เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 17171 ขอความกรุณาช่วยด้วยค่ะ เกี่ยวกับ Intangible Cultural Heritage
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


 เมื่อ 31 ม.ค. 06, 18:11

 สวัสดีค่ะ สมาชิกใหม่รายงานตัว และจะขอความช่วยเหลือด่วนค่ะ
จะต้องเขียนข่าวเรื่อง Convention for the Safeguarding ntangible Cultural Heritage เป็นภาษาไทย
แต่ไม่ทราบจะแปล the Intangible Cultural Heritage ว่าอย่างไรดี
ไม่ทราบว่า อนุสัญญานี้ มีการแปลเป็นทางการอย่างไรคะ

ขอความกรุณาด้วยค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 00:34

 ลองสืบค้นดูสิคะ มีคนชงคำถาม mirror image และมีคนตอบเสร็จแล้ว You can just open can and drink.

(ยูเนสโก) และรัฐบาลประเทศตุรกีได้จัดการประชุมโต๊ะกลมของรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมครั้งที่ 3 เรื่อง
The Intangible Cultural Heritage : A Mirror of Cultural Diversity” ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน พ.ศ 2545
ณ เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี...
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 10:18

 สวัสดีครับ สมาชิกเก่า (มาก) รายงานตัวด้วยครับ หายไปนานหน่อย

ผมเช็คกับกรมสนธิสัญญาและกฏหมาย กระทรวงการต่างประเทศแล้ว เขายืนยันว่าไทยเรายังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาที่ว่านี่ จึงเลยยังไม่มีฉบับแปลเป็นภาษาไทยเก็บไว้ที่กระทรวงการต่างประเทศ (บรรดาอนุสัญญา สนธิสัญญา กติกาสัญญา และสัญญา/กรรมสารระหว่างประเทศอื่นๆ ที่ไทยเซ็นแล้วทั้งหมดเก็บไว้ที่นั่นครับ ใครสนใจเรื่องอื่นๆ ที่เราเป็นภาคีแล้วก็ค้นได้ที่ www.mfa.go.th คลิกตรงหน้าภาษาไทยหน้าแรก ทางซ้ายของจอ จะมีแถบหลายๆ แถบ แถบหนึ่งเรียกว่า คลีนิกกฏหมายระหว่างประเทศ/ค้นหาสนธิสัญญาระหว่างประเทศ คลิกเข้าไปจะเจอเซิร์จเอนจิ้น ค้นได้ครับ แต่เฉพาะฉบับนี้ไม่มี ผมค้นไม่เจอครับ เลยต้องถามเขา ก็ได้ความว่าไม่มีจริงๆ)

ลองเช็คอีกทีกับเว็บไซต์ของยูเนสโก ก็ได้ความตรงกันว่าไทยยังไม่ได้เซ็นจริงๆ

เอ้า - ลองแปลดู แต่เป็นการแปลโดย "อัตโนมติ" คือความเห็นส่วนตัว ของนิลกังขานะครับ ไม่ใช่การแปลทางการ ("อัตโนมัติ" ที่จริงศัพท์เดิมแปลว่ามติส่วนตัว ความเห็นส่วนตัว แต่ที่กลายมาใช้สำหรับแปลคำว่าออโตเมติก หรือสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเองนั้น เป็นการใช้ภายหลัง)

ตามอัตโนมติของข้าพเจ้า ขอแปลว่า "มรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นนามธรรม" หรือ" มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องมิได้" ครับ

ขอเชิญเจ้าของกระทู้ พิจารณาเอาตามชอบใจเองเทอญ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 10:28

 Intangible cultural heritage ใช้ภาษาไทยว่าอย่างไรคะ
สวัสดีค่ะ ขอสอบถาม ขอความกรุณาผู้รู้ด้วยนะคะ
คำว่า Intangible cultural heritage ใช้ศัพท์ในภาษาไทยว่าอย่างไร
(แปลเองได้อย่างเดียวว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (นามธรรม) เท่านั้นค่ะ)
กำลังเขียนรายงานอยู่ อยากได้คำที่เป็นศัพท์ทางการ
คิดว่าน่าจะฟังเข้าท่ากว่าที่แปลออกมาเอง มันเยิ่นเย้อด้วย
ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

จากคุณ : *ProuD*   - [ 18 ม.ค. 49 21:49:07 ]
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 10:43

 สงสัยว่าจะไม่มีคำที่ไม่เยิ่นเย้อน่ะสิ คุณ ProuD  เพราะมันแปลว่ายังงั้นจริงๆ

จะแปลคำว่า "ที่จับต้องไม่ได้" Intangible เป็นรูปศัพท์บาลีสันสกฤตคำเดียว ก็คงทำได้หรอก แต่ผมไม่แน่ใจว่าแปลยังงั้นแล้ว คนไทยจะรู้เรื่อง เพราะเป็นภาษาแขก

อย่างศัพท์กฎหมาย มีคำว่า สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ได้ อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์เคลื่อนที่ไม่ได้ (คือที่ดิน) วิญญาณกทรัพย์ ทรัพย์ที่มีวิญญาณ คือเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น ช้างม้าวัวควาย ฯลฯ (สมัยก่อนคงนับรวมทาสที่เป็นมนุษย์ด้วย) อวิญญาณกทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่มีชีวิตไม่มีวิญญาณ เช่น เงินทอง (แต่มีอำนาจครอบงำวิญญาณคนได้?ฮืม)

ถ้าเราจะผูกศัพท์ขึ้นมา ให้แปลว่า ที่จับต้องไม่ได้ ก็คงจะได้หรอก คงเป็น อ... อะไรสักอย่างหนึ่ง

ลองยังงี้ไหม มรดกนามธรรมทางวัฒนธรรม ?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 11:15

 มรดกวัฒนธรรมอรูปนัย?

คือไม่มีรูป จับไม่ได้

(บอกแล้ว ว่าถ้าใช้ภาษาแขกก็ต้องอธิบายต่อยังงี้แหละ)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 11:25

 ไม่ใช่เห็นไม่เด่นชัดครับ (ล้อเล่นหรือเปล่า อิอิ)

ผมให้คำ "มรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดทางภูมิปัญญา" หรืออันที่จริงก็คือ "ภูมิปัญญา" นั่นแหละครับ

เพราะตาม ครอบความคิด ของเรื่องนี้ เค้าจะพูดถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (โบราณวัตถุ โบราณสถาน งานศิลปะ อะไรก็ตามที่เป็นรูปธรรม) กับ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (ภูมิปัญญา หลักปรัชญา ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ)

จากคุณ : Dies Dominicus (Hotacunus)  - [ 22 ม.ค. 49 09:07:57 ]
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 11:32

 "ภูมิปัญญา" ครอบคลุมไม่หมดง่ะ

เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เป็นส่วนสำคัญด้วย แต่มิใช่ทั้งหมด

ป.ล. โดยยังไม่ได้อ่านตัวอนุสัญญานี้ ผมชักสงสัยว่า แล้วเขาจะ safeguard มัน (ภูมิปัญญา + มรดกทางวัฒนธรรมไร้รูป เอ๊ย อรูปนัยอื่นๆ) ยังไงกันหว่า?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 14:35

 ใครเคยอ่านหนังสือจีนกำลังภายในมั่งครับ

มีคำอยู่ชุดหนึ่ง คู่กันสองคำ คือ "ไร้สภาพ" กับ "มีสภาพ" (หรือ "วัตถุมีสภาพ") ซึ่งผมคิดว่าเขาตั้งใจใช้แปล Intangible และTangible นี่แหละ

ตัวอย่างเช่น พระเอกจอมยุทธเกร็งกำลังภายในเร่งเร้าลมปราณถึงสิบส่วน จนเสื้อโป่งพองออกดุจวัตถุมีสภาพ... หรือ กำลังภายในกล้าแข็งปะทะอาวุธลับกระเด็นไปดังปะทะกับกำแพงมีสภาพ... ฯลฯ

ถ้า ไร้สภาพ แปลว่าไม่มีรูปที่จับได้ เราจะแปลคำว่า intangible cultural heritage เป็น "มรดกทางวัฒนธรรมไร้สภาพ" ได้มั้ย?

...



... แต่นึกอีกที่อย่าดีกว่าครับ เดียวจะกลายเป็น มรดกทางวัฒนธรรม "หมดสภาพ" เสียก็จะยุ่ง  - !
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 15:16

 นึกแล้วว่าถ้าคุณ นกข.กลับเข้ามา กระทู้จะคึกคัก เพิ่มค.ห.พ.ต. ทันตาเห็น

ดิฉันไม่ทราบว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์ Intangible เป็นภาษาไทยว่าอะไร  
แปลเองว่า
"จับต้องไม่ได้" คือสัมผัสไม่ได้
อ+ ผัสสะ  เป็นไงคะ

มรดกทางวัฒนธรรมอผัสสะ?
อผัสสะมรดกทางวัฒนธรรม
หรือ
มรดกทางอผัสสะวัฒนธรรม
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 18:58

 ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือนะคะ

คุณนุชนาคะ ใช่ค่ะ ดิฉันเคยไปตั้งกระทู้ไว้ในห้องสมุดของพันทิพมาก่อน
เพราะพยายามสมัครสมาชิกของวิชาการไม่ได้
แต่ตอนนั้น ต้องส่งงานด่วน จึงไม่ได้เข้าไปอ่านคำตอบอื่นๆ อีก
โดยเขียนเพียงแค่ "มรดกทางวัฒนธรรม" เท่านั้น
กำกับภาษาอังกฤษในวงเล็บอีกครั้งเท่านั้น

ขอบคุณคุณนิลกังขาและคุณเทาชมพูอย่างมากด้วยค่ะ
(ดิฉันแอบเป็นแฟนติดตามอ่านบทความคุณเทา-ชมพูมานาน
เลยอยากเข้ามาเป็นสมาชิกน่ะค่ะ)

พยายามค้นหาดูแล้วนะคะ สำหรับอนุสัญญาดังกล่าว
ทั้งกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงวัฒนธรรมก็ยังไม่มีใครบัญญัติศัพท์เป็นทางการ
อย่างอนุสัญญาอีกฉบับเว่าด้วยการอนุรักษ์และส่งเสริม Diversity of Cultural
ทางสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติใช้คำว่า พหุวัฒนธรรม  
(แทนความหลากหลายทางวัฒนธรรม)
มีคนแย้งว่า แปลได้ไม่ตรงความหมายนัก
ไม่ทราบว่า มีความเห็นเป็นอย่างไรคะ

ดิฉันก็กลุ้มใจจังนะคะ แต่อ่าน ๆ คหพต. หลายๆ ข้อก็ชอบใจค่ะ

อย่างตัวเองเคยคิดออกมาแนวๆ นี้ มรดกทางวัตนธรรมทางจิดใจ
อรูปวัฒนธรรม (อรูปนัย เพราะกว่านะคะ)
วัฒนธรรมทางภูมืปัญญา  (อันนี้ คิดเหมือนกันว่า ภูมิปัญญาก็กว้างไป
ไม่เจาะจงว่ามัน จับต้องไม่ได้)

อผัสสะวัฒนธรรมก็เข้าท่าดีนะคะ ตรงตัวมากๆ

แล้วก็อดขำกิ๊กไม่ได้เลยค่ะ ตอนอ่านถึง ไร้สภาพ อิอิ
แอบขำเล็กน้อย เพราะนึกไพล่ไปถึงคำว่า หมดสภาพ น่ะค่ะ

ฮ่าๆ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

กำลังเรียบเรียงข่าวเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว ฮืออออออ
เขียนว่า มรดกทางวัฒนธรรมไร้สภาพ ถ้าจะดีนะคะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 02:13

 ผมก็ยังคงเห็นว่า Intangible Culture ก็คือ "ภูมิปัญญา" ครับ

การแปลบางครั้งจะเลือกคำตรงๆ กับภาษาอังกฤษไม่ได้ครับ มันต้องเป็นคำที่สื่อกับเนื้อหาด้วย (นี่คือเอกลักษณ์อีกประการของภาษาไทย อิอิ) ซึ่งบางครั้งจะแปลตรงๆ จากคำภาษาอังกฤษไม่ได้ เพราะถ้าแปลแล้ว ก็ต้องมานั่งแปลไทย (แขก) เป็นไทย อีกทีหนึ่ง

อย่างคำว่า safeguarding ผมจะแปลว่า "การธำรงไว้ซึ่ง"

ทำไมผมยังคงแปลว่า "ภูมิปัญญา" ลองอ่านบทความนี้ดูครับ

Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage 29 September - 17 October 2003 Paris, 32nd Session.

การประชุมเรื่องการธำรงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดทางภูมิปัญญา

Cultural preservation has long been dominated by the concern of restoring and safeguarding tangible forms of cultural expressions. Vast monuments like the temple of Borobudur and other works of art, as paintings and sculptures are due to their scale and beauty generally perceived as genius expressions of human creativity as well as impressive technical achievements of those who created them. Thus there has been a widespread concern among all peoples over the world to safeguard and preserve these works of art belonging to the visible heritage of humanity.

Not visible, intangible cultural heritage has until recently received less attention. Yet, UNESCO responded to warnings of researchers and anthropologists, saying that intangible cultural expressions such as oral traditions and literature, visual arts, music and performing arts especially of minority peoples are due to their means of transmission and their ephemeral character fragile to deconstruction. Among the actions of UNESCO was the recently formulated Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage.

As it is also stated in the convention, the vehicle of intangible cultural heritage such as oral tradition and literature is language. Thus, the safeguarding and preserving of languages is an important factor in the process of safeguarding intangible cultural heritage. Although intangible cultural heritage is part of every people`s cultural heritage, that at greatest risk of disappearance is the cultural heritage of minority people. Due to their small scale and number, their little political influence minority people often face difficulties to voice and enforce their demands. A large gap between local and national cultures often resulting in a persistent image of minority people as "technically and economically backward" among the majority groups has lead to a certain blindness of countries concerning the importance of safeguarding those treasures. Yet the issue of safeguarding the traditional culture of ethnic minorities has been taken into consideration in several countries and thus reflects the demand and wish of keeping those treasures lively and vivid.

-----------------------------------------

ขอยกประโยคสำคัญมาแล้วกันครับ
Yet, UNESCO responded to warnings of researchers and anthropologists, saying that intangible cultural expressions such as oral traditions and literature, visual arts, music and performing arts especially of minority peoples are due to their means of transmission and their ephemeral character fragile to deconstruction.

จะเห็นได้ว่า Intangible Cultural Heritage ก็คือ วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม เช่น นิทานที่เล่ากันปากต่อปาก วรรณกรรม การแสดง ดนตรี เป็นต้น ซึ่งจะเน้นหนักไปยังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

พูดง่ายๆ นะครับ สิ่งเหล่านี้ก็คือ "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" นั่นเอง ซึ่งผมมองว่า คำว่า ภูมิปัญญา ก็ครอบคลุมทุกประเด็นที่เป็นผลผลิตทางปัญญาของมนุษย์อยู่แล้วครับ

ถ้าท่านใดมีคำที่น่าสนใจอื่นๆ ก็ยินดีแลกเปลี่ยนครับ (หรือ เหตุผลที่ชัดเจนว่า คำว่าภูมิปัญญา ไม่ครอบคลุม Intangible Culture Heritage ก็ยินดีครับ)
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 09:06

อ่านบทความภาษาฝรั่งและความเห็นประกอบของคุณ Hotaconus แล้ว เลยต้องขอยกมือเห็นแย้งครับ แต่คราวนี้แย้งไปสุดอีกข้างหนึ่ง (ซึ่งเป็นการแย้งตัวผมเองใน คห. ก่อนหน้านี้ด้วย)

ถ้า ภูมิปัญญา หมายรวมถึงทุกอย่างที่เป็นผลผลิตจากปัญญาของมนุษย์แล้ว คราวนี้ผมไม่ยักคิดว่าภูมิปัญญาไม่ครอบคลุมไอ้เจ้า ICH นี้แล้วแหละ แต่กลับคิดว่าถ้าใช้ในความหมายนี้ คำว่าภูมิปัญญาจะครอบคลุมมากเกินไป คือคลุมอย่างอื่นที่ไม่ใช่ ICH ด้วย คลุมรวมไปถึง TCH ด้วยไหม เช่น ปิรามิดทั้งอันนั่น มันจับต้องได้แน่ๆ และจะว่ามันมาจากภูมิปัญญาของมนุษย์ก็ได้เหมือนกัน  หรือถ้ามันใหญ่ไป เครื่องจักสานอันหนึ่งก็เป็นสิ่งที่จับต้องได้ และมาจากภูมิปัญญามนุษย์อีก (แต่วิธีการจักสานจับต้องไม่ได้) ...เอ พูดเองก็ชักงงเองแฮะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 09:39

 ภูมิปัญญา = พื้นความรู้ความสามารถ    
(เป็นคำนามที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นนามชนิดไหน จับต้องได้หรือเปล่า)
เอามาจากพจนานุกรมของราชบัณฑิตฯ พ.ศ. 2542  เล่มหนัก 6 กิโลเล่มนั้นละค่ะ

ถ้าจะมองว่า ภูมิปัญญา ก่อให้เกิด ผลผลิตทางปัญญา  อย่างแรกก็เป็น intangible อย่างหลังเป็น tangible

คุณนกข. มี "ภูมิปัญญา " ทางภาษาที่สั่งสมกันมาตั้งแต่เรียนประถม มัธยม มหาวิทยาลัย ฯลฯ ทำให้คุณสร้าง " ผลผลิตทางปัญญา" เป็นงานแปลชิ้นหนึ่งขึ้นมาได้

เราจับต้องไม่ได้ว่าภูมิปัญญาของคุณนกข.หน้าตาเป็นยังไง ขนาดเท่าใด หนักเท่าใด   แต่เรารู้ว่า "ผลผลิตทางปัญญา" ที่เป็นงานแปลของคุณ หน้าตาเป็นยังงี้ๆ ชื่อยังงี้  
จับต้องได้ เห็นได้ อ่านได้ แล้วก็สนุกได้ด้วย

อยากให้คุณจขกท. ทำงานแปลชิ้นนี้เสร็จเร็วๆ ส่งให้นายพิจารณา  เพื่อจะดูว่าท่านตอบลงมาว่ากระไร กับคำที่แปลส่งขึ้นไป
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 10:03

 เออ... อ่าน ๆ แล้วผมว่าเรากำลังจะเข้าไปถกปัญหาทางด้าน epistemology กับปัญหาว่าด้วยว่า โลก ของเรา เป็น phenomenal หรือ noumenal กันแน่

ถ้าเถียงกันอย่างนี้ โลกแตก หรือ ไม่ก็ เอเลี่ยนบุกกันพอดีมั้งครับ

แต่ผมขอแสดงความเห็นว่า อผัสสะวัฒนธรรม น่าสนใจทีเดียวครับ

แต่ผมก็ขอเสนอข้อสงสัยครับว่า วัฒนธรรมไม่สามารถจับต้องได้ เป็นการ imply ว่า วัฒนธรรมต้องมีการผลิตสิ่งของที่เป็นรูปธรรม ไม่ว่า วัตถุ สิ่งของ หรือ ความเชื่อต่าง ๆ ขึ้นมาหรือเปล่าครับ (วัฒนธรรมที่จับต้องได้) และสำหรับวัฒนธรรมไม่สามารถจับต้องได้ เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด เพราะถ้าหากเป็นเพราะมันเป็นสิ่งที่เราเองก็ไม่รู้ว่ามันเรียกว่าอะไร รูปร่างอย่างไร แล้วเราจะจับต้องมันได้อย่างไร? เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว แม้ว่าเราได้ เห็น ได้ จับ ได้ สัมผัส แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรครับ??? เพราะฉะนั้นเราสามารถที่จะอนุมานว่ามี "วัฒนธรรม" ที่ไม่สามารถเอ่ยนาม กล่าวถึง หรือ ล่วงรู้ได้ (อะ+นาม+วัฒนธรรม? ไม่แน่ใจว่าจะเรียกอะไรดี) หรือไม่?

เวียนหัว...
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง