เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 17157 ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 10:23

 ในที่สุด คุณ Peking Man ก็ก้าวเข้ามาใน"โลกแตกคลับ"  จะด้วยจงใจหรือเผลอก็ตาม

คุยกันเพื่อแตกกิ่งก้านสาขาความคิดไปเรื่อยๆ  เพิ่มรอยหยักให้สมอง  
โดยไม่ต้องมาตั้งหน้าตั้งตาหาคำตอบหนึ่งเดียว ให้จงได้
ก็เป็นความบันเทิงอย่างหนึ่งของนักวิชาการนะคะ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 23:49

 http://unesdoc.unesco.org/images/0013/001325/132540e.pdf  

Above is the report from UNESCO in regard to this convention, it has the definition of words which we have been discussing about

Article 2 – Definitions
For the purposes of this Convention,

1. The “intangible cultural heritage” means the practices, representations, expressions,
knowledge, skills – as well as the instruments, objects, artefacts and cultural spaces associated
therewith – that communities, groups and, in some cases, individuals recognize as part of their
cultural heritage. This intangible cultural heritage, transmitted from generation to generation,
is constantly recreated by communities and groups in response to their environment, their
interaction with nature and their history, and provides them with a sense of identity and
continuity, thus promoting respect for cultural diversity and human creativity.

For the purposes of this Convention, consideration will be given solely to such intangible cultural
heritage as is compatible with existing international human rights instruments, as well as with
the requirements of mutual respect among communities, groups and individuals, and of
sustainable development.

2. The “intangible cultural heritage”, as defined in paragraph 1 above, is manifested inter
alia in the following domains:
(a) oral traditions and expressions, including language as a vehicle of the intangible
cultural heritage;
(b) performing arts;
(c) social practices, rituals and festive events;
(d) knowledge and practices concerning nature and the universe;
(e) traditional craftsmanship.

3. “Safeguarding” means measures aimed at ensuring the viability of the intangible
cultural heritage, including the identification, documentation, research, preservation,
protection, promotion, enhancement, transmission, particularly through formal and nonformal
education, as well as the revitalization of the various aspects of such heritage.
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 01:21

 สวัสดีค่ะ ขอบคุณทุกๆ ท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง นะคะ น่าสนใจจริงๆ

จะมาแจ้งว่า...
ส่งงานไปแล้ว...ดิฉันอับจนหนทางจริงๆค่ะ จึงใช้คำว่า...

".....อนุสัญญาฉบับนี้ ทำให้กระบวนการกำหนดกรอบมาตรการ
ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม(รูปธรรม) ขององค์การยูเนสโกสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
และมีเป้าหมายในการอนุรักษ์ประเพณีต่าง ๆ ที่แสดงออกในรูปของการร้อง ขับลำนำ หรือ อ่าน
(รวมทั้งภาษา ซึ่งเปรียบได้กับสื่อกลางของมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้)
ศิลปะการแสดง ธรรมเนียม ปฎิบัติทางสังคม พิธีกรรม เทศกาลรื่นเริงต่าง ๆ ..."

(อีตอนแปลคำว่า oral traditions and expressions นี่ ดิฉันเหงื่อตกเลยค่ะ)

ส่วนหัวข้อ ดิฉันใช้ทับศัพท์ไปเลยค่ะ
เจ้านายดิฉันก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเขาบัญญัติศัพท์สำหรับอนุสัญญาฉบับนี้หรือยัง
ท่านเห็นดิฉันเขียนสำเนาแรกเพียงแค่ มรดกทางวัฒนธรรม
ท่านก็ให้หาคำที่แปลว่า จับต้องไม่ได้
ดิฉันเลยต้องหันหน้ามาพึ่งผู้รู้ในวิชาการ ฯ นี่แหละค่ะ แหะๆ

จริงๆ ดิฉันก็ทำอย่างคุณนิลกังขานะคะ คือถามกระทรวงการต่างประเทศ
และเช็คกับเว็บไซต์ของกว. ก็ไม่เจอ
ตอนที่มาตั้งกระทู้สอบถามนี่ จนปัญญาจริงๆค่ะ
คือ ใจอยากจะได้คำศัพท์ที่เป็นทางการ
ตัวอย่างเช่นคำว่า สิทธิมนุษยชน สำหรับคำว่า -Human Rights - ที่พวกเราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว
(ตอนนี้ ยูเนสโกกำลังพยายามนิยามความหมายของ Human Security อีกแล้ว
อีกเดี๋ยวคงได้มาถามอีกค่ะ ไม่ทราบว่า มีศัพท์บัญญัติออกมา
นอกเหนือจาก ความมั่นคงของมนุษย์ หรือเปล่าน๊า)

แต่หากไม่มีผู้ใดทราบก็คิดว่า ยังไม่มีศัพท์บัญญัติของคำนี้ จริงๆ
เจ้านายก็ยอมรับได้ค่ะ ใช้ภาษาอังกฤษทับศัพท์ทับเสียงไปก่อนแล้วกัน
(ดิฉันมีปัญหาเรื่องการแปลงานวิชาการค่ะ มันจะติดไปข้างบันเทิงซะเรื่อย)
อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้เข้ามาแบ่งปันความรู้ ความคิดเห็น
หลากหลายแง่มุมอันเป็นประโยชน์นะคะ

((ส่งงานไปแล้วแต่ยังอภิปรายกันได้ต่อนะคะ จะกลับมาอ่านค่ะ
แล้วก็คงจะมีปัญหากวนใจมาถามเรื่อยๆ นะคะ หวังว่าคงจะให้ความกรุณาได้
ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ ))
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 02:23

 From above, including the source of knowledge from Khun Hotaconus.....I have an idea expressed in the followings,

I think "Intangible cultural heritage" cannot be defined base on it original word "Tangible cultural heritage" by saying it is opposite to one another because of prefix "in" .......

Imagine if you say that "Tangible Cultural Heritage" means possibly touchable, understandable, realizable, and material able cultural heritage….then you will say that “Intangible Cultural Heritage” is untouchable, unrealizable, immaterial able cultural heritage……It might not represent the true meaning.

2 keywords that I have found from Khun Hotaconus’s information including mine are

(1)   “Visible heritage of humanity” which are vast monuments, like the temple of Borobudur and other works of art, as paintings and sculptures. Because they are large in term of scale as well as being concern widespread all peoples over the world……these call as tangible forms of cultural expressions or “Tangible cultural Heritage” ……….while not visible, intangible cultural heritage is referred to the cultural expressions such as oral traditions and literature, visual arts, music and performing arts especially of minority peoples.

Therefore, it would be very difficult to agree if you say that “Intangible Cultural Heritage” is อผัสสะวัฒนธรรม or มรดกวัฒนธรรมอรูปนัย, or มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ since literature, visual arts or music in minority group of people are touchable or จับต้องได้.

However, why intangible cultural heritage is considering as non-visible cultural expression….because it just transfers and circulates among a small group of people, or locally exists…… which doesn’t know or see among people worldwide.  

(2)   From the definition I gave you above (from UNESCO), you can see that they refered Intangible cultural heritage as practices, representations, expressions, knowledge, skills – as well as the instruments, objects, artefacts and cultural spaces associated therewith – that communities, groups and, in some cases, individuals recognize as part of their cultural heritage

If you say “Intangible cultural heritage is มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้….how do you explain instruments and objects in the definition…..They are touchable, aren’t they? ….

The better way to think about the definition is another keyword hidden among this group of sentences…. it is  “Communities and groups” or other word “Minority”.  This word has made a huge impact to the definition of “Intangible Cultural Heritage” in which I can interpret that “Intangible Cultural Heritage” is the practices, representations, expressions, knowledge, skills happened and being continued among minority people. This cultural heritage is invisible in term of being hidden under the vast majority of people over the word.

Consequently, I agree to Khun Hotaconus that “Intangible Cultural Heritage” should, at least in this moment, refers to “ภูมิปัญญาท้องถิ่น"

Regards

Andreas
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 07:32

 ไม่อยากให้คุณเฟื่องแก้วเหงื่อตกมากกว่านี้เลย  แต่ว่าสะดุดใจคำว่า
"การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม(รูปธรรม)"

รูปธรรม   หมายถึงสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยสัมผัสทั้ง 5  คือเห็นได้ ได้กลิ่น ได้ยิน ชิมได้ สัมผัสได้
คือเป็นสิ่งที่ concrete  
Of or relating to an actual, specific thing or instance; particular: had the concrete evidence needed to convict.
Existing in reality or in real experience; perceptible by the senses; real: concrete objects such as trees

ตรงกันข้ามกับ นามธรรม  abstract    
abstract noun ก็อย่างคำที่ขึ้นต้นด้วย ความ- ทั้งหลาย เช่นความดี ความงาม ความรัก

คุณแปล intangible ว่า รูปธรรม  มันก็ตรงข้ามกับความหมายซึ่งเป็นสิ่งที่สัมผัสไม่ได้น่ะซีคะ
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 10:11

 ภาคภาษาไทยมาแล้วครับ.....นึกอยากให้คอมพ์ที่ที่ทำงานพิมพ์ภาษาไทยได้จังเลยครับ...จะได้ไม่ต้องมาพิมพ์สองครั้ง...เฮ้อ...

สรุปว่าวันนี้นั่งอ่านบทความที่ว่าด้วยเรื่อง Intangible Cultural Heritage มาซักสองสามอัน รวมถึงที่ผมและคุณ Hotaconus เอามาโพสต์ด้วยครับ

อ่านไปอ่านมา...ก็อย่างที่บอกในภาคภาษาอังกฤษครับ....ว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับคำว่า สัมผัสได้ หรือ สัมผัสไม่ได้หรอกครับ มันเกี่ยวกับเรื่องการกระจายตัวของวัฒนธรรมนั้นมากกว่าครับว่าจะกระจายตัวให้คนรับรู้ในวงกว้างได้ขนาดไหน ถ้ากว้างมากระดับชาติหรือนานาชาติ ก็เรียกว่า Tangible Cultural Heritage

นิยามมันจึงอยู่ที่ว่า Intangible Cultural Heritage คือ มรดกทางวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อย .....(ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นชาวเขาเสมอไป) เป็นมรดกทางปัญญา การสื่อสาร ศิลปะ การแสดง ดนตรี และความชำนาญ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และสิ่งของต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาในกลุ่มคนกลุ่มๆเล็กๆ หรือรายบุคคล ที่ง่ายต่อการถูกกลืนหายไปในโลกปัจจุบัน (ย้อนขึ้นไปอ่านนิยามที่ผมคัดลอกมาจากเอกสารรายงานการประชุมได้ครับ)

ทิ้งไว้แค่นี้ก่อนครับ...รอท่านที่อ่านนิยามที่ผมเอามาให้แล้ว.....แล้วมาอภิปรายกันใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 10:40

 ย้อนกลับขึ้นไปอ่านอีกครั้ง  
ถ้าเป็นอย่างที่คุณ Andreas ว่า    ก็แปลผิดกันระเนนระนาดน่ะซิคะ
กลายเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของสิ่งที่ถูกมองข้ามไป ไม่ค่อยเห็นกัน เช่นวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย  หรือวัฒนธรรมเล็กๆน้อยๆในสังคมใดสังคมหนึ่งที่ไม่ได้กว้างขวางออกสู่สายตาประชาโลก    ทำให้ง่ายต่อการถูกกลืนหายไปในสังคมใหญ่
โดยเฉพาะในระบบโลกาภิวัตน์ที่"ส่วนเล็ก" จะถูกปรับให้เป็นส่วนประกอบของ "ส่วนใหญ่"

คุณเฟื่องแก้วคงต้องดึงเอกสารกลับมาลบคำผิด แก้ใหม่เสียแล้วละมั้ง
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 11:18

 Oh sweet! (Please do excuse my many grammatical mistakes, however I feel that I would be able to express myself better if I were able to use English as medium for communication. Again, I apologise for my inconsiderate manner.)



Dear khun Andreas,



Thank you for taking the trouble to find for us the document in question (why didn't I think of that...mental note to self, be more thoughtful ).



With the document clearly stating the definition of the term "intangible cultural heritage" our task is then undeniably much easier. And according to the document, I am also wavered to lean toward the idea that in this particular context, the term "intangible cultural heritage" should be translated into thai as "ภูมิปัญญา" which stands well to encompass the multi facetted nature of the term which includes all aspects of human life.



Taking what I have said above into account, then khun Andreas comment



"If you say “Intangible cultural heritage is มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้….how do you explain instruments and objects in the definition…..They are touchable, aren’t they? "



would come as natural  



However, upon being more stringent with my judgement,I  find that khun Andreas's argument to be also somewhat problemmatic.



Khun Andreas's attempt to capture the essence and meaning of the term "intangible" does also raise some interesting points.





First of all, simple negation is definitely not sufficient to refute or assert claims, explanation, or otherwise. However, most of the point that khun Andreas attacks are those which have been made before we were able to read what the UN convention stipulates, hence khun Andreas attacks upon comments made before her should be rendered null and void.    



Secondly, from this passage extracted from above



"tangible forms of cultural expressions or “Tangible cultural Heritage” ……….while not visible, intangible cultural heritage is referred to the cultural expressions such as oral traditions and literature, visual arts, music and performing arts especially of minority peoples"



is there not a big cross section of "tangible" and "intangible" cultural heritage that are intertwined and coexists with one another? should it then be conceptualised as a complimentary set of cultures, where there are several layers which while all having thickness varies and changes in time, and that the term "tangible" and "intangible" are similar to those of "phenomenal and noumenal", or otherwise?



Thirdly, khun Andreas have brought into play the role of minority group which is in a sense "invisible" (whether through ignorance or other wise) of which while meeting a requirement of being "intangible" - not a lot of people identify with it or understand it, does however possess other attributes which belongs to those that are "tangible".



Therefore, in conclusion... there is no conclusion that could satisfy everyone but there are more and more questions to answer.



Is this the fate of man, or as Laozi once said warning us that nothing is permanent and that no greater diaster could you begotten than that of getting what you want and no worse faults could you commit than not knowing the word "enough".
บันทึกการเข้า
Andreas
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 12:18

 สวัสดีครับคุณ Peking Man

ผมมีได้มีเจตนาที่จะยกเอาความคิดเห็นก่อนหน้ามาอ้างถึง หลังจากที่เอานิยามที่แท้จริงมาให้อ่านหรอกครับ....เพียงแต่พยายามจะชี้แจงให้เห็นว่า บางครั้งเราแปลตรงๆจากพจนานุกรมมา มันก็อาจทำให้ผิดไปได้ครับ เพราะถ้าเราแปล Tangible แปลว่าสัมผัสได้ แล้วเราแปล Intangible แปลว่าสัมผัสไม่ได้ มันก็จะทำให้ผิดความหมายไปอย่างมากครับ

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเราสัมผัสวัฒนธรรมได้ครับ....เราสัมผัสภาษาจากการอ่านและได้ยิน เราสัมผัสดนตรีจากการฟัง เราสัมผัสภาพศิลป์หรือ visual art ด้วยการมองเห็น เราสัมผัสภูมิปัญญาต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าของเราไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งครับ แต่ผมว่าประเด็นของเรื่องนี้มันไม่ได้อยู่ที่ว่าวัฒนธรรมคือสิ่งที่สัมผัสได้หรือไม่ได้

เพียงแต่ UN เค้าใช้ Tangible แทนวัฒนธรรมที่สัมผัสได้โดยคนหมู่มาก (visible worldwide) และใช้ Intangible แทน วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย (non-visible by vast majority of people)

....ตอบมาอีกที..มันจะช่วยอะไรมั้ยครับนี่..... ขออนุญาตไปนอนหลับ แล้วตื่นมาอ่านสิ่งที่คุณ Peking Man เขียนใหม่ครับ.....ต้องขอออกตัวไว้ก่อนครับ....ผมเป็นนักเคมีอ่ะครับ....ไม่สันทัดศัพท์ทางภาษาศาสตร์ด้วยประการทั้งปวงครับ....ต้องขอโทษล่วงหน้าด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 16:16

 เหงื่อตกสิคะ พิมพ์ผิดค่า ขอบพระคุณที่เตือน
ไอ้ตอนพิมพ์ก็คิดถึงนามธรรม ทำไม๊ ตอนพิมพ์ มันกลายเป็นรูปธรรมไปได้ก็ไม่ทราบ แหะๆ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 17:50

 ....แก้เรียบร้อยแล้วค่ะ ขอบพระคุณมาก คุณเทา-ชมพู
as a wise man said...
No greater diaster could you begotten than that of getting what you want
and no worse faults could you commit than not typing the word "correctly"  

ดิฉันเห็นด้วยกับคุณเทา-ชมพูใน คหพต.ที่ 21

ตามที่ดิฉันอ่านเอกสารอนุสัญญาฉบับดังกล่าว
จุดประสงค์การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เหล่านี้
คือต้องการปกป้องจากการคุกคามของกระแสโลกาภิวัฒน์และวิถีชีวิตร่วมสมัย
เพื่อไม่ให้ถูกกลืนจนสูญหายนั่นเอง

แวะเอาเว็บไซต์ของรายการมรดกทางวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ มาฝากนะคะ
(มีของประเทศเพื่อนบ้านเราเยอะเชียว แต่ไม่มีมรดกของไทย ฮือ)
ชมดูแล้วเชิญกลับมาอภิปรายกันต่อค่ะ

 http://www.unesco.org/culture/intangible-heritage/

ดูแล้วยังคิดว่า บ้านเรามรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ เยอะมาก
ลิเก เพลงกล่อมลูก สวดพระมาลัย ลำตัด หมอลำ ช่างสิบหมู่
การอ่านบทประพันธ์ร้อยกรอง
(ตอนนี้ เด็กนักเรียนเลิกท่องอาขยานแล้ว ไม่ต้องพูดถึงสวดโอ้เอ้วิหารราย
แต่ได้ยินว่า ตอนนี้ ราชินีหมอลำ โปงลางสะออนกำลังดังใหญ่นี่นะคะ)
แต่ไม่มีหน่วยงานใดนำเสนอยูเนสโก เพื่อส่งเสริมมรดกเหล่านี้เลย

เสียดายจริงๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 18:42

 อาทิตย์ที่ผ่านมาจอคอมของดิฉันเกิดเบลอขึ้นมาเฉยๆค่ะ เลยไม่ได้เข้าไปเพ่งกระทู้ที่
ต้องถกเกียงกันนาน ผ่านไปหนึ่งอาทิตย์กระทู้นี้ยังไม่จบ วันนี้เลยขอนำความเห็นจากแหล่งต่างๆมาฝาก

ก่อนอื่นต้องถามพวกเราก่อนว่าเห็นด้วยไหมกับไอเดีย  Keep it simple. เหมือนกฎหมายน่ะค่ะ
เขาร่างเป็นข้อชัดๆ แต่ทนายโจทย์และจำเลยก็พยายามแปล กม. มาตราเดียวกัน
ให้เข้าข้างตนเอง ดังนั้นจึงต้องมีผู้พิพากษาเข้ามาเป็นผู้ตีความ กม.

1) แม้ UN จะให้คำจำกัดความไว้แล้ว แต่องค์กรฝรั่งที่ยกมาให้ดู 3 องค์กร ตีความ
คำจำกัดความ อย่างง่ายๆ ตรงไปตรงมา ว่าจับต้องได้หรือไม่ได้

1.1 Asia/Pacific Cultural Center for UNESCO ซึ่งเป็นแขนขาของ UN ให้คำจำกัดความ
ตรงตัว ตาม ค.ห. เดิมๆ ด้านบน

Intangible cultural heritage (ICH) in its many forms such as music, dance,
craft technique, ritual, and oral traditions, is a valuable gift passed down
from person to person for many generations…..

Unlike tangible cultural heritage, in the forms of historical monuments or
buildings and art objects, it is human bodies and souls which are the medium
for transmitting intangible heritage. Therefore, such heritage is vulnerable and
susceptible to changes
in life styles and values which globalisation brings.

สรุปตามภาษาชาวบ้านที่ดิฉันเข้าใจคือ “อะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆตามยุคสมัย” เช่นวรรณคดี,
ดนตรี, ศิลปการแกะสลัก (craft technique – ย้ำว่า ไม่ใช่ชิ้นงานแกะสลัก) ก็คือ
intangible cultural heritage ดังนั้นภูมิปัญญาชาวบ้าน “the art of making…,
not the physical objects should be considered ICH.”


ส่วนอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน สัมผัสได้ ก็เท่ากับ tangible cultural heritage
 http://www.accu.or.jp/en/culture/cul01.shtml  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 19:04

 1.2 Wiki Encyclopedia
Intangible culture is the opposite of culture which is tangible or touchable such as a castle,
a statue, musical score, or a painting. Intangible culture includes song, music, drama, skills,
and the other parts of culture that can be recorded but cannot be touched and interacted with,
without a vehicle for the culture. These cultural vehicles are called "Human Treasures" by the UN.
 http://en.wikipedia.org/wiki/Intangible_culture

1.3 Office of the Auditor General of Canada
Protection of Cultural Heritage in the Federal Government
Cultural heritage means the tangible evidence of human experience, such as artifacts, archives,
and printed material, and intangible evidence such as folklore, language, customs, traditions,
and know-how.
 http://www.oag-bvg.gc.ca/domino/reports.nsf/html/20031106ce.html#ch6hd3b

ทั้ง 3 อันที่ยกมายึดหลัก Keep it simple. แต่ยังไม่จบค่ะ พอมีนักวิชาการเข้ามายุ่งเกี่ยวทีไร (แฮะๆ not me!)
จะต้องตีความให้มากเรื่องดังจะโพสต์ให้ดูอีกอันหนึ่งค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 21:31

 2) มุมมองผู้แต่งหนังสือ A Richer Heritage: Historic Preservation in the 21st Century
ขออภัยที่ด่วนตำหนินักวิชาการ จอมอนิเตอร์ใหม่ยังไม่มาค่ะ พออ่านจนท่อนสุดท้ายของหน้า
กลายเป็นว่านักวิชาการก็เห็นด้วยกับ 3 แหล่งด้านบน ซึ่งผู้เขียนยอมรับว่าการแบ่งแยกวัฒนธรรม
ระหว่างอันที่จับต้องได้และไม่ได้เป็นเรื่องชวนปวดขมอง  เขาจึงเพิ่ม grey area สำหรับ
วัฒนธรรมที่ไม่สามารถตัดสินได้ชัดว่าจะอยู่ได้ฝั่งไหนแน่ (ดูรูปประกอบ)

At the level of cultural expressions, one may distinguish between tangible expressions
( a pot, quilt, building) and intangible expressions (a story, riddle, and song).
But still there remain categorical problems: a dance or a meal seem tangible,
yet their form is fleeting, making the performances more than artifacts.
And even the most concrete artifacts gradually change over time……….
…They make cultural expressions, whether intangible or tangible in their original form,
tangible in a new fixed form analogous to their original creative work.


ดูย่อแรกหน้า 442 หรือขยันก็ดูตั้งแต่ 441 ค่ะ

 http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN0807854514&id=4kQyYUzDrHYC&dq=intangible+cultural+heritage&prev=http://books.google.com/books%3Fq%3Dintangible%2Bcultural%2Bheritage&lpg=PA442&pg=PA442&sig=vzm7pLYbihQOAo5WI1BcHVe1TM0  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 03 ก.พ. 06, 23:01



 
To be (intangible), or not to be(intangible) :

that is the question:

Whether 'tis nobler in the mind to suffer  

The slings and arrows of cultural heritage,

Or to take arms against a sea of interpretations.  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.108 วินาที กับ 19 คำสั่ง