็ก ๆ ค่ะ
(มุขนี้ ถ้าแอคคอร์ดดิ้งทู ดร. อาซิมอฟ
ดิฉันต้องเป็นนักมวยแน่นอน ใช่ไหมคะ)

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณ Andreas จะนินทา เอ๊ย ติเพื่อก่อหลังไมค์
อย่าลืมเรียกดิฉันด้วยนะคะ ดิฉันจะวิ่งไปซื้อน้ำใบบัวบกแช่แข็งมาเสิร์ฟแก้คอแห้งค่ะ
(หลังไมค์ที่ไหนกันคะ ?)
บันทึกการเข้า
little camel
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 20:44

 หลังจากที่อ่านกระทู้มานาน  หนูเป็นคนหนึ่งที่เคยได้เรียนเรื่อง  Cultural Heritage และอาจารย์ก็ยังสอนว่า Tangible Cultural Heritage แปลว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถจับต้อง  และสัมผัสได้ (หมายถึงที่เห็นออกมาเป็นรูปธรรม) แล้วส่วน Intangible Cultural Heritage แปลว่ามรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม  แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือความรู้สึกนึกคิด  ความรู้  ขั้นตอน  กระบวนการที่สามารถทำให้เกิด  Tangible Cultural Heritage  แบบนี้ความหมายผิดใช่รึเปล่าค่ะ  หากจะแปล  หรือตีความให้ถูก จากการบัญญัติศัพท์ให้เป็นคำไทย (เพราะตอนนี้อะไรก็ต้องพึ่งความรู้ต่างชาติมาอ้างอิง  เพราะต่างชาติเป็นคนให้ความหมาย)  ถ้าหากว่าผิดจริง ๆ ในความหมายรุ่นน้องหนูที่เรียนอยู่ต่อ ๆ ไปมิแย่เหรอค่ะ  อยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เผยแผ่ความรู้ที่น่าจะถูกต้องที่สุดจัง  จะได้เข้าใจได้ตรงกัน  ** หรือว่าความจริงไม่ได้มีชุดเดียวจริง ๆ !
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 19 คำสั่ง