เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 17168 ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 04 ก.พ. 06, 05:20

 This topic has been bothering me for 2 days.... Today I still have time to go and check the information in UNESCO website......after reading and collecting what has been addressed about ICH.....I therefore decided to give you more links in order to take a look as well as come up with a good thai word. I focused only to UNESCO website only since it is the original source of definition........

An official link of UNESCO talking about IHC

 http://portal.unesco.org/culture/en/ev.php-URL_ID=16429&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html

This is another link telling you examples of what are called "Intangible Cultural Heritage" ...It is an information kit.

 http://unesdoc.unesco.org/images/0014/001412/141247E.pdf
 
For Whom do not have time to take a look into these links, I have pasted you an interesting paragraph right here.....

The definition developed for the 2003 Convention also indicates that the intangible cultural heritage that is to be safeguarded by this Convention

is transmitted from generation to generation;

is constantly recreated by communities and groups, in response to their environment, their interaction with nature, and their history;

provides communities and groups with a sense of identity and continuity;

promotes respect for cultural diversity and human creativity;

is compatible with international human rights instruments;

complies with the requirements of mutual respect among communities, and of sustainable development

............

Special focus : Basic concepts and criteria

The intangible cultural heritage (ICH) is traditional
and living at the same time. It is constantly
recreated and mainly transmitted orally.

It is difficult to use the term authentic in relation to
ICH; some experts advise against its use in relation
to living heritage (See the Yamato Declaration).
The depository of this heritage is the human mind,
the human body being the main instrument for its
enactment, or embodiment. The knowledge and
skills are often shared within a community, and
manifestations of ICH, too, often are performed
collectively.

Many elements of the ICH are endangered, due to
effects of globalization, homogenizing policies, and
lack of means, appreciation and understanding
which – taken together – may lead to the erosion of
functions and values of such elements and to lack
of interest among the younger generations.

**************
Finally I still would like to point out that Intangible Cultural Heritage should not be considering as มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ....... It would be better, in my idea, to say Intangible Cultural Heritage is มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น or มรดกทางวัฒนธรรมของชนกลุ่ม or ภูมิปัญญาท้องถิ่น which is mainly transmitted through each generation orally.
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 04 ก.พ. 06, 10:45

 Hmm... I too krup khun Andreas have been thinking about this thing for 2 days now.



While, I haven't really paid attention to the defined and given definition that UNESCO came up with, since it is nonetheless very possible that the meaning of the name might not be at all related to the actual content that it represents. Therefore as an experiment I have chosen to first disregard the terms "intangible" and "tangible" and rather focus my attention on "cultural heritage".



First of all, the culture that produce "cultural heritage" cannot occur in a vacuum that is devoid of human activity i.e. interaction and that it is through this very process of interaction that culture and cultural heritage are produced. Hence we can establish that there is a real and necesary relationship between the two.



Secondly, since culture isn't created by accident and that it is created through repeated and concerted efforts of creation, reproduction, and transmission over a period of time, the key being "creation" "reproduction" through the process of "transmission" indicates that there is "will" and "intent" in these action which suggests the involvement of "cognition" which is best representation that the person perceives that what he is doing is "concrete" "comprehendable" and hence in an abstract sense "material".

 



Thirdly, since Change is inevitable, and that change does not happen in a unified fashion. As a result, cultures produced over time, of which will in time leave behind a cultural heritage is one that is uneven and may or may not be similar in form, content, and meaning imply that to some it might be undetectable, invisible, or unrecognisable, while to others it might be self evident.



From the above three points, I think that it is very appropriate to post a classic question:



"Is the glass half full or is it half empty?"



To some it might seem half full and to others half empty.



Therefore, I think that as long as you provide in the footnote the definition of the term, in this case "ICH" , that is fine.



This raises another point, language as we know it is a tool that has its limits, however at present, it is the most efficient and capable one that we human possess.



While words and language are more exacting and helpful in communicating with a large audience than the uncommunicable facial expressions and feelings. It is precisely the relatively fixed nature of language itself which limits itself to express a particular aspect of knowledge and neglecting others, denying the audience of other rich hidden meanings of the message that had been exchanged.



OH.... the fate of the thinking man... who is conscious of himself, those around him, and the world at large in which he exists.
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 01:11

 ไม่ได้เข้ามาหลายวันตกใจจริงๆ ครับ อิอิ เพิ่มมาตั้ง ๒๐ ความเห็น

ได้รับทราบความเห็นที่เป็นประโยชน์มากเลยครับ ก็ติดตามอ่านอยู่นะครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 10:26

 มึนงงอย่างสนุกสนาน หรือ สนุกสนานอย่างมึนงง?

ถ้า Context ของคำเป็นอย่างนั้น ผมก็จำเป็นต้องยอมรับคำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะดูเหมือนว่านั่นเป็นสิ่งที่ผู้กำหนดคำเขาตั้งใจจะหมายถึง

แต่ต้องขอบ่นต่อ ตั้งแต่ต้นเลยว่า แล้วทำมั้ยทำไมอีตา หรืออียายก็ไม่รู้ คนที่คิดคำนี้ขึ้นมาเป็นคนแรก ต้องเลือกที่จะเรียกภูมิปัญญาท้องถิ่นว่า มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ให้มันยุ่งไปเปล่าๆ ด้วยล่ะวุ้ย... ไหงไม่เรียกซะตรงๆ ว่า indigenous wisdom หรืออะไรเทือกๆ นั้นเล่า

ปล. "ความมั่นคงของมนุษย์" ยังเป็นศัพท์บัญญัติสำหรับ Human Security อยู่ครับ ผมยังไม่ได้ขาวว่ามีการกำหนดคำใหม่ มีอรรถาธิบายว่า คือ Freedom from Want // and Freedom from Fear
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 00:16

 ก็ขอขยายเกี่ยวกับ I.C.H. อีกหน่อยนะครับ คำว่าภูมิปัญญา ก็คือองค์ความรู้ที่สะสมผ่านต่อกันมาหลายรุ่น ซึ่งในประเด็นที่ฝรั่งเลือกใช้คำว่า จับต้องไม่ได้ ก็น่าจะมีนัยหมายถึง "ความคิด และกระบวนการปฏิบัติ" ครับ ส่วน ผลที่เกิดจากความคิด และกระบวนการปฏิบัติก็คือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ ซึ่งเป็นรูปธรรม

อันนี้ อธิบายง่ายๆ นะครับ ซึ่งจริงๆ ก็อาจมีประเด็นอะไรอีกมากมายที่ต้องมาใช้ช่วยในการนิยาม  

ส่วน Human Security ผมชอบใช้ว่า "ความสุขกายสบายใจ"

ผมมองว่า บางครั้ง "ผู้ที่มีอำนาจบัญญัติคำศัพท์" มุ่งแต่จะแปลให้ตรงกับคำอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงเนื้อหา และมุมมองที่แตกต่างกันระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่บัญญัติมาก็ใช้ตามครับ เพราะใช้ๆ ไปเดี๋ยวก็ชินเอง อิอิ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 09:16

 ขอยกมือเห็นด้วยกับคุณ Hotacunus สองมือเลยครับ เรื่องที่ผู้มีอำนาจทั้งหลายแหล่ แปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษมาโดยไม่ได้เอาบริบทเข้ามาประกอบคำแปลด้วยครับ......

ส่วนประเด็นที่คุณ Peking Man บอกมา ผมรับทราบครับ....แต่ผมขออนุญาตไม่แสดงความเห็นในเรื่องของตัววัฒนธรรมนะครับ เพราะผมไม่สันทัดในเรื่องนี้เลยครับ ...เนื่องจากคุณเฟื่องแก้ว ต้องการแค่นิยาม ผมก็เลยเอานิยามมาให้อ่านครับ

ถึงผมจะขออนุญาตไม่พูดต่อเรื่องวัฒนธรรม...แต่ก็เข้ามาอ่านเรื่อยๆนะครับ ....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 09:24

 ถ้าคุณเฟื่องแก้วว่าง เชิญแวะเข้ามาเล่าถึงผลงานการแปลคำนี้บ้าง ว่านายเห็นเป็นไงบ้างคะ
ถ้าหากว่าแปลว่า ภูมิปัญญา อาจจะเข้าใจชัดขึ้น แต่ไม่ทราบว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญท้วงไหมว่า แปลไม่ตรงกับ intangible นี่นะ
ต้องแปลว่า"จับต้องไม่ได้ "ซี

เห็นด้วยมากๆค่ะกับการแปลโดยคำนึงถึงบริบท
เพราะการแปล คือการถ่ายทอดความเข้าใจในวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง
ความหมายตรงตัวตามศัพท์ตามที่บอกไว้ใน dictionary เป็นสิ่งรอง  
ส่วนความสำคัญที่สุดคือ "ถ่ายทอดความเข้าใจ" วัตถุประสงค์ของผู้เขียนเนื้อหาในภาษาต้นฉบับ ออกมาเป็นภาษาของผู้อ่าน
โดยสื่อความหมายได้ใกล้เคียงกับความประสงค์เดิมให้มากที่สุด
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 17:21

 คุณเทาชมพูคะ นายคงยุ่งค่ะ แปลออกมาแล้วก็ส่งกระทรวง ฯ เลย
แต่ตอนแรกดิฉันเขียนทับศัพท์ (อาจารย์ของดิฉันท่านหนึ่ง
ยืนยันหัวชนฝาว่า ตามจริงควรเรียกว่า "คำทับเสียง") ไปแล้ว
ท่านส่งลงมาให้หาคำที่แปลว่า "จับต้องไม่ได้"
ดิฉันเลยเขียนวงเล็บกำกับไว้ว่า "นามธรรม" แทน

จริงๆ คำว่า นามธรรม ก็ยังไม่ใช่เสียทีเดียวนะคะ
เมื่อนำมาใช้ขยายนามคือ คำว่า วัฒนธรรม
เวลาแปล ดิฉันจะค่อนข้างเคร่งครัดในการยึดต้นฉบับเดิมในภาษาผู้เขียน
แต่ไม่แปลทุกตัวอักษร เนื่องจากคนอ่าน อ่านแล้วจะงง
ต้องอาศัยความเข้าใจของตัวเองแล้วถ่ายทอดเป็นภาษาไทยน่ะค่ะ
เท่าที่เห็นเอกสารราชการบางกระทรวง เขาแปลง่ายค่ะ
ใช้คำทับศัพท์ กันแพรวพราวไปทั้งฉบับ
แต่สงสัยดิฉันจะหัวโบราณหน่อยๆ
เลยพยายามจะแปลให้ได้มากที่สุด นอกจากสุดวิสัยจริงๆ
อย่างกรณีนี้เป็นต้น (เป็นกลาง และเป็นท้าย)

ศัพท์บัญญัติ บางคำก็ช่างซื่อตรงต่อเจ้าของเดิมเสียจริงๆนะคะ
อย่างกระด้างภัณฑ์ ละมุนภัณฑ์ นี่ เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานจริงๆหรือเปล่าคะ
อันนี้ ถามเป็นความรู้จริงๆ นะคะ เพราะบางคนเขาก็ว่า คนบัญญัติกันเองเพื่อล้อเลียนราชบันฑิตย ฯ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 17:27

 กระด้างภัณฑ์ คือ ฮาร์ดแวร์ (ส่วนอุปกรณ์)
ละมุนภัณฑ์ คือ ซอฟท์แวร์
คำในวงเล็บ เป็นศัพย์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน ส่วนที่ไม่ได้วงเล็บนั้นไม่ทราบครับ
ป.ล. ที่คุณเฟื่องแก้วพูดมาถูกต้องครับ ละมุน-กระด้างภัณฑ์ เป็นศัพย์ล้อเลียนราชบัณฑิต
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 ก.พ. 06, 02:44

 ท่านเคานต์ นีโล ฯ ไม่เข้ามาแล้วหรือคะ
ว่าจะแอบแซวเสียนิดหน่อย พอไม่ให้เสียบรรยากาศวิชาการ
(ดิฉันเชยค่ะ เพิ่งรู้จักบทบาทท่านวันนี้เอง ชอบใจจัง)

วันก่อน ไปฟังการประชุมหารือวางแผนการพิมพ์เอกสาร เรื่องความมั่นคงของมนุษย์
ดิฉันก็นั่งฟังแบบรู้เรื่องนิดๆหน่อยๆ ตามประสาอึ่งน้อย (ปัญญามีเท่าหาง)
เขายกมือให้คำนิยามคำว่า "Human Security" อยู่อย่างเอาเป็นเอาตาย
แต่ประทับใจดิฉันอยู่คนเดียวค่ะ
เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง
(จากอาฟกานิสถาน หรืออะไรแถวๆ นั้นน่ะค่ะ ต้องเช็คอีกครั้ง)
แสดงความเห็นว่า จริงๆ ไม่ควรใช้คำว่า Human Security หรอกนะ
เพราะไม่ครอบคลุมเพียงพอ
ถ้าจะให้มีความหมายครอบคลุมถึงความมั่นคงทั้งใจ-กายละก็
ควรจะเรียกเสียใหม่ว่า Human Dignity ดีกว่า
เป็นที่ฮือฮา (ไปคนละทิศละทาง) ในที่ประชุม
ใจดิฉันนะคะ อยากให้เจ้าของเอกสารฉบับนี้
เห็นด้วยกับอาจารย์คนนี้จริงจริ๊ง
คงสนุกขึ้นพิลึกเลย เวลาดูเขามานั่งเถียงกันถึง Dignity ของมนุษย์
แทนความมั่นคงของมนุษย์ตามนิยามเก่า
เพื่อหาบรรทัดฐาน มาตรการ ปฎิบัติการ Workshop ฯลฯ
ในการปกป้องกียรติภูมิของมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหัสวรรษ
...อะไรทำนองนั้น

นับถือจริงๆ ค่ะ คนที่คิดคำอะไรออกมาแล้วติดปากติดหูคน
คนช่างคิดนี่ ต้องยกให้จริงๆ
อย่างเมื่อสักปีหนึ่งมาแล้ว ดิฉันก็สะดุดหูกับการให้คำจำกัดความ
และแบ่งกลุ่มของประเทศต่าง ๆ
ที่เคย ๆ ได้ยินมา ก็จะมีประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศด้อยพัฒนา
คำที่ฟังแล้วชื่นใจหน่อยสำหรับดิฉันคือ
ประเทศกำลังพัฒนา (แหม เหมือนให้ยาหอม)
ถัดมาอีกยุค เมืองไทยก็อยากเป็นนิกส์ ประเทศอุตสาหกรรมใหม่
(ตอนนั้น ยังเด็กมา แต่สำหรับดิฉันยังคิดอยู่นั่นเองว่า
ประเทศไทยเหมาะจะเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สุด)

จนกระทั่งมีคนคัดแยกประเทศเป็นสองกลุ่ม
คือ ประเทศอุตสาหกรรม และประเทศวัฒนธรรม
ดิฉันเลยสะดุดหูอย่างที่เล่า ก็ต้องถามว่ายังไงคะ
เพราะหลาย ๆ ประเทศนี่ ก็ร่ำรวยทั้งอุตสาหกรรมและวัฒนธรรม
แล้วจะแยกยังไง

เขาก็ตอบว่า อ๋อ ถ้ากรณีนี้ ต้องดูเป็นประเทศ ๆ ไปสิ
ประเทศอุตสาหกรรมนี่ พอจะมีลู่ทางทำนั่นทำนี่ มาหากินเลี้ยงตัวได้
ในขณะที่ประเทศวัฒนธรรม ไม่มีอะไรจะขายแล้วไง
นอกจากขุดวัฒนธรรมออกมาปัดฝุ่นขาย
หายใจเข้าออกเป็นนักท่องเที่ยว ว่างั้นเถอะ

ฟังแล้วกลับรู้สึกแย่ เหมือนหลอกด่าประเทศวัฒนธรรมเขายังไงไม่รู้
ดิฉันว่า ออกจะน่าภูมิใจ หากประเทศมีความร่ำรวยทางวัฒนธรรม
เพราะเป็นสิ่งที่คนทั้งชนชาติช่วยกันสร้าง ช่วยกันสั่งสมมา
มีเงินร่ำรวยจากอุตสาหกรรมแค่ไหน ก็ใช้เงินซื้อวัฒนธรรมไม่ได้นะคะ

(แต่ในยุคนี้ ประเทศวัฒนธรรมเอง รุ่มรวยแค่ไหน กลับต้องดิ้นรนหาเงินงก ๆ

เลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนทั้งชาติแทบไม่ไหวเหมือนกัน แย่จัง)
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 ก.พ. 06, 11:16

 สรุปว่าคุณเฟื่องแก้ว ยังแปลคำว่า Intangble Cultural Heritage ว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้หรือครับ......

ขอประทานโทษที่ต้องเรียนถามครับ...เพราะเท่าที่ผมเอาบริบทมาให้ ดูเหมือนว่าคำนี้น่าจะแปลเป็นไทยคำอื่นที่อ่านดูแล้วเหมาะสมกว่าครับ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 ก.พ. 06, 17:49

เปล่าค่ะ คุณ Andreas ดิฉันไม่ได้แปลว่า
มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
(รับรองว่าไม่ได้เขียนลงไปอย่างนั้นจริงๆ )

ใจดิฉันอยากใช้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมใจจะขาด
แต่ไม่ทราบว่า คนอื่นเขาจะคล้อยตามไหม
(นายดิฉัน ยังไล่มาหาคำที่แปลว่า จับต้องไม่ได้ เลยค่ะ)
ดังนั้น ดิฉันจึงเลี่ยงเสีย โดยใช้คำกำกับในวงเล็บว่านามธรรม
หรือใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์ไปเลย
ทั้งนี้ ดิฉันพิจารณาดูแล้วว่า บริบทของคำที่วงเล็บไว้
ได้ขยายความคำในวงเล็บให้ผู้อ่านใช้วิจารณาญาณ
และทำความเข้าใจเอาเอง
(ดังที่คนแปลทำมาแล้วนั่นเอง
รับมรดกทางภูมิปัญญาไปเสียพร้อมๆ กันเลยแล้วัน)

ไม่อย่างนั้น ดิฉันคงต้องยกบริบทของคุณ Andreas ไปวางไว้ข้างล่างเป็นบรรณานุกรมประกอบข่าวแน่ๆ ค่ะ

ขอบพระคุณอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 10 ก.พ. 06, 15:59

 อัญขยมนิลกังขา รายงานตัว ซัวสะเด็ย บาท

ผมเพิ่งกลับจากไปทำงานที่พระนครพนมเปญมาครับ

(ส่วนท่านเคานต์นีโลฯ น่ะ แกเล่นละครจบบทบาทไปแล้ว ก็ปล่อยๆ แกไปกับคุณนางฟ้าเฮอะ-)

คำว่า ความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีคำอรรถกถาขยายความว่า ประกอบด้วย feedom from want/ fear (ซึ่งคนที่คิดเรื่องนี้ก็ไปเอามาจากคำกล่าวของประธานาธิบดีวิลสันอีกที) นั้น ในความเห็นส่วนตัวผมเอง เห็นว่า เป็นแนวความคิดใหม่ที่ที่จริงแล้วก็ไม่ใหม่เสียทั้งหมด และจะว่ามันคืออะไรแน่ๆ ก็พูดยากอยู่ เพราะแนวความคิดนี้ผมเห็นว่ายังอยู่ระหว่างการวิวัฒนาการอยู่ แต่ในชั้นนี้ ได้อิทธิพลจากเรื่องหลายเรื่องที่เคยเป็นประเด็นมาแต่เดิมรวมๆกัน เกือบๆ จะเป็น เหล้าเก่า เปลี่ยนแต่ขวดข้างนอกเป็นขวดใหม่

เพราะถ้าเรานิยามว่าการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ เป็นการทำให้มนุษย์ปลอดพ้นปราศจากความกลัว และความขาดแคลน แล้ว ก็เกือบจะเรียกได้ว่าครอบคลุมงานทั้งหมดทุกด้านของสหประชาชาติเลย

ในแง่นี้ คำว่าความสุขกายสบายใจอาจจะครอบคลุมได้กว้างมากๆ พอๆ กันครับ เฉพาะความหมายนะครับ

แต่ถ้าพิจารณาที่มาที่ไปของคำ อาจจะต้องยังเก็บคำว่า "ความมั่นคง" ไว้ตามเจตนาเดิมของคนคิดคำ เพราะเขาพยายามจะบอกว่า ไอ้เรื่องปัญหาความมั่นคง ซึ่งระบบระหว่างประเทศสมัยก่อน (โดยเฉพาะช่วงสงครามเย็น) ให้ความสำคัญเหลือเกินนั้น ที่จริงมันมุ่งที่ "ความมั่นคงแห่งชาติ" หรือความมันคงของรัฐ (หรือรัฐชาติ)เสียจนเกินพอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็เรื่องการทหาร เขาเห็นว่าควรจะหันกลับมามองปัญหาความมั่นคงในมุมมองใหม่ คือความมั่นคง หรือ "สิ่งที่เรียกว่าความมั่นคง" ของมนุษย์ ไม่ใช่ของรัฐ บ้าง เช่นว่า เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องความยากจน ปัญหาสังคม  ฯลฯ ซึ่งกระทบถึงตัวมนุษย์แต่ละคนโดยตรงเองเลย

ก็เลยกลายเป็นศัพท์ว่า Human Security ด้วยประการฉะนี้ ซึ่งแม้ว่าโดยสาระ จะไม่ผิดจากคำว่า "ความสุขกายสบายใจ" ก็ตาม แต่ผมเชื่อว่า ฝรั่งคนบัญญัติที่พยายามจะสร้างมูลค่าเพิ่มของคำให้เห็นเก๋ โดยอุตส่าห์เอาไปพันกับแนวคิดเรื่องความมั่นคง (แห่งชาติ) คงร้องไห้ตายเลยครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 10 ก.พ. 06, 16:30

ที่จริง Human Security ก้ไม่ผิดอะไรกับ Happiness มากนัก โดยเนื้อหาสาระความหมาย หรือไม่ก็อาจเรียก Human Happiness (ย่อว่า HH?) แต่ก็อย่างที่ว่า ฝรั่งคนคิดคำค้อนตายเลย เขาอุตส่าห์หาคำบิ๊กเวิร์ดมากๆ เก๋เริ่ดมากๆ  คุณ Hotacunus ดั๊นเอาไปเทียบให้เท่ากับ "คำบ้านๆ" เสียได้ ;-)

พูดถึง HH ... เอ๊ย ความสุขกายสบายใจแล้ว เลยนึกได้ว่า ภูฏานก็เพิ่งเสนอแนวความคิดใหม่ ไม่กี่ปีมานี้ แต่จะมีใครในโลกนี้เอาด้วยตามประเทศเล็กๆ อย่างภูฏานรึเปล่าก็ไม่ทราบนะครับ ผมเองเห็นว่าน่าสนใจทีเดียว คือเขาว่า การใช้ทฤษฎีทุนนิยมวัดความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วย GNP / GDP อะไรก็ตามแต่นั้น ก็ดีดอก เป็นตัวชี้ตัวหนึ่ง ทราบนะครับ GDP Gross Domestic Product / GNP ก็ Gross National Product แต่ชีวิตมนุษย์ไม่ได้มีแต่การผลิต น่าจะวัดจากตัวอื่นๆ ด้วย รัฐบาลภูฏานเลยเสนอแนวคิด GHP - Gross Happiness Product ครับ ลองช่วยๆ นึกแปลเป็นไทยหน่อยสิครับ

แต่ผมว่าไอเดียนี้เก๋แฮะ (ท่านนายกคนปัจจุบัน ซึ่งรักเงินมาก อาจไม่เห็นด้วยกับผมและรัฐบาลภูฏานนักก็ได้)

เรื่องประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศด้อยพัฒนา นั้น ก็ฝรั่ง (และฝรั่งที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมด้วยกระมัง) นั่นแหละเริ่มคิดแบ่งและกำหนดคำก่อน โดยดูจากระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอีกนั่นแหละเป็นหลัก อาจจะการพัฒนาด้านอื่นๆ บ้างประกอบ

เดิมจริงๆ น่ะ เขาเรียก Developed countries หมายถึงพวกเขา (ก็ว่าได้) ไทยแปลว่า ประเทศพัฒนา หรือประเทศพัฒนาแล้วกับ Undeveloped countries ก็แปลว่า ประเทศด้อยพัฒนา หรือ Underdeveloped ก็ได้

ต่อมามีการโวยกัน ก็เลยปรับเปลี่ยนแปลงศัพท์ใหม่ เอาใจพวกเราที่ไม่ใช่ฝรั่ง กลายเป็น Developed กับ Developing countries ดีขึ้นนิดหนึ่ง คือแปลว่า ประเทศกำลังพัฒนา "กำลัง" จะพัฒนาอยู่นะเฟ้ย เดี๋ยวก็คงจะไล่ตามพัฒนาทันกันหรอกน่ะ  ก็ยังดีกว่าไม่พัฒนาซะเลยคือ "UN" developed

ต่อมาอีก ก็มีคำเรียกใหม่ แต่ใช้เรียกเฉพาะประเทศที่จนมากๆ ระดับการพัฒนาต่ำมากๆ เท่านั้น เรียกว่า LDCs - Least Developed Countries แปลวว่าประเทศพัฒนาน้อยที่สุด อันนี้คงจะพอเทียบได้กับคำว่าอันเดอร์ดีเวลลอปด์สมัยก่อน

แต่ผมอดคิดเอาเองไม่ไดว่า ถ้า LDCs ย่อมาจากที่ว่าแล้ว ก็ต้องแปลว่าตอนนี้ฝรั่งถือว่าทุกประเทศ "พัฒนาแล้ว" ทั้งหมดน่ะสิ แต่จะพัฒนาแล้วได้แค่ไหนเท่านั้นเอง คือ พัฒนาน้อยที่สุด ต่อมาก็อย่างเราซึ่งคงจะเรียกว่า พัฒนากลางๆ - Fairly developed?ฮืม (เพียงแต่เขาไม่เรียกกันเท่านั้น) แล้วก็ประเทศพัฒนาแล้วคำเดิม ถ้าจะว่าตามตรรกะ ต้องเรียกว่า "พัฒนาแล้วมากหน่อย" หรือไงหว่า?

งั้นเรียกใหม่ซะเลยดีไหมว่า ประเทศ "พัฒนามานานแล้ว" กับ ประเทศ "เพิ่งพัฒนามาได้เดี๋ยวเดียว" ...
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 10 ก.พ. 06, 16:33

อดีตเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ท่านหนึ่งเคยบ่นในสมัยโน้นว่า ทำไมนะ (ตอนนั้น) เราถึงอยากจะเป็น NIC กันนัก (ขณะนั้นคนไทยยังไม่รู้จักคำว่า วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง) อยากเป็นเสือตัวที่ห้าเหลือเกิ๊น

สำหรับท่านเอง ท่านอยากเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่ nice มากกว่าNIC ครับ (ไม่ได้หมายความว่าเมืองนีซนะครับ)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง