เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7162 อยากค้นประวัติของหนูพัดค่ะ
ธิดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


 เมื่อ 30 ม.ค. 06, 18:21

 จู่ๆ ก็นึกสงสัยขึ้นมาว่า หนูพัด บุตรของสุนทรภู่ ซึ่งได้ติดตามสุนทรภู่ไปบวชเป็นเณรหนูพัด ในภายหลังเป็นอย่างไรบ้างคะ เคยอ่านเจอแต่ว่า หนูตาบได้เป็นกวีตามบิดา แต่ไม่เจอที่ไหนพูดถึงหนูพัดอีกเลย

ใครพอมีข้อมูล หรือรู้เกร็ดอะไรมาบ้าง ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
นวลเจ้าพี่เอย
อสุรผัด
*
ตอบ: 2

บริษัท ซับมิทเอ็นจิเนียริ่ง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 00:23

 แม้ตกยากพรากพลัดไปขัดข้อง
พัดกับน้องหนูตาบจะหาบหาม
จำได้แค่นี้แหละครับ แต่เห็นนายพัดหรือในชั้นลูก จะได้ส่วนแบ่งค่าพิมพ์ พระอภัยมนี จากหมอบรัดเลย์ ด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 07:49

 ไม่ทราบประวัติของนายพัด  แต่เคยอ่านบทความของคุณหญิงผะอบ โปษะกฤษณะ
ที่บันทึกไว้เกี่ยวกับนายแปลก และนายเลียบ หลานปู่ของนายพัด
คุณธิดาเคยอ่านหรือยังคะ
บันทึกการเข้า
ธิดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 14:56

 ขอบคุณคุณเทาชมพูมากค่ะที่ช่วยเตือนความจำ พอเห็นคำว่า หลานปู่ของนายพัด ก็รู้สึกคุ้นๆ เหมือนเคยอ่าน เลยไปค้นๆๆ หนังสือ "อนุสรณ์สุนทรภู่ ๒๐๐ ปี" กลับมาดู จึงได้เจอเรื่องของนายแปลกและนายเลียบ ภู่เรือหงส์ เมื่อใช้คำว่า "ภู่เรือหงส์" ค้นด้วย google เจอข้อมูลอยู่หลายเว็บเหมือนกัน กำลังทยอยอ่านอยู่ค่ะ

ขอบคุณคุณ นวลเจ้าพี่เอย ด้วยค่ะ เอ.. กลอนที่ว่านี้อยู่ในเรื่องอะไรเหรอคะ แต่เท่าที่จำได้ ผู้พิมพ์เรื่องพระอภัยมณีจะเป็น หมอสมิธ หรือเปล่าคะ เหมือนเคยจำได้ว่า หมอบรัดเลย์กับหมอสมิธจะแบ่งกันพิมพ์คนละตลาด คือคนหนึ่งพิมพ์งานร้อยแก้ว อีกคนหนึ่งพิมพ์งานร้อยกรอง (จำไม่ได้แล้วว่าอ่านจากไหน)

ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมขอได้โปรดแบ่งปันด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 16:16

 ไม่รู้เรื่องหนูพัด แต่พอจะรู้จักหนูเหมียว ใช้ได้บ่
บันทึกการเข้า
ธิดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 19:27

 สวัสดีค่ะพี่ถาวภักดิ์ ยังไม่ได้แวะไปเยี่ยมเยียนพี่สักทีเลย แหะๆ หนูเหมียวนะ หนูก็รู้จักค่ะ ^^ ขอเป็นหนูพัดแทนดีกว่านะคะ
บันทึกการเข้า
ธิดา
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ก.พ. 06, 19:57

 แต่ก่อนเคยมีความรู้สึกว่า สุนทรภู่ช่างเป็นกวีคนยาก น่าสงสารเสียนี่กระไร มาช่วงหลังๆ นี้เริ่มรู้สึกว่าตัวเองคิดผิด โดยเฉพาะหลังจากได้อ่านภาคผนวกท้ายเรื่อง "รัตนโกสินทร์" ที่อาจารย์ ว.วินิจฉัยกุล ได้อธิบายไว้

คือมีเนื้อหาเกี่ยวกับ "มหาดเล็ก" ว่า ผู้ที่จะถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ต้องเป็นผู้มีสกุล มีบรรพบุรุษรับราชการเป็นขุนนางมาแต่ก่อน สุนทรภู่ได้เป็นมหาดเล็กของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ แสดงว่าต้องมีเส้นสายอยู่ไม่ใช่เล่น เส้นทางเติบโตของบุตรผู้มีตระกูล หลังจากเป็นมหาดเล็กแล้วก็ต้องเข้ารับราชการเป็นขุนนางทางใดทางหนึ่ง จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกที่สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ แล้วค่อยเลื่อนขั้นขึ้นมาเรื่อยๆ

แต่ทีนี้ หนูพัดล่ะ? หนูพัดก็เป็นบุตรของผู้มีตระกูลไปด้วย (ตามสมมุติฐานข้างต้น) ถ้าอย่างนั้นหนูพัดได้ถวายตัวเป็นข้าของวังใดวังหนึ่งด้วยหรือเปล่า

สงสัยมากๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 12:08

 ช่าย  สมัยก่อนเรื่องชนชั้นวรรณะแรงกว่าปัจจุบันมาก ยิ่งถ้ามีเชื้อสายเป็นผู้ดีครบทั้ง 8 สาแหรกละเป็นได้ดิบได้ดีแน่

ไม่ต้องมองไกล แค่รุ่นปู่รุ่นย่าที่ผ่านมา(เพียงสัก 4-50 ปีก่อน) ผู้ใหญ่เล่าว่า ลูกผู้ดีมีสกุลเรียนจบจากนอกมาใหม่ๆ มักจะมีพวกหากินทางพ่อสื่อแม่ชัก นำอัลบัมรูปลูกค้ามาเสนอเป็นเล่มๆ โดยเป็นลูกสาวของผู้มีฐานะทางการเงินแต่ไม่มีชาติตระกูล

การถวายตัวเป็นมหาดเล็กนั้นเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท  จึงต้องเป็นบุตรหลานของข้าราชบริพารใกล้ชิด เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจริงๆ  หาอ่านประวัติของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสงชูโต) ขุนศึกคู่บัลลังค์แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง กับประวัติของท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพฯก็จะช่วยให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

การรับราชการเป็นมหาดเล็กก็ยังจะเป็นช่องทางที่ทำให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด  อย่างท่านเจ้าคุณนรฯ ดูเหมือนท่านได้รับพระราชทานพานทองตั้งแต่ยังไม่ถึง 30 เลยมั้ง  โดยพระเจ้าอยู่หัว ร.6 ยังทรงพระกรุณา วางแผนอนาคตไว้ให้ว่าให้เรียนรู้งานราชการใกล้ชิดอีกสักหน่อย แล้วออกไปกำกับว่าราชการระดับมณฑลเลย (ศักดิ์อำนาจคล้ายตำแหน่ง Governor General)  ไม่ต้องไต่เต้าตามสายงาน

เจ้าพระยารามราฆพก็เช่นกัน ได้รับพระราชทานยศศักดิ์ บ้านที่ใหญ่โตราวกับวังเจ้า ก็เจริญก้าวหน้าจากกรมวัง

แม้ปัจจุบันก็ยังเห็นธรรมเนียมการปฏิบัตินี้ก็ยังคงอยู่ เช่น กรณีของลูกหลานท่านเจ้าคุณอนุรักษ์ราชมณเฑียร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ก.พ. 06, 15:45

 คนที่ตั้งโรงพิมพ์ พิมพ์ผลงานของท่านสุนทรภู่ ขายดีได้เงินมากมาย
จึงตามหาทายาทของสุนทรภู่ เพื่อมอบเงินค่าพิมพ์ให้  คือหมอสมิธ ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง