เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 17170 ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 00:06

 เจอแล้ว เจ้าคารมคมนิยามตัวจริง
...แฟร์รี่ เดเวล็อปท์..พัฒนากลาง ๆ
อ่านสักประเดี๋ยว เจอ..ประเทศพัฒนามาเดี๋ยวเดียว เข้าอีก
ต้องกิ๊กออกมาเลย โอย ..

คุณนีโล เอ๊ย นกข. เป็นอาจารย์หรือเปล่าคะ
คุยได้สาระและฮาเหลือเกิน
นี่ ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ ลูกศิษย์ลูกหาคง "ขึ้น" น่าดู
จะไปสมัครเป็นลูกศิษย์ด้วยคนค่ะ
(แต่อย่ามาแยกร่างให้ดูนะ เผ่นจริงๆ ด้วย)

ดัชนี Gross National Happiness (หรรษามวลรวมระดับชาติ ?)
ของราชา Jigme Singye Wangchuck นั่นน่าสนใจนะคะ
ดิฉันชอบใจจัง ดูจะเป็นอุดมคติไปสักนิด
แต่เป็นแนวคิดที่น่านำมาปฏิบัติจริงที่สุดสำหรับดิฉัน
รู้สึกว่า แนวคิดนี้จะมีพื้นฐานมาจากแนวคิดทางพุทธศาสนาด้วย


กำลังคิดอยากย้ายไปอยู่ภูฏานแล้วสิคะ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 02:10

 Thanks indeed to Khun เฟื่องแก้ว for your kind answer to my question....

Please accept my apology, I reply you so late..

Regards

Andreas
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 06:50

 Khun Andreas, it didn't really matter!

so, no need to apology!!

I truly appreciate your point of view on this topic!



Cheerio!!
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 07:41

 Oops!! typo!  

** no need to apologise kha!!
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 13:32

ขออภัย พิมพ์เพลินไปหน่อย จริงๆ แล้วความคิดของรัฐบาลภูฏาน เป็นอย่างที่คุณเฟื่องแก้วเขียนมา คือ Gross Domestic Happiness หรือ Gross National Happiness. คือแทนที่คำว่า product ด้วย happiness ใจก็คิดอย่างนั้นนะ แต่เวลาพิมพ์ สติลอยเผลอไปเป็นอย่างที่เขียน

ถ้าจะแปลว่า หรรษามวลรวมระดับชาติ ก็เก๋ดีครับ

ผมออกจะเชื่อเหมือนกันว่า ภูฏานได้ความคิดแนวนี้มาจากพระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 13:43

 ตอบปุจฉา ขอวิสัชนาว่า เกล้ากระผมไม่ได้เป็นอาจารย์สอนประจำอยู่ที่ไหนทั้งสิ้นเป็นความสัตย์ เพียงแต่บางทีก็เป็นติวเตอร์บ้าง ไปสอนพิเศษตามที่มีคนชวนบ้างนานๆ หน งานประจำยุ่งครับ

อันที่จริง คำว่าความสุขของประเทศนั้น ทำให้ผมย้อนคิดไปถึงอีกคำหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะเสนอให้ใช้เป็นคำแปลของ GNH/GDH นะครับ เพียงแต่แนวคิดชวนใจให้ประหวัดไปถึงเท่านั้น

คือพระปรมาภิไธย (ชื่อ) ของในหลวง ร. 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ตามศัพท์แปลได้ตรงตัวเลยว่า ทรงเป็น "ความชื่นใจของแผ่นดิน"

สำหรับพระปรมาภิไธยในหลวงรัชกาลปัจจุบันนี้ ผู้ทรงเป็นพระอนุชาธิราชในพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศพระองค์นั้น ก็คือ "ภูมิพล" อดุลยเดช ตามศัพท์ ก็แปลได้เช่นเดียวกันว่า พระผู้ทรง "เป็นกำลังพลังของแผ่นดิน" เป็นกำลังอันยิ่งใหญ่

พระปรมาภิไธยที่เชิญมาอ้างอิงทั้งสองนี้ มีมาก่อนแนวคิด GDH/GNH หลายสิบปีครับ

ขอจงทรงพระเจริญ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 11 ก.พ. 06, 14:13

 นอกจาก "ความสุขส่วนรวมระดับชาติ" ที่ควรเป็นเกณฑ์วัดความเจริญของสังคมหนึ่งๆ ที่ภูฏานเสนอไว้แล้ว

ไทยเรายังมีพระปฐมบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลปัจจุบันนี้ ที่พระราชทานไว้เมื่อเกือบหกสิบปีที่แล้วด้วย ว่า

...เราจะครองแผ่นดิน "โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"...

เห็นส่วนที่ผมขอพระราชทานใส่เน้นไว้ในเครื่องหมายคำพูดไหมครับ

ดังนั้น GDH อาจจะโยงให้ไปเกี่ยวกับแนวคิดว่าด้วย "ประโยชน์สุขโดยธรรมแห่งมหาชน" ด้วยได้ไหม?
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 12 ก.พ. 06, 18:06

 ดิฉันกำลังทำตาโต (ทึ่ง)

จริงๆ ด้วยสิคะ ต๊ายยย คุณนกข. คิดได้ลึกซึ้งจังเลย
จะว่าไปก็แปลว่า ประโยชน์สุขแห่งมหาชน จริงๆ แหละ
คำมั่นสัญญาประโยคนี้ ได้ยินคราวไรก็
"เลือดซ่าน แล่นพล่านทรวง" ทุกครั้งไป
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อม

(ดราม่าอีกแล้วเรา เฮ้อ)
บันทึกการเข้า
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 00:08

เพิ่งได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้ค่ะ
จากที่นั่งอ่านมาหลายชั่วโมงจนตาแฉะ

ดิฉันเห็นด้วยอย่างมากที่จะแปล intangible cultural heritage ว่า
มรดกทางวัฒนธรรมภายในชนกลุ่ม ค่ะ  

เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันภายในชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งมักจะไม่ได้จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ใช้วิธีบอกเล่าและปฏิบัติต่อ ๆ กันมา
ยังไม่ได้จัดให้มีการเรียนรู้กันอย่างเป็นแบบแผนสากล
จึงยังไม่เป็นที่ประจักษ์แพร่หลายในระดับชาติหรือนานาชาติ
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 13 ก.พ. 06, 00:18

 The idea of Gross National Happiness is one which reminds me of a Daoist concept elaborated by none other than the great Chinese sage Lao Tzu or Lao Zi himself in his great masterpiece (though it is still a hotly debated subject whether or not Lao Zi was the writer of the text and the fact that whether he himself had existed at all) "Dao De Jing" where it outlines the path to contentment and the creation of an idealised state via mitigating man's habit of conceptualisation (naming name such as that which is beautiful, ugly, good, bad, etc...) and the eradication of desires and wants that deviates from necessity. Or as he puts it in chapter 12;

 

"The 5 colors causes you to go blind,

the 5 notes causes you to go deaf,

the 5 flavors causes your taste to be confused,

...

for this reason the sage acts (in order to fulfill his) stomach and not his eyes

... "
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 16 ก.พ. 06, 23:35

สวัสดีค่ะ กลับมาแล้วพร้อมกับคำตอบที่เพิ่งค้นพบ
กระทู้เงียบๆ ไป ไม่ทราบจะมีใครเข้ามาอ่านหรือเปล่านะคะ


เมื่อวานเพิ่งเห็น Intangible World  Heritage โดยใชภาษาไทยว่า..

"มรดกวัฒนามธรรม"

อ่านแล้วดิฉันก็ไม่ทราบว่าถูกหลักการเชื่อมการชน
(การสร้างคำใหม่) ของภาษาบาลีสันสฤตกับภาษาไทยหรือไม่
((ความรู้ลางเลือนเต็มทีค่ะ คืนอาจารย์ไปหมดแล้ว))

ผู้รู้ช่วยตอบให้หายข้องใจทีนะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้า

อย่างไรก็ตาม เห็นแล้วก็นึกว่า คิดคำได้กลมกลืนเก๋ไก๋ดีค่ะ
ทั้งนี้ ดิฉันไม่ทราบว่าเป็นคำศัพท์ทางการหรือไม่นะคะ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบค่า...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 17 ก.พ. 06, 07:53

 สมัยเรียน มีคำว่า สมาส และ สนธิ
ถ้าเป็นสนธิ คำหลังขึ้นต้นด้วย อ
พอสนธิ คำว่า อ ก็หายไป
เช่น เทว + อาลัย  (ที่อยู่ของเทวดา)
ก็มาเป็น เทวาลัย
ถ้าเป็นสมาส  คือเชื่อมคำสองคำเข้าด้วยกัน
คำหลัง ไม่มีคำขึ้นต้นว่า อ
พอสมาสก็คือเรียงคำเข้าด้วยกันเป็นคำใหม่ขึ้นมา
อย่างสามัคคี+ สโมสร
ก็เป็นสามัคคีสโมสร

วัฒนามธรรม  ไม่แน่ใจว่าคุณเฟื่องแก้วสะกดถูกหรือเปล่า
ถ้าดูตามหลักข้างบนนี้
ถ้าคำเดิมคือ วัฒน+นามธรรม จะลดตัว น ลงไปดื้อๆตัวหนึ่งไม่ได้
ต้องเป็นวัฒนนามธรรม
แต่ถ้ามาจากคำว่า วัฒ+นามธรรม
ยังงี้ละก็เป็น วัฒนามธรรมได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
ครูไผ่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55

ศึกษานิเทศก์


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 17 ก.พ. 06, 08:45

 "วัฒนามธรรม"  ฟังแล้วสื่อความไปคนละเรื่องกับที่อภิปรายกันมาอย่างมากมายข้างต้นค่ะ
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 17 ก.พ. 06, 16:33

 Hmm.... ฟังดูแล้วไม่ค่อยสื่อความหมายที่จะต้องการเท่าไหร่ สงสัยคงต้องติดเครื่องหมายดอกจัทร์ไว้แหละครับ ไม่งั้นผู้อ่านก็คงงงกันเป็นแน่แท้
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 17 ก.พ. 06, 16:54

 ขออนุญาตถามคุณเฟื่องแก้วว่า สอท. ที่ว่านี่ ย่อมาจากอะไรครับ

ในแวดวงงานของผม สอท. คือ สถานเอกอัครราชทูต

แต่ได้ทราบว่า ในแวดวงอื่น สอท. หมายถึง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง